หม่อมหลวง : น. คํานําหน้าชื่อบุตรของหม่อมราชวงศ์.
หม่อม : น. หญิงสามัญที่เป็นภรรยาของเจ้าฟ้า พระองค์เจ้า หรือหม่อมเจ้า, บุตร ชายหญิงของพระองค์เจ้าหรือหม่อมเจ้า, (โบ) เจ้าฟ้า พระองค์เจ้า หรือ หม่อมเจ้า ที่ต้องโทษถูกถอดจากบรรดาศักดิ์, คํานําหน้าชื่อราชนิกุล ราชินีกุลชั้นผู้ใหญ่ทั้งชายหญิงที่ไม่มีตําแหน่ง, คํานําหน้าชื่อหญิงสามัญ ซึ่งไม่มีบรรดาศักดิ์ได้เป็นภรรยาของเจ้าคุณราชพันธ์ในตระกูลบุนนาค ทั้ง ๓ ชั้น เช่น หม่อมปาน หม่อมรอด, คํานําหน้านามบุคคลที่เป็นผู้ดีมี ตระกูลทั้งชายหญิง เช่น เจ้าพระยาอรรคมหาเสนา สมัยธนบุรี เรียกว่า หม่อมบุนนาค.
หลวง : ว. ที่เป็นของพระเจ้าแผ่นดิน เช่น ศาลหลวง วังหลวง; เป็นใหญ่ เช่น ภรรยาหลวง, ใหญ่ เช่น เขาหลวง ผึ้งหลวง; สาธารณะ เช่น ทางหลวง. น. บรรดาศักดิ์ข้าราชการ สูงกว่าขุน ต่ำกว่าพระ เช่น หลวงวิจิตรวาทการ; (ปาก) คําเรียกพระภิกษุโดยความเคารพ เช่น หลวงปู่ หลวงพี่ หลวงน้า, คําเรียกพระจีน พระญวน ว่า หลวงจีน หลวงญวน.
หม่อมห้าม : น. หญิงสามัญที่เป็นเมียของเจ้านาย, ใช้คํานําหน้านามว่า หม่อม.
หม่อมราชวงศ์ : น. คํานําหน้าชื่อบุตรของหม่อมเจ้า.
หลวงจีน : น. ชื่อสมณศักดิ์พระสงฆ์จีนตั้งแต่ระดับพระคณานุกรมของ เจ้าคณะใหญ่และรองเจ้าคณะใหญ่ จนถึงผู้ช่วยเจ้าคณะใหญ่ เช่น หลวงจีนวินยานุกร หลวงจีนคณาณัติจีนพรต หลวงจีนใบฎีกา.
หลวงพ่อ : (ปาก) น. คำเรียกพระพุทธรูปโดยความเคารพ เช่น หลวงพ่อ โสธร หลวงพ่อแก้ว หลวงพ่อวัดไร่ขิง; คำเรียกพระภิกษุที่เป็นพ่อ หรือ อยู่ในวัยเดียวกับพ่อ.
หม่อมเจ้า : น. คํานําหน้านามโอรสธิดาในพระองค์เจ้าชั้นพระบรมวงศ์.
หม่อมฉัน : ส. คําใช้แทนตัวผู้พูดสําหรับเจ้านายที่มีศักดิ์เสมอกันหรือ สําหรับผู้หญิงใช้พูดกับเจ้านาย, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑.
ห้าม : ก. ให้เว้นกระทํา, ไม่ให้ทําตามที่กําหนดไว้. น. เรียกภรรยาของเจ้านายที่ ไม่ใช่สะใภ้หลวง ว่า นางห้าม, เรียกหญิงสามัญที่เป็นเมียของเจ้านาย ว่า หม่อมห้าม.
ขัดมอนหลวง : ดู หญ้าขัดหลวง ที่ หญ้าขัด.
ขุนหลวง : (โบ) น. พระเจ้าแผ่นดิน เช่น เป็นขุนหลวงเสวยราชย์ ได้สองปี. (พงศ. ร. ๓).
ค่าภาคหลวง : (กฎ) น. ค่าสิทธิซึ่งกฎหมายกําหนดให้ผู้ได้รับอนุญาต ให้ทําการหาประโยชน์จากทรัพยากรของชาติต้องชําระให้แก่รัฐ เช่น ค่าภาคหลวงแร่ ค่าภาคหลวงไม้หวงห้าม.
งานหลวงไม่ให้ขาด งานราษฎร์ไม่ให้เสีย : (สํา) ทํางานไม่บกพร่องทั้ง งานส่วนรวมและส่วนตัว, ใช้เพี้ยนว่า งานหลวงไม่ขาด งานราษฎร์ไม่เสีย ก็มี.
ฉ้อราษฎร์บังหลวง : ก. การที่พนักงานเจ้าหน้าที่เก็บเงินจากราษฎรแล้ว ไม่ส่งหลวงหรือเบียดบังเงินหลวง.
ชั่งหลวง : น. ชื่อมาตราชั่งของหลวง มีนํ้าหนักเท่ากับ ๖๐๐ กรัม.
ธม : ว. ใหญ่, หลวง, เช่น นครธม. (ข. ธม).
พินัยหลวง : น. เงินค่าปรับเป็นของหลวง เช่น ปรับเป็นพินัยหลวง.
เรือหลวง : น. เรือที่ขึ้นระวางเป็นของหลวง.
ลูกขุน ณ ศาลหลวง : (โบ) น. คณะข้าราชการชั้นสูงฝ่ายตุลาการ ซึ่งรวมกันเรียกว่า ลูกขุน ณ ศาลหลวง มีหน้าที่พิพากษาคดีอย่าง ศาลยุติธรรม แต่มิได้เป็นผู้พิจารณาคดี เพราะมีตระลาการที่จะ พิจารณาคดีแล้วขอคําตัดสินจากลูกขุน ณ ศาลหลวงอีกชั้นหนึ่ง, กฎหมายตราสามดวงมักใช้ว่า ลูกขุน ณ สานหลวง.
ลูกเมียหลวง : น. ลูกของเมียหลวงซึ่งมีสิทธิ์มากกว่าลูกของเมียน้อย, โดยปริยายหมายถึงผู้มีฐานะเหนือกว่าผู้อื่นหรือสิ่งอื่นที่มีลักษณะ คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น หลายคนมองว่ามหาวิทยาลัยในกรุงเทพฯ เป็น ลูกเมียหลวง.
วิหารหลวง : น. วิหารที่ด้านท้ายเชื่อมติดกับพระสถูปเจดีย์หรือพระ ปรางค์ เช่น วิหารหลวงวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ตําบลเชลียง อําเภอ ศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย.
สนามหลวง : น. สถานซึ่งกําหนดให้เป็นที่สอบไล่นักธรรมและบาลี ในคำว่า สอบธรรมสนามหลวง สอบบาลีสนามหลวง.
หญ้าขัดหลวง : น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Sida subcordata Span. ในวงศ์ Malvaceae, ขัดมอนหลวง หรือ ขัดมอนตัวผู้ ก็เรียก.
ใหญ่หลวง : ว. รุนแรง, หนัก, เช่น บุญคุณของท่านใหญ่หลวงนัก.
กะรัตหลวง : น. มาตราน้ำหนักตามวิธีประเพณี ใช้สําหรับชั่งเพชรพลอยเท่านั้น เป็นเมตริกกะรัต เท่ากับ ๒๐ เซนติกรัม, อักษรย่อว่า กต.
ของหลวง : น. ของของสถาบันพระมหากษัตริย์, ของที่เป็นของ แผ่นดินหรือรัฐ.
เค้าสนามหลวง : (ถิ่น-พายัพ; โบ) น. สํานักผู้ปกครองบ้านเมือง, ที่ว่าราชการเมือง, คณะผู้ว่าการบ้านเมือง ซึ่งประกอบด้วยเจ้าผู้ครองเมืองหรือผู้ครองเมือง ข้าหลวงประจำนครหรือเมืองซึ่งต่อมาเรียกว่า ปลัดมณฑลประจำจังหวัด และข้าหลวงผู้ช่วย มีหน้าที่บังคับบัญชารับผิดชอบในกิจการทั่วไปของ เมือง, เค้าสนาม ก็ว่า.
เงินหลวง : (ปาก) น. เงินที่เป็นของแผ่นดินหรือรัฐ.
เจ้าหลวง : น. เจ้าผู้ครองประเทศราชฝ่ายเหนือ.
ทะนานหลวง : น. ชื่อมาตราตวงตามวิธีประเพณี มีอัตราเท่ากับ ๑ ลิตร, อักษรย่อว่า ท.
ไทยหลวง : น. ไทยใหญ่.
บั้นหลวง : น. ชื่อมาตราตวงตามวิธีประเพณี มีอัตราเท่ากับ ๑,๐๐๐ ลิตร.
เป่ากระหม่อม : ก. ร่ายมนตร์คาถาแล้วเป่าลงกลางศีรษะเพื่อให้เกิด เมตตามหานิยมเป็นต้น.
ฝนหลวง : น. ฝนเทียมที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณา โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ทำขึ้นเพื่อบรรเทาความแห้งแล้ง.
พระเจ้าหลวง : น. พระเจ้าแผ่นดินที่สละราชสมบัติให้รัชทายาทเป็น พระเจ้าแผ่นดินแทน.
พระพุทธเจ้าหลวง : น. คําเรียกพระเจ้าแผ่นดินที่เสด็จสวรรคตแล้ว.
พัดหลวง :
น. ลมตะโก้. (ดู ตะโก้๒).
ไพร่หลวง : (โบ) น. พลที่เข้าประจําการแล้ว.
มูกหลวง : ดู โมกใหญ่ ที่ โมก.
เมียหลวง : น. เมียที่ยกย่องว่าเป็นใหญ่.
เมืองหลวง : น. เมืองเป็นที่ตั้งรัฐบาล.
แม่กองธรรมสนามหลวง : น. พระเถระผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการสอบไล่ พระปริยัติธรรม แผนกนักธรรมและธรรมศึกษาของคณะสงฆ์.
แม่กองบาลีสนามหลวง : น. พระเถระผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการสอบไล่ พระปริยัติธรรม แผนกบาลีของคณะสงฆ์.
รถหลวง : (ปาก) น. รถของส่วนราชการ.
ลมพัดหลวง :
น. ลมตะโก้. (ดู ตะโก้๒).
วังหลวง : น. วังซึ่งเป็นที่ประทับของพระเจ้าแผ่นดิน, ในรัชกาลที่ ๔ ทรงบัญญัติให้เรียกว่า พระบรมมหาราชวัง.
หาบหลวง : น. ชื่อมาตราชั่งตามวิธีประเพณีแบบไทย ๕๐ ชั่ง เป็น ๑ หาบ, หาบ ก็เรียก.
กรม ๓ : [กฺรม] น. (ก) หมู่เหล่าอันเป็นที่รวมกําลังไพร่พลของ แผ่นดินตามลักษณะปกครองสมัยโบราณ เพื่อประโยชน์ ในเวลาเกิดศึกสงคราม จะได้เรียกระดมคนได้ทันท่วงที บรรดาชายฉกรรจ์ต้องเข้าอยู่ในกรมหรือในหมู่เหล่าใด เหล่าหนึ่ง เรียกว่า สังกัดกรม มีหัวหน้าควบคุมเป็น เจ้ากรม ปลัดกรม ตามลําดับ ซึ่งเมื่อพระเจ้าแผ่นดินทรงตั้งให้ เจ้านายครอบครองเป็นองค์ ๆ เรียกว่า ตั้งกรม แล้ว เจ้านายพระองค์นั้นก็ ทรงกรม เป็น เจ้าต่างกรม เพราะมีกรม ขึ้นต่างออกไปเป็นกรมหนึ่ง มีพระอิสริยศักดิ์ตั้งเจ้ากรม ปลัดกรม เป็น หมื่น ขุน หลวง พระ พระยา ได้ และเรียกชื่อกรมนั้น ๆ ตามศักดิ์เจ้ากรมว่า กรมหมื่น กรมขุน กรมหลวง กรมพระ กรมสมเด็จพระ และ กรมพระยา หรือ กรมสมเด็จ เมื่อจะทรงกรม สูงขึ้นกว่าเดิม ก็โปรดให้ เลื่อนกรม ขึ้น โดยเจ้ากรมมีศักดิ์เลื่อนขึ้น เช่นจากหมื่นเป็นขุน, มาในปัจจุบันชื่อกรมเหล่านี้มีความหมาย กลายเป็นพระอิสริยยศและพระนามเจ้านายเท่านั้น. (ข) แผนกใหญ่ในราชการ ตามลักษณะปกครองในสมัยโบราณ ซึ่งในปัจจุบัน เรียกว่า กระทรวง เช่น กรมพระกลาโหม คือ กรมฝ่ายทหาร เป็นกระทรวงกลาโหม, กรมมหาดไทย คือ กรมฝ่ายพลเรือน เป็น กระทรวงมหาดไทย, กรมเมือง หรือ กรมนครบาล รวมอยู่ในกระทรวงมหาดไทย, กรมวัง แยกเป็นกระทรวงวัง และกระทรวงยุติธรรม (ปัจจุบันกระทรวงวังไม่มีแล้ว), กรมพระคลัง แยกเป็น กระทรวงการคลัง และกระทรวงการต่างประเทศ, กรมนา เป็นกระทรวงเกษตราธิการ (ปัจจุบัน คือ กระทรวงเกษตร และสหกรณ์). (ค) (กฎ) ส่วนราชการในราชการบริหารส่วนกลาง รองจากกระทรวงและทบวง.
ธงฉาน : (กฎ) น. ธงที่มีลักษณะอย่างเดียวกับธงชาติ แต่ตรงกลางของผืนธง มีรูปจักร ๘ แฉกแฉกของจักรเวียนไปทางซ้ายและมีสมอสอดวงจักรภายใต้ พระมหามงกุฎ รูปเหล่านี้เป็นสีเหลือง เป็นธงที่ใช้ในเรือพระที่นั่งและเรือ หลวง หรือเป็นธงสําหรับหน่วยทหารเรือที่ยกพลขึ้นบก ซึ่งหน่วยทหารนั้น ไม่ได้รับพระราชทานธงชัยเฉลิมพล; (โบ) ธงนํากระบวนกองชนะ มี ลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม.