หยอกเย้า : ก. สัพยอก, กระเซ้าเย้าแหย่, เย้าหยอก ก็ว่า.
เย้าหยอก : ก. สัพยอก, กระเซ้าเย้าแหย่, หยอกเย้า ก็ว่า.
หยอก : ก. เล่นหรือล้อไม่จริงจัง. ว. ใช้ในประโยคปฏิเสธ หมายความว่ามาก เช่น เก่งไม่หยอก คือ เก่งมาก.
สัพยอก : [สับพะยอก] ก. หยอกเย้า เช่น ผู้ใหญ่สัพยอกเด็กว่าเป็นแม่สายบัวแต่ง ตัวเก้อ. ว. ที่พูดหยอกเย้า เช่น อย่าโกรธเลย เขาพูดจาสัพยอกเท่านั้น, มักใช้เข้าคู่กันเป็น สัพยอกหยอกเย้า เช่น พูดจาสัพยอกหยอกเย้า.
เย้า ๑ : น. ชนชาวเขาเผ่าหนึ่ง อยู่ในประเทศไทยตอนเหนือ เรียกตัวเองว่า เมี่ยน พูดภาษาเมี่ยนในตระกูลแม้วเย้า.
เย้า ๒ : ก. หยอก, สัพยอก.
กระซิกกระซี้ : ก. หัวเราะเย้าหยอกกัน, ระริก, ซิกซี้ ก็ว่า.
ซิกซี้ : ก. หัวเราะเย้าหยอกกัน, ระริก, กระซิกกระซี้ ก็ว่า.
ยันเย้า : ก. ปลํ้า; หยอก.
ล้อ ๒ : ก. แสดงกิริยาวาจาหยอกเย้า เย้าแหย่ให้เขาเกิดรําคาญให้อายหรือ ให้โกรธเป็นต้น; ทำให้คล้ายคลึงแบบ เช่น เขียนข้อความให้ล้อกัน.
หมาหยอกไก่ : (สํา) น. เรียกอาการที่ชายหยอกล้อหญิงในทำนองชู้สาว เป็นทีเล่นทีจริง.
แหย่ : [แหฺย่] ก. เอานิ้วมือหรือปลายไม้เป็นต้นแยงเข้าไป; เย้า, ทําให้เกิดความ รําคาญหรือไม่สงบอยู่ได้; ลองดูชั้นเชิง.
ยา : น. สิ่งที่ใช้แก้หรือป้องกันโรค หรือบํารุงร่างกาย เรียกชื่อต่าง ๆ กัน คือ เรียกตามลักษณะก็มี เช่น ยาผง ยาเม็ด ยานํ้า เรียกตามสีก็มี เช่น ยาแดง ยาเขียว ยาเหลือง ยาดํา เรียกตามรสหรือกลิ่นก็มี เช่น ยาขม ยาหอม เรียก ตามวิธีทําก็มี เช่น ยาต้ม ยากลั่น ยาดอง เรียกตามกิริยาที่ใช้ก็มี เช่น ยา กวาด ยากิน ยาฉีด ยาดม ยาอม; เรียกยาฝิ่นว่า ยา ก็มี เช่น โรงยา; สารเคมี สําหรับเคลือบเงินทองให้มีสีต่าง ๆ; (กฎ) วัตถุที่รับรองไว้ในตำรายาที่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศ, วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้ ในการวินิจฉัย บำบัด บรรเทา รักษา หรือป้องกันโรคหรือความเจ็บป่วย ของมนุษย์หรือสัตว์, วัตถุที่เป็นเภสัชเคมีภัณฑ์หรือเภสัชเคมีภัณฑ์กึ่ง สำเร็จรูป หรือวัตถุที่มุ่งหมายสำหรับให้เกิดผลแก่สุขภาพ โครงสร้างหรือ การกระทำหน้าที่ใด ๆ ของร่างกายของมนุษย์หรือสัตว์. ก. ทําให้หายโรค, รักษาให้หาย, ในคําว่า เยียวยา; ทําให้หายรั่ว เช่น ยาเรือ. ว. ใช้ประกอบคํา พี่ น้อง ลูก ว่า พี่ยา น้องยา ลูกยา, ใช้ในราชาศัพท์หมายความว่า เพศชาย เช่น พระเจ้าลูกยาเธอ.
เย้ : ว. เอียงจนเสียรูปโดยมีอาการทําท่าจะทลายลง เช่น ห้องแถวเย้จวน จะพัง, เฉ, ไม่ตรง, เบนหรือเอียงไป, เช่น เขียนหนังสือแถวเย้.
หยิกแกมหยอก : (สำ) ก. เหน็บแนมทีเล่นทีจริง.
กระเซ้า : ก. พูดรบเร้า, พูดเย้าแหย่.
เคาะ : ก. ใช้อวัยวะมีมือเป็นต้นกระทบเบา ๆ เช่น เคาะจังหวะ เคาะบุหรี่, ใช้มือหรือวัตถุงอ ๆ ตีหรือทุบให้เกิดเสียงเป็นต้น เช่น เคาะประตู เคาะระฆัง เคาะตัวถังรถ; พูดเย้าแหย่. ว. เลียบเคียง เช่น พูดเคาะ.
ตบะแตก : ก. บำเพ็ญตบะต่อไปไม่ได้เพราะทนต่อสิ่งเย้ายวนไม่ไหว, หมด ความอดกลั้น, สิ้นความอดทน.
บีเยศ : (กลอน) ว. ที่รัก เช่น แถลงปางนฤนารถไท้สวรรคต ยงงมิ่งเมือง บนบี เยศเย้า. (ยวนพ่าย).
เปรต, เปรต- : [เปฺรด, เปฺรดตะ-] น. สัตว์พวกหนึ่งเกิดในอบายภูมิ คือ แดนทุกข์, ผีเลวจําพวกหนึ่ง มีหลายชนิด ชนิดหนึ่งตามที่ว่ากันว่ามีรูปร่าง สูงโย่งเย่งเท่าต้นตาล ผมยาวหยอกหยอย คอยาว ผอมโซ มีปาก เท่ารูเข็ม มือเท่าใบตาล กินแต่เลือดและหนองเป็นอาหาร มักร้อง เสียงดังวี้ด ๆ ในตอนกลางคืน; คําเรียกเป็นเชิงด่าหรือปรามาส คนที่อดอยากผอมโซ เที่ยวรบกวนขอเขากิน หรือเมื่อมีใครได้ โชคลาภก็เข้ามาขอแบ่งปันเป็นอย่างขอแบ่งส่วนบุญหรือใน ทํานองเช่นนั้น ว่า เปรต หรือ อ้ายเปรต. (ส.; ป. เปต).
ยั่วเย้า : ก. พูดหยอกล้อ, กระเซ้า.
ยิ้มหัว : ก. ยิ้มแกมหัวเราะ, ยิ้มแย้มหยอกล้อกัน.
รี้ริก : ว. เสียงหัวเราะเมื่อถูกหยอก.
ล้อหลอก : ก. ทำกิริยาอาการเย้าเล่น เช่น เด็กแลบลิ้นปลิ้นตาล้อ หลอกกัน, หลอกล้อ ก็ว่า.
เล่นหัว : ก. หยอกล้อกัน.
หยอกเอิน : ก. หยอกในทำนองชู้สาว.
หลอกล้อ : ก. ทำกิริยาอาการเย้าเล่น, ล้อหลอก ก็ว่า.
หลิ่วตา : ก. หรี่ตาลงข้างหนึ่ง เพื่อเล็งดูด้วยตาอีกข้างหนึ่ง, โดยปริยาย หมายถึงให้สัญญาณด้วยอาการเช่นนั้นเพื่อให้ลงมือทําการหรือไม่ทำการ อย่างใดอย่างหนึ่งหรือเพื่อแสดงอาการล้อเลียนหยอกล้อ.
เหยือก : [เหฺยือก] น. ภาชนะใส่น้ำเป็นต้น มีขนาดใหญ่และสูงกว่าถ้วย มีหูอยู่ข้าง ๆ ข้างเดียว.
แหนบ : [แหฺนบ] น. เครื่องสําหรับถอนหนวดถอนคิ้วเป็นต้น รูปคล้ายคีมเล็ก ๆ; แผ่นเหล็กขนาดยาวต่าง ๆ กันซ้อนกัน หรือชิ้นเหล็กที่ขดเวียนเป็นวง สําหรับรับความสะเทือนหรือบังคับความเร็วเป็นต้น เช่น แหนบรถยนต์; เครื่องระลึกที่ใช้เสียบปากกระเป๋าบนของเสื้อนอก; ซองบรรจุกระสุนปืน เป็นตับ; ลักษณนามเรียกของบางอย่างเช่นซองธูปหรือใบตองที่พับ เช่น ธูปแหนบหนึ่ง ใบตอง ๒ แหนบ. ก. กิริยาที่เอาของ ๒ สิ่งหนีบอย่าง แหนบ, เอานิ้วมือบีบทํานองหยิกแต่ไม่ใช้เล็บ; กิริยาที่สัตว์บางชนิดกัด ไม่ถนัดหรือกัดหยอก ๆ เช่น หมาแหนบ แมวแหนบ; โดยปริยายหมาย ความว่า เม้มเอาไว้; เหน็บแนม, กระแหนะกระแหน, (ใช้แก่กริยาพูด).
ยาเขียว ๑ : ดูใน ยา.
ยาจนะ, ยาจนา : [ยาจะนะ, ยาจะนา] น. การขอ, การขอร้อง, การวิงวอน. (ป., ส.).
ยากันยุง : น. ยาที่จุดหรือทากันไม่ให้ยุงกัด.
ยาขับเลือด : น. ยากินเพื่อขับระดู.
ยาขี้ผึ้ง : น. ยาที่มีลักษณะเป็นขี้ผึ้งหรือครีม ใช้ทาแก้โรคผิวหนังเป็นต้น.
ยาเขียว ๑ : น. ยาแก้ไข้ ทําด้วยใบไม้ล้วน มีหลายชนิด เช่น ยาเขียวใหญ่ ยาเขียวเล็ก ยาเขียวมหาอุดม.
ยาเคี้ยว : (กฎ) น. ส่วนใดส่วนหนึ่งของใบยาแห้ง นอกจากใบยาแห้งพันธุ์ ยาสูบพื้นเมือง ซึ่งได้ปรุงหรือปนด้วยวัตถุอื่นนอกจากน้ำเพื่ออมหรือเคี้ยว.
ยาชา : น. ยาที่ทาหรือฉีดให้ประสาทชา มักใช้ในการผ่าตัดหรือถอนฟัน เป็นต้น.
ยาซัด : น. เรียกสิ่งที่ใส่ลงในเบ้าที่หลอมโลหะในการเล่นแร่แปรธาตุ เช่น กำมะถัน ว่า ยาซัด, เรียกอาการเช่นนั้นว่า ซัดยา.
ยาถ่าย : น. ยาที่กินเพื่อให้ถ่ายอุจจาระ.
ยาบำรุงเลือด : น. ยาบำรุงให้เลือดงาม.
ยาเบื่อ : น. ยาพิษเป็นต้นที่กินแล้วทำให้เมาหรือตาย.
ยาปนมัต : น. อาหารที่พอจะให้ร่างกายดํารงอยู่ได้. ว. สักว่ายังชีวิต ให้เป็นไป, พอเลี้ยงชีพ, พอเยียวยาชีวิต, ภาษาตลาดมักพูดว่า ยาปรมัดไส้. (ป. ยาปนมตฺต).
ยาประสะ : น. ยาประเภทหนึ่งซึ่งตามปรกติเข้าเครื่องยาสิ่งหนึ่งซึ่งเป็น ตัวหลัก มีปริมาณเท่ากับเครื่องยาอื่น ๆ อีกหลายอย่างรวมกัน เรียกชื่อ ตามเครื่องยาที่เป็นหลัก เช่น ยาประสะขิง คือ เข้าขิงครึ่งหนึ่งกับเครื่อง ยาอื่น ๆ อีกครึ่งหนึ่ง แต่มีบางชนิดเครื่องยาที่เป็นตัวหลักมีปริมาณไม่ถึง ครึ่งหนึ่งของเครื่องยาทั้งหมด เช่น ยาประสะกานพลู.
ยาประสะน้ำนม : น. ยาบำรุงแม่ลูกอ่อนให้มีน้ำนมมาก.
ยาเป่า : น. ยาผงใช้เป่าเข้าลำคอ แก้เจ็บคอ.
ยาโป๊ : น. ยาชูกำลังให้กระชุ่มกระชวยเหมือนเป็นหนุ่มสาวขึ้น.
ยาแผนโบราณ : (กฎ) น. ยาที่มุ่งหมายสำหรับใช้ในการประกอบโรค ศิลปะแผนโบราณ หรือการบำบัดโรคสัตว์ ซึ่งอยู่ในตำรายาแผนโบราณ ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศ หรือยาที่รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงสาธารณสุขประกาศเป็นยาแผนโบราณ หรือยาที่ได้รับอนุญาต ให้ขึ้นทะเบียนตำรับยาเป็นยาแผนโบราณ.
ยาแผนปัจจุบัน : (กฎ) น. ยาที่มุ่งหมายสำหรับใช้ในการประกอบวิชาชีพ เวชกรรม การประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบัน หรือการบำบัดโรคสัตว์.
ยาฝิ่น : น. ยาเสพติดชนิดหนึ่งทำจากยางฝิ่น.