Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: หยั่งทราบ, หยั่ง, ทราบ , then ทราบ, หยง, หยงทราบ, หยั่ง, หยั่งทราบ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : หยั่งทราบ, 117 found, display 1-50
  1. หยั่งทราบ, หยั่งรู้ : ก. เล็งรู้ความจริง, ค้นหาเพื่อให้รู้ความจริง.
  2. หยั่ง : ก. วัดดูเพื่อให้รู้ตื้นลึก เช่น เอาถ่อหยั่งน้ำ, คาดคะเนดู เช่น หยั่งใจ.
  3. ทราบ : [ซาบ] ก. รู้ (ใช้ในความสุภาพ) เช่น ทราบข่าวได้รับทราบแล้ว เรียนมาเพื่อทราบ.
  4. ทราบเกล้าทราบกระหม่อม : (ราชา) ก. รู้ (ใช้กราบทูลเจ้านาย ตั้งแต่ชั้นพระองค์เจ้าขึ้นไป), ใช้ย่อว่า ทราบเกล้าฯ.
  5. ทราบฝ่าพระบาท : (ราชา) ก. รู้ (ใช้กราบทูลพระอนุวงศ์ชั้น พระวรวงศ์เธอที่ทรงกรมขึ้นไปจนถึงสมเด็จเจ้าฟ้า).
  6. ทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท : (ราชา) ก. รู้ (ใช้กราบทูลพระบาท สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระบรมราชินีนาถ).
  7. ทราบฝ่าละอองพระบาท : (ราชา) ก. รู้ (ใช้กราบทูลสมเด็จพระ บรมราชินี สมเด็จพระบรมราชชนนี สมเด็จพระยุพราช สมเด็จ พระบรมโอรสาธิราชและสมเด็จพระบรมราชกุมารี).
  8. หยั่งเสียง : ก. ลองพูดหรือทําอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อฟังความคิดเห็นจาก ผู้อื่นหรือคนจำนวนมาก, ซาวเสียง ก็ว่า.
  9. จัก ๓ : ก. รู้, ทราบ, แจ้ง, จําได้, เช่น รู้จัก, ข้อยคูดนูแนบนิทรา รมย์ร่วมรถ พาหนห่อนจักสึกสมประดี. (สรรพสิทธิ์).
  10. ซึมทราบ : ก. รู้ละเอียด.
  11. ที่ราบ : น. ภูมิประเทศที่เป็นที่ราบซึ่งอาจจะราบเรียบหรือมีลักษณะ เป็นลูกคลื่น โดยปรกติความสูงตํ่าของพื้นที่ในบริเวณนั้นจะ แตกต่างกันไม่เกิน ๑๕๐ เมตร.
  12. รับทราบ : ก. รับว่ารู้แล้ว.
  13. ลอง ๒ : ก. กระทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้รู้ว่าเป็นอย่างไร เช่น ลองชิม ผลไม้ว่าจะมีรสชาติอย่างไร, กระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อให้รู้ว่า เป็นอะไรหรือใช่หรือไม่ เช่น ลองชิมก้อนขาว ๆ ว่าเป็นเกลือหรือ น้ำตาล; ทดสอบความสามารถหรือคุณภาพว่าพอดีหรือเหมาะสม หรือไม่ เช่น ลองเสื้อ ลองแว่น ลองรองเท้า ลองกำลัง ลองรถ; หยั่ง ท่าที เช่น ลองชวนเขาไปเที่ยวซิ ลองเกี้ยวเขาดู.
  14. ชราบ : [ชฺราบ] (โบ) ก. ทราบ. (ข. ชฺราบ).
  15. ท ๒ : ใช้ประสมกับตัว ร อ่านเป็นเสียง ซ ในคําบางคํา เช่น ทราบ แทรก ทรง และในคําบางคําที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต เช่น ทรัพย์ อินทรีย์ มัทรี, ที่อ่านเป็นเสียงเดิมคือ ทร (ไม่ใช่ ซ) ก็มี เช่น ภัทรบิฐ.
  16. รู้ : ก. แจ้ง, เข้าใจ, ทราบ.
  17. กระหม่อม : น. ส่วนของกะโหลกอยู่ตรงแนวศีรษะแต่ต่ำกว่าส่วนสูงสุด ลงมาใกล้หน้าผาก ในเด็กแรกเกิดจนถึง ๒ ขวบส่วนนี้จะมี เนื้อเยื่ออ่อนปิดรอยประสานกะโหลกที่ยังเปิดอยู่ หลังจากนั้น เนื้อเยื่ออ่อนนี้จะกลายเป็นกระดูก, โดยปริยายหมายรวม ๆ ว่า หัว เช่น เป่ากระหม่อม ลงกระหม่อม, ขม่อม ก็ว่า; คําสําหรับใช้ควบ กับคําที่ขึ้นต้น ว่า ``เกล้า'' เช่น ทราบเกล้าทราบกระหม่อม ทูลเกล้าทูลกระหม่อม ในการเขียนหนังสือใช้ไปยาลน้อยแทน เช่น ทราบเกล้าฯ ทูลเกล้าฯ. ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย เพ็ดทูลเจ้านายชั้นหม่อมเจ้า และพระวรวงศ์เธอที่มิได้ทรงกรม, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑. (ราชา) ว. คำรับหรือคำลงท้ายที่ผู้ชาย ใช้เพ็ดทูลเจ้านายชั้นหม่อมเจ้า. (ย่อมาจาก ขอรับกระหม่อม). (แผลงมาจาก ขม่อม).
  18. กั่น ๑ : น. ส่วนที่ถัดจากโคนอาวุธหรือเครื่องมือเป็นต้น สําหรับหยั่งลงไปในด้าม.
  19. ของเลื่อนเตือนขันหมาก : น. สํารับคาวหวานเนื่องในการแต่งงาน ซึ่ง ฝ่ายเจ้าสาวนําไปให้ฝ่ายเจ้าบ่าวเพื่อเตือนบอกให้ทราบว่าทางบ้าน เจ้าสาวเตรียมพร้อมที่จะรับขันหมากได้แล้ว.
  20. ค่ะ : ว. คํารับที่ผู้หญิงใช้อย่างเดียวกับ จ้ะ, คำลงท้ายที่ผู้หญิงใช้ในการบอก ให้ทราบอย่างสุภาพ เช่น ไปค่ะ ไม่ไปค่ะ.
  21. คำเผดียงสงฆ์ : น. ญัตติ, คำประกาศให้สงฆ์ทราบเพื่อทำกิจ ของสงฆ์ร่วมกัน.
  22. โคน ๒ : น. ชื่อเห็ดหลายชนิดในสกุล Termitomyces วงศ์ Amanitaceae ขึ้น บริเวณจอมปลวก ดอกเห็ดรูปร่ม ยอดแหลม สีขาวนวลจนถึง นํ้าตาลดํา ด้านล่างมีครีบก้านยาวตั้งตรง โคนเรียวเล็กหยั่งลึกลงไป ถึงรังปลวก กินได้ เช่น ชนิด T. fuliginosus Heim.
  23. โฆษณา : [โคดสะนา] ก. เผยแพร่ข้อความออกไปยังสาธารณชน; ป่าวร้อง, ป่าวประกาศ, เช่น โฆษณาสินค้า; (กฎ) กระทําการไม่ว่าโดยวิธี ใด ๆ ให้ประชาชนเห็นหรือทราบข้อความเพื่อประโยชน์ในทางการ ค้า. (ส.; ป. โฆสนา).
  24. โฆษณาการ : น. การป่าวร้องให้ทราบ, การแจ้งความให้ทราบ. (ส. โฆษณา + อาการ).
  25. จิตบำบัด : [จิดตะ-, จิด-] น. วิธีรักษาผู้ป่วยหรือผู้มีปัญหาทางด้านจิตใจ undefined ด้วยวิธีที่จิตแพทย์หรือนักจิตวิทยาสนทนากับผู้ที่มารับการรักษา เพื่อให้ทราบถึงสาเหตุของโรคหรือปัญหาแล้วหาทางแก้ไข. (อ. psychotherapy).
  26. แจ้งความ : ก. บอกให้ทราบความ, แจ้งเหตุต่อเจ้าพนักงาน.
  27. ชันสูตรพลิกศพ : (กฎ) ก. ตรวจพิสูจน์ศพเพื่อให้ทราบว่า ผู้ตายคือใครตายที่ไหน เมื่อใด สาเหตุและพฤติการณ์ที่ตาย.
  28. ชิมลาง : ก. หยั่งดูท่าทีหรือเหตุการณ์ว่าจะดีหรือร้าย.
  29. เชิง ๒ : ก. แง่งอน, กระบวน, เช่น ทําเชิง เอาเชิง; ท่าที, ท่วงที, เช่น คุมเชิง หยั่งเชิง ลองเชิง.
  30. ซาวเสียง : ก. ลองพูดหรือทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อฟังความคิดเห็น จากผู้อื่นหรือคนจำนวนมาก, หยั่งเสียง ก็ว่า.
  31. ซึ้ง ๒ : ว. ลึกมากจนยากที่จะหยั่งรู้ได้ เช่น ปัญหาลึกซึ้ง คิดลึกซึ้ง; รู้สึก เอิบอาบซาบซ่านแผ่ไปทั่วร่างกายและจิตใจ เช่น ภาพนี้มองดูซึ้ง ฟังเขาพูดแล้วรู้สึกซึ้งมาก.
  32. ญัตติ : น. คําประกาศให้สงฆ์ทราบเพื่อทํากิจของสงฆ์ร่วมกัน เช่น ญัตติทุติยกรรมวาจา ญัตติจตุตถกรรมวาจา, คําเผดียงสงฆ์ ก็ว่า ข้อเสนอเพื่อลงมติ เช่น ผู้แทนราษฎรเสนอญัตติเข้าสู่สภาเพื่อขอให้ ที่ประชุมลงมติว่าจะเห็นชอบด้วยหรือไม่; หัวข้อโต้วาที เช่น โต้วาทีในญัตติว่า ขุนช้างดีกว่าขุนแผน. (ป.).
  33. ญาณ, ญาณ- : [ยาน, ยานะ-, ยานนะ-] น. ปรีชาหยั่งรู้หรือกําหนดรู้ที่เกิดจาก อํานาจสมาธิ, ความสามารถหยั่งรู้เป็นพิเศษ. (ป.; ส. ชฺ?าน).
  34. ตรวจเลือด : ก. ตรวจดูว่าเลือดอยู่ในกลุ่มไหน หรือมีเชื้อโรคอยู่ในเลือดหรือไม่ หรือเพื่อทราบโรคบางอย่าง เป็นต้น.
  35. แถลง : [ถะแหฺลง] ก. บอก เล่า หรือแจ้งให้ทราบเป็นทางการ เช่น แถลงข่าว, กล่าวอธิบาย เช่น จะแถลงให้ทราบ; แสวง เช่น บัดแถลง.
  36. แถลงการณ์ : (กฎ) น. บรรดาข้อความที่ทางราชการแถลงเพื่อทำความ เข้าใจในกิจการของทางราชการหรือเหตุการณ์หรือกรณีใด ๆ ให้ทราบ ชัดเจนโดยทั่วกัน. ก. อธิบายเหตุการณ์เป็นทางการ.
  37. แถลงการณ์ร่วม : น. คําแถลงการณ์ของผู้เข้าประชุมทุกฝ่ายที่ได้ลงนาม ร่วมกันเพื่อแถลงให้ประชาชนทั่วไปทราบ.
  38. ทรง : [ซง] น. รูปร่าง เช่น ทรงกระบอก ทรงปั้นหยา ทรงกระสอบ ทรงกระทาย (ลักษณะชามหรือถ้วยมีรูปคล้ายกระทาย), แบบ เช่น ทรงผม. ก. ตั้งอยู่ได้ เช่น ทรงตัว; จํา เช่น ทรงพระไตรปิฎก; รองรับ เช่น ธรรมย่อมทรงผู้ประพฤติธรรมไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว; มี เช่น ทรงคุณวุฒิ; คงอยู่ เช่น ไข้ยังทรงอยู่ นํ้าทรง; ในราชาศัพท์ มีความหมายว่า ขี่ หรือ ถือ เป็นต้น ตามเนื้อความของคําที่ตาม หลัง เช่น ทรงม้า ว่า ขี่ม้า ทรงช้าง ว่า ขี่ช้าง ทรงศร ว่า ถือศร ทรงศีล ว่า รับศีล ทรงธรรม ว่า ฟังเทศน์ ทรงบาตร ว่า ตักบาตร ทรงราชย์ ว่า ครองราชสมบัติ; ถ้าประกอบหน้านามบางคํา เช่น ชัย ภพ ศรี ศักดิ์ ธรรม เป็น พระทรงชัย พระทรงภพ พระทรงศรี พระทรงศักดิ์ พระทรงธรรม หมายถึง กษัตริย์; ถ้าประกอบหน้า นามที่เป็นพาหนะหรืออาวุธเป็นต้นของพระเป็นเจ้า หมายถึง พระเป็นเจ้านั้น ๆ เช่น พระทรงโค หมายถึง พระอิศวร พระทรง ครุฑ พระทรงศร พระทรงสังข์ หมายถึง พระนารายณ์ พระทรงหงส์ หมายถึง พระพรหม; ใช้นําหน้าคํากริยาสามัญให้เป็นราชาศัพท์ เช่น ทรงทราบ ทรงยินดี ทรงขอบใจ; ใช้นําหน้าคํานามราชาศัพท์ ให้เป็นกริยาราชาศัพท์ เช่น ทรงพระสรวล ทรงพระเมตตา ทรงพระ ประชวร, ในลักษณะนี้จะหมายความว่า มี ก็ได้ เช่น ทรงพระปรีชา สามารถ ทรงพระคุณ ทรงพระนาม, เมื่อกริยาเป็นราชาศัพท์อยู่แล้ว ไม่นิยมใช้คําว่า ทรง นําหน้าซ้อนลงไปอีก เช่นไม่ใช้ว่า ทรงตรัส ทรงประทับ ทรงพระราชทาน. (ราชา) ว. เรียกช้าง ม้า ที่ขึ้นระวาง แล้วว่า ช้างทรง ม้าทรง.
  39. ทางใน : น. การหยั่งรู้ด้วยพลังจิต, โดยปริยายหมายถึงการนึกเดาเอาเอง.
  40. ทาบทาม : ว. หยั่งใจเขาดู, ลองหยั่งเสียงดู. ก. ติดต่อสอบถาม เพื่อฟังความเห็นก่อนที่จะตกลงกัน.
  41. ทิ้งฟ้อง : (กฎ) ก. การที่โจทก์เพิกเฉยไม่ร้องขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อให้ส่งหมายเรียกให้แก้คดีแก่จําเลย และไม่แจ้งให้ศาลทราบเหตุ แห่งการเพิกเฉยเช่นว่านั้น ภายในกําหนด ๗ วัน ภายหลังที่ได้เสนอ คําฟ้องแล้ว หรือการที่โจทก์เพิกเฉยไม่ดําเนินคดีภายในเวลาที่ศาล เห็นสมควรกําหนดไว้เพื่อการนั้น โดยได้ส่งคําสั่งให้แก่โจทก์โดย ชอบแล้ว.
  42. ไทเทรต : [-เทฺรด] ก. หยดสารละลายหนึ่งจากหลอดแก้วที่มีขีดบอกปริมาตร ซึ่งเรียกว่าบิวเรตต์ลงในสารละลายอื่นซึ่งทราบปริมาตรแล้ว เพื่อให้ ทําปฏิกิริยาเคมีกันจนกระทั่งปฏิกิริยาสิ้นสุด. (อ. titrate).
  43. นั่งทางใน : ก. นั่งเข้าสมาธิเพื่อหยั่งรู้ด้วยพลังจิต.
  44. นัดแนะ : ก. นัดและชี้แจงให้กันทราบ.
  45. นิคาลัย : (กลอน) ก. ตาย เช่น ทราบว่าพี่กับบิดานิคาลัย. (อภัย).
  46. นุ ๑ : (กลอน) ตัดมาจากอุปสรรค อนุ เช่น ทราบนุสนธิ์ทุกแห่ง. (ตะเลงพ่าย); อเนกนุประการ. (พงศ. เลขา); โดยนุกรม. (ม. คําหลวง วนปเวสน์).
  47. แนะนัด : ก. นัดแนะ, นัดและชี้แจงให้กันทราบ.
  48. บรรทับ : [บัน-] (โบ; กลอน) ก. ประทับ เช่น ถนอมบรรทับออมชม ทราบเนื้อ. (ทวาทศมาส).
  49. บรรลาย ๑ : [บัน-] (กลอน; แผลงมาจาก ปราย) ก. ปราย, โปรย, เช่น หยั่งหยาด วลาหกบรรลาย. (อุเทน).
  50. เบาะแส : น. ลู่ทาง, ร่องรอย, ลาดเลา, เค้าเงื่อน, ตําแหน่งแห่งที่ซึ่ง ทราบมาอย่างเลา ๆ พอเป็นรูปเค้า.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-117

(0.1293 sec)