Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: หยิบหย่ง, หย่ง, หยิบ , then หยง, หย่ง, หยบ, หยบหยง, หยิบ, หยิบหย่ง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : หยิบหย่ง, 65 found, display 1-50
  1. หยิบหย่ง, หยิบหย่ง : ว. กรีดกราย, ทำอะไรไม่จริงจัง, ไม่เอาการเอางาน, ไม่ทะมัดทะแมง, เช่น ท่าทางหยิบหย่งอย่างนี้ จะไปทำมาหากินอะไรได้.
  2. หยิบ : ก. เอานิ้วมือจับขึ้น. น. ประมาณของเท่า ๒ นิ้วมือหรือ ๓ นิ้วมือหยิบ ขึ้นครั้งหนึ่ง, หยิบมือ ก็เรียก.
  3. หย่ง ๒, หย่ง : ว. อาการที่เดินหรือวิ่งไม่เต็มเท้า คือ จดแต่ปลายเท้า เพื่อทําให้ตนสูงขึ้น หรือเพื่อไม่ให้เกิดเสียงดัง เช่น เดินหย่ง ๆ วิ่งหย่ง ๆ, เรียกรอยเท้าที่ไม่เต็ม เห็นแต่ปลายเท้าและส้นเท้า ว่า รอยเท้าหย่ง หรือรอยเท้าหย่ง ๆ, อาการ ที่นั่งเอาปลายเท้าตั้งลงที่พื้น ส้นเท้าทั้ง ๒ รับก้น เรียกว่า นั่งหย่ง หรือ นั่งหย่ง ๆ, กระหย่ง กระโหย่งหย่ง หรือ โหย่ง ๆ ก็ว่า.
  4. ประจิ้มประจ่อง : ก. หยิบหย่ง, ดัดจริตกรีดกราย.
  5. ป้อ : ว. อาการของไก่ที่คึกกรีดปีกไปมา, มีอาการกรีดกราย หยิบหย่ง; อ่อน เช่น ไข่ป้อ; ป๋อ.
  6. เหยียบขี้ไก่ไม่ฝ่อ : (สํา) ว. หยิบหย่ง, ทําอะไรไม่จริงจัง, ไม่เอาการเอางาน.
  7. หย่ง : ก. ทําให้สูงขึ้น เช่น หย่งตัว, ทำสิ่งที่รวมตัวกันให้โปร่งหรือขยายตัวให้ หลวมขึ้น เช่น หย่งฟาง หย่งผม หย่งเส้นบะหมี่, โหย่ง ก็ว่า.
  8. หยิบมือ : น. ประมาณของเท่า ๒ นิ้วมือหรือ ๓ นิ้วมือหยิบขึ้นครั้งหนึ่ง, หยิบ ก็เรียก.
  9. หยิบมือเดียว : (สำ) น. จำนวนน้อยมาก เช่น มีทหารแค่หยิบมือเดียวจะไป รบกับใครเขาได้.
  10. หยิบยืม : ก. ยืมสิ่งของบางอย่างที่พอหยิบได้.
  11. หยิบผิด : (โบ) ก. สรรหาเอาผิดจนได้, จับผิด.
  12. กระหย่ง : ก. ทําให้สูงขึ้น เช่น กระหย่งตัว, ทำสิ่งที่รวมตัวกันให้โปร่ง หรือขยายตัวให้หลวมขึ้น เช่น กระหย่งฟาง, กระโหย่ง หย่ง หรือ โหย่ง ก็ว่า.
  13. กระหย่ง : ว. อาการที่เดินหรือวิ่งไม่เต็มเท้า คือ จดแต่ปลายเท้า เพื่อทําให้ตนสูงขึ้น หรือเพื่อไม่ให้เกิดเสียงดัง เช่น เดินกระหย่ง วิ่งกระหย่ง, เรียกรอยเท้าที่ไม่เต็มเห็นแต่ ปลายเท้าและส้นเท้าว่า รอยเท้ากระหย่ง, อาการที่นั่งเอา ปลายเท้าตั้งลงที่พื้น ส้นเท้าทั้ง ๒ รับก้น เรียกว่า นั่งกระหย่ง, กระโหย่ง หย่ง หย่ง ๆ โหย่ง หรือ โหย่ง ๆ ก็ว่า.
  14. กรีดกราย : ว. เยื้องกราย, เดินทอดแขน, มีท่าทางหยิบหย่ง, ทำอะไรไม่เต็มกำลัง.
  15. กรีดนิ้ว : ก. กรายนิ้ว, ใช้นิ้วมือหยิบอย่างมีท่าทีหยิบหย่ง.
  16. กรุยกราย : ว. เดินทําทีท่าเจ้าชู้; มีท่าทางหยิบหย่ง, ในบทกลอนใช้ว่า กรายกรุย ก็มี เช่น อย่านุ่งลายกรายกรุยทําฉุยไป. (สุภาษิตสุนทรภู่).
  17. ทองหยิบ : น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทําด้วยไข่แดงตีให้ขึ้นเล็กน้อย หยอด เป็นแผ่นเล็ก ๆ ในนํ้าเชื่อมร้อน ๆ ตั้งไฟให้สุก แล้วช้อน ออกมาหยิบเป็นกลีบ ๆ ๕ หรือ ๗ หยิบ ใส่ถ้วยตะไลทิ้งไว้ให้ คงรูป, ลักษณนามว่า ดอก.
  18. ยกหยิบ : (กลอน) ก. หยิบยก เช่น จะยกหยิบธิบดีเป็นที่ตั้ง. (นิ. ภูเขาทอง).
  19. หงิม ๆ หยิบชิ้นปลามัน : (สำ) น. ลักษณะของบุคคลที่มีท่าทางหงิม ๆ แต่ ความจริงเป็นคนฉลาด มีวิธีเลือกเอาดี ๆ ไปได้.
  20. หย่ง : [โหฺย่ง] ก. ทำให้สูงขึ้น เช่น โหย่งตัว, ทำสิ่งที่รวมตัวกันให้โปร่งหรือขยาย ตัวให้หลวมขึ้น เช่น โหย่งฟาง โหย่งผม โหย่งเส้นบะหมี่, หย่ง ก็ว่า.
  21. หย่ง ๒, โหย่ง : [โหฺย่ง] ว. อาการที่เดินหรือวิ่งไม่เต็มเท้า คือ จดแต่ปลายเท้า เพื่อทําให้ตน สูงขึ้น หรือเพื่อไม่ให้เกิดเสียงดัง เช่น เดินโหย่ง ๆ วิ่งโหย่ง ๆ, เรียกรอยเท้า ที่ไม่เต็ม เห็นแต่ปลายเท้าและส้นเท้า ว่า รอยเท้าโหย่ง หรือ รอยเท้าโหย่ง ๆ, อาการที่นั่งเอาปลายเท้าตั้งลงที่พื้น ส้นเท้าทั้ง ๒ รับก้น เรียกว่า นั่งโหย่ง หรือ นั่งโหย่ง ๆ, กระหย่ง กระโหย่ง หย่ง หรือ หย่ง ๆ ก็ว่า.
  22. กระโหย่ง : [-โหฺย่ง] ก. ทําให้สูงขึ้น เช่น กระโหย่งตัว, ทำสิ่งที่รวมตัวกันให้โปร่งหรือขยายตัวให้หลวมขึ้น เช่น กระโหย่งฟาง, กระหย่ง หย่ง หรือ โหย่ง ก็ว่า.
  23. กระโหย่ง : [-โหฺย่ง] ว. อาการที่เดินหรือวิ่งไม่เต็มเท้า คือ จดแต่ปลายเท้า เพื่อทําให้ตนสูงขึ้น หรือเพื่อไม่ให้เกิดเสียงดัง เช่น เดินกระโหย่ง วิ่งกระโหย่ง, เรียกรอยเท้าที่ไม่เต็ม เห็นแต่ปลายเท้าและส้นเท้าว่า รอยเท้ากระโหย่ง, อาการที่นั่งเอาปลายเท้าตั้งลงที่พื้น ส้นเท้าทั้ง ๒ รับก้น เรียกว่า นั่งกระโหย่ง, กระหย่ง หย่ง หย่ง ๆ โหย่ง หรือ โหย่ง ๆ ก็ว่า.
  24. ร่องส่วย : (ถิ่น–อีสาน) ก. หย่ง.
  25. กำมือ : น. มือที่กําเข้า; ปริมาณของเต็มมือที่กําเข้า; กำ ก็ว่า; มาตราตวงตามวิธีประเพณีของไทยโบราณ ๔ หยิบมือ = ๑ กำมือ ๔ กำมือ = ๑ ฟายมือ และอีกแบบหนึ่ง ๔ ใจมือ = ๑ กำมือ ๘ กำมือ = ๑ จังออน.
  26. ขยุ้ม : [ขะยุ่ม] ก. เอาปลายนิ้วทั้ง ๕ หยิบรวบขึ้นมาเพื่อให้ได้มาก, โดยปริยาย ใช้ในอาการอย่างนั้น เช่น แมงมุมขยุ้มหลังคา. น. ปริมาณของที่ขยุ้มมา ได้ครั้งหนึ่ง ๆ เรียกว่า ขยุ้มหนึ่ง.
  27. คางคก ๑ : น. ชื่อสัตว์สี่เท้าสะเทินนํ้าสะเทินบกในวงศ์ Bufonidae รูปร่างคล้ายกบ ผิวหนังเป็นตุ่มขรุขระ เคลื่อนที่โดยการย่างเดินและกระโดดหย่ง ๆ ใน ประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น คางคกบ้าน (Bufo melanostictus) คางคกป่า (B. macrotis).
  28. เงือด, เงือดงด : ก. อดกลั้น, ยับยั้ง, เช่น เงือดคํารบสองคาบสามคาบ. (จารึกสยาม), จำต้องเงือดงดอดกลั้น คอยหยิบผิดมันให้จงได้. (สังข์ทอง).
  29. ฉวย : ก. คว้า จับ หรือหยิบเอาโดยเร็ว. สัน. ถ้า, แม้.
  30. ฉวยฉาบ : (กลอน) ก. จิกหรือหยิบแล้วบินหรือพาไป เช่น ฉวยฉาบคาบนาคี เป็นเหยื่อ. (เห่เรือ).
  31. เฉย ๆ : ว. ใช้ประกอบข้อความหรือคําอื่น มีความหมายต่าง ๆ แล้วแต่ ข้อความแวดล้อม เช่น หยิบไปเฉย ๆ คือ หยิบไปโดยไม่ได้บอกกล่าว, อยู่บ้านเฉย ๆ คือ อยู่บ้านโดยไม่ทําอะไรให้เป็นกิจจะลักษณะ หรือไม่ได้ ทํามาหากินอะไร; ไม่ยินดียินร้ายเช่น เขาเป็นคนเฉย ๆ, เท่านั้น เช่น ปลูกเรือนไว้เฉย ๆ ไม่ให้ใครอยู่.
  32. ถือวิสาสะ : ก. ถือว่าสนิทสนมเป็นกันเอง เช่น ถือวิสาสะหยิบหนังสือ เพื่อนไปโดยไม่บอก.
  33. ปับ : ว. เสียงดังอย่างเสียงถูกชกหรือต่อย; อาการที่เป็นไปอย่างฉับไว, ทันทีทันใด, เช่น วางปับ หยิบปับ, มักใช้เข้าคู่กับคำ ปุบ เป็น ปุบปับ.
  34. ปั๊บ : ว. อาการที่เป็นไปอย่างฉับไว, ทันทีทันใด, เช่น วางปั๊บ หยิบปั๊บ, มักใช้เข้าคู่กับคำ ปุ๊บ เป็น ปุ๊บปั๊บ.
  35. มอญซ่อนผ้า : น. ชื่อการเล่นของเด็กอย่างหนึ่ง โดยผู้เล่นนั่งล้อมวง ผู้ซ่อนผ้าจะถือผ้าซึ่งมัก ฟั่นให้เป็นเกลียวเดินวนอยู่นอกวง เมื่อเห็นผู้ใดเผลอก็ทิ้งผ้านั้นไว้ข้างหลังและทำเสมือนว่า ยังไม่ได้ทิ้งผ้า แล้วเดินวนอีก ๑ รอบ ถ้าผู้ที่มีผ้าวางอยู่ข้างหลังยังไม่รู้สึกตัว ก็หยิบผ้านั้นขึ้นมาตี ผู้ถูกตีจะต้องลุกขึ้นวิ่งหนีไป ๑ รอบ แล้วกลับไปนั่งที่เดิมผู้ซ่อนผ้าก็จะเดินวนต่อไปหาทางทิ้งผ้า ให้ผู้อื่นใหม่ แต่ถ้าผู้นั้นรู้ตัวก่อนก็จะหยิบผ้าลุกขึ้นไล่ตีผู้ซ่อนผ้าให้วิ่งไป ๑ รอบ ผู้ซ่อนผ้าก็จะมานั่ง แทนที่ผู้ที่ไล่ตีนั้นก็จะเป็นผู้ซ่อนผ้าต่อไป.
  36. มับ : ว. คําสําหรับประกอบกริยาที่เอาอะไร ๆ ไปอย่างฉับไวไม่รีรอ เช่น คว้ามับ ฉวยมับ หยิบมับ, หมับ ก็ว่า.
  37. มือกาว : ว. ขี้ขโมย. น. ผู้ที่เก่งหรือชำนาญในทางล้วงกระเป๋า, ผู้ชำนาญในการหยิบฉวยสิ่งของของผู้อื่นติดมือไปเมื่อเจ้าของ เผลอ, เรียกผู้รักษาประตูฟุตบอลที่รับลูกบอลได้แม่นยำโดยลูก ไม่หลุดจากมืออย่างกับมือทากาวว่า ประตูมือกาว.
  38. ลนลาน : ว. อาการที่กลัว ตกใจ หรือรีบร้อนเป็นต้นจนทำอะไรไม่ถูก เช่น ไฟไหม้ข้างบ้านเขาวิ่งหนีไฟลนลานเลยไม่ได้หยิบอะไรมา.
  39. ล้วงควัก : ก. หยิบฉวยเอาสิ่งของเป็นต้นไปโดยพลการ เช่น มาล้วง ควักข้าวสาร ถ่าน เกลือของเจ้าของบ้านไป.
  40. ล่อมือ : ว. ชวนให้หยิบฉวยหรือขโมย เช่น ตากผ้าไว้ข้างรั้วล่อมือ ขโมย.
  41. ล่อหูล่อตา : ว. ชวนให้อยากได้หรือหยิบฉวยไปเป็นต้น เช่น แต่ง ทองเหลืองอร่ามล่อหูล่อตา.
  42. เล็บ : น. สิ่งซึ่งมีลักษณะแข็งอย่างเขาสัตว์อยู่ปลายนิ้ว สําหรับป้องกัน ส่วนของปลายนิ้วหรือหยิบจับเป็นต้น.
  43. วิสาสะ : น. ความคุ้นเคย, ความสนิทสนม; การถือว่าเป็นกันเอง เช่น หยิบของไปโดยถือวิสาสะ. ก. พูดจาปราศรัยอย่างคุ้นเคยกัน เช่น ไม่เคยวิสาสะกันมาก่อน. (ป. วิสฺสาส; ส. วิศฺวาส).
  44. สง : ก. หย่งให้กระจายตัวหรือยกขึ้นให้นํ้าหรือของเล็ก ๆ ร่วงลง เช่น สงข้าว สงฟาง สงถั่วงอก สงเส้นบะหมี่. ว. สุกจัด, แก่จัด, (ใช้แก่หมาก) ในคำว่า หมากสง.
  45. หน้าเฉยตาเฉย, หน้าตาเฉย : ว. อาการที่วางหน้าเป็นปรกติ ทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ ทั้ง ๆ ที่ตนกระทำความผิด หรือบางครั้งกระทำความผิดโดยไม่เจตนา เช่น เขาหยิบฉวยของผู้อื่นไปอย่างหน้าเฉยตาเฉย.
  46. หมับ : ว. คำสำหรับประกอบกิริยาที่เอาอะไร ๆ ไปอย่างฉับไวไม่รีรอ เช่น คว้า หมับ ฉวยหมับ หยิบหมับ, มับ ก็ว่า.
  47. หมุบหมับ : ว. อาการที่หยิบฉวยหรือกินโดยเร็ว เช่น แย่งกันกินหมุบหมับ, บางทีก็ใช้แยกกัน เช่น คว้าคนละหมุบคนละหมับ.
  48. หมุบ, หมุบ ๆ : [หฺมุบ] ว. อาการที่หยิบ กัด หรือเคี้ยวโดยเร็ว เช่น พอได้โอกาสก็คว้าหมุบ ปลาฮุบเหยื่อหมุบ ๆ.
  49. หยิบยก : ก. ยกขึ้นอ้าง เช่น หยิบยกเรื่องอดีตขึ้นมาพูด, (กลอน) ยกหยิบ.
  50. เอื้อม : ก. ยื่นมือไปเพื่อหยิบของในที่ไกลมือ; โดยปริยายหมายความว่า ใฝ่สูง.
  51. [1-50] | 51-65

(0.1271 sec)