หยิ่ง : ว. จองหอง, อวดดี, ลําพอง, ถือตัว.
ยโส : ก. เย่อหยิ่งเพราะถือตัวว่ามียศ มีปัญญา มีความรู้ มีกําลัง มีทรัพย์ ฯลฯ.
เย่อหยิ่ง : ว. จองหองเกินฐานะ, แสดงอาการยโสโอ้อวด, ถือตัว, อวดดี.
โง่แกมหยิ่ง : (สํา) ว. โง่แล้วยังอวดฉลาด, อวดดีทั้ง ๆ ที่โง่.
ลำพอง : ว. ฮึกห้าว, แสดงอาการหยิ่งยโส, เช่น ทำลำพอง ใจลำพอง.
อหังการ : [อะ] น. การยึดว่าเป็นตัวเรา; ความเย่อหยิ่งจองหอง, ความทะนงตัว, ความก้าวร้าวด้วยการถือว่าตนเองสำคัญ. ก. หยิ่ง, จองหอง, อวดดี. (ป., ส.).
โอหัง : ก. แสดงกิริยาวาจาหยิ่งยโส.
จองหอง : ว. เย่อหยิ่ง, ทะนงตัว, ถือดี, อวดดี.
จองหองพองขน : ว. เย่อหยิ่งแสดงอาการลบหลู่.
ถือตัว : ก. ไว้ตัวไม่ยอมลดตัวเพราะหยิ่งในศักดิ์หรือฐานะของตนเป็นต้น.
ทรรป : [ทับ] น. ความโง่, ความเซ่อ; ความโอ้อวด, ความจองหอง, ความเย่อหยิ่ง, เช่น แลมาให้แก่บาคค่อมขวลทรรป. (ม. คำหลวง ชูชก), ทัป ก็ว่า. (ส. ทรฺป; ป. ทปฺป).
ทะนง : ก. ถือตัว, หยิ่งในเกียรติของตัว, ใช้ว่า ทระนง ก็มี.
ทัป : น. ความโง่, ความเซ่อ; ความโอ้อวด, ความจองหอง, ความเย่อหยิ่ง, ทรรป ก็ใช้ เช่น ขวนทรรป ว่า ใฝ่จองหอง. (ม. คําหลวง สักบรรพ). (ป. ทปฺป; ส. ทรฺป).
ปั้นปึ่ง : ว. ทำท่าเย่อหยิ่งไม่พูดจากับใคร.
โป้งโหยง : [-โหฺยง] ว. จองหอง, เย่อหยิ่ง.
ผยอง : [ผะหฺยอง] ก. เผ่นโผน; ลําพอง, เย่อหยิ่ง, ฮึกเหิม.
ยัง : คำช่วยกริยาในประโยคคำถามปฏิเสธหรือประโยคปฏิเสธ โดยละกริยา นั้นไว้ให้เข้าใจเอาเอง เช่น ถามว่า จะไปหรือยัง ตอบว่า ยัง, ถ้าใช้นำหน้า คำกริยาเข้าคู่กับคำ อยู่ หมายความว่า กริยานั้นกำลังกระทำอยู่ เช่น เขายัง กินอยู่ เขายังนอนอยู่, ถ้าใช้นำหน้าคำวิเศษณ์เข้าคู่กับคำ อยู่ หมายความว่า ยังอยู่ในภาวะนั้น เช่น ยังเด็กอยู่ ยังสาวอยู่ ยังเช้าอยู่, ใช้ประกอบคำกริยา เชิงปฏิเสธที่เริ่มหรือกำหนดไว้แล้ว แต่ยังไม่เสร็จสิ้นลงไป เช่น ป่านนี้ยัง ไม่มา ทั้ง ๆ ที่น่าจะมาแล้ว, ใช้เข้าคู่กับคำอื่นเพื่อเชื่อมประโยคหน้ากับ ประโยคหลังที่มี ข้อความในลักษณะคล้ายคลึงกันให้เนื่องกัน เช่น นอกจาก โง่แล้วยัง หยิ่งอีกด้วย นอกจากสวยแล้วยังรวยอีกด้วย. ก. คงอยู่, มีอยู่, เช่น ถามว่า หมดแล้วหรือ ตอบว่า ยังมีอีก; กระทำให้ เช่น ยังชีวิตให้เป็นไป ยังใจให้ชุ่มชื่น. บ. ถึง เช่น แจ้งความมายังท่านทั้งหลาย, สู่ เช่น ไปยังบ้าน, ตลอด, ตลอดถึง, เช่น วันยังค่ำ คืนยังรุ่ง.
โยโส : ว. โหยกเหยก, อวดดี, หยิ่งจองหอง.
สตัพธ์ : [สะตับ] (แบบ) ว. แข็งกระด้าง, เย่อหยิ่ง. (ส. สฺตพฺธ; ป. ถทฺธ).
หน้าเชิด : น. หน้าที่เงยขึ้น. ว. อาการที่คอตั้งเงยหน้าแสดงความเย่อหยิ่ง หรือภาคภูมิใจเป็นต้น เช่น เขานั่งรถยนต์คันใหญ่ทำหน้าเชิด.
หัวสูง : ว. มีรสนิยมสูงจนเกินตัว; (ปาก) เย่อหยิ่ง.
อติมานะ : น. ความเย่อหยิ่ง, ความจองหอง. (ป.).
อภิมานะ : น. ความเย่อหยิ่ง, ความถือตัว. (ป., ส.).
หย่ง ๑ : ก. ทําให้สูงขึ้น เช่น หย่งตัว, ทำสิ่งที่รวมตัวกันให้โปร่งหรือขยายตัวให้ หลวมขึ้น เช่น หย่งฟาง หย่งผม หย่งเส้นบะหมี่, โหย่ง ก็ว่า.
หย่ง ๒, หย่ง ๆ : ว. อาการที่เดินหรือวิ่งไม่เต็มเท้า คือ จดแต่ปลายเท้า เพื่อทําให้ตนสูงขึ้น หรือเพื่อไม่ให้เกิดเสียงดัง เช่น เดินหย่ง ๆ วิ่งหย่ง ๆ, เรียกรอยเท้าที่ไม่เต็ม เห็นแต่ปลายเท้าและส้นเท้า ว่า รอยเท้าหย่ง หรือรอยเท้าหย่ง ๆ, อาการ ที่นั่งเอาปลายเท้าตั้งลงที่พื้น ส้นเท้าทั้ง ๒ รับก้น เรียกว่า นั่งหย่ง หรือ นั่งหย่ง ๆ, กระหย่ง กระโหย่ง โหย่ง หรือ โหย่ง ๆ ก็ว่า.
แหย่ง : [แหฺย่ง] น. สัปคับ, ที่สำหรับนั่งผูกติดบนหลังช้าง, แหย่งช้าง ก็เรียก.
โหย่ง ๑ : [โหฺย่ง] ก. ทำให้สูงขึ้น เช่น โหย่งตัว, ทำสิ่งที่รวมตัวกันให้โปร่งหรือขยาย ตัวให้หลวมขึ้น เช่น โหย่งฟาง โหย่งผม โหย่งเส้นบะหมี่, หย่ง ก็ว่า.
โหย่ง ๒, โหย่ง ๆ : [โหฺย่ง] ว. อาการที่เดินหรือวิ่งไม่เต็มเท้า คือ จดแต่ปลายเท้า เพื่อทําให้ตน สูงขึ้น หรือเพื่อไม่ให้เกิดเสียงดัง เช่น เดินโหย่ง ๆ วิ่งโหย่ง ๆ, เรียกรอยเท้า ที่ไม่เต็ม เห็นแต่ปลายเท้าและส้นเท้า ว่า รอยเท้าโหย่ง หรือ รอยเท้าโหย่ง ๆ, อาการที่นั่งเอาปลายเท้าตั้งลงที่พื้น ส้นเท้าทั้ง ๒ รับก้น เรียกว่า นั่งโหย่ง หรือ นั่งโหย่ง ๆ, กระหย่ง กระโหย่ง หย่ง หรือ หย่ง ๆ ก็ว่า.
หยั่ง : ก. วัดดูเพื่อให้รู้ตื้นลึก เช่น เอาถ่อหยั่งน้ำ, คาดคะเนดู เช่น หยั่งใจ.
ยศ : [ยด] น. ความยกย่องนับถือเกียรติของตน, เกียรติคุณ, ฐานันดรที่ พระมหากษัตริย์โปรดเกล้าฯ พระราชทานแก่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง มีสูง ต่ำตามลำดับกันไป; เครื่องหมายพิเศษที่พระมหากษัตริย์โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อพระราชทานแก่ผู้มีฐานันดร มีสูงต่ำตามลำดับกันไป, เครื่องกําหนดหมายฐานะหรือชั้นของบุคคล. ว. ที่แสดงฐานะหรือชั้น เช่น พัดยศ. (ส.; ป. ยส).
กระหย่ง ๑ : ก. ทําให้สูงขึ้น เช่น กระหย่งตัว, ทำสิ่งที่รวมตัวกันให้โปร่ง หรือขยายตัวให้หลวมขึ้น เช่น กระหย่งฟาง, กระโหย่ง หย่ง หรือ โหย่ง ก็ว่า.
กระหย่ง ๒ : ว. อาการที่เดินหรือวิ่งไม่เต็มเท้า คือ จดแต่ปลายเท้า เพื่อทําให้ตนสูงขึ้น หรือเพื่อไม่ให้เกิดเสียงดัง เช่น เดินกระหย่ง วิ่งกระหย่ง, เรียกรอยเท้าที่ไม่เต็มเห็นแต่ ปลายเท้าและส้นเท้าว่า รอยเท้ากระหย่ง, อาการที่นั่งเอา ปลายเท้าตั้งลงที่พื้น ส้นเท้าทั้ง ๒ รับก้น เรียกว่า นั่งกระหย่ง, กระโหย่ง หย่ง หย่ง ๆ โหย่ง หรือ โหย่ง ๆ ก็ว่า.
กระโหย่ง ๑ : [-โหฺย่ง] ก. ทําให้สูงขึ้น เช่น กระโหย่งตัว, ทำสิ่งที่รวมตัวกันให้โปร่งหรือขยายตัวให้หลวมขึ้น เช่น กระโหย่งฟาง, กระหย่ง หย่ง หรือ โหย่ง ก็ว่า.
กระโหย่ง ๒ : [-โหฺย่ง] ว. อาการที่เดินหรือวิ่งไม่เต็มเท้า คือ จดแต่ปลายเท้า เพื่อทําให้ตนสูงขึ้น หรือเพื่อไม่ให้เกิดเสียงดัง เช่น เดินกระโหย่ง วิ่งกระโหย่ง, เรียกรอยเท้าที่ไม่เต็ม เห็นแต่ปลายเท้าและส้นเท้าว่า รอยเท้ากระโหย่ง, อาการที่นั่งเอาปลายเท้าตั้งลงที่พื้น ส้นเท้าทั้ง ๒ รับก้น เรียกว่า นั่งกระโหย่ง, กระหย่ง หย่ง หย่ง ๆ โหย่ง หรือ โหย่ง ๆ ก็ว่า.
ตะโพง : ว. อาการวิ่งก้าวยาว ๆ หรือวิ่งอย่างกระโดด; โทง ๆ, โหย่ง ๆ, เช่น ก็จะทําคลุมโปง ตะโพงดัน. (ปกีรณําพจนาดถ์), วิ่งตะโพงกอดบาท. (นิทราชาคริต), ตะพง ก็ว่า.
ย่อแหยง : [แหฺยง] ก. เกรงกลัว.
ยาหยัง : [หฺยัง] ก. ชนะศัตรู. (ช.).
รัดประคน : น. เชือกหรือลวดหนังตีเป็นเกลียวหุ้มผ้าแดง ใช้พันอ้อมลำตัว ถัดต้นขาหน้าของช้าง มี ๒ เส้นคู่กัน สำหรับผูกรั้งสัปคับ แหย่ง หรือ กู บมิให้โยกเลื่อน.
ลอง ๒ : ก. กระทำอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้รู้ว่าเป็นอย่างไร เช่น ลองชิม ผลไม้ว่าจะมีรสชาติอย่างไร, กระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง เพื่อให้รู้ว่า เป็นอะไรหรือใช่หรือไม่ เช่น ลองชิมก้อนขาว ๆ ว่าเป็นเกลือหรือ น้ำตาล; ทดสอบความสามารถหรือคุณภาพว่าพอดีหรือเหมาะสม หรือไม่ เช่น ลองเสื้อ ลองแว่น ลองรองเท้า ลองกำลัง ลองรถ; หยั่ง ท่าที เช่น ลองชวนเขาไปเที่ยวซิ ลองเกี้ยวเขาดู.
เหยง, เหยง ๆ : [เหฺยง] ว. อาการที่ทำซ้ำ ๆ อย่างเร็ว เช่น ขุดดินเหยง ด่าเหยง ๆ, (ปาก) ใช้ว่า เหย็ง หรือ เหย็ง ๆ ก็มี.
เหยิง : [เหฺยิง] ว. ยุ่ง, รุงรัง, มักใช้เข้าคู่กับคํา ยุ่ง เป็น ยุ่งเหยิง.
แหยง : [แหฺยง] ก. ขยาด, ย่อท้อ, ไม่คิดสู้, เช่น พอเห็นหน้าก็แหยงเสียแล้ว. ว. อาการที่รู้สึกขยาด ย่อท้อหรือไม่คิดสู้, แหยง ๆ ก็ว่า, เช่น รู้สึกแหยง ๆ.
โหยง : [โหฺยง] ว. อาการที่กระโดดโดยฉับไวด้วยดีใจหรือตกใจ เช่น กระโดดโหยง สะดุ้งโหยง.