หยี ๑ : ก. หรี่ (ใช้แก่ตา) ในคำว่า หยีตา. ว. หรี่, ที่แคบเรียวเล็ก, ในคำว่า ตาหยี.
หยี ๒ : (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ชื่อไม้ต้น ๓ ชนิดในสกุล Dialium วงศ์ Leguminosae ผลมี เมล็ดเดียว เมื่อแก่เปลือกกรอบสีดํา เนื้อหุ้มเมล็ดสีนํ้าตาล รสเปรี้ยวอมหวาน คือ ชนิด D. indum L. ลูกหยีที่เป็นของกินเล่นส่วนใหญ่เป็นผลของต้นนี้, หยีท้องบึ้ง (D. platysepalum Backer), และชนิด D. cochinchinense L. ชนิดหลังนี้ เขลง ก็เรียก, อีสานเรียก นางดํา.
ยิบหยี : ว. ทำตาหยีพร้อมกับทำตายิบ ๆ ด้วย เช่น ทำตายิบหยี.
ปะหมันอาหยี : [-หฺมัน-หฺยี] น. น้า. (ช.).
เขลง ๒ :
[เขฺลง] ดู หยี๒.
นางดำ :
(ถิ่นอีสาน) น. ต้นหยี. (ดู หยี๒).
หรี่ตา : ก. ทำตาให้หยีลงเพื่อให้แสงสว่างเข้าตาน้อยหรือเพื่อเป็นอาณัติ สัญญาณบางอย่าง.
หย-, หัย : [หะยะ-] น. ม้า. (ป., ส.).
หยี่ : [หฺยี่] (โบ) น. ผ้าพื้นขาวปักด้วยด้ายเป็นดอกดวงต่าง ๆ.
แหย่ : [แหฺย่] ก. เอานิ้วมือหรือปลายไม้เป็นต้นแยงเข้าไป; เย้า, ทําให้เกิดความ รําคาญหรือไม่สงบอยู่ได้; ลองดูชั้นเชิง.
หโยดม : น. ม้าอย่างดี. (ป. หย + อุตฺตม).
หัย : น. ม้า. (ป., ส. หย).
ยาหยี : [หฺยี] น. น้องรัก. (ช.).
ยิ้มเหย : [เหฺย] ก. ยิ้มหน้าเบ้, ฝืนยิ้ม.
ยิ้มแหย : [แหฺย] ก. ยิ้มอย่างเก้ออาย.
หยุ : [หฺยุ] (โบ) ว. น่วม, อาการที่อ่อนจนกดบู้ลงได้.
เหย : [เหฺย] ว. เบ้ (ใช้แก่หน้า).
แหย : [แหฺย] ว. อาการที่ไม่สู้ใครหรือเก้ออาย.
แหยะ, แหยะ ๆ : [แหฺยะ] ว. ไม่น่ากินไม่น่าแตะต้องเพราะแฉะ; อาการที่เคี้ยวข้าวเคี้ยวหมาก เป็นต้นอย่างเนิบ ๆ.
โหย : [โหยฺ] ก. อ่อนกําลัง, อ่อนใจ; ครวญถึง, รํ่าร้อง; มักใช้ประกอบคำอื่น ๆ เช่น โหยหา โหยหิว โหยหวน โหยไห้.
อยู่ : [หฺยู่] ก. พัก, อาศัย, เช่น เขาอยู่บ้านหลังนี้; ยังมีชีวิต เช่น เขายังอยู่; คงที่ เช่น เงินที่ให้มายังอยู่ครบ, ไม่ไปจากที่ เช่น วันนี้เขาอยู่บ้าน; ใช้ประกอบหลังกริยา แสดงว่ากําลังเป็นอยู่ในขณะนั้น เช่น นอนอยู่ ตั้งอยู่.