Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: หย่อน , then หยอน, หย่อน .

Royal Institute Thai-Thai Dict : หย่อน, 68 found, display 1-50
  1. หย่อน : ก. ไม่ตึง, ผ่อนไม่ให้ตึง, ค่อย ๆ ผ่อนลงมาจากที่สูง; ถอย เช่น หย่อนกําลัง, คลาย เช่น หย่อนอารมณ์, ทุเลา เช่น ลดหย่อน; เบาลง, น้อย, ไม่เต็ม, เช่น กิโลหย่อนไป ๒ ขีด บาทหย่อนสลึง หย่อนสมรรถภาพ.
  2. หย่อนใจ, หย่อนอารมณ์ : ก. คลายอารมณ์, พักผ่อน.
  3. ไม่หยุดหย่อน : ว. อาการที่เป็นไปอย่างต่อเนื่อง, ไม่เว้นระยะ, เช่น ทำงานไม่หยุดหย่อน.
  4. ลดหย่อน : ก. ผ่อนให้เบาลง เช่น ลดหย่อนภาษี ขอลดหย่อน ดอกเบี้ยจากร้อยละ ๑๒ เป็นร้อยละ ๑๐, ทุเลา เช่น ลดหย่อนโทษ.
  5. หยุดหย่อน : ว. เว้นระยะ มักใช้ในประโยคปฏิเสธ เช่น ทํางานไม่ หยุดหย่อน คือ ทํางานไม่เว้นระยะ.
  6. ก้นหย่อน : (ถิ่น-พายัพ) น. ก้นกบ.
  7. พักผ่อนหย่อนใจ : ก. พักผ่อนไปหาความสนุกสนานเพลิดเพลิน.
  8. หยอน : ก. หวาดเสียว.
  9. โรย : ก. อาการที่ดอกไม้ค่อย ๆ เหี่ยวแห้งและเริ่มหลุดร่วงไป เช่น ดอกไม้โรย ดอกจำปาโรย, อาการที่กลีบหรือเกสรดอกไม้ค่อย ๆ หลุดร่วงไป เช่น กลีบกุหลาบโรย เกสรบัวโรย; อาการที่หน้าตาไม่สดชื่นเพราะอดนอน หรือเพิ่งหายไข้เป็นต้น เช่น หน้าตายังโรยอยู่ อดนอนตาโรย; หย่อน กำลัง, เพลีย, ในคำว่า อิดโรย; ค่อย ๆ ผ่อนลง เช่น โรยเชือก โรยอวน; ค่อย ๆ โปรยลงไป, โปรยลงไปทีละน้อย, เช่น เอาแป้งโรยตัว โรย อาหารให้ปลา โรยพริกไทย โรยผักชี.
  10. อ่อน : ว. ไม่กระด้าง เช่น ลิ้นอ่อน; นิ่ม เช่น เนื้ออ่อน; ไม่จัด เช่น แดดอ่อน; ไม่แข็ง, ยอมง่าย ๆ, รู้สึกสงสาร, เช่น ใจอ่อน; ไม่แก่ เช่น มะพร้าว อ่อน; หย่อน เช่น อ่อนเค็ม, น้อย เช่น เหลืองอ่อน, ไม่แรง เช่น ไฟอ่อน, อายุยังน้อย เช่น ไก่อ่อน, ยังเล็กอยู่ เช่น เด็กอ่อน; ละมุนละม่อม, ดัดง่าย, เปลี่ยนแปลงง่าย.
  11. ลูกบิด : น. อุปกรณ์สําหรับจับบิดเพื่อปิด เปิดประตูหน้าต่าง เดิม ทําเป็นลูกกลม ๆ; อุปกรณ์เครื่องแก้ววิทยาศาสตร์สําหรับปิดเปิด ให้ของเหลวเป็นต้นหยุดผ่านหรือไหลผ่าน; อุปกรณ์สําหรับบิดเร่ง หรือลดสายเครื่องดนตรีประเภทเครื่องดีดหรือเครื่องสีให้ตึงหรือ หย่อน มักทําด้วยไม้หรืองา.
  12. ย่อม ๒ : ว. มีขนาดค่อนข้างเล็กเมื่อเปรียบเทียบกับสิ่งที่ใหญ่กว่า เช่น นี่ขนาดใหญ่ นั่นขนาดย่อม, เบา (ใช้แก่ราคา); ลดลง, หย่อน.
  13. ก้นกบ : น. ปลายกระดูกสันหลังที่สุดลงมาข้างล่าง, พายัพเรียก ก้นหย่อน, โดยปริยายเรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึง เช่นนั้น เช่น ก้นกบว่าวจุฬา.
  14. กระสบ : น. ชื่อโรคลมชนิดหนึ่ง ในตําราแพทย์แผนโบราณว่า มักขึ้นในไส้ ให้เวียนหัว ให้ราก จุก สมุฏฐานเกิดจากธาตุไฟหย่อน.
  15. กระหย่อน : (โบ) ก. ขย้อน คือ อาการขยับขึ้นขยับลง เช่น พระยานั่งอยู่ แลกระหย่อนองค์โลดขึ้นทั้งนั้นก็ดี ขึ้นสูงได้ ๑๘ ศอก. (ไตรภูมิ; สรรพสิทธิ์; พงศ. เหนือ), กระย่อน ก็ว่า.
  16. กุรุง : (โบ) น. กรุง เช่น จากกุรุงสาวถีกับสงฆ์ ห้าร้อยหย่อนองค์
  17. คล้อย : [คฺล้อย] ว. เพิ่งพ้นจากที่กําหนดไป เช่น เขาเพิ่งเดินคล้อยไปเมื่อสักครู่นี้. ก. บ่าย, ชาย, เรียกอาการที่ดวงตะวันเลยเที่ยงไปแล้วว่า ตะวันคล้อย, เรียก อาการที่ดวงจันทร์เลยเที่ยงคืนไปแล้วว่า เดือนคล้อย; หย่อนลง, ลดต่ำ, เรียกนมที่หย่อนลงเล็กน้อยว่า นมคล้อย.
  18. เคร่งเครียด : ก. เคร่งมากไม่หย่อนคลาย, อาการที่สมองไม่ได้พักผ่อน เพราะคร่ำเคร่งอยู่กับงานจนเกินไป.
  19. เคี่ยว : ก. ต้มให้เดือดนาน ๆ เพื่อให้งวด ข้น หรือเปื่อยเป็นต้น, โดยปริยาย หมายความว่า รํ่าไป, ไม่หยุดหย่อน, เช่น อันซึ่งพระรามฤทธิรงค์ มาเคี่ยวฆ่าวงศ์ยักษี. (รามเกียรติ์ ร. ๑).
  20. ไคล ๓ : [ไคฺล] ก. ทําให้คลาย ให้อ่อน หรือให้หย่อน โดยใช้นิ้วมือหรือฝ่ามือ เป็นต้นคลึงไปมา.
  21. เงอะ, เงอะงะ : ว. แสดงกิริยาอาการเคอะเขินไม่แนบเนียนเพราะหย่อนความชํานาญเป็นต้น.
  22. จ่อม ๒ : ก. หย่อนลง, วางลง, เช่น เอาเบ็ดไปจ่อม จ่อมก้นไม่ลง, จุ่มลง, จม, เช่น ปวงเทพเจ้าตกจม จ่อมม้วย. (โคลงตำนานศรีปราชญ์), จอด เช่น ใจจ่อมเจ้า; ฟุบ, หมอบ, (ใช้แก่สัตว์ เช่น โค กระบือ).
  23. เซา : ก. หยุดชะงัก, หย่อนลงกว่าเดิม, เพลาลง. ว. ง่วงงุน, เหงาหงอย.
  24. ตก : ก. กิริยาที่ลดลงสู่ระดับตํ่าในอาการอย่างพลัดลง หล่นลง เช่น ตกบันได ตกต้นตาล เครื่องบินตก; ไหลลง, หยดลง มา, เช่น นํ้าตก ฝนตก เหงื่อตก; ลดลง เช่น ฝีมือตก มือตก เสียงตก; เพาะข้าวลงในตากล้า เรียกว่า ตกกล้า; เอาเบ็ด เกี่ยวเหยื่อหย่อนลงไปให้ปลาหรือกุ้งกินแล้ววัดหรือสาวขึ้น มา เช่น ตกปลา ตกกุ้ง; ย่างเข้า เช่น ตกเย็น ตกคํ่า ตกฤดู หนาว, เรียกสีที่ละลายออกหรือจางไปในเวลาซักหรือถูก แดดเป็นต้นว่า สีตก, ได้, ถึง, เช่นตกทุกข์ ตกระกําลําบาก, มาถึง เช่น คําสั่งยังไม่ตก ของที่สั่งตกมาแล้ว, ขาดหายไป เช่น เขียนหนังสือตก, เขียนคําที่ขาดเติมลง เช่น ตกหนังสือ, ไม่ได้ขึ้นยานพาหนะเพราะไปไม่ทันหรือไม่มีค่าโดยสาร เช่น ตกรถตกเรือ, เอาเงินหรือสิ่งของให้ไปก่อนแล้วคิดเอา เป็นพืชผลภายหลังตามแต่จะตกลงกัน เช่น ตกข้าว คือ เอาเงินให้ไปก่อนแล้วคิดเอาข้าวทีหลัง, โดยปริยายหมาย ความว่า ลดลงตํ่า เป็นอาการแสดงว่า กลัวยอมแพ้ หรือ หมดกําลัง เป็นต้น เช่น คอตก หัวตก หางตก. ว. สำเร็จ เช่น แก้ตก ปลงตก คิดตก.
  25. ตกเบ็ด : ก. หย่อนเบ็ดล่อปลา, โดยปริยายหมายความว่า ล่อให้หลง โดยมีเครื่องล่อ. น. ชื่อการพนันอย่างหนึ่ง.
  26. ต่อล้อต่อเถียง : ว. โต้เถียงกันไปมาไม่หยุดหย่อน.
  27. ตะบม : ว. รํ่าไป, ไม่หยุดหย่อน, เช่น เที่ยวตะบม.
  28. ตะบึง : ว. รีบเร่งไปไม่หยุดหย่อน เช่น ควบม้าตะบึงไป.
  29. ตะพึด : ว. ตะบึงไป, ไม่หยุดหย่อน, เช่น ขอตะพึด.
  30. ทางสายกลาง : น. มรรคมีองค์ ๘ อันเป็นทางที่จะนำไปสู่ความ ดับทุกข์ ประกอบด้วย ๑. สัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ ๒. สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ ๓. สัมมาวาจา การเจรจาชอบ ๔. สัมมากัมมันตะ การงานชอบ ๕. สัมมาอาชีวะ การเลี้ยงชีวิตชอบ ๖. สัมมาวายามะ ความพยายามชอบ ๗. สัมมาสติ ความระลึกชอบ ๘. สัมมาสมาธิ ความตั้งใจชอบ รวมเรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา แปลว่า ทางสายกลาง; การปฏิบัติที่ไม่ตึงนักไม่หย่อนนัก, การปฏิบัติที่ไม่ตึงไปทางใด ทางหนึ่ง.
  31. ที่สุด : น. ปลายสุด. ว. สุดท้าย เช่น ในที่สุด; ลักษณะที่ยิ่งหรือหย่อน กว่าสิ่งอื่น ๆ ทั้งหมดในพวกเดียวกัน เช่น ดีที่สุด ช้าที่สุด.
  32. ทุพพลภาพ : [ทุบพนละพาบ] ว. หย่อนกําลังความสามารถที่จะ ประกอบการงานตามปรกติได้.
  33. ทุพภิกขันดร, ทุพภิกขันดรกัป : [ทุบพิกขันดอน, ทุบพิกขันดะระกับ] น. ระยะเวลาที่กําหนดไว้ว่า เป็นตอนที่ขาดแคลนอาหาร, คู่กับ สัตถันดรกัป คือ ระยะเวลาที่ ฆ่าฟันกันไม่หยุดหย่อน. (ป.).
  34. เทิบ, เทิบ ๆ, เทิบทาบ : ว. ไม่รัดกุม, หย่อนยาน, เช่น สวมเสื้อผ้าเทิบทาบ.
  35. นั่ง : ก. อาการที่หย่อนก้นให้ติดกับพื้นหรือที่รองเช่นเก้าอี้.
  36. นั่งคุกเข่า : ก. นั่งโดยวิธีย่อเข่าลงให้ติดพื้น แล้วหย่อนก้นลงบนส้นเท้า.
  37. เนิบนาบ : ว. หย่อนยาน, เทิบทาบ, ไม่รัดกุม.
  38. บกพร่อง : ก. ไม่ครบบริบูรณ์เท่าที่ควรมีควรเป็น เช่น ข้อความ บกพร่อง, หย่อนความสามารถ เช่น ทํางานบกพร่อง.
  39. เบ็ดราว : น. เบ็ดที่ผูกไว้กับเชือกหรือแท่งไม้ยาวประมาณ ๑ ศอก แล้วนำไปผูกห้อยไว้กับเชือกราวโดยเว้นระยะห่างกันเป็นตอน ๆ เพื่อนำไปหย่อนลงในแม่น้ำลำคลอง.
  40. เบาความ : ว. ไม่พินิจพิเคราะห์ในข้อความให้ถี่ถ้วน, หย่อนความคิด, เชื่อง่ายโดยมิได้ไตร่ตรองให้รอบคอบเสียก่อน.
  41. เบาปัญญา : ว. หย่อนความคิด, หย่อนสติปัญญา.
  42. เปิดสมอง : ก. พักผ่อนหย่อนใจให้สมองปลอดโปร่ง, เปิดหัว ก็ว่า.
  43. เปิดหูเปิดตา : ก. ให้ได้ฟังและให้ได้เห็นมาก (มักใช้เกี่ยวกับการ ไปพักผ่อนหย่อนใจและหาความรู้ไปในตัว).
  44. ผ่อน : ก. ทําให้หย่อนหรือคลายความตึง เช่น ผ่อนสายป่านว่าว ผ่อนหนี้ ผ่อนอารมณ์.
  45. ผ่อนผัน : ก. ลดหย่อนตาม, ลดหย่อนให้.
  46. ผ่อนหนักเป็นเบา : (สํา) ก. ลดความรุนแรงลง, ลดหย่อนลง.
  47. ผัดผ่อน : ก. ผัดพอให้ทุเลาหรือหย่อนคลายลง.
  48. ผันผ่อน : ก. ลดหย่อนตาม, ลดหย่อนให้.
  49. มัชฌิมา : ว. ปานกลาง, ไม่ยิ่งไม่หย่อน, เช่น พอเป็นมัชฌิมา. (ราชา) น. นิ้วกลาง เรียกว่า พระมัชฌิมา. (ป.; ส. มธฺยมา).
  50. ยาน ๒ : ว. อาการที่หย่อนลงหรือห้อยลงกว่าระดับที่ควรมีควรเป็นตามปรกติ.
  51. [1-50] | 51-68

(0.0579 sec)