เหลี่ยม ๑ : [เหฺลี่ยม] น. ด้านที่เป็นสัน; เส้นประกอบมุมของรูปที่มีด้านตั้งแต่ ๓ ด้าน ขึ้นไป; ส่วนสัดของขาที่ใช้ในการรํา, คู่กับ วง คือ ส่วนสัดของมือที่ใช้ ในการรํา. ว. เป็นสัน เช่น บวบเหลี่ยม เหลี่ยมเพชร เหลี่ยมเขา.
เหลี่ยม ๒ : [เหฺลี่ยม] น. ชั้นเชิง.
กระดอม : น. ชื่อไม้เถาเนื้ออ่อนชนิด Gymnopetalum cochinchinense (Lour.) Kurz ในวงศ์ Cucurbitaceae เถา ๕ เหลี่ยม มีมือจับ ผล ๑๐ เหลี่ยม สุกสีส้ม มีรสขม ใช้ทํายาได้, ขี้กาดง หรือขี้กาเหลี่ยม ก็เรียก.
กระมัง ๒ : น. ชื่อปลาน้ำจืดชนิด Puntioplites proctozysron ในวงศ์ Cyprinidae รูปร่างคล้ายปลาตะเพียน มีกระดูกครีบก้นแข็งแรงและเป็นหยัก ครีบหลังมีขนาดใหญ่ พื้นลําตัวเป็นสีขาว, เหลี่ยม ก็เรียก.
โกณก, โกณะ : [-นก] (แบบ) น. มุม, เหลี่ยม, เช่น เปนจดูรโกณก ครรโภทกเพ็ญพยง. (ม. คําหลวง วนปเวสน์). (ป.).
ขี้กาแดง : น. ชื่อไม้เถาเนื้ออ่อนชนิด Trichosanthes tricuspidata Lour. ในวงศ์ Cucurbitaceae เถาเป็นเหลี่ยม มีมือเกาะแยกเป็น ๓ แฉก ใบใหญ่มน บางทีเป็น ๕ เหลี่ยม กลีบเลี้ยงสีแดง กลีบดอกสีขาวหรือขาวอมชมพู ผลกลมใหญ่ขนาดผลส้ม สุกสีแดง เมล็ดเป็นพิษเบื่อเมา, กระดึงช้างเผือก ก็เรียก.
แง่ ๑ : น. ส่วนที่เป็นเหลี่ยมเป็นสันเป็นมุมหรือส่วนที่ยื่นออกมา เช่น แง่หิน แง่โต๊ะ, โดยปริยายหมายความว่า เหลี่ยม, ชั้นเชิง, เช่น ชาวแพแผ่แง่ ค้าขายของ. (นิ. นรินทร์), นัย.
เฟือง : น. มะเฟือง; พู, เหลี่ยม, เช่น เฟืองมะยม; ล้อที่มีฟันเพื่อให้ ประสานกับฟันของล้อตัวอื่นเป็นต้น.
วง : น. รูปที่มีเส้นที่โค้งเข้ามาบรรจบกัน ล้อมรอบเป็นขอบเขตสิ่งใด สิ่งหนึ่ง เช่น วงกลม วงรี, โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่รวมกัน เป็นหมู่เป็นกลุ่ม เช่น วงราชการ วงดนตรี; ส่วนสัดของมือที่ใช้ใน การรํา, คู่กับ เหลี่ยม คือ ส่วนสัดของขาที่ใช้ในการรํา; ลักษณนาม ใช้เรียกของที่เป็นวง เช่น แหวนวงหนึ่ง หรืออาการที่คนหลาย ๆ คน นั่งหรือยืนล้อมกันเป็นวง เช่น ไพ่วงหนึ่ง ระบำชาวไร่ ๒ วง นั่งล้อมวงกินข้าว ๓ วงหรือการเล่นที่มีคนหลาย ๆ คนร่วมกันเป็น ชุดเป็นคณะ เช่น เครื่องสายวงหนึ่ง แตรวงวงหนึ่ง ดนตรี ๒ วง ประชันกัน. ก. ล้อมรอบ, ทําเครื่องหมายเป็นรูปวงอย่างเอาดินสอ เขียนป็นรูปวงหมายไว้ หรือใช้ด้ายหรือเชือกอ้อมมาบรรจบกัน เช่น วงสายสิญจน์.
อัฐทิศ : น. ชื่อพระแท่นรูป ๘ เหลี่ยม ที่พระมหากษัตริย์ประทับเพื่อ รับนํ้าอภิเษกในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก, เรียกเต็มว่า พระที่นั่ง อัฐทิศอุทุมพรราชอาสน์.