โพรก : [โพฺรก] ว. ไม่แน่น, มีเนื้อไม่แน่น, เช่น ปูโพรก.
หลวม : ว. ไม่แน่น, ไม่สนิท, เช่น นอตตัวนี้หลวม; ใหญ่เกินพอดี, ยังมีที่ว่างเหลือ อยู่, เช่น จัดของใส่กระเป๋าหมดแล้ว กระเป๋ายังหลวมอยู่; โดยปริยาย หมายความว่า ไม่กระชับ, ไม่รัดกุม, เช่น สำนวนหลวมไป เหตุผลยัง หลวมอยู่, ไม่รอบคอบ เช่น สัญญาฉบับนี้ทำไว้หลวมเกินไป.
หลวมตัว : ก. เผลอไผลหรือถลำตัวเข้าไปโดยเข้าใจผิดหรือเพราะรู้เท่า ไม่ถึงการณ์เป็นต้น เช่น เขาหลวมตัวเล่นการพนันจนหมดตัว.
ศลัถ : [สะลัด] น. ลุ่ย, หลุด; หลวม, ไม่แน่น. (ส.).
หละหลวม : [หฺละหฺลวม] ว. สะเพร่า, ไม่ถ้วนถี่, ไม่รอบคอบ, เช่น ทำงานหละหลวม, ไม่รัดกุม เช่น งานรักษาความปลอดภัยในพิธีนี้หละหลวมมาก.
กิโมโน : น. เครื่องแต่งกายประจําชาติญี่ปุ่น เป็นเสื้อยาว หลวม แขนกว้าง มีผ้าคาดเอว, โดยปริยายใช้เรียกเสื้อสตรีที่มีลักษณะเช่นนั้น.
คับ : ว. มีขนาดไม่พอดีกัน ทําให้แน่น ตึง หรือ ฝืด สวมหรือใส่ได้โดยยาก เช่น เสื้อคับ หมวกคับ แหวนคับ, ตรงข้ามกับ หลวม. ก. มีลักษณะ หรือปริมาณเกินพอดี เช่น จระเข้คับคลอง ลิ้นคับปาก ฝูงคนคับถนน เสียงคับบ้าน ข้าวคับหม้อ.
กระเสียน : ว. ชิด, สนิท, แนบเนียน, เช่น ชฎากลีบจีบเวียนกระเสียนพระศก. (อภัย), เขาเข้าไม้ปะที่ตรงนี้ดีนัก พอดีกระเสียนกันทีเดียว; (โบ) อาการที่ของสิ่งใดสิ่งหนึ่งสอดเสียดลงไปในช่องในรูไม่คับ ไม่หลวมพอครือ ๆ กัน. (ปรัดเล).
กระหย่ง ๑ : ก. ทําให้สูงขึ้น เช่น กระหย่งตัว, ทำสิ่งที่รวมตัวกันให้โปร่ง หรือขยายตัวให้หลวมขึ้น เช่น กระหย่งฟาง, กระโหย่ง หย่ง หรือ โหย่ง ก็ว่า.
กระโหย่ง ๑ : [-โหฺย่ง] ก. ทําให้สูงขึ้น เช่น กระโหย่งตัว, ทำสิ่งที่รวมตัวกันให้โปร่งหรือขยายตัวให้หลวมขึ้น เช่น กระโหย่งฟาง, กระหย่ง หย่ง หรือ โหย่ง ก็ว่า.
ขยาย : [ขะหฺยาย] ก. อธิบาย, ชี้แจง, เช่น ขยายความ, แผ่กว้างออกไป เช่น ขยายตัว, เปิดเผย เช่น ขยายความลับ, คลายให้หายแน่น เช่น ขยาย เข็มขัดให้หลวม, คลี่, แย้ม, เช่น ดอกไม้ขยายกลีบ, ทําให้กว้างใหญ่ ออกไป เช่น ขยายห้อง ขยายรูป, ทําให้มากขึ้น เช่น ขยายพันธุ์. ขยายขี้เท่อ (ปาก) ก. แสดงให้เห็นความโง่เขลา.
ไข ๒ : ก. กวดสิ่งที่ยังหลวมอยู่ให้แน่นหรือทําสิ่งที่แน่นอยู่ให้หลวม เช่น ไข ตะปูควง ไขนอต, หมุน เช่น ไขลาน ไขกระจก; บอก, อธิบาย, ขยาย, เช่น ไขความ ไขข่าว ไขปัญหา.
ครือ ๒, ครือ ๆ : [คฺรือ] ว. ไม่คับไม่หลวม เช่น เสื้อครือตัว, พอ ๆ กัน เช่น เด็ก ๒ คนนี้ ขยันครือ ๆ กัน.
คลาย : [คฺลาย] ก. ทำให้หลวม, ขยายให้หลวม, เช่น คลายนอต คลายเกลียวเชือก; ลดลง, ทุเลา, บรรเทาลง, เช่น คลายทุกข์ คลายรัก พิษไข้คลาย คลายกังวล.
คอกระเช้า : น. เรียกเสื้อคอกลมคว้านกว้างลึกทั้งข้างหน้าและข้างหลัง มีจีบรูดตรงคอ ตัวหลวม ว่า เสื้อคอกระเช้า, ใช้เป็นเสื้อชั้นในแบบเก่า. ของผู้หญิง.
ถลำตัว : ก. หลวมตัว.
พลุ่ย : [พฺลุ่ย] ว. ง่าย, ลุ่ย, หลวมเข้าไป.
เมาะ ๑ : น. ที่นอนทําคล้ายฟูก แต่ยัดนุ่นหลวม ๆ สําหรับเด็ก.
ไวไฟ : ว. ที่ติดไฟได้ง่ายและรวดเร็วมาก เช่น น้ำมันไวไฟ, โดยปริยายหมายถึงผู้ที่มีความประพฤติหละหลวมในทางชู้สาว มีลักษณะดังสิ่งไวไฟ.
หย่ง ๑ : ก. ทําให้สูงขึ้น เช่น หย่งตัว, ทำสิ่งที่รวมตัวกันให้โปร่งหรือขยายตัวให้ หลวมขึ้น เช่น หย่งฟาง หย่งผม หย่งเส้นบะหมี่, โหย่ง ก็ว่า.
โหย่ง ๑ : [โหฺย่ง] ก. ทำให้สูงขึ้น เช่น โหย่งตัว, ทำสิ่งที่รวมตัวกันให้โปร่งหรือขยาย ตัวให้หลวมขึ้น เช่น โหย่งฟาง โหย่งผม โหย่งเส้นบะหมี่, หย่ง ก็ว่า.
ชุมแพรก : [แพฺรก] น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Heritiera javanica Kosterm ในวงศ์ Sterculiaceae เนื้อไม้ใช้ทําบ้านและ เครื่องเรือนเป็นต้น.
พรักพร้อม : [พฺรัก] ว. รวมอยู่พร้อมหน้ากัน ใช้ในลักษณะเช่นญาติพี่น้องมา กันพรักพร้อม, รวมอยู่พร้อมทุกอย่าง เช่น เตรียมข้าวของไว้ให้ พรักพร้อม, พร้อมพรัก ก็ว่า.
พริก ๑ : [พฺริก] น. ชื่อไม้ล้มลุกในสกุล Capsicum วงศ์ Solanaceae ผลมีรส เผ็ด มีหลายชนิด เช่น พริกขี้หนู (C. frutescens L.), พริกหยวก พริกชี้ฟ้า (C. annuum L.).
พริก ๒ : [พฺริก] น. ชื่อนกชนิด Metopidius indicus ในวงศ์ Jacanidae ตัวสี นํ้าตาลเป็นมันวาว หางตาขาว ปากเหลือง นิ้วตีนยาวมากสําหรับ ใช้เดินบนพืชนํ้า บินไม่เก่ง กินพืชนํ้าและแมลง.
พริก ๓ : [พฺริก] น. ชื่องูพิษขนาดเล็กในสกุล Maticora วงศ์ Elapidae ตัวขนาด ดินสอดําแต่ยาวมาก สีสวย ในประเทศไทยมี ๒ ชนิด คือ พริกท้องแดง (M. bivirgata) และ พริกสีนํ้าตาล (M. intestinalis).
พฤกษ, พฤกษ์ ๑ : [พฺรึกสะ, พฺรึก] น. ต้นไม้. (ส. วฺฤกฺษ; ป. รุกฺข).
แพรก ๑ : [แพฺรก] น. หญ้าแพรก.
แพรก ๒ : [แพฺรก] น. ทางแยกของลํานํ้า. ก. แตก, แยก.