หลักสูตร : น. ประมวลวิชาและกิจกรรมต่าง ๆ ที่กําหนดไว้ในการศึกษา เพื่อวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง.
เร่งรัด : ก. เร่งอย่างกวดขัน เช่น เร่งรัดลูกหนี้ให้ใช้เงินคืน. ว. เรียก หลักสูตรที่เร่งให้เรียนจบภายในกำหนดเวลาที่เร็วขึ้นว่า หลักสูตร เร่งรัด.
วิชาบังคับเลือก : น. รายวิชาเลือกที่ทางภาควิชาบังคับให้เรียนใน หลักสูตร. (อ. elective prescribed course).
นักศึกษา : น. ผู้มีความรู้สอบไล่ได้ไม่ตํ่ากว่ามัธยมศึกษาตอนปลายตาม หลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการหรือมีความรู้ตามที่กระทรวงศึกษา ธิการเทียบเท่า ซึ่งเข้ารับการศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา.
ประมวลการสอน : น. หนังสือหรือเอกสารที่แสดงเนื้อหาของหลักสูตร และการจัดการเรียนการสอน.
เปรียญ : [ปะเรียน] น. ผู้สอบความรู้พระปริยัติธรรมสายบาลีได้ตาม หลักสูตรตั้งแต่ ๓ ประโยคขึ้นไป.
ฝึกสอน : ก. ฝึกหัดการสอนในโรงเรียนตามหลักสูตรวิชาการศึกษา; สอนให้ทําจนเป็น, สอนให้เป็นคนดี, เช่น เฝ้าฝึกสอน.
รายวิชา : น. หน่วยวิชาที่ระบุไว้ในหลักสูตรการศึกษาระดับต่าง ๆ ในช่วงเวลาหนึ่งภาคการศึกษา มีทั้งที่บังคับและให้เลือก. (อ. course).
เรียนลัด : ก. เรียนตามหลักสูตรเร่งรัดเพื่อให้จบเร็วกว่าปรกติ.
วิชาแกน : น. รายวิชาที่อยู่ในหลักสูตรร่วมกันของหลายคณะหรือ หลายสาขาของปริญญาเดียวกัน ที่ผู้เรียนในคณะหรือสาขาเหล่านั้น จะต้องเรียน. (อ. core course).
วิชาบังคับ : น. รายวิชาที่กำหนดให้ผู้เรียนทุกคนในหลักสูตรนั้น จะต้องเรียน. (อ. prescribed course).
วิชาบังคับพื้นฐาน : น. รายวิชาพื้นฐานที่บังคับให้เรียนในหลักสูตร. (อ. basic requirement).
วิชาเอก : น. รายวิชาที่ผู้เรียนเลือกเรียนให้ลึกซึ้งเป็นวิชาหลัก ตาม หลักสูตรปริญญาหรืออนุปริญญา. (อ. major course).
สอบไล่ : ก. สอบความรู้ที่เล่าเรียนมาว่าได้ตามมาตรฐานของหลักสูตร แต่ละขั้นหรือทั้งหมด.