หลาก : ว. ต่าง ๆ เช่น หลากสี, แปลก, ประหลาด, เช่น หลากใจ. ก. ไหลมาก ผิดปรกติโดยกะทันหัน เช่น นํ้าหลาก.
หลากหลาย : ว. หลายอย่างต่าง ๆ กัน, หลายหลาก ก็ว่า.
ตระการ : [ตฺระ-] ว. งาม; ประหลาด, แปลก ๆ; หลาก, มีต่าง ๆ.
หลายหลาก : ว. หลายอย่างต่าง ๆ กัน, หลากหลาย ก็ว่า.
ต่อปากต่อคำ, ต่อปากหลากคำ : ก. เฝ้าเถียงกันไม่รู้จักจบ, พูดยันกันเพื่อพิสูจน์ความ.
แปรปากหลากคำ : ก. พูดกลับกลอกไม่ยั่งยืนคํา.
กฎ : [กด] (โบ) ก. จดไว้เป็นหลักฐาน เช่น ให้นายยกกระบัตรกฎปาก หลากคําไว้. (กฎหมายอายัดทาส), ตรา เช่น ตรัสแก่ขุนศรีภูริปรีชา ให้กฎเป็นตําราไว้. (อัยการเบ็ดเสร็จ), ''พระมหาธรรมราชาก็ตรัส ให้กฎลงมาให้เอาพระยารามเป็นพระยาพิชัย.'' (พงศ. ๑๑๓๖). (เทียบ ข. กต่ ว่า จด). น. คําบังคับ เช่น จึ่งสมเด็จพระมหินทราธิราช เจ้าแผ่นดินก็ตรัสให้ทําตามกฎให้ลงมานั้นทุกประการ. (พ.ศ. ๑๑๓๖); (กฎ) ข้อกําหนดหรือข้อบัญญัติที่บังคับให้ต้องมีการปฏิบัติตาม เช่น กฎกระทรวง กฎหมาย; (วิทยา) ข้อกําหนดในเรื่องธรรมชาติ ตามที่ค้นคว้าได้. (อ. law).
กระรอก : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Sciuridae มีฟันแทะ ส่วนใหญ่ตาโตและหูใหญ่ หางยาวเป็นพวง กินผลไม้ มีหลายสกุลและหลายชนิด เช่น กระรอกหลากสี (Callosciurus finlaysoni) พญากระรอกดํา (Ratufa bicolor).
กาฐ : [กาด] (แบบ) น. ไม้ฟืน เช่น คือโกยกาฐอันกองแลนองธรณิภาค กลาดกล่นถกลหลาก อนันต์. (สรรพสิทธิ์), กาษฐะ ก็ใช้. (ป. กฏฺ?; ส. กาษฺ?).
ไก่ป่า : น. ชื่อไก่ชนิด Gallus gallus ในวงศ์ Phasianidae ตัวผู้สีเข้มสดใสและหลากสีกว่าตัวเมีย เช่น สีเขียว ดำ แดง ตัวเมียสีน้ำตาลอมเหลือง ทั้งตัวผู้และตัวเมียขาสีเทาเข้ม โคนหางสีขาวอาศัยในป่าโปร่ง เช่น ป่าไผ่ ในประเทศไทย มี ๒ ชนิดย่อย คือ ไก่ป่าติ่งหูขาว (G. g. gallus) และไก่ป่าติ่งหูแดง (G. g. spadiceus) ไก่ชนิดนี้เป็นต้นตระกูลของไก่บ้าน.
เขียว ๆ แดง ๆ : (สำ) น. กลุ่มผู้หญิงที่แต่งตัวหลากสี เช่น ไปดูเขียว ๆ แดง ๆ นอกบ้านเสียบ้าง.
จะกรุน, จะกรูน : ว. สีดํา, โบราณเขียนเป็น จกรูน ก็มี เช่น ช้างสารชํานิเมามัน หลากหลาก หลายพรรณ แลหน้าจกรูนแสงนิล. (อนิรุทธ์).
จิตรลดา ๒ : [จิดตฺระ-] น. เครือเถาชนิดหนึ่ง. (ส. แปลว่า หลากด้วยไม้เถาต่าง ๆ หรือว่าเป็นที่รวมแห่งไม้ทิพย์ชื่อจิตรลดา; ป. จิตฺตลตา).
ท่วม : ก. ไหลหลาก บ่า หรือเอ่อท้นจนลบพื้นที่หรือสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น นํ้าท่วมทุ่ง นํ้าท่วมบ้าน, กลบ เช่น ทรายท่วมเท้า, ซาบซึมไปทั่ว เช่น เหงื่อท่วมตัว, โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น หนี้ท่วมตัว ความรู้ท่วมหัว.
ประจวบ : ก. จําเพาะพอดี, สบเหมาะ, บังเอิญพบ, เช่น นํ้าเหนือหลากมา ประจวบกับนํ้าทะเลหนุน นํ้าเลยท่วม.
พิจิตร : ว. ต่าง ๆ, หลายหลาก; งาม, น่าดู. (ส. วิจิตฺร; ป. วิจิตฺต).
ไพจิตร : [จิด] ว. งาม; แตกต่าง, หลายหลาก. (ป. วิจิตฺร; ส. วิจิตฺร, ไวจิตฺรฺย).
ฤดู :
[รึ] น. ส่วนของปีซึ่งแบ่งโดยถือเอาภูมิอากาศเป็นหลัก มักแบ่งออกเป็น ๓ ช่วง คือ ฤดูฝน ฤดูหนาว และฤดูร้อน หรือเป็น ๔ ช่วง คือ ฤดูใบไม้ผลิ ฤดูร้อน ฤดูใบไม้ร่วง และฤดูหนาว ที่แบ่งเป็น ๒ ช่วง คือ ฤดูแล้งกับฤดูฝน ก็มี, เวลาที่กําหนดสําหรับงานต่าง ๆ เช่น ฤดูเก็บเกี่ยว ฤดูทอดกฐิน ฤดู ถือบวช, เวลาที่เหมาะ เช่น ฤดูสัตว์ผสมพันธุ์, คราว, สมัย, เช่น ฤดูนํ้าหลาก.(ส. ฤตุ, ป. อุตุ).
สร้อย ๒ : [ส้อย] น. ชื่อปลานํ้าจืดหลายสกุลในวงศ์ Cyprinidae พบอยู่รวมกัน เป็นฝูงในตอนปลายฤดูนํ้าหลาก และว่ายทวนนํ้าขึ้นไปหากินใน แหล่งนํ้าที่สูงขึ้นไป ส่วนใหญ่ลําตัวสีขาวเงินและมีจุดคลํ้าหรือจุดดํา บนเกล็ดจนเห็นเป็นเส้นสายหลายแถบพาดตามยาวอยู่ข้างตัว เช่น สร้อยขาว (Cirrhinus jullieni), กระสร้อย ก็เรียก.
อัปภาคย์ : [อับปะ] ว. ปราศจากโชค, เคราะห์ร้าย, วาสนาน้อย; ไม่มีดี เช่น จะดูดินฟ้าพนาวัน สารพันอัปภาคย์หลากลาง. (อิเหนา), นิยมใช้ เข้าคู่กับคำ อาภัพ เป็น อาภัพอัปภาคย์, อปภาคย์ ก็ว่า. (ส.).