ชนิด : [ชะ] น. อย่าง เช่น มี ๒ ชนิด, จําพวก เช่น คนชนิดนี้.
การเวก ๒ : [การะ-] น. ชื่อนกในวงศ์ Paradisaeidae มีหลายสกุล หลายชนิด ทุกชนิดมีสีสันสวยงามพบเฉพาะในเกาะนิวกินี เกาะใกล้เคียง และตะวันออกเฉียงเหนือของออสเตรเลีย ที่รู้จักกันมากที่สุด คือ ชนิด Paradisaea apoda.
กด ๒ : น. (๑) ชื่อปลาไม่มีเกล็ด มีหนวด หลายชนิด หลายขนาด ครีบหลังตอนแรกและครีบอกมีก้านครีบเป็นเงี่ยง ครีบหลัง ตอนที่ ๒ เป็นครีบไขมัน ส่วนใหญ่เป็นสกุล Arius ในวงศ์ Ariidae พบมากในเขตน้ำกร่อย เช่น กดแดง หรือ กดหัวโม่ง (A. caelatus) บางชนิดพบในทะเล เช่น กดทะเล หรือ ริวกิว (A. thalassinus), ที่อยู่ในสกุล Ketengus ได้แก่ กดหัวโต (K. typus), ในสกุล Hemipimelodus เช่น กดโป๊ะ (H. borneensis). (๒) ชื่อปลาน้ำจืดบางชนิดในสกุล Mystus วงศ์ Bagriidae ลักษณะทั่วไปคล้ายกด (๑) เช่น กดเหลือง ชงโลง หรือ กดขาว (M. nemurus) กดคัง (M. wyckii).
ขม ๒ :
น. (๑) ชื่อไม้ล้มลุกในสกุล Amaranthus วงศ์ Amaranthaceae มี หลายชนิด เช่น ผักขมหนาม (A. spinosus L.) ลําต้นมีหนาม ใช้ทํา ยาได้ ผักขมสวน (A. tricolor L.) ผักขมแดง (A. caudatus L.) ใบ สีแดง ปลูกเป็นไม้ประดับ, ผักโขม หรือ ผักโหม ก็เรียก. (๒) บวบขม. [ดู นมพิจิตร(๒)]. (๓) หวายขม. [ดู หวาย(๑)]. (๔) เทียนขม. (ดู เทียนขม ที่ เทียน๓). (๕) ชื่อบัวสายพันธุ์หนึ่งในสกุล Nymphaea ดอกเล็ก สีขาว สายกินได้ หัวมีรสขม.
เลื้อยคลาน : น. สัตว์เลือดเย็นจําพวกที่ผิวหนังมีเกล็ดปกคลุม หายใจ ด้วยปอดอย่างจิ้งจก จิ้งเหลน จระเข้ เต่า งู ส่วนมากวางไข่ หลายชนิด ออกลูกเป็นตัว ลูกอ่อนมีลักษณะอย่างพ่อแม่ เรียกว่า สัตว์เลื้อยคลาน, เดิมเรียกว่า สัตว์เสือกคลาน.
สลัดผลไม้ : น. ชื่ออาหารชนิดหนึ่งตามแบบตะวันตก ทำด้วยผลไม้ หลายชนิด หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ราดด้วยน้ำเชื่อมหรือครีม หรือใช้ โรยหน้าไอศกรีม.
หลาย ๑ : ว. มาก, บางทีใช้คู่กับคำ มาก เป็น มากหลาย.
หลาย ๒ : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Grewia paniculata Roxb. ในวงศ์ Tiliaceae ผลออก เป็นพวงที่ปลายกิ่ง สุกสีดํา กินได้.
ขมิ้นเครือ : น. ชื่อไม้เถาหลายชนิดในวงศ์ Menispermaceae เช่น ชนิด Arcangelisia flava (L.) Merr., Fibraurea tinctoria Lour. ทั้ง ๒ ชนิดใช้ทํายาได้, ชนิด หลัง กําแพงเจ็ดชั้น ก็เรียก.
ทาก ๒ : น. ชื่อหอยกาบเดี่ยวหลายชนิด หลายวงศ์ ในชั้น Gastropoda เช่น ชนิด Achatina fulica วงศ์ Achatinidae มีเปลือกหุ้มตัว, ชนิด Limax flavus วงศ์ Limacidae ตัวแบนยาว มีเปลือกเล็กแบนมาก ไม่หุ้มตัว ทั้ง ๒ ชนิดอยู่บนบก.
ประการ : น. อย่าง เช่น จะทําประการไร, ชนิด เช่น หลายประการ; ทํานอง, แบบ, เช่น ด้วยประการฉะนี้. (ส. ปฺรการ; ป. ปการ).
ปลาบ ๒ : [ปฺลาบ] น. ชื่อไม้ล้มลุกหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Commelinaceae เช่น ชนิด Commelina benghalensis L. ดอกสีนํ้าเงิน, ชนิด Cyanotis axillaris Roem. et Schult. ดอกสีม่วง, ชนิด Murdannia nudiflora Brenan ดอกสีม่วงอ่อน.
ผกากรอง : น. ชื่อไม้พุ่มหลายชนิดในสกุล Lantana วงศ์ Verbenaceae เช่น ชนิด L. camara L. ลําต้นตรง กิ่งสี่เหลี่ยมมีหนามเล็กห่าง ๆ ดอกเป็นกระจุกสีชมพู หรือ แดงอมเหลือง ปลูกเป็นไม้ประดับ และแพร่พันธุ์จนเป็นวัชพืชในบางท้องที่, ก้ามกุ้ง ก็เรียก, ชนิด L. sellowiana Link. ลําต้นเลื้อย กิ่งไม่มีหนาม ดอกสีม่วง, ผกากรองเลื้อย ก็เรียก, ทั้ง ๒ ชนิดนี้เป็นไม้ต่างประเทศ; ชนิด L. trifolia L. ขึ้นในป่าโปร่งระดับสูงทางภาคเหนือ ลําต้นกลม ดอกสีม่วง.
ลาน ๒ : น. ชื่อไม้ต้นหลายชนิดในสกุล Corypha วงศ์ Palmae คล้ายต้นตาล ใบใช้จารหนังสือ ทําหมวก เป็นต้น เช่น ชนิด C. umbraculifera L. ปลูกตามวัด, ชนิด C. lecomtei Becc. ขึ้นในป่าดิบ. ว. สีเหลืองนวล อย่างใบลาน เรียกว่า สีลาน.
หมาป่า : น. ชื่อหมาหลายชนิดในวงศ์ Canidae มีถิ่นกําเนิดเกือบทั่วทุก ภูมิภาคของโลก ขนลําตัวมีสีต่าง ๆ เช่น นํ้าตาลเทา เทาปนแดง ฟันและ เขี้ยวคมมาก นิสัยดุร้าย ส่วนใหญ่หากินเป็นฝูง กินเนื้อสัตว์ เช่น ชนิด Canis vulpes พบในทวีปอเมริกาเหนือ, ชนิด Chrysocyon brachyurus พบในทวีปอเมริกาใต้, ชนิด Canis lupus พบในทวีปยุโรป, ชนิด Fennecus zerda พบในทวีปแอฟริกา, หมาจิ้งจอก (Canis aureus) และหมาใน (Cuon alpinus) พบในทวีปเอเชีย.
หมามุ่ย, หมามุ้ย : น. ชื่อไม้เถาหลายชนิดในสกุล Mucuna วงศ์ Leguminosae ฝักมีขนคัน มาก เช่น ชนิด M. gigantea DC. ฝักแบนใหญ่, ชนิด M. pruriens DC. ฝักกลม ขนาดเล็กกว่าชนิดแรก.
หูหนู : น. (๑) ชื่อเห็ดหลายชนิดในสกุล Auricularia วงศ์ Auriculariaceae ขึ้นบน ขอนไม้ ดอกเห็ดเป็นแผ่นวุ้น สีนํ้าตาลอ่อนถึงนํ้าตาลดํา กินได้ เช่น ชนิด A. polytricha (Mont.) Sacc. สีนํ้าตาลอมม่วง นิยมเพาะเลี้ยงกันมาก, ชนิด A. delicata (Fr.) P. Henn. สีนํ้าตาลอ่อนอมเหลือง เนื้อบางนิ่มยืดหยุ่น, ชนิด A. fuscosuccinea (Mont.) Farlow สีนํ้าตาลดํา เนื้อกรอบกรุบ. (๒) จอกหูหนู.
ก้นปล่อง : น. ชื่อยุงในสกุล Anopheles วงศ์ Culicidae มีหลายชนิด ที่พบเป็นสามัญเช่น ชนิด A. minimus ยุงเหล่านี้เวลาเกาะ หรือดูดเลือดคนหรือสัตว์ หัวจะปักลง ก้นชี้ขึ้น ผนังด้านล่าง ของส่วนท้องไม่มีเกล็ด ตัวเมียมีรยางค์ที่ปากยาวออกมา ๑ คู่ เช่นเดียวกับตัวผู้ ทําให้เหมือนกับมีปากเป็นสามแฉก ตัวเมียดูดเลือดและบางชนิดเป็นพาหะในการนําโรคมาสู่คน และสัตว์ เช่น โรคมาลาเรีย ตัวผู้กินน้ำหรือน้ำหวานจากดอกไม้.
กระเจา :
น. (๑) ชื่อไม้ล้มลุกหลายชนิดในสกุล Corchorus วงศ์ Tiliaceae ขึ้นอยู่ในที่ลุ่ม เปลือกต้นเหนียว เมื่อลอกออกแล้ว เรียกว่า ปอ เช่น ปอกระเจาฝักกลม (C. capsularis L.) ผลป้อม เปลือกย่นเป็นตุ่ม ๆ ใบใช้เป็นอาหารได้, พายัพเรียก เส้ง, และ ปอกระเจาฝักยาว (C. olitorius L.) ฝักยาวเรียว มีสันตามยาว, เมล็ดของปอทั้ง ๒ ชนิด นี้มีพิษ ปอใช้ทํากระสอบ. (๒) ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง. (ดู กระเชา).
กระด้าง ๑ : น. (๑) ชื่อถั่วชนิด Vigna sinensis (L.) Savi ex Hassk. var. cylindrica (L.) Koern. ในวงศ์ Leguminosae เมล็ดคล้ายถั่วดํา แต่สีค่อนข้างแดง ใช้เป็นอาหารได้อย่างถั่วดํา, บางทีเรียก ถั่วนา. (๒) ชื่อไม้พุ่มชนิด Lasianthus hookeri C.B. Clarke ในวงศ์ Rubiaceae ต้นตรงเรียวและเป็นขนสาก ๆ ใบรูปหอก ปลายแหลม ดอกขาวเล็ก ๆ เป็นกระจุกติดกับลําต้นที่ง่ามใบ ตําราแพทย์แผนโบราณว่ารากใช้ทํายาได้, พายัพเรียก กะด้าง. (๓) ชื่อเห็ดหลายชนิดในวงศ์ Polyporaceae ขึ้นบนขอนไม้ เนื้อเหนียว กินไม่ได้ เช่น ชนิด Daedaleaopsis confragosa (Bolt. ex Fr.) Schroet. ดอกเห็ดรูปพัด สีน้ำตาลแดงสลับ น้ำตาลอ่อน ผิวไม่เรียบ ด้านล่างมีรู เนื้อในเห็ดแข็ง.
กระดี่ ๑ : น. ชื่อปลาน้ำจืดในสกุล Trichogaster วงศ์ Anabantidae เช่นเดียวกับปลาสลิดแต่มีขนาดเล็กกว่า ครีบท้องยาวยื่นเป็นเส้น มี ๓ ชนิด คือ กระดี่หม้อ (T. trichopterus) ข้างตัวมีลายหลายเส้น พาดขวาง มีจุดดําที่กลางลําตัวและคอดหางแห่งละ ๑ จุด, สลาก หรือ สลาง ก็เรียก, กระดี่นาง (T. microlepis) สีขาวนวล และ กระดี่นางฟ้า หรือ กระดี่มุก (T. leeri) พบเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม, บางท้องถิ่นในแถบอีสานเรียก กระเดิด.
กระต่าย ๑ : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดเล็กในวงศ์ Leporidae ขนปุย หูยาว ที่พบอาศัยตามป่าทั่วไปในประเทศไทยมีชนิดเดียว คือ กระต่ายป่า (Lepus peguensis) ซึ่งมีขนสีน้ำตาล ใต้หางสีขาว อาศัยใน โพรงดิน ส่วนที่นํามาเลี้ยงตามบ้านมีหลายชนิดและหลายสี เช่น ชนิด Oryctolagus cuniculus.
กระทิง ๓ : น. ชื่อปลาน้ำจืดในสกุล Mastacembelus วงศ์ Mastacembelidae ลําตัวยาว แบนข้างเล็กน้อย ปลายจะงอยปากบนเรียวแหลมคล้าย ปลาหลด แต่มีครีบหลังและครีบก้นยาวต่อเนื่องกับครีบหาง สีสดสวยกว่าและมีขนาดใหญ่กว่า อาศัยอยู่ในแม่น้ำลําคลอง และที่ลุ่ม มีหลายชนิดในประเทศไทย ที่พบทั่วไป ได้แก่ ชนิด M. armatus, M. favus และกระทิงไฟ (M. erythrotaenia) ซึ่งมีขนาดยาวได้ถึง ๘๐ เซนติเมตร.
กระสือ ๒ : น. (๑) ชื่อเรียกเห็ดหลายชนิดหลายสกุลและหลายวงศ์ที่เรืองแสง ได้ในเวลากลางคืน อาจเรืองแสงเฉพาะบางส่วนหรือทุกส่วน มีสีแตกต่างกันแล้วแต่ชนิด เช่น ชนิด chlorosplenium aeruginascens (Nyl.) Karst. เรืองแสงสีเขียวในระยะเกิดสปอร์. (๒) ชื่อว่าน ชนิดหนึ่ง ต้นและหัวคล้ายขมิ้นอ้อย สีขาว ฉุนร้อน ตามตํารากบิลว่านว่า เมื่อหัวแก่มีธาตุปรอทลงกิน มีพรายเป็นแสง แมงคาเรืองในเวลากลางคืน ถือกันว่ามีสรรพคุณอยู่คง แต่เป็นกายสิทธิ์ ชอบไปเที่ยวหากินของโสโครก และเข้าสิงกินคนดั่งกระสือ หรือปอบ แล้วบอกชื่อเจ้าของว่านที่ปลูกนั้นว่า เป็นตัวกระสือ หรือผีปอบ ทําให้ขายหน้าจึงไม่ค่อยมีใครกล้าปลูก.
กระสือ ๓ :
น. ชื่อตัวอ่อนและตัวเต็มวัยของหิ่งห้อยตัวเมียหลายชนิดในวงศ์ Lampyridae เช่น ชนิด Lamprophorus tardus ไม่มีปีก ต้องคลาน ไปตามพื้นดิน สามารถทําแสงสีเขียวอมเหลืองอ่อนและกะพริบเป็น จังหวะได้ เรียกว่า หนอนกระสือ. (ดู หิงห้อย, หิ่งห้อย ประกอบ).
กะแท้ : น. ชื่อแมลงพวกมวนขนาดเล็ก ตัวยาว ๘-๑๒ มิลลิเมตร รูปร่างคล้ายโล่ สีน้ำตาลแก่อมดําหรือสีเกือบดํา เมื่อจับต้องตัวจะปล่อยกลิ่นฉุนเหม็นติดมือ บางทีคล้ายกลิ่น อุจจาระของคน มีหลายชนิด ที่พบกันแพร่หลาย ได้แก่ ชนิด Geotomus pygmaeus ในวงศ์ Podopidae.
กะพ้อ ๒ : น. ชื่อปาล์มขนาดย่อมในสกุล Licuala วงศ์ Palmae มีหลายชนิด เช่น ชนิด L. spinosa Thunb. มักขึ้นเป็นกออยู่ริมทะเล หรือในที่ซึ่ง น้ำเค็มขึ้นถึง ลําต้นสูงถึง ๔ เมตร ใบกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง ๖๐-๑๑๐ เซนติเมตร แตกเป็นแฉกลึก ก้านใบยาว ขอบก้านมีหนาม, ชนิด L. peltata Roxb. ขึ้นตามป่าดอนในที่ชุ่มชื้นและที่แฉะ ลักษณะคล้ายชนิดแรก แต่ก้านใบล้ำอยู่ใต้โคนใบ ทั้ง ๒ ชนิด ใบใช้ห่อทําไต้ ห่อของ เย็บเป็นร่ม มุงหลังคาชั่วคราว ใบอ่อน ใช้มวนบุหรี่, กะชิง ก็เรียก, ปักษ์ใต้เรียก ชิง หรือ ชิ่ง, ปาล์มพวกนี้ เรียก พ้อ ก็มี เช่น ใบพ้อพันห่อหุ้ม กฤษณา. (โลกนิติ).
กะลอ : (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ชื่อไม้ต้นขนาดย่อมหลายชนิดในสกุล Macaranga วงศ์ Euphorbiaceae มักขึ้นในป่าใสในที่ชุ่มชื้น ก้านใบล้ำอยู่ใต้โคนใบ เช่น ชนิด M. tanarius Muell. Arg.
กาบ ๒ : น. ชื่อหอยน้ำจืดกาบคู่หลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Unionidae และ Amblemidae เปลือกบางหรือหนาแล้วแต่ชนิดและวัย มีหลายขนาด ผิวนอกเป็นสีเขียวคล้ำหรือน้ำตาลเข้ม ด้านในเป็นมุก เช่น ชนิด Chamberlainia hainesiana, กาบน้ำจืด ก็เรียก.
กาแฟ ๒ : น. ชื่อไม้พุ่มหลายชนิดในสกุล Coffea วงศ์ Rubiaceae เช่น ชนิด C. arabica L., C. canephora Pierre ex Froehner และ C. liberica Bull. ex Hiern ชนิดหลังนี้ กาแฟใบใหญ่ ก็เรียก, กาแฟเป็นพืชแถบทวีปแอฟริกา ปลูกเป็นพืชเศรษฐกิจ เมล็ดแก่คั่วแล้วบด ใช้ชงเป็นเครื่องดื่ม ในเมล็ดกาแฟมีสารเคมี ชนิดหนึ่ง เรียกว่า กาเฟอีน.
กุ้งฝอย : น. ชื่อกุ้งตัวเล็ก ๆ มีหลายชนิด ที่พบในทะเล คือ ชนิด Penaeopsis avirostris ในวงศ์ Penaeidae ที่พบในน้ำจืด คือ สกุล Caridina และ สกุล Atyopsis ในวงศ์ Atyidae และชนิด Macrobrachium lanchesteri ในวงศ์ Palaemonidae.
กุเรา : น. ชื่อปลาทะเลและน้ำกร่อยหลายชนิดใน ๒ สกุล คือ สกุล Eleutheronema และ Polynemus วงศ์ Polynemidae ครีบอกตอนล่างมีก้านครีบแยกออกจากกันเป็นเส้นยาวรวม ๓-๗ เส้น แล้วแต่ชนิด ลําตัวและครีบสีเทาอมเงิน เช่น ชนิด E. tetradactylum, P. sextarius, กุเลา ก็เรียก.
โกฐ : [โกด] น. ชื่อเครื่องยาสมุนไพรจําพวกหนึ่ง ได้จากส่วนต่าง ๆ ของพืช มีหลายชนิด คือ โกฐทั้ง ๕ ได้แก่ โกฐหัวบัว โกฐสอ โกฐเขมา โกฐเชียง โกฐจุฬาลัมพา, โกฐทั้ง ๗ เพิ่ม โกฐกระดูก โกฐก้านพร้าว, โกฐทั้ง ๙ เพิ่ม โกฐพุงปลา โกฐชฎามังสี, และมีโกฐพิเศษอีก ๓ ชนิด คือ โกฐกักกรา โกฐกะกลิ้ง และโกฐน้ำเต้า, ตํารายาแผนโบราณ เขียนเป็น โกฎ โกฏ โกฏฐ์ โกด หรือ โกษฐ์ ก็มี. (ป. โกฏฺ?).
โกฐเขมา : [-ขะเหฺมา] น. ชื่อเรียกเหง้าและรากแห้งของไม้ล้มลุก หลายชนิดในสกุล Atractylodes วงศ์ Umbelliferae เช่น ชนิด A. lyrata Sieb. et Zucc., โกฐหอม ก็เรียก.
โกฐสอ : น. ชื่อเรียกรากแห้งของไม้ล้มลุกหลายชนิดในสกุล Angelica วงศ์ Umbelliferae เช่น ชนิด A. sylvestris L., A. glabra Makino.
ขม ๓ : น. ชื่อหอยนํ้าจืดกาบเดี่ยวในวงศ์ Viviparidae เปลือกขนาดประมาณ เท่าหัวแม่มือ ยอดแหลม สีเขียวหรือดํา ออกลูกเป็นตัว มีหลายชนิด เช่น ชนิด Filopaludina sumatrensis, F. doliaris.
ข้างลาย : น. ชื่อปลาทะเลหลายชนิดในสกุล Therapon และ Pelates วงศ์ Theraponidae มีเส้นดำข้างลำตัวข้างละ ๔-๖ เส้น แล้วแต่ชนิด อาศัยอยู่ตามชายฝั่งทะเลและบริเวณน้ำกร่อย เช่น ชนิด T. jarbua, P. quadrilineatus, ข้างตะเภา ออดแอด หรือ ครืดคราด ก็เรียก.
ข้าว : น. ชื่อไม้ล้มลุกหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Gramineae โดยเฉพาะ ชนิด Oryza sativa L. เมล็ดเป็นอาหารหลัก มีหลายพันธุ์ เช่น ข้าวเจ้า ข้าวเหนียว.
ข้าวตอก ๒ : น. (๑) ชื่อไม้พุ่มชนิด Serissa japonica (Thunb.) Thunb. ในวงศ์ Rubiaceae ใบเล็กรูปไข่ เมื่อขยี้มีกลิ่นเหม็น ดอกสีขาวเล็ก ๆ เป็น พรรณไม้ต่างประเทศ ปลูกเป็นไม้ดัดหรือไม้ประดับ. (๒) (ถิ่น-พายัพ) ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Anaphalis margaritacea (L.) Benth. ex C.B. Clarke ในวงศ์ Compositae ขึ้นอยู่บนเขาในระดับสูง ๑,๐๐๐ เมตรขึ้นไป ขนาด สูงราว ๕๐ เซนติเมตร ต้น ใบ ดอก มีขนสีขาวทึบ ใช้ทํายาได้. (๓) ชื่อ ไม้พุ่มรอเลื้อยชนิด Callicarpa longifolia Lam. ในวงศ์ Labiatae ดอกเล็ก สีม่วง ผลกลมเล็ก สุกสีขาว ใช้ทํายาได้. (๔) ชื่อเห็ดหลายชนิดในสกุล Hemimycena วงศ์ Tricholomataceae ขึ้นตามพื้นดินเป็นกลุ่มใหญ่ ดอกเห็ดสีขาวขนาดเท่าดอกมะลิบาน ด้านล่างมีครีบ ก้านยาวตั้งตรง เช่น ชนิด H. cucullata (Pers. ex Fr.) Sing. กินได้. (๕) ดู ตีนตุ๊กแก(๕).
โข่ง ๑ : น. ชื่อหอยนํ้าจืดกาบเดี่ยวในวงศ์ Ampullariidae เปลือกสีเขียวคลํ้ามีขนาด เท่าหัวแม่มือจนถึงกําปั้น เวียนเป็นวง ยอดสั้น วงสุดท้ายค่อนข้างกลม มีหลายชนิดในสกุล Pila เช่น ชนิด P. ampullacea, P. polita.
คมบาง : น. (๑) ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Apluda mutica L. ในวงศ์ Gramineae ขอบใบคม. (๒) ชื่อไม้ล้มลุกหลายชนิดในสกุล Carex และ Scleria วงศ์ Cyperaceae เช่น ชนิด C. baccans Nees ผลสุกสีน้ำตาล และชนิด S. purpurascens Steud. ผลสุกสีขาว.
คราด ๒ : [คฺราด] น. ชื่อไม้ล้มลุกหลายชนิดในวงศ์ Compositae ขึ้นตามที่รกร้าง ว่างเปล่าในที่ชื้นแฉะ เรียกกันว่า ผักคราด หรือ ผักคราดหัวแหวน เช่น ชนิด Spilanthes acmella Murr. ดอกสีเหลืองทรงกรวยแหลม ขนาดเท่า ปลายนิ้วก้อย ชนิด S. oleracea (L.) Jacq. ใบหนากว่าชนิดแรกและดอก ทรงป้านกว่า, พายัพเรียก ผักเผ็ด.
คุ่ม ๑ : น. ชื่อนกขนาดเล็กหลายชนิดในวงศ์ Turnicidae และ Phasianidae ตัวกลม หางสั้น หากินตามพื้นดิน บินได้ในระยะทางสั้น ๆ วงศ์แรก ตีนมี ๓ นิ้ว ตัวผู้กกไข่ มี ๓ ชนิด คือ คุ่มอืดเล็ก (Turnix sylvatica) คุ่มอืดใหญ่ (T. tanki) และคุ่มอกลาย (T. suscitator) วงศ์หลังตีนมี ๔ นิ้ว มี ๓ ชนิด คือ คุ่มสี (Coturnix chinensis) คุ่มอกดํา (C. coromandelica) และคุ่มญี่ปุ่น (C. japonica).
แคฝอย : น. ชื่อไม้ต้นหลายชนิดในสกุล Stereospermum วงศ์ Bignoniaceae เช่น ชนิด S. fimbriatum (Wall. ex G. Don) A. DC. ดอกสีชมพูอม ม่วงอ่อน ขอบกลีบดอกรุ่ยเป็นริ้วยาว ๆ ไม่เป็นระเบียบ.
โคน ๒ : น. ชื่อเห็ดหลายชนิดในสกุล Termitomyces วงศ์ Amanitaceae ขึ้น บริเวณจอมปลวก ดอกเห็ดรูปร่ม ยอดแหลม สีขาวนวลจนถึง นํ้าตาลดํา ด้านล่างมีครีบก้านยาวตั้งตรง โคนเรียวเล็กหยั่งลึกลงไป ถึงรังปลวก กินได้ เช่น ชนิด T. fuliginosus Heim.
โคลงเคลง ๒ : [โคฺลงเคฺลง] น. ชื่อไม้พุ่มหลายชนิดในสกุล Melastoma วงศ์ Melastomataceae ดอกสีชมพูหรือม่วงแดง เช่น ชนิด M. malabaricum L.
ไคร้ : น. ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กหลายชนิดในสกุล Glochidion วงศ์ Euphorbiaceae เช่น ชนิด G. daltonii Kurz ผลอ่อนกินได้ รากใช้ทํายา.
ฆ้องสามย่าน : น. ชื่อไม้ล้มลุกหลายชนิดในสกุล Kalanchoe วงศ์ Crassulaceae ใบอวบนํ้า ใช้ทํายาได้ เช่น ชนิด K. laciniata DC. ดอกสีเหลือง.
งาช้าง ๒ : น. ชื่อหอยทะเลในชั้น Scaphopoda เปลือกมีรูปร่างคล้ายงาช้าง ส่วนมาก เป็นสีขาวมีหลายชนิด เช่น ชนิด Dentalium aprinum, D. longitrorsum, ฟันช้าง ก็เรียก.
จอบ ๓ : น. ชื่อหอยทะเลกาบคู่ในวงศ์ Pinnidae เปลือกค่อนข้างเปราะ รูปร่าง คล้ายซองพลู ปลายด้านหนึ่งแผ่บานออก อีกด้านหนึ่งเรียวลง สีนํ้าตาล อมเทา มีหลายชนิด เช่น ชนิด Pinna bicolor, Atrina vexillum, ซองพลู ก็เรียก.