Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: หลุดลุ่ย, หลุด, ลุ่ย , then ลย, ลุ่ย, หลด, หลดลย, หลุด, หลุดลุ่ย, หลูด .

Royal Institute Thai-Thai Dict : หลุดลุ่ย, 116 found, display 1-50
  1. หลุดลุ่ย : ก. คลายตัวหลุดเลื่อนไปจากสภาพเดิม เช่น ผมหลุดลุ่ย เสื้อผ้า หลุดลุ่ย. ว. ไม่มีทางสู้ เช่น แพ้หลุดลุ่ย คะแนนทิ้งห่างกันหลุดลุ่ย.
  2. ลุ่ย : ก. เลื่อนหลุดจากที่เพราะคลายตัวไม่แน่นเหมือนเดิม เช่น ผ้านุ่ง ที่เหน็บไว้ลุ่ยหลุดออก มวยผมลุ่ยออกมา, คลายออกเป็นเส้น ๆ เช่น ชายผ้าลุ่ย ด้ายที่เย็บไว้ลุ่ย. ว. ไม่มีทางสู้ ในคำว่า แพ้ลุ่ย.
  3. หลุด : ก. ออกจากที่ที่ติดอยู่ เช่น พลอยหลุดจากหัวแหวน, พ้นจากความควบคุม อยู่ เช่น หลุดจากที่คุมขัง; (กฎ) ขาดกรรมสิทธิ์ เช่น เอาทรัพย์จํานําหลุด เป็นสิทธิ.
  4. ศลัถ : [สะลัด] น. ลุ่ย, หลุด; หลวม, ไม่แน่น. (ส.).
  5. หลุดพ้น : ก. เป็นอิสระจากสิ่งผูกมัด เช่น หลุดพ้นจากกิเลส หลุดพ้นจากคดี.
  6. หลุดมือ : ก. หลุดไปจากมือ เช่น ปลาหลุดมือไป, โดยปริยายหมายความว่า สูญเสียสิ่งที่มีอยู่แล้ว เช่น พอมีการเปลี่ยนรัฐบาล ตำแหน่งของเขาก็หลุดมือ ไป, คาดว่าจะได้แต่ไม่ได้ เช่น ตำรวจคาดว่าจะจับผู้ร้ายได้ แต่ไปถึงผิดเวลา ไปหน่อยเดียว ผู้ร้ายจึงหลุดมือไปได้.
  7. หลุดลอย : ก. พ้นจากที่ยึดไว้แล้วล่องลอยไป เช่น เรือที่ผูกไว้กับหลัก พอถูกคลื่นซัดก็หลุดลอยไป, โดยปริยายหมายความว่า ขาดพ้นไป, สูญสิ้นไป, หมดโอกาสที่จะได้, เช่น ลาภที่ควรได้หลุดลอยไป โอกาส หลุดลอยไป.
  8. หลุดปาก : ก. พลั้งปาก.
  9. วิ่น : ว. ลักษณะอาการที่หลุด ขาด หรือลุ่ยออกกะรุ่งกะริ่ง เช่น จมูกแหว่งหูวิ่นเวทนา อนิจจานิจจาเป็นน่ากลัว. (สังข์ทอง), มักใช้เข้าคู่กับคำ ขาด เป็น ขาดวิ่น เช่น เสื้อผ้าขาดวิ่น.
  10. ลุ่ย : [พฺลุ่ย] ว. ง่าย, ลุ่ย, หลวมเข้าไป.
  11. หลด : [หฺลด] น. (๑) ชื่อปลานํ้าจืดหลายชนิดในวงศ์ Mastacembelidae ลําตัวยาว แบนข้าง ปลายจะงอยปากบนเรียวยาว เช่น ชนิด Macrognathus aculeatus, Mastacembelus circumcinctus. (๒) ดู มังกร.
  12. ก้ามปูหลุด : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Tradescantia zebrina Hort. ex Bosse ในวงศ์ Commelinaceae ลําต้นเรียว และเป็นปล้อง ๆ เลื้อยไปตามดิน ใบสีเขียวหม่น ใบด้านบนมีแถบสีเทาคาด ตามยาว ด้านล่างสีม่วงแดง ดอกสีชมพู.
  13. เบ้าหลุด : น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
  14. ร่วง ๑ : ก. หล่น เช่น ใบไม้ร่วง ผลไม้ร่วง, หลุด เช่น ถูกชกฟันร่วง ผมร่วง.
  15. พลัด : [พฺลัด] ก. พลาด หลุด หรือตกจากที่ใดที่หนึ่ง เช่น ของพลัดจากมือ เด็กพลัดจากต้นไม้, พรากจากกันโดยไม่รู้ว่าหลงไปอยู่ที่ใด เช่น พลัดพ่อ พลัดแม่, พรากจากถิ่นฐานหรือบ้านเกิดเมืองนอนเดิม เช่น พลัดถิ่นฐานบ้านเมือง พลัดบ้าน พลัดเมือง.
  16. กล้อง ๒ : [กฺล้อง] ว. เรียกข้าวที่สีเอาเปลือกออกโดยยังมีจมูกข้าวและ เยื่อหุ้มเมล็ดข้าวอยู่ว่า ข้าวกล้อง. ก. ตำข้าวเปลือกให้เปลือกหลุด; เกลา, โกลน; โดยปริยายใช้ว่า ทุบ, ถอง.
  17. กลั้น : [กฺลั้น] ก. บังคับความรู้สึกหรือสิ่งที่อยู่ภายใน ร่างกายไม่ให้แสดงออกหรือหลุดออกมา.
  18. กลิ้ม : [กฺลิ้ม] ก. เล็มหน้าผ้า, เย็บหน้าผ้าให้เป็น ตะเข็บเพื่อมิให้ชายผ้าหลุดออก.
  19. กะเทาะ : ก. ล่อนหลุดออกมาเป็นชิ้น ๆ หรือเป็นแผ่น ๆ, ทําให้ล่อนหลุดออก เช่น กะเทาะเม็ดบัว. น. สิ่งของหรือเปลือกไม้ที่หลุดล่อนออกมาจาก พื้นเดิมหรือจากต้น เช่น กะเทาะมะขาม.
  20. กัด ๑ : ก. เอาฟันกดไว้โดยแรง เพื่อไม่ให้สิ่งที่กดไว้หลุดไป เช่น กัดไว้ให้อยู่ กัดไว้ให้แน่น หรือเพื่อให้เข้าไปให้ทะลุ ให้ฉีกขาดเป็นต้น เช่น สุนัขกัดเป็นแผลลึกเข้าไป หนูกัดผ้าเป็นรู ปากคันกัดเสียจนไม่มี ชิ้นดี, โดยปริยายหมายความว่า ทําให้หมดไปสิ้นไป เช่น สนิมกัดเหล็กจนกร่อน กัดสิวกัดฝ้าออกให้หมด, ทําให้เปื่อยเป็นแผล เช่น ปูนกัดปาก; (ปาก) คอยหาเรื่อง เช่น เขากัดฉันไม่เลิก, ทะเลาะวิวาท เช่น ๒ คนนี้กัดกันอยู่เสมอ. น. เครื่องมือจับปลาทะเลชนิดอวน.
  21. กาบปูเล : น. ส่วนล่างของทางใบที่หุ้มรอบลําต้นหมาก เมื่อแก่จัดแล้วหลุดลงมา.
  22. กุแล : น. ชื่อปลาทะเลหลายชนิดในสกุล Sardinella และ Herklotsichthys วงศ์ Clupeidae ลําตัวยาว แบนข้างมาก สันท้องแหลม เกล็ดบางหลุดง่าย เกล็ดในแนวสันท้องเป็นเหลี่ยมคมเรียงต่อกันคล้ายฟันเลื่อย ปากเล็กเชิดขึ้นเล็กน้อย ฟันเล็กมาก ซี่เหงือกมีจํานวนมาก ไม่มีก้านครีบแข็งหรือเงี่ยง ลําตัวสีเงิน เฉพาะด้านหลังสีน้ำเงินเข้ม บนลําตัวที่ใกล้มุมแผ่นปิดเหงือกมักมีแต้มสีดําคล้า๑ จุด ครีบหลัง และครีบหางสีดําคล้าอมเหลือง ขนาดยาวได้ถึง ๑๘ เซนติเมตร, อกรา หรือ อกแล ก็เรียก, ส่วน กุแลกลม หรือ กุแลกล้วย หมายถึง ชนิดในสกุล Dussumieria ซึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกัน ลักษณะทั่วไปคล้ายกัน เว้นแต่มีลําตัวแบนข้างเล็กน้อย หัวแหลม ท้องกลม ไม่มีเกล็ดที่เรียงกัน เป็นฟันเลื่อย ซี่เหงือกมีน้อย ขนาดยาวได้ถึง ๒๒ เซนติเมตร, อกรากล้วย หรือ อกแลกล้วย ก็เรียก; ทั้งหมดเป็นปลาผิวน้ำ อยู่กันเป็นฝูง ปลาขนาดเล็กอาจเข้ามาอยู่ใกล้ฝั่งหรือในน้ำกร่อย, หลังเขียว ก็เรียก.
  23. เก็บหน้าผ้า : ก. ทอกันหน้าผ้าไม่ให้เส้นด้ายหลุดออกมา.
  24. แก้ ๒ : ก. ทําให้คลายจากลักษณะที่แน่นที่ติดขัดหรือที่เป็นเงื่อนเป็นปมอยู่ เช่น แก้ปม แก้เงื่อน; ทําให้หลุดให้พ้นไป เช่น แก้คดี; ทําให้ดีขึ้น, ทําให้ใช้การได้, ทำส่วนที่เสียให้คืนดีอย่างเดิม, ดัดแปลงให้ดีขึ้น, เช่น แก้นาฬิกา แก้เครื่องจักร, แก้ไข ก็ว่า; ทําให้หาย เช่น แก้เก้อ แก้ขวย แก้จน แก้โรค; เฉลย, อธิบายให้เข้าใจ, เช่น แก้ปัญหา แก้กระทู้; ร้องเพลงหรือลำตัดเป็นต้นโต้ตอบกัน; เอากลับคืนมาให้ได้ เช่น ไปตีแก้เอาเมืองคืน.
  25. แกะ ๒ : ก. เอาเล็บมือค่อย ๆ แคะเพื่อให้หลุดออก เช่น แกะสะเก็ด, เอาสิ่งที่มีลักษณะคล้ายเล็บมือทําเช่นนั้น, ทําเป็นลวดลายหรือรูปต่าง ๆ ด้วยเครื่องมือ โดยวิธีแกะ เช่น แกะตรา, โดยปริยายหมายความว่า เหมือนกันอย่างกับโขกหรือแคะมาจากพิมพ์เดียวกัน ในความว่า เหมือนกันอย่างกับแกะ; เอามือแงะหรือง้างสิ่งที่เกาะติดกันแน่น หรือกอดไว้แน่นให้หลุดออกจากกัน เช่น แกะมือที่กําแน่น.
  26. ขลิบ : [ขฺลิบ] ก. เย็บหุ้มริมผ้าและของอื่น ๆ เพื่อกันลุ่ยหรือเพื่อให้งามเป็นต้น; (ถิ่น-ปักษ์ใต้) ขยิบ เช่น ขลิบตา ว่า ขยิบตา.
  27. ลุ่ย : [ขฺลุ่ย] น. ชื่อเครื่องดนตรีชนิดหนึ่งสำหรับเป่าให้เป็นเพลง มักทํา ด้วยไม้รวกเจาะรูตามยาวมีระยะห่างพอควร สําหรับเอานิ้วปิดและ เปิดให้เป็นเพลงเมื่อเป่า มีหลายชนิด เช่น ขลุ่ยหลีบ ขลุ่ยเพียงออ, ลักษณนามว่า เลา.
  28. ขัด ๑ : ก. ให้ติดขวางไว้ไม่ให้หลุดออก เช่น ขัดกระดุม ขัดกลอน; เหน็บ เช่น ขัดกระบี่; ไม่ทําตาม, ฝ่าฝืน, ขืนไว้, เช่น ขัดคําสั่ง; แย้งกัน, ไม่ลงรอยกัน.
  29. ขาก ๑ : ก. อาการที่ทําให้เสมหะเป็นต้นในลําคอหลุดออก มักมีเสียงดังเช่นนั้น.
  30. ขื่อ : น. ชื่อไม้เครื่องบนสําหรับยึดหัวเสาด้านขวาง; เครื่องจองจํานักโทษ ทําด้วยไม้มีช่องสําหรับสอดมือหรือเท้าแล้วมีลิ่มตอกกำกับกันขื่อหลุด; เรียกกระดูกเชิงกรานที่ขวางอยู่ด้านหน้า.
  31. ขุย : น. ผงที่เกิดจากเนื้อของสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ติดอยู่ที่เนื้อนั้นเอง หรือหลุด ออกมากองอยู่เป็นกลุ่ม ๆ เช่น ผิวหนังเป็นขุย ขุยกระดาษ ขุยมด.
  32. คาด ๑ : ก. พันโดยรอบแล้วทําอย่างใดอย่างหนึ่งเช่นผูกหรือกลัดเป็นต้นเพื่อ ไม่ให้หลุด เช่น เอาผ้าคาดพุง คาดเตี่ยวใบตอง คาดเข็มขัด, พาดเป็น ทางยาวไป เช่น พื้นขาวคาดแดง.
  33. แคะ ๒ : ก. ใช้เล็บหรือสิ่งมีปลายแหลมเป็นต้นทําให้สิ่งที่ติดอยู่ข้างในหรือ ในซอกในรูหลุดออกมา.
  34. เงื้อมมือ : น. อํานาจที่ครอบงําจะไม่ให้หลุดพ้นไปได้.
  35. จัมปา : น. จำปา, แหนบรูปคล้ายกลีบดอกจำปาซึ่งติดอยู่กับแกนในประแจจีน สำหรับยันไม่ให้กุญแจหลุดออกจากกัน.
  36. จำปา : น. (๑) ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Michelia champaca L. ในวงศ์ Magnoliaceae ดอกสีเหลืองอมส้ม กลีบดอกใหญ่ยาว มีหลายกลีบ กลิ่นหอม; สีเหลืองอมส้มอย่างดอกจำปา; เครื่องหน้าซุงว่าวจุฬา รูปเป็น กลีบเหมือนกลีบดอกจําปา; แหนบรูปคล้ายกลีบดอกจําปาซึ่งติดอยู่กับ แกนในประแจจีน สําหรับยันไม่ให้กุญแจหลุดออกจากกัน, จัมปา ก็ใช้; ไม้ไผ่ที่จักปลายด้านหนึ่งเป็น ๔-๕ แฉก แล้วเอาชิ้นไม้ขัดให้บานออก เป็นรูปดอกจำปา ใช้เสียบปลายไม้สำหรับสอยผลไม้; เครื่องยึดธรณีบน ของประตูให้ติดกับกรอบเช็ดหน้าของอาคารประเภทโบสถ์ วิหาร ในสถาปัตยกรรมไทย ทำด้วยไม้ เป็นแท่งรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ด้านหน้า ตกแต่งเป็นเส้นขอบของดอกไม้หรือแต่งให้เป็นรูปดอกสี่กลีบที่เรียกว่า ดอกประจำยาม. (๒) (ถิ่น-อีสาน) ต้นลั่นทม. (ดู ลั่นทม).
  37. เจโตวิมุติ : [-วิมุด] (แบบ) น. ความหลุดพ้นด้วยอํานาจแห่งจิต เป็นโลกุตรธรรม ประการหนึ่ง, คู่กับ ปัญญาวิมุติ. (ป. เจโตวิมุตฺติ).
  38. ชะ ๑ : ก. ทําให้สิ่งที่ติดอยู่หลุดไปหรือหมดไปด้วยนํ้า ในลักษณะ และ อาการอย่างชะแผล; ชําระล้างด้วยอาการคล้ายคลึง เช่นนั้น เช่น ฝนชะลาน ฝนชะช่อมะม่วง.
  39. แซะ ๑ : ก. เอาเครื่องมือแบน ๆ เช่นตะหลิวหรือเสียมแทงเบา ๆ โดยรอบแล้ว ช้อนขึ้นให้หลุดล่อนจากที่เดิม, โดยปริยายหมายความว่า เร่งรัด เช่น ต้องคอยแซะให้ทํางานอยู่เรื่อย.
  40. ดอกหมาก ๒ : น. (๑) ชื่อปลาทะเลและนํ้ากร่อยขนาดเล็กหลายชนิดในสกุล Gerres วงศ์ Gerreidae ลําตัวสั้นป้อม แบนข้าง คล้ายปลาแป้น เว้นแต่มีเกล็ดใหญ่ ไม่หลุดง่าย ส่วนท้ายทอยไม่มีกระดูกแข็งโผล่ บางชนิดมีก้านครีบหลัง อันแรก ๆ ยาวเป็นเส้น ด้านหลังสีนํ้าตาลอมเทา ด้านข้างและท้องสีเงิน มักมีจุดสีเข้มเป็นดอกดวงเรียงลงมาจากหลังหลายแนว อยู่กันเป็นฝูง. (๒) ชื่อปลานํ้าจืดในสกุล Barilius วงศ์ Cyprinidae ลําตัวยาว แบนข้าง เล็กน้อย มีหนวดสั้น ๆ หรือไม่มี แต่ก็มีจุดสีดําหรือนํ้าตาลบนพื้นลําตัว สีเงินกระจายอยู่ข้างตัว อาศัยอยู่ตามต้นนํ้าลําธาร.
  41. ดิ้น ๑ : ก. อาการที่สะบัดหรือฟาดตัวไปมาอย่างแรง เช่น ดิ้นให้หลุด นอนดิ้น ชักดิ้นชักงอ, สั่นไหวกระดุกกระดิก เช่น หางจิ้งจกขาดยังดิ้นได้, ไม่ตายตัว เช่น คําพูดดิ้นได้; โดยปริยายหมายความว่า แก้ข้อหา, ปลดเปลื้องข้อหา, ในคําว่า ดิ้นไม่หลุด.
  42. ต๋ง ๒ : ก. อาการที่เอาเชือกผูกของหนัก ๆ เช่นเรือนแพ แพซุง ยึดหรือพันไว้ กับหลักเป็นต้นแล้วค่อย ๆ ผ่อนไป, เอาเชือกเป็นต้นผูกของหนัก ๆ เช่นเสาไว้แล้วค่อย ๆ พยุงให้ตั้งขึ้นแล้วผ่อนลงหลุม, ขัดไว้ไม่ให้เลื่อน หลุดออกอย่างขัดไม้ขันชะเนาะ.
  43. ต่อย : ก. ชก เช่น ต่อยปาก, เอาของแข็งหรือของหนักตีหรือทุบให้ลิ ให้แตก ให้หลุดออก เช่น ต่อยหิน ต่อยมะพร้าว; ใช้เหล็กในที่ก้นแทงเอา เช่น ผึ้งต่อย มดตะนอยต่อย; โดยปริยายหมายความว่า ทําให้แตก เช่น เด็กเอาจานไปต่อยเสียแล้ว. น. ชื่อ เพลงไทยจำพวกหนึ่ง มีชื่อขึ้นต้นด้วยคำว่า ต่อย เช่น ต่อยมวย ต่อยรูป.
  44. ถก : ก. ดึงรั้งให้สูงขึ้นอย่างถกผ้านุ่งถกแขนเสื้อ, ดึงให้หลุดลอกออกมา อย่างถกหนังหัว; จั่วไพ่ที่กําลังรอกินด้วยตัวเอง, ถ้าจั่วไพ่ขึ้นมาเข้า เศียรที่กําลังรอกินด้วยตัวเอง เรียกว่า ถกเศียร, ถลก ก็ว่า;ทึ้งให้หลุด ออก เช่น ถกหญ้า ถกเถาวัลย์; โดยปริยายหมายความว่า ยกเอาขึ้นมา พิจารณากันด้วยเหตุผล เช่น ถกปัญหา.
  45. ถลก : [ถะหฺลก] ก. ดึงรั้งให้สูงขึ้นอย่างถลกผ้านุ่งถลกแขนเสื้อ, ดึงให้หลุด ลอกออกมาอย่างถลกหนังหัว; จั่วไพ่ที่กําลังรอกินด้วยตัวเอง, ถ้าจั่ว ไพ่ขึ้นมาเข้าเศียรที่กําลังรอกินด้วยตัวเอง เรียกว่า ถลกเศียร, ถก ก็ว่า.
  46. ถอด : ก. เอาออก เช่น ถอดเสื้อ ถอดรองเท้า ถอดยศ; ถ่าย เช่น ถอดแบบ มาจากพ่อจากแม่; หลุดออก เช่น เล็บถอด.
  47. ไถ่ถอน : (กฎ) ก. ชําระหนี้เพื่อปลดเปลื้องพันธะในทรัพย์สินที่จํานอง ไว้ให้หลุดจากการเป็นประกัน.
  48. ทะลัก : ก. อาการที่สิ่งที่แออัดกันอยู่หรือถูกกีดกั้นผลุดหรือหลุดออกมา โดยแรง เมื่อสิ่งกีดกั้นแตกหรือพังทลายลง เช่น ลูกทะลัก ไส้ทะลัก หนองทะลัก, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น สินค้าที่กักตุนทะลักออกมา.
  49. ทิ้ง : ก. ทําให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งที่ถืออยู่หลุดจากมือด้วยอาการต่าง ๆ, ถ้าด้วย อาการขว้าง เรียกว่า ขว้างทิ้ง, ถ้าด้วยอาการโยน เรียกว่า โยนทิ้ง, ถ้าด้วยอาการเท เรียกว่า เททิ้ง เป็นต้น; สละ เช่น ทิ้งทาน, ละไป เช่น ทิ้งบ้าน ทิ้งเรือน, โยนหรือเทเสียโดยไม่ต้องการ เช่น ทิ้งขยะ, ปล่อยลง เช่น ทิ้งระเบิด, ปล่อยไว้ เช่น ทิ้งไว้ให้เย็น, เหลือไว้ เช่น ทิ้งเงินไว้ให้ใช้, เว้น เช่น ทิ้งระยะ ทิ้งช่วง; เรียกแพรหรือผ้าเนื้อ หนัก ๆ ลื่น ๆ ที่มีลักษณะถ่วงหรือทิ้งตัวลงว่า ผ้าเนื้อทิ้ง หรือ ผ้าทิ้งตัว; โดยปริยายหมายความว่าปล่อยด้วยกิริยาอาการคล้ายคลึง เช่นนั้น เช่น ทิ้งลูกทิ้งเมีย ทิ้งบ้าน ทิ้งการเล่าเรียน ทิ้งเพื่อน ทิ้งกัน เสียไกล พูดทิ้งไว้ที.
  50. แทะ : ก. เอาหน้าฟันกัดให้หลุดออกมาทีละน้อย ๆ, เล็มกินทีละน้อย ๆ, โดยปริยายหมายถึงอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ลูกไม่ทํามาหากิน มาคอยแทะเงินพ่อแม่.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-116

(0.1173 sec)