Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: หวาด .

Royal Institute Thai-Thai Dict : หวาด, 30 found, display 1-30
  1. หวาด : ก. สะดุ้งกลัว, กริ่งเกรง, เสียว, หวั่น.
  2. หวาดผวา : ก. หวาดสะดุ้งเพราะตกใจกลัว.
  3. หวาดวิตก : ก. มีความกังวลใจด้วยความหวาดกลัว.
  4. หวาดกลัว, หวาดเกรง : ก. มีความรู้สึกกริ่งเกรง, รู้สึกสะดุ้งกลัว.
  5. ไม่หวาดไม่ไหว : ว. ไม่รู้จักหมด เช่น กินไม่หวาดไม่ไหว.
  6. หวั่นหวาด : ก. พรั่นกลัว, สะดุ้งกลัว, หวาดหวั่น ก็ว่า.
  7. กระหนก ๒ : (โบ) ก. ตระหนก, ตกใจ, สะดุ้ง, หวาด.
  8. กลัว : [กฺลัว] ก. รู้สึกไม่อยากประสบสิ่งที่ไม่ดีแก่ตัว เช่น กลัวบาป กลัวถูกติเตียน, รู้สึกหวาดเพราะคาดว่าจะประสบภัย เช่น กลัวเสือ กลัวไฟไหม้.
  9. ขยอง ๑ : [ขะหฺยอง] (ถิ่น-อีสาน) ก. ผยอง, รู้สึกหวาดกลัว.
  10. ขู่ขวัญ : ก. ทําให้หวาดกลัว, ทําให้เสียขวัญ.
  11. ควิวควัง, ควิวควั่ง, ควิวคว่าง, ควิวคว้าง : [-คฺวัง, -คฺวั่ง, -คฺว่าง, -คฺว้าง] ก. หมุนคว้างจนใจหวิว ๆ, อาการที่จิตใจ รู้สึกหวาดหวิว; ใช้โดยปริยายว่า เวิ้งว้าง, กว้างใหญ่, น่ากลัว, เช่น สาครควิวคว่าง, โบราณเขียนเป็น ควิวคว่งง ก็มี เช่น สมุทรพิศารลิว ควิวคว่งง แลนา. (กำสรวล).
  12. คุกคาม : ก. แสดงอํานาจด้วยกิริยาหรือวาจาให้หวาดกลัว, ทําให้หวาดกลัว เช่น ภัยคุกคาม, ในบทกลอนใช้ว่า คุก ก็มี เช่น ไป่ขู่ไป่คุก ไป่รุกรุมตี. (สมุทรโฆษ).
  13. ตระดก : [ตฺระ-] (กลอน) ก. หวาด, ผวา, สะดุ้ง, ตกใจ.
  14. ตระหนก : [ตฺระหฺนก] ก. หวาด, ผวา, สะดุ้ง, ตกใจ.
  15. นอนตาไม่หลับ : ก. นอนหวาดต่อภัยหรือเป็นทุกข์หรือห่วงใย.
  16. นากสวาด : [สะหวาด] ว. เรียกสีสวาดชนิดที่มีสีนากเจือ, เรียกสีเนื้อโลหะ พระพุทธรูปที่มีสีแดงอมส้ม.
  17. ปอดลอย : (ปาก) ก. ใจไม่สู้ดีชักจะหวาด ๆ, ใช้ว่า ปอด ก็มี.
  18. ผวา : [ผะหฺวา] ก. แสดงอาการเช่นเอามือไขว่คว้าหรืออ้าแขนโถมตัว เข้ากอดเมื่อสะดุ้งตกใจหรือตื่นเต้นเป็นต้น. ว. อาการที่หวาด สะดุ้งเพราะตกใจกลัวเป็นต้น เช่น นอนผวากลัวโจรมาปล้น, อาการที่เด็กนอนสะดุ้งยกมือไขว่คว้า ในคำว่า เด็กนอนผวา, อาการที่อ้าแขนโผเข้ากอดกัน เช่น เด็กวิ่งผวาเข้าหาแม่.
  19. เย็นเยียบ : ว. อาการที่รู้สึกเย็นจับขั้วหัวใจเพราะหวาดกลัวเป็นต้น เช่น เข้าไปในป่าช้ากลางคืนรู้สึกเย็นเยียบ, เยียบเย็น ก็ว่า.
  20. เยียบ : ก. อาการที่รู้สึกเย็นจับขั้วหัวใจเพราะหวาดกลัวเป็นต้น, มักใช้ควบกับ คํา เย็น เป็น เย็นเยียบ หรือ เยียบเย็น เช่น เข้าไปในป่าช้ากลางคืนรู้สึก เย็นเยียบ.
  21. สยด : [สะหฺยด] ก. ใจหายวาบขึ้นทันที เพราะความหวาดกลัวต่อสิ่งที่ได้เห็น.
  22. สยอง : [สะหฺยอง] ว. อาการที่ขนลุกขนชันเพราะความหวาดกลัว ในความว่า ขนพองสยองเกล้า.
  23. สยองขวัญ : ว. น่าหวาดกลัวจนขวัญหาย เช่น นวนิยายสยองขวัญ.
  24. หนาวสะท้าน : ว. หนาวสั่นเพราะพิษไข้; รู้สึกเย็นเยือกเข้าหัวใจทำให้รู้สึก ครั่นคร้ามหรือหวาดกลัวจนตัวสั่นเป็นต้น.
  25. หนาวสันหลัง : ว. รู้สึกหวาดกลัว, เสียวสันหลัง ก็ว่า.
  26. หย็อง ๑ : ก. กลัว, ไม่สู้, หวาดกลัว, เช่น พอเห็นคู่ต่อสู้ก็หย็องเสียแล้ว. ว. มีอาการ หวาดกลัว เช่น พอถูกขู่เข้าหน่อยก็ทําท่าหย็อง.
  27. หวาดเสียว : ก. รู้สึกวาบในหัวใจด้วยความกลัว, หวาดกลัวจนขนลุกขนชัน. ว. ที่น่าหวาดกลัวจนขนลุกขนชัน เช่น เรื่องหวาดเสียว.
  28. หวาดหวั่น : ก. พรั่นกลัว, สะดุ้งกลัว, หวั่นหวาด ก็ว่า.
  29. หวาดไหว : ว. หมดสิ้น เช่น งานตั้งมากมายใครจะทำหวาดไหว, มักใช้ ในความปฏิเสธว่า ไม่หวาดไม่ไหว หรือ ไม่หวาดไหว หมายความว่า ไม่รู้จักหมด เช่น กินไม่หวาดไม่ไหว.
  30. หวิว, หวิว ๆ : ว. มีความรู้สึกที่ดูเหมือนใจจะขาดไป เช่น รู้สึกใจหวิวคล้ายจะเป็นลม, มีความรู้สึกหวาดอย่างใจหาย เช่น ขึ้นไปในที่สูง ๆ ใจมักจะหวิว ๆ; มีเสียงดังเช่นนั้น เช่น ลมพัดหวิว ๆ.
  31. [1-30]

(0.0139 sec)