หว่าน : ก. โปรย เช่น หว่านทาน, สาดให้กระจาย, เช่น หว่านข้าวเปลือก, โดย ปริยายหมายความว่า แจกจ่ายไปทั่ว ๆ เช่น หว่านเงิน.
หว่านล้อม : ว. ตะล่อมเข้ามาตามที่ต้องการ (มักใช้แก่กริยาพูด) เช่น พูดหว่านล้อม เจรจาหว่านล้อม.
หว่านพืชหวังผล : (สำ) ก. ให้ผลประโยชน์แก่ผู้อื่นเพื่อหวังผลตอบแทน.
ปราย : [ปฺราย] ก. ซัด, หว่าน, สาดให้กระจายไป, เช่น ปรายข้าวตอกดอกไม้, มักใช้เข้าคู่กับคำ โปรย เป็น โปรยปราย.
นาหว่าน : น. นาชนิดที่หว่านเมล็ดข้าวลงในนา.
เอาน้ำเย็นเข้าลูบ : (สํา) ก. ใช้คําพูดอ่อนหวานหว่านล้อม.
เก็บเกี่ยว : ก. เก็บรวบรวมพืชผลจากที่ได้หว่านหรือลงไว้.
ชักแม่น้ำทั้งห้า : (สํา) ก.พูดจาหว่านล้อมยกยอบุญคุณเพื่อ ขอสิ่งที่ประสงค์ เช่น เถ้าก็พูดจาหว่านล้อมด้วยคํายอ ชักเอาแม่นํ้าทั้งห้าเข้ามาล่อ. (ม. ร่ายยาว กุมาร).
ดำ ๒ : ก. ปลูกข้าวกล้า, เรียกนาชนิดหนึ่งซึ่งใช้ถอนต้นกล้ามาปลูกว่า นาดํา, คู่กับ นาหว่านซึ่งใช้หว่านเมล็ดข้าวลงในนา.
ตะล่อม ๑ : ก. ทําให้รวมกันเข้ามาเป็นกอง, ทําให้กลมเข้า. ว. ลักษณะการพูดหว่านล้อมหรือ รวบรัดให้เข้าสู่จุดหมายหรือเข้าประเด็น เช่น พูดตะล่อม.
ไถกลบ : ก. ไถให้ดินปิดทับเมล็ดพันธุ์ข้าวที่หว่านลงไปเมื่อไถแปรเสร็จ แล้ว (ใช้แก่การทํานาหว่าน).
ทิ้งทาน : ก. ให้ทานโดยวิธีหว่านหรือโปรยสตางค์หรือเหรียญ, โปรยทาน ก็ว่า.
ปะเหลาะ, ปะเหลาะปะแหละ : ก. พูดจาหว่านล้อมเอาอกเอาใจ เช่น ผู้ใหญ่ปะเหลาะเด็ก, พูดหรือทําสนิทชิดชอบให้เขาพึงใจเพื่อหวังประโยชน์ตน.
โปรยทาน : ก. ให้ทานโดยวิธีหว่านหรือโปรยสตางค์หรือเหรียญ, ทิ้งทาน ก็ว่า.
โปรยปราย : [-ปฺราย] ว. หว่านล้อม (ใช้แก่กริยาพูด); หว่านไปทั่ว ๆ.
พะเลย : น. วิธีปลูกข้าวในนาที่เป็นตม โดยนําข้าวปลูกที่แช่นํ้าไว้หว่านแทน ข้าวที่เสียไป, เรียก นาที่ทําด้วยวิธีนั้นว่า นาพะเลย.
ลดเลี้ยวเกี้ยวพา : ก. พูดจาหว่านล้อมเป็นเชิงเกี้ยว.
วปนะ : [วะปะ] (แบบ) น. การหว่าน (ใช้แก่ข้าว), การเพาะปลูก. (ป., ส.).
วัปป, วัปปะ : [วับปะ] น. การหว่านพืช เช่น พิธีวัปปมงคล; ฝั่งน้ำ. (ป. วป ว่า ผู้หว่านพืช; ส. วปฺร ว่า ฝั่งน้ำ ทุ่งที่หว่านพืชไว้ ทุ่ง).
วาปะ : น. การหว่านพืช. (ป., ส.).
วาปิตะ : ก. หว่านแล้ว. (ป., ส.).
หวาน ๑ : ว. มีรสอย่างรสนํ้าตาล; เพราะ เช่น หวานหู เสียงหวาน, ชุ่มชื่น, ที่รัก เช่น หวานใจ; น่ารักชวนมอง เช่น หน้าหวาน; อ่อนสดใส ในคำว่า สีหวาน; (ปาก) ที่ทำได้ง่าย, ที่ทำได้สะดวก, เช่น เลขข้อนี้หวานมาก. ก. ชำรุด ไม่กินเกลียวกัน ในคำว่า เกลียวหวาน.
หวาน ๒ : น. ผักหวาน.
หวานเย็น : น. ของกินเป็นก้อนสี่เหลี่ยม ทำด้วยน้ำหวานหรือน้ำกะทิ เป็นต้น แล้วทำให้แข็งด้วยความเย็น. (ปาก) ว. ที่แล่นไปช้า ๆ อย่างไม่ รีบร้อน (มักใช้แก่รถไฟ รถประจำทาง) เช่น รถไฟขบวนหวานเย็น.
หวานคอแร้ง : (ปาก) ว. ที่ทำได้ง่ายมาก, ที่ทำได้สะดวกมาก, คล่องมาก.
หวานนอกขมใน : (สำ) ก. พูด ทำ หรือแสดงให้เห็นว่าดีแต่ภายนอก แต่ในใจกลับตรงข้าม.
หวานเป็นลม ขมเป็นยา : (สำ) น. คำชมมักไร้สาระทำให้ลืมตัวขาดสติ แต่คำติมักเป็นประโยชน์ทำให้ได้คิด.
หวานลิ้นกินตาย : (สำ) ก. หลงเชื่อคำพูดเพราะ ๆ หรือคำสรรเสริญเยินยอ จะได้รับความลำบากในภายหลัง.
หวานอมขมกลืน : (สำ) ก. ตกอยู่ในฐานะที่จำต้องยอมรับ ไม่ว่าจะดีหรือ ร้าย พอใจหรือไม่พอใจก็ตาม.
โกมล ๑ : ว. อ่อน, งาม, หวาน, ไพเราะ, เช่น กรรณาคือกลีบกมลโก- มลกามแกล้งผจง. (สมุทรโฆษ). (ป., ส.).
เขียวหวาน ๒ : น. ชื่อส้มพันธุ์หนึ่งของชนิด Citrus reticulata Blanco เปลือกบาง ผลเขียว รสหวาน.
ปากหวาน : ว. พูดจาไพเราะ (มักใช้ในทางที่ล่อใจหรือไม่จริงใจ); อาการที่รู้สึกหวานในปากเมื่อเวลาเป็นไข้.
ปากหวานก้นเปรี้ยว : (สํา) ก. พูดจาอ่อนหวานแต่ไม่จริงใจ.
เปรี้ยวหวาน : น. ชื่ออาหารคาวชนิดหนึ่ง ใช้ผัก เช่น แตงกวา มะเขือเทศ หอมใหญ่ ผัดกับเนื้อสัตว์ ปรุงให้มีรสออกเปรี้ยวและหวาน.
ผักหวาน : น. (๑) ชื่อไม้พุ่มชนิด Sauropus androgynus (L.) Merr. ในวงศ์ Euphorbiaceae ยอดกินได้, ผักหวานบ้าน ก็เรียก. (๒) ชื่อไม้ต้น ชนิด Melientha suavis Pierre ในวงศ์ Opiliaceae ยอดและดอกอ่อน กินได้, ผักหวานป่า ก็เรียก.
มอน : น. ใจกลาง, ส่วนสําคัญ, เช่น มอนไข่ คือ ไข่แดง. ว. สนุก, เพราะ, หวาน, เช่น ใจมอน ใจหวาน, ใจดี.
มาธุระ, มาธูระ : (แบบ) ว. มธุระ, หวาน, ไพเราะ.
อ่อนหวาน : ว. ไพเราะ, น่าฟัง, เช่น เขาเป็นคนพูดจาอ่อนหวาน; งามละมุนละไม เช่น หน้าตาอ่อนหวาน.
เกลียวหวาน : น. เกลียวของนอตเป็นต้นที่ชำรุดไม่กินเกลียวกัน.
ของหวาน : น. ขนม.
เขียวหวาน ๑ : น. ชื่อแกงเผ็ดที่ใช้พริกขี้หนูสดแทนพริกแห้ง.
ไข่หวาน : น. ชื่อขนมอย่างหนึ่งทําโดยต่อยไข่ใส่ลงในนํ้าเชื่อมร้อน ๆ แล้วต้มให้สุก มักใส่ขิงด้วย.
เบาหวาน : น. ชื่อโรคชนิดหนึ่งมีระดับนํ้าตาลในเลือดสูงกว่าปรกติ.
ยี่หร่าหวาน :
ดู เทียนข้าวเปลือก ที่ เทียน๔.
หมากหน้าหวาน, หมากหน้าอ่อน : น. ผลหมากอ่อน เมื่อผ่าสดจะเห็นว่า เนื้อมีสีเหลืองซีดหรือเกือบขาว มีวุ้นสีขุ่น ๆ อยู่ตรงกลางมาก มีลายเส้น ในเนื้อน้อย รสไม่ฝาด.
อดเปรี้ยวไว้กินหวาน : (สํา) ก. อดใจไว้ก่อนเพราะหวังสิ่งที่ดีกว่า ข้างหน้า.
จ๋อย ๒ : ว. คําแต่งคํา เหลือง หรือ หวาน ให้รู้ว่าเหลืองหรือหวานจริง ๆ เช่น เหลืองจ๋อย หวานจ๋อย.