หัตถ-, หัตถ์ : [หัดถะ-, หัด] น. มือ; ศอกหนึ่ง; งวงช้าง. (ป.; ส. หสฺต).
นารายณ์หัตถ์ : (ราชา) น. ไม้เกาหลัง.
วชิรปาณี, วชิรหัตถ์ : น. ''ผู้ถือวชิระ'' คือ พระอินทร์. (ป.; ส. วชฺรปาณิ, วชฺรหสฺต).
หัสต์ : [หัด] น. หัตถ์, มือ. (ส.; ป. หตฺถ).
กระวัด : [-หฺวัด] (กลอน) แผลงมาจาก กวัด เช่น เฉวียงหัตถ์กระวัดวรธนู. (สรรพสิทธิ์).
ซ้อง : ก. ร้องพร้อม ๆ กัน, ร้องสรรเสริญ, บางทีใช้ว่า ซ่อง; ระดมกัน, ทําพร้อม ๆ กัน เช่น ซ้องหัตถ์.
ดนุช : น. ผู้บังเกิดแต่ตน, ลูกชาย, เช่น ใกล้หัตถ์ดลดนุช. (ม. คําหลวง วนปเวสน์). (ป., ส.).
ตรีศูล : น. หลาวสามง่ามเป็นศัสตราประจําหัตถ์พระอิศวร.
ปั้นหยา : [-หฺยา] น. สิ่งปลูกสร้างซึ่งมีหลังคาเอนเข้าหาอกไก่ทั้ง ๔ ด้าน ไม่มีหน้าจั่ว เรียกว่า เรือนปั้นหยา. (เปอร์เซีย ปั้นหย่า ว่า วัตถุที่ ทําเป็นหัตถ์ของเจ้าเซ็นประดิษฐานอยู่ในกะดีซึ่งมีลักษณะ หลังคาเช่นนั้น).
หัตถกรรม : น. งานช่างที่ทำด้วยมือ โดยถือประโยชน์ใช้สอยเป็นหลัก. (ป. หตฺถ + ส. กรฺมนฺ; ป. หตฺถกมฺม).
หัตถบาส : น. ระยะระหว่างพระสงฆ์ที่นั่งทําสังฆกรรมหรือระหว่างพระภิกษุ สามเณร กับคฤหัสถ์ผู้ถวายของ ห่างกันไม่เกินศอกหนึ่ง. (ป. หตฺถปาส).
หัสดิน, หัสดี : [หัดสะ-] น. ช้าง. (ส. หสฺตินฺ, หสฺติ; ป. หตฺถี).