Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: หัวเราะเยาะ, หัวเราะ, เยาะ , then ยา, เยา, เยาะ, หวรายา, หัวเราะ, หัวเราะเยาะ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : หัวเราะเยาะ, 921 found, display 1-50
  1. เยาะ : ก. พูดหรือแสดงกิริยาให้เจ็บใจชํ้าใจ โดยย้ำถึงความเสียเปรียบ ความ ด้อยกว่า หรือความผิดพลาด เช่น เยาะว่า ไหนว่าเก่งนัก ทำไมสอบตก.
  2. หัวเราะ : ก. เปล่งเสียงแสดงความขบขัน ดีใจ ชอบใจ เป็นต้น, ใช้เข้าคู่กับคํา หัวไห้ เป็น หัวเราะหัวไห้ ก็มี, หัวร่อ ก็ว่า, (โบ) เขียนเป็น หวัวเราะ ก็มี.
  3. หัวเราะหัวไห้ : (ปาก) ก. หัวเราะ.
  4. เยาะเย้ย : ก. ค่อนว่าหรือแสดงกิริยาซ้ำเติมให้ได้อาย ให้ช้ำใจเจ็บใจ ให้โกรธ.
  5. บริหาส : [บอริหาด] (แบบ) ก. หัวเราะ, ร่าเริง, เยาะเย้ย. (ป., ส. ปริหาส).
  6. รังแต่ : สัน. มีแต่, ล้วนแต่, เป็นที่, (มักใช้ในทางไม่ดี) เช่น รังแต่คนจะนินทา รังแต่เขาจะหัวเราะเยาะ.
  7. หุยฮา : ว. เสียงหัวเราะเยาะเย้ย (มักใช้ในการละเล่น).
  8. ยา : น. สิ่งที่ใช้แก้หรือป้องกันโรค หรือบํารุงร่างกาย เรียกชื่อต่าง ๆ กัน คือ เรียกตามลักษณะก็มี เช่น ยาผง ยาเม็ด ยานํ้า เรียกตามสีก็มี เช่น ยาแดง ยาเขียว ยาเหลือง ยาดํา เรียกตามรสหรือกลิ่นก็มี เช่น ยาขม ยาหอม เรียก ตามวิธีทําก็มี เช่น ยาต้ม ยากลั่น ยาดอง เรียกตามกิริยาที่ใช้ก็มี เช่น ยา กวาด ยากิน ยาฉีด ยาดม ยาอม; เรียกยาฝิ่นว่า ยา ก็มี เช่น โรงยา; สารเคมี สําหรับเคลือบเงินทองให้มีสีต่าง ๆ; (กฎ) วัตถุที่รับรองไว้ในตำรายาที่ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศ, วัตถุที่มุ่งหมายสำหรับใช้ ในการวินิจฉัย บำบัด บรรเทา รักษา หรือป้องกันโรคหรือความเจ็บป่วย ของมนุษย์หรือสัตว์, วัตถุที่เป็นเภสัชเคมีภัณฑ์หรือเภสัชเคมีภัณฑ์กึ่ง สำเร็จรูป หรือวัตถุที่มุ่งหมายสำหรับให้เกิดผลแก่สุขภาพ โครงสร้างหรือ การกระทำหน้าที่ใด ๆ ของร่างกายของมนุษย์หรือสัตว์. ก. ทําให้หายโรค, รักษาให้หาย, ในคําว่า เยียวยา; ทําให้หายรั่ว เช่น ยาเรือ. ว. ใช้ประกอบคํา พี่ น้อง ลูก ว่า พี่ยา น้องยา ลูกยา, ใช้ในราชาศัพท์หมายความว่า เพศชาย เช่น พระเจ้าลูกยาเธอ.
  9. ตลกหัวเราะ : น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง.
  10. ยิ้มเยาะ : ก. ยิ้มเป็นเชิงเย้ยหยัน.
  11. หัว ๓ : (โบ) ก. เปล่งเสียงแสดงความขบขัน ดีใจ ชอบใจ เป็นต้น, หัวเราะ หรือ หัวร่อ ก็ว่า, ใช้ว่า หวัว หวัวเราะ หรือ หวัวร่อ ก็มี.
  12. หัวร่อ : ก. เปล่งเสียงแสดงความขบขัน ดีใจ ชอบใจ เป็นต้น, หัวเราะ ก็ว่า, (โบ) เขียนเป็น หวัวร่อ ก็มี.
  13. กระซิกกระซี้ : ก. หัวเราะเย้าหยอกกัน, ระริก, ซิกซี้ ก็ว่า.
  14. กราว ๓ : [กฺราว] น. ชื่อเพลงหน้าพาทย์ ใช้ในเวลายกทัพหรือแสดงอาการร่าเริง, ครั้นมีเพลงกราวอื่น ๆ ด้วย เพลงนี้เรียกว่า กราวใน, ต่อนี้ทําบทเชิด, ถ้ามีการพากย์ เช่น พากย์รถก่อนยกทัพออก ทําเพลงกราวในหยุด หมายความว่าสุดเจรจาแล้วใช้กราวในพอหยุดป้องหน้าแล้วจึงพากย์, สําหรับบทของมนุษย์ ลิง หรือเทวดา เปลี่ยนเป็น กราวนอก ใช้เป็นเพลงประจํากัณฑ์มหาราชในเวลามีเทศน์มหาชาติ และเรียกว่า กราวเขน ก็ได้ เพราะเมื่อยกกองทัพ พวกเขนออกก่อน, ถ้าเกี่ยวกับการรําเยาะเย้ยใช้เพลง กราวรำ, อาณัติสัญญาณลาโรง ก็ใช้เพลงนี้, เมื่อประสมลูกฆ้องมอญเป็น กราวรำมอญ, นอกนี้ถ้าประสมลูกฆ้องใน ๑๒ ภาษา ก็มีชื่อตามภาษานั้น ๆ คือ กราวกระแซ เจือไปข้างเพลงลาว ๆ, กราวเขมร มีเนื้อร้อง เป็นเพลงเขมร, กราวจีน ทําในเวลาเข้าเฝ้าหรือเดินเล่นหรือ เล่นสนุกกัน ทํานองเป็นเพลงจีน ๒ ชั้น.
  15. กิ๋ว ๑, กิ๋ว ๆ : ว. เสียงร้องเยาะเย้ย, บางทีทำอาการกระดิกนิ้วชี้ ตรงไปที่หน้าผู้ที่ถูกเย้ย, กุ๋ย หรือ กุ๋ย ๆ ก็ว่า.
  16. กุ๋ย, กุ๋ย ๆ : ว. เสียงร้องเยาะเย้ย, บางทีทำอาการกระดิกนิ้วชี้ตรงไป ที่หน้าผู้ที่ถูกเย้ย, กิ๋ว หรือ กิ๋ว ๆ ก็ว่า.
  17. ขบขัน : ว. น่าหัวเราะ, ชวนหัวเราะ, ขัน ก็ว่า.
  18. ขัน ๔ : ก. หัวเราะ, นึกอยากหัวเราะ. ว. น่าหัวเราะ, ชวนหัวเราะ, ขบขัน ก็ว่า.
  19. ขิก ๆ : ว. หัวเราะเสียงอย่างนั้น. (โบ) ก. หัวเราะเบา ๆ เช่น พระลออดบ่ได้ ขิกหัว. (ลอ).
  20. ขี้ : ก. กิริยาที่ถ่ายกากอาหารออกทางทวารหนัก, ถ่ายอุจจาระ, ราชาศัพท์ว่า ลงพระบังคนหนัก. น. กากอาหารที่ร่างกายไม่ต้องการแล้วขับถ่ายออก ทางทวารหนัก, อุจจาระ, สิ่งที่ร่างกายขับถ่ายออกมาเกรอะกรังอยู่ เช่น ขี้ไคล ขี้รังแค ขี้หู ขี้ตา, โดยปริยายหมายความถึงสิ่งที่ไม่ต้องการ เช่น ขี้ตะกั่ว, เศษหรือกากที่ออกมาจากสิ่งนั้น ๆ เช่น ขี้กบ ขี้เลื่อย. ว. ใช้ ประกอบหน้าคําที่แสดงความหมายในทางที่ไม่ดี เช่น ขี้เกียจ ขี้เหนียว, หรือมักเป็นเช่นนั้น เช่น ขี้หัวเราะ ขี้ขอ.
  21. ครื้นเครง : [คฺรื้นเคฺรง] ว. เสียงดังครึกครื้น, สนุกสนาน เช่น หัวเราะกันอย่าง ครื้นเครง, มีอารมณ์สนุกสนาน เช่น เขาเป็นคนครื้นเครง.
  22. คัก, คั่ก, คั่ก ๆ : ว. เสียงดังอย่างเสียงฝนตกหนัก; เสียงหัวเราะ.
  23. คิก ๆ : ว. เสียงหัวเราะเบา ๆ.
  24. เค้น : ก. บีบเน้นลงไปโดยแรง เช่น เค้นผลไม้ให้น่วม เค้นฝีให้หนองออก เค้นคอให้ยอมหรือให้ตาย, โดยปริยายหมายถึงบีบบังคับหรือฝืนทำ สิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น เค้นเอาความลับออกมา เค้นหัวเราะ.
  25. งอ : ว. ลักษณะที่มีส่วนปลายหักโค้งเข้าหาตัวมันเองเช่นรูปอย่างขอ; เรียกหน้าซึ่งมีสีหน้าแสดงอาการโกรธ ไม่พอใจ หรือไม่ได้อย่างใจ เป็นต้นว่า หน้างอ. ก. ทําให้มีรูปหรือเป็นเช่นนั้น, เรียกอาการของ คนที่หัวเราะจนตัวงอว่า หัวเราะงอ.
  26. งอหาย : ว. อาการที่ร้องไห้หรือหัวเราะจนเสียงเงียบหายไป.
  27. งามแงะ : (กลอน) ว. งามน่าดู เช่น เจ้าเย้ยเยาะว่าเงาะไม่งามแงะ แฮะแฮะ ว่าเล่นหรือว่าจริง.(สังข์ทอง).
  28. จักจี้, จั๊กจี้ : [จักกะ-, จั๊กกะ-] ก. อาการที่ทําให้รู้สึกเสียวสะดุ้งหรือหัวเราะโดยไม่ตั้งใจ เมื่อถูกจี้ที่เอวหรือรักแร้เป็นต้น.
  29. ซิกซี้ : ก. หัวเราะเย้าหยอกกัน, ระริก, กระซิกกระซี้ ก็ว่า.
  30. ท้องแข็ง : ว. อาการที่หน้าท้องตึงเพราะหัวเราะเต็มที่, ท้องคัด ท้องแข็ง ก็ว่า.
  31. ท้องคัดท้องแข็ง : ว. อาการที่หน้าท้องตึงเพราะหัวเราะเต็มที่, ท้องแข็ง ก็ว่า.
  32. ทะเล้น : ก. โปนออก เช่น ตาทะเล้น, ล้นออก เช่น เนื้อผ้าตรงตะเข็บทะเล้น ออก. ว. ทําหน้าหัวเราะอย่างทะลึ่งโดยไม่เหมาะแก่บุคคลหรือ โอกาส.
  33. โผะ : ว. เสียงที่หมอและควาญช้างร้องเมื่อทําพิธีบํารูงาช้าง เป็นการ เยาะเย้ยเมื่อรําท่าต่าง ๆ แล้ว.
  34. ยิ้ม : ก. แสดงให้ปรากฏว่าชอบใจ เยาะเย้ย หรือเกลียดชัง เป็นต้น ด้วยริมฝีปาก และใบหน้า.
  35. ยิ้มด้วยปาก ถากด้วยตา : (สํา) ก. เยาะเย้ยด้วยกิริยาท่าทาง.
  36. ยิ้มหัว : ก. ยิ้มแกมหัวเราะ, ยิ้มแย้มหยอกล้อกัน.
  37. เย้ยหยัน : ก. พูดหรือแสดงกิริยาดูถูกเยาะเย้ยให้ได้อาย ให้เจ็บใจ ให้โกรธ.
  38. เยา ๒ : ว. เบา, อ่อน, น้อย เช่น ราคาเยา, มักใช้เข้าคู่กับคำ ย่อม เป็น ย่อมเยา เช่น ราคาย่อมเยา.
  39. ไยไพ : ก. เยาะเย้ย, พูดให้เขาอาย.
  40. ร่วน : ว. อาการที่หัวเราะด้วยความครื้นเครงมีกระแสเสียงเปล่งดังออกมาถี่ ๆ จากลําคอ ในคำว่า หัวเราะร่วน; ที่มีลักษณะเป็นก้อนไม่เหนียว แตก ละเอียดได้ง่าย เช่น ดินร่วน ปลากุเราเค็มเนื้อร่วน ข้าวร่วน.
  41. ระริก : ก. ไหวถี่ ๆ, สั่นเร็ว ๆ, เช่น ใจสั่นระริก ตัวสั่นระริก; อาการที่หัวเราะ กระซิกกระซี้ เช่น หัวเราะระริก.
  42. ระรี่ : ว. หัวเราะร่วน.
  43. ร่า : ว. อาการที่แสดงให้เห็นว่าเบิกบานเต็มที่ เช่น หัวเราะร่า ยิ้มร่า; เปิด เต็มที่ (ใช้แก่อาการที่เห็นจะแจ้งหรือเปิดเผยเต็มที่) เช่น ประตูเปิดร่า หน้าต่างเปิดร่า.
  44. รี้ริก : ว. เสียงหัวเราะเมื่อถูกหยอก.
  45. ลั่น : ก. มีเสียงดัง เช่น ฟ้าลั่น ไม้ลั่น กระดานลั่น, ทำให้มีเสียงดังหรือ ทำให้เกิดเสียงดัง เช่น ลงบันได บันไดลั่น บิดตัวจนกระดูกลั่น; ยิง เช่น ลั่นธนู ลั่นปืน; ปริออกแตกออกเป็นทางยาวและมีเสียงดัง เช่น จั่นลั่น แก้วใส่น้ำร้อนลั่น; โดยปริยายหมายถึงมีเสียงดังคล้าย คลึงเช่นนั้น เช่น ลือลั่น. ว. มีเสียงดังมาก เช่น หัวเราะลั่น ร้องไห้ลั่น.
  46. แลบลิ้นหลอก : ก. แลบลิ้นแสดงอาการล้อเลียนหรือเยาะเย้ย.
  47. วิกลจริต : [วิกนจะหฺริด] ว. มีความประพฤติหรือกิริยาผิดปรกติ เพราะสติวิปลาส เช่น เขาเป็นคนวิกลจริต ร้องไห้บ้างหัวเราะ บ้างโดยไม่มีสาเหตุ, เป็นบ้า.
  48. สรวล : [สวน] ก. หัวเราะ, ราชาศัพท์ใช้ว่า ทรงพระสรวล.
  49. สรวลสันหรรษา : ก. หัวเราะร่าเริงยินดี, หัวเราะอย่างชอบอกชอบใจ, เช่น บรรดาศิษย์เก่ามาร่วมสรวลสันหรรษาในงานชุมนุมศิษย์เก่า ประจำปี.
  50. สรวลเส, สรวลเสเฮฮา : ก. หัวเราะร่าเริง, หัวเราะอย่างสนุกสนาน ครึกครื้น, เช่น เขาชอบหาเรื่องขำขันมาเล่า ทำให้เพื่อน ๆ ได้ สรวลเสเฮฮาเสมอ, เสสรวล ก็ว่า.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-921

(0.1780 sec)