หัวโขน ๑ : น. รูปหัวยักษ์ ลิง ที่ใช้สวมเวลาเล่นโขนหรือละคร, โดยปริยาย หมายถึงตำแหน่งหน้าที่หรือยศถาบรรดาศักดิ์ที่ดำรงอยู่ มักใช้ในสำนวน เช่น สวมหัวโขน ถอดหัวโขน.
หัวโขน ๒ : น. เรียกขนมชนิดหนึ่งทําด้วยข้าวโพดคั่วคลุกนํ้าตาลที่เคี่ยว จนเหนียวว่า ข้าวโพดหัวโขน.
หัวโขน ๓ : น. ชื่อกุ้งทะเลขนาดใหญ่ในสกุล Panulirus วงศ์ Palinuridae ที่ตอนหัว มีหนามมาก, กุ้งหนามใหญ่ หรือ กุ้งมังกร ก็เรียก.
สวมหัวโขน : ก. เอาหัวโขนสวมศีรษะ, โดยปริยายหมายความว่า ดำรง ตำแหน่งหน้าที่ใหญ่โตหรือมียศถาบรรดาศักดิ์แล้วมักลืมตัวชอบแสดง อำนาจ.
ข้าวหัวโขน : น. ข้าวตากคั่วคลุกนํ้าตาลปึก.
ถอดหัวโขน : ก. พ้นจากตําแหน่งหน้าที่หรือยศถาบรรดาศักดิ์.
โขน ๑ : น. การเล่นอย่างหนึ่งคล้ายละครรํา มักเล่นเรื่องรามเกียรติ์ โดยผู้แสดง สวมหัวจําลองต่าง ๆ ที่เรียกว่า หัวโขน.
มังกร ๓ :
น. กุ้งมังกร. (ดู หัวโขน๓).
กระดาษเพลา : [-เพฺลา] น. กระดาษสาชนิดบาง โบราณใช้ร่างหนังสือด้วยดินสอดำหรือใช้ประโยชน์ อย่างอื่น เช่น ใช้ปิดหุ่นหัวโขนและหุ่นอื่น ๆ.
กระแหนะ : [-แหฺนะ] น. ลายปูนปิดทอง. ก. แตะ, เติม; ว่าเปรียบเปรย; กรรมวิธีในการสร้างงานประติมากรรมตกแต่ง หรือ วิธีการช่างจุลศิลป์ประเภทหนึ่ง โดยใช้สมุกปั้นเป็นลวดลาย หรือรูปภาพติดเข้ากับพื้นไม้หรือพื้นกระดาษ เช่น ปั้นหน้ายักษ์หน้าลิงติดลงบนกะโหลกปิดกระดาษทำเป็น หัวโขน, แขนะ ก็ว่า.
กะโหลก : [-โหฺลก] น. ส่วนแข็งที่หุ้มเนื้อมะพร้าวหรือตาลเป็นต้น เรียกว่า กะโหลกมะพร้าว กะโหลกตาล, ภาชนะที่ทําด้วยกะโหลก มะพร้าวโดยตัดทางตาออกพอเป็นช่องกว้างเพื่อใช้ตักน้ำ; กระดูกที่ หุ้มมันสมอง; โดยปริยายหมายความถึงวัตถุที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น กะโหลกหุ่นหัวโขน; เรียกพรรณไม้บางชนิด เช่น ลําไย ลิ้นจี่ ที่มีผลโต เนื้อหนากว่าปรกติ เช่น ลําไยกะโหลก ลิ้นจี่กะโหลก.
กุ้ง ๑ : น. ชื่อสัตว์น้ำไม่มีกระดูกสันหลังในชั้น Crustacea อันดับ Decapoda มีหลายวงศ์ หายใจด้วยเหงือก ลําตัวยาว แบนหรือกลม แบ่งเป็นปล้อง ๆ เปลือกที่หุ้มท่อนหัวและ อกคลุมมาถึงอกปล้องที่ ๘ ส่วนใหญ่กรีมีลักษณะแบนข้าง ก้ามและขาอยู่ที่ส่วนหัวและอก มี ๑๐ ขา มีทั้งในน้ำจืดและน้ำเค็ม มีหลายชนิด เช่น กุ้งก้ามกราม กุ้งก้ามเกลี้ยง กุ้งตะกาด กุ้งตะเข็บ กุ้งนาง กุ้งฝอย กุ้งหลวง กุ้งหัวแข็ง กุ้งหัวโขน.
แขนะ : [ขะแหฺนะ] (โบ) ก. แกะ, สลัก, เจาะ. น. กรรมวิธีในการสร้างงาน ประติมากรรมตกแต่ง หรือวิธีการทางช่างจุลศิลป์ประเภทหนึ่ง โดย ใช้สมุกปั้นเป็นลวดลายหรือรูปภาพติดเข้ากับพื้นไม้หรือพื้นกระดาษ เช่น ปั้นหน้ายักษ์หน้าลิงติดลงบนกะโหลกปิดกระดาษทำเป็นหัวโขน, กระแหนะ ก็ว่า.
ครอบ ๒ : [คฺรอบ] ก. ประสิทธิ์ประสาทวิชาให้, ถ่ายทอดความรู้ให้; ทําพิธีรับรอง ความรู้ เช่น ครูครอบศิษย์ (อย่างครูครอบศิษย์ด้วยหัวโขน).
เพลา ๓ : [เพฺลา] น. ชื่อกระดาษสาชนิดบาง โบราณใช้ร่างหนังสือด้วยดินสอ ดำหรือใช้ประโยชน์อย่างอื่นเช่นใช้ปิดหุ่นหัวโขนและหุ่นอื่น ๆ เรียกว่า กระดาษเพลา.
ไพรคิ้ว : น. ลายเขียนเป็นเส้นคิ้วที่หัวโขน.
ไพรปาก : น. ลายเขียนเป็นเส้นที่ท้ายมุมปากที่หัวโขน.
โล้น : ว. ลักษณะของหัวที่โกนผมออกหมด; เกลี้ยงเตียน เช่น เขาโล้น. น. เรียกหัวโขนที่ไม่สวมมงกุฎหรือชฎา เช่น หัวนนทุก หัวเสนา ยักษ์ ว่า หัวโล้น.
หนังสด : น. การมหรสพอย่างหนึ่ง ลักษณะคล้ายโขนแต่เดินเรื่องเร็วกว่า ผู้แสดงสวมหัวโขนไม่ปิดคลุมใบหน้า ร้องและเจรจาเอง ใช้ปี่พาทย์ บรรเลงประกอบ, โขนสด ก็เรียก.