หาก : ก. โบราณใช้เป็นกริยาช่วยหมายความว่า พึง, ควร, เช่น ''อันไตรโลกย์ หากบูชา'' = อันไตรโลกย์พึงบูชา. ว. จาก, แยกออกไปอีกส่วนหนึ่ง, เช่น ออกหาก ต่างหาก. สัน. ถ้า, แม้, เช่น หากเธอมาฉันก็จะรอ; เผอิญ เช่น หากอักนิฏฐ์พรหมฉ้วย พี่ไว้จึงคง. (ตำนานเรื่องศรีปราชญ์), หากเดช พระจอมจุมพลป้องบไภยันต์. (บุณโณวาท).
ผิ : สัน. ถ้า, หาก, แม้น.
เผื่อ : ว. สํารอง เช่น กักนํ้าไว้เผื่อแล้ง; ให้มากไว้กว่าที่ต้องการสําหรับ ส่วนตัวหรือผู้อื่น เช่นกินเผื่อ เอาข้าวมาเผื่อ. สัน. ถ้า, หาก, สมมุติ, เผื่อว่า ก็ใช้.
แม้ : สัน. ผิ, หาก, เช่น แม้ฝนตก ฉันก็จะมา, ใช้ว่า แม้น ก็มี; คําสนับสนุนข้ออ้าง ให้เห็นเด่นขึ้นโดยอาศัยการเปรียบเทียบ เช่น อย่าว่าแต่ผู้ใหญ่เลย แม้เด็กก็เข้าใจ.
สา ๔ : สัน. แม้ว่า, หาก, เช่น สาอวรอรวนิดา โดยพี่มานี. (หริภุญชัย).
ออกหาก : ก. อาการที่ทำห่างเหินไม่ร่วมมือร่วมใจเหมือนเดิม ในคำว่า ตีตัวออกหาก เอาใจออกหาก.
เอาใจออกหาก : ก. ห่างเหินไปไม่ร่วมมือร่วมใจเหมือนเดิม, ตีตนจากไป, ปลีกตัวออกไป, ตีตัวออกหาก ก็ว่า.
เผอิญ : [ผะเอิน] ว. ที่เกิดขึ้นโดยไม่รู้ตัวหรือไม่คาดหมาย, บังเอิญ, หาก ให้เป็น, จําเพาะเป็น, ใช้ว่า เพอิญ หรือ พรรเอิญ ก็มี.
ถ้า : สัน. คําแสดงความคาดหมาย คาดคะเน หรือข้อแม้, ผิ, แม้, หาก. ถ้าว่า, ถ้าหากว่า สัน. ผิว่า, แม้ว่า, หากว่า.
อันโทล : [โทน] ก. เวียนเกิดเวียนตาย, ท่องเที่ยวในสังสารวัฏ, เช่น หาก เที่ยวในสงสารภพอันโทลเกิดไปมาแล. (จารึกวัดศรีชุม), นางก็ อันโทลไปมาในพิทธยาภพนี้. (ม. คําหลวง ทศพร); ท่องเที่ยว เช่น อย่าดูถูกอันโทลไพร จะเยียไยแก่อกเจ้า. (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์ กลบทเก่า). (ข.).
กระด้างกระเดื่อง : ก. แข็ง เช่น หนึ่งโสดฝุ่นทรายตรึงตรา นอนแนบหินผา กระด้างกระเดื่องทั้งตัว. (ดุษฎีสังเวย). ว. ไม่อ่อนน้อม, เอาใจออกหากไม่ยอมอ่อนน้อมอย่างเคย.
กำเลาะ : (แบบ) ว. หนุ่ม, สาว, เช่น หากกูกำเลาะหลงกาม ไป่คำนึงความ แลโดยอำเภอลำพัง. (สุธน). (ข. กํโละ ว่า หนุ่ม).
เกลือก ๒ : [เกฺลือก] ก. เกรง. สัน. หาก, ถ้า, แม้, บางที, เผื่อว่า, มักใช้ว่า เกลือกว่า เช่น แม่อย่าสามานย์ด้วยวาจา มันจะตามถ้อยคำเข้ามาประสมประสาน เกลือกว่า เหยื่อมันสาธารณ์แม่จะอดสู. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
ขายชาติ : ก. ขยายความลับประเทศชาติของตนแก่ศัตรูหรือเอาใจ ออกหากไปเข้ากับศัตรู เพราะเห็นแก่สินจ้างหรือสิ่งตอบแทนเพื่อ ทําลายล้างประเทศชาติของตน, ขายบ้านขายเมือง ก็ว่า.
ไขว้โรง : ก. กลับตรงกันข้าม (เดิมเป็นภาษาใช้ในการพนันหวย ก ข มีตัวโรงเช้า โรงคํ่า เมื่อผู้แทงระบุตัวแทงแล้ว ถ้าหากตัวออกกลับกันเสีย ก็เรียกว่า ขุนบาลกินอย่างไขว้โรง, ตรงกับว่า โอละพ่อ).
คนละ : ว. คนหนึ่ง ๆ, แต่ละคน, เช่น เก็บเงินคนละ ๕ บาท; ต่างหากจากกัน ไม่ใช่อย่างเดียวกัน เช่น ผ้าคนละชนิด หนังสือคนละเล่ม.
จำงาย : (โบ) น. สาย, บ่าย, เช่น ลูกไม้บ่ทันงาย จำงายราชอดยืน. (ม. คำหลวง มัทรี). ว. ห่าง, ไกล, เช่น หากให้เจ้าตูฉิบหาย จำงายพรากพระบุรี ท่านนี้. (ม. คำหลวง ชูชก). (ข. จํงาย ว่า ระยะไกล).
โจทเจ้า : ก. เอาความผิดของเจ้าไปโพนทะนา; เอาใจออกหาก.
ชีพุก : น. พ่อ, ท่านพ่อ, เช่น ด่งงจริงชะรอยชีพุก หากทำทุกข์ แก่มึงอย่าเลอย. (ม. คําหลวง ชูชก). (เทียบ ข. โอวพุก ว่า พ่อ).
แบ่งแยก : ก. แบ่งออกจากกันเป็นส่วนหนึ่งต่างหาก เช่น แบ่งแยก โฉนดที่ดิน.
ประกันภัย : (กฎ) น. ชื่อสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้รับ ประกันภัย ตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือใช้เงินจํานวนหนึ่ง ให้ในกรณีที่หากมีวินาศภัยขึ้น หรือในเหตุอย่างอื่นในอนาคตดัง ได้ระบุไว้ในสัญญา และการนี้บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้เอา ประกันภัย ตกลงจะส่งเงินซึ่งเรียกว่า เบี้ยประกันภัย, สัญญา ประกันภัย ก็เรียก.
แปรพักตร์ : ก. เอาใจออกหาก, ไม่ซื่อตรง.
พิเศษ : ว. นอกเหนือหรือแตกต่างไปจากปรกติธรรมดา (มักใช้ในทางดี) เช่น ในกรณีพิเศษเขาเป็นคนมีความจำเลิศเป็นพิเศษ, ไม่ใช่ปรกติ ธรรมดาหรือประจำ เช่น อาจารย์พิเศษ, ที่แยกเป็นส่วนหนึ่ง ต่างหากเช่น คนไข้พิเศษ นักศึกษาพิเศษ; ลำดับชั้นหรือขั้นของยศ เป็นต้นที่สูงกว่าเอก เช่น ข้าราชการชั้นพิเศษพระครูสัญญาบัตรชั้น พิเศษ. (ส. วิเศษ; ป. วิเสส).
พุทธาวาส : น. ส่วนหนึ่งของวัดประกอบด้วย โบสถ์ วิหาร เจดีย์ ซึ่งใช้เป็นที่ประกอบสังฆกรรม โดยมีกําแพงกันไว้ต่างหากจาก ส่วนที่พระภิกษุสามเณรอยู่อาศัย ซึ่งเรียกว่าสังฆาวาส, วัดที่สร้าง ขึ้นเป็นที่ประกอบสังฆกรรมโดยเฉพาะ โดยไม่มีสังฆาวาส เช่น วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว).
ฦ, ฦๅ ๑ : วิธีเขียนเสียง ลึ ลือ แต่บัญญัติเขียนเป็นอีกรูปหนึ่งต่างหาก อนุโลมตามอักขรวิธี ของสันสกฤต.
วิตามิน : น. กลุ่มสารอินทรีย์ซึ่งเป็นสารอาหารจําเป็นที่ร่างกายต้องการแต่ เพียงจํานวนน้อย ๆ และจะขาดไม่ได้ หากขาดจะทําให้อวัยวะใน ร่างกายทํางานผิดปรกติและเกิดโรคได้ สารกลุ่มนี้มีส่วนช่วยในการ เจริญเติบโตของร่างกาย บํารุงผิวพรรณ เหงือก ผม ตา และช่วย ต้านทานโรค แบ่งเป็น ๒ พวกใหญ่ คือ พวกที่ละลายได้ในไขมัน เช่น วิตามินเอ วิตามินดี และพวกที่ ''ละลายได้ในน้ำ เช่น วิตามินบี วิตามินซี, ใช้ว่า วิตะมิน หรือ ไวตามิน ก็มี. (อ. vitamin).
สบถ : [สะบด] ก. เปล่งถ้อยคำเพื่อเน้นให้คนเชื่อโดยอ้างสิ่งศักดิ์สิทธิ์ลงโทษ ตนหรือให้ภัยพิบัติต่าง ๆ เกิดกับตนถ้าหากตนไม่ปฏิบัติตามหรือ ไม่เป็นไปอย่างที่พูดไว้. (ป. สปถ; ส. ศปถ).
ห้างหุ้นส่วนสามัญ : (กฎ) น. ห้างหุ้นส่วนประเภทหนึ่ง ซึ่งผู้เป็นหุ้นส่วน หมดทุกคนต้องรับผิดร่วมกันเพื่อหนี้ทั้งปวงของหุ้นส่วนโดยไม่มีจํากัด ห้างหุ้นส่วนสามัญจะจดทะเบียนหรือไม่ก็ได้ แต่เมื่อได้จดทะเบียนแล้ว จึงจัดว่าเป็นนิติบุคคลต่างหากจากผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งรวมเข้ากันเป็นห้าง หุ้นส่วนนั้น.
เหี้ยม : ว. แข็งกระด้างปราศจากเมตตากรุณา, ไม่ปรานี; ดุร้ายหมดความกลัว. (แบบ) น. เหตุ เช่น เหี้ยมนั้นจึงหากให้ ฉัตรหัก เหนแฮ. (ตะเลงพ่าย).
อุปฮาด : [อุปะ, อุบปะ] น. (โบ; ถิ่นอีสาน) ตำแหน่งรองจากเจ้าเมืองใน ภาคอีสานสมัยต้นรัตนโกสินทร์ เช่น พระยาก่ำได้ตั้งให้ท้าวแก้ว ผู้น้องชายเป็นอุปฮาดอยู่บ้านหนึ่งต่างหาก. (ลัทธิธรรมเนียมต่าง ๆ : ว่าด้วยชนชาติภูไทย); (โบ; ถิ่นพายัพ) ตำแหน่งเจ้าชั้นสูงรองจาก ตำแหน่งเจ้านครในภาคเหนือ เรียกว่า พระยาอุปราช หรือ เจ้าอุปราช แต่ชาวไทยในภาคเหนือออกเสียงเป็น อุปฮาด.
เอกเทศ : [เอกกะเทด] น. ส่วนหนึ่งต่างหาก, เฉพาะตัว, เฉพาะบุคคล, เช่น เขาแยกตัวไปทำงานเป็นเอกเทศ.
ไอโอดีน : น. ธาตุลําดับที่ ๕๓ สัญลักษณ์ I เป็นอโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง สีเทาดําเป็นเงาวาว หลอมละลายที่ ๑๑๔?ซ. เมื่อระเหิดเป็นไอให้ ไอสีม่วง เป็นธาตุสําคัญมากสําหรับต่อมไทรอยด์ หากขาดธาตุนี้ จะทําให้เป็นโรคคอพอก. (อ. iodine).