Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: หาญ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : หาญ, 36 found, display 1-36
  1. หาญ : ว. กล้า, เก่ง, เช่น ทหารหาญ; บังอาจ เช่น หาญสู้, บางทีก็ใช้เข้าคู่ กับคำอื่น เช่น กล้าหาญ หักหาญ เหี้ยมหาญ ฮึกหาญ.
  2. เหี้ยมหาญ : ว. เข้มแข็งกล้าหาญเด็ดขาด, ห้าวหาญปราศจากความปรานี.
  3. แปหาญ : น. แปที่รับนาคสะดุ้งที่โบสถ์ วิหาร หรือปราสาท.
  4. รู้หาญรู้ขลาด : (สํา) ก. กล้าในที่ควรกล้า กลัวในที่ควรกลัว.
  5. กระเบญ : (กลอน) ก. กระเบง เช่น กุมกระบอง กระเบญหาญ. (สมุทรโฆษ).
  6. กระหนาบ : ก. ประชิดเข้าไปทั้ง ๒ ข้าง เช่น กองทัพตีกระหนาบ; อาการที่อยู่ทั้ง ๒ ข้าง เช่น กระหนกกระหนาบภาพหาญ, กระหนกกระหนาบคาบเครือสร้อยสน. (พากย์); ดุดันเอา. (แผลงมาจากขนาบ).
  7. กเรนทร, กเรนทร์ : (กลอน; แผลงมาจาก กรินทร์) น. ช้าง เช่น พลคชคณหาญหัก กเรนทรปรปักษ์ ปราบประลัย. (สมุทรโฆษ).
  8. เก่งกาจ : ก. กล้าหาญไม่กลัวอะไร.
  9. ไกร ๒ : [ไกฺร] ว. ยิ่ง เช่น เหนหาญหื่นแหลมหลัก ไกรกว่า ตนนา. (ยวนพ่าย), ใหญ่, มาก, เกิน; กล้า, เก่ง.
  10. ขวัญ : [ขฺวัน] น. ผมหรือขนที่ขึ้นเวียนเป็นก้นหอย; มิ่งมงคล, สิริ, ความดี, เช่น ขวัญข้าว ขวัญเรือน; สิ่งที่ไม่มีตัวตน เชื่อกันว่ามีอยู่ประจําชีวิตของคน ตั้งแต่เกิดมา ถ้าขวัญอยู่กับตัวก็เป็นสิริมงคล เป็นสุขสบายจิตใจมั่นคง ถ้าคนตกใจหรือเสียขวัญ ขวัญก็ออกจากร่างไป ซึ่งเรียกว่า ขวัญหาย ขวัญหนี ขวัญบิน เป็นต้น ทําให้คนนั้นได้รับผลร้ายต่าง ๆ, เรียกผู้ตกใจ ง่ายคือ เด็กหรือหญิงซึ่งมักจะขวัญหายบ่อย ๆ ว่า ขวัญอ่อน, และอนุโลม ใช้ไปถึงสัตว์หรือสิ่งของบางอย่าง เช่น ช้าง ม้า ข้าว เรือน ฯลฯ ว่ามีขวัญ เช่นเดียวกับคนเหมือนกัน, โดยปริยายหมายความว่า ยอดกำลังใจเช่น ขวัญเมือง ว่า ยอดกําลังใจของเมือง; กําลังใจดี เช่น ขวัญดี; ผู้รู้พิธีทําขวัญ เรียกว่า หมอขวัญ; การทําพิธีเชิญขวัญหมายความว่า เรียกขวัญ มาอยู่กับตัว; การเสียเงินค่าปรับให้แก่ผู้ถูกทําร้ายหรือถูกหมิ่นประมาท เรียกว่า ทำขวัญ; เอาเส้นด้ายผูกข้อมือเด็กแล้วกล่าวเรียก ขวัญว่า ``ขวัญเอ๋ย มาอยู่กับเนื้อกับตัว'' แล้วกล่าวให้พรต่อไปตามควร เรียกว่า ผูกขวัญ; เรียกขวัญหรือเชิญขวัญ เรียกว่า รับขวัญ; ทําพิธี เช่น รดนํ้ามนตร์ให้ เสกเป่าให้ หรือกล่าวปลุกใจต่าง ๆ เพื่อให้ขวัญดีมีใจกล้าหาญ เรียกว่า บำรุงขวัญ; สิ่งของที่ให้แก่เจ้าของขวัญ เมื่อเสร็จพิธีทําขวัญแล้ว หรือสิ่งของที่ให้กันในเวลาอื่นเป็นการถนอมขวัญ หรือเพื่ออัธยาศัยไมตรี เรียกว่า ของขวัญ; ข้าวบายศรี เรียกว่า ข้าวขวัญ; ไข่ปอกที่เสียบไม้ปักไว้บนยอดบายศรี เรียกว่า ไข่ขวัญ, ไข่ข้าว ก็เรียก; ลูกคนที่รักมากที่สุด เรียกว่า ลูกขวัญ; ผู้ที่เป็นมิ่งขวัญอย่างยอดเยี่ยมหมายถึง หญิงที่รัก เรียกว่า จอมขวัญ; คำยกย่องเรียกภรรยาอันเป็นที่รักว่า เมียขวัญ; กําลังใจเสีย เรียกว่า เสียขวัญ.
  11. ขัน ๒ : ก. ทำให้ตึงหรือให้แน่นด้วยวิธีหมุนกวดเร่งเข้าไป เช่น ขันชะเนาะ ขันเกลียว. ว. แข็งแรง, กล้าหาญ, เช่น กูนี้คนขัน จะขามคนใด. (สมุทรโฆษ).
  12. ดุษฎีมาลา : น. ชื่อเหรียญที่พระราชทานเฉพาะแก่ผู้ได้ใช้ศิลปวิทยาให้เป็น คุณประโยชน์แก่บ้านเมืองถึงขนาด ทั้งอาจได้รับพระราชทานเงินพิเศษ ประจําเดือนไปตลอดชีวิต เดิมกําหนดให้มีเข็มพระราชทานประกอบกับ เหรียญรวม ๕ ชนิด คือ เข็มราชการในพระองค์ เข็มราชการแผ่นดิน เข็ม ศิลปวิทยา เข็มความกรุณา และเข็มกล้าหาญ ต่อมาคงเหลือแต่เหรียญ ดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา เพียงอย่างเดียว.
  13. นาครวย : [นากรวย] น. ตัวไม้ที่ทำอย่างตัวนาค ทอดตรงลงมาจาก อกไก่ถึงแปหาญทั้ง ๒ ข้างของหน้าบัน.
  14. นาคสะดุ้ง : น. ตัวไม้ที่ทำอย่างตัวนาค ทอดต่อลงมาจากแปหาญถึง หางหงส์ ทั้ง ๒ ข้างของหน้าบัน โบราณเรียกว่า เครื่องสะดุ้ง.
  15. บำรุงขวัญ : ก. ทําพิธีเช่นรดนํ้ามนต์ให้ เสกเป่าให้ หรือทําการ อย่างใดอย่างหนึ่ง เช่นกล่าวปลุกใจเพื่อให้ขวัญดี มีใจกล้าหาญ.
  16. ปลุกใจ : ก. เร้าใจให้กล้าหาญหรือกระตือรือร้น.
  17. พระ : [พฺระ] น. คำใช้แทนชื่อเรียกภิกษุสงฆ์ เช่น วัดนี้มีพระกี่องค์ พระลง โบสถ์, พระพุทธรูป เช่น ชักพระ ไหว้พระในโบสถ์, พระพุทธเจ้า หรือ เนื่องด้วยพระพุทธเจ้า เช่น เมืองพระ คําพระ พระมาตรัส, ชื่อวันประชุมถือศีลฟังธรรมในพระพุทธศาสนา เดือนหนึ่งมี ๔ วัน คือ วันขึ้น ๘ ค่ำ ขึ้น ๑๕ ค่ำ แรม ๘ ค่ำ และแรม ๑๕ ค่ำ ถ้าเป็น เดือนขาดก็แรม ๑๔ ค่ำ เรียกว่า วันพระ; พระเจ้า, พระเยซู, (ตามที่ คริสต์ศาสนิกชนในเมืองไทยใช้อนุโลมเรียก) เช่น พระลงโทษ แม่พระ; นักบวช, นักพรต, เช่น พระไทยพระแขก พระฝรั่ง พระจีน พระญวน; ตัวเอกในเรื่องละคร เช่น ตัวพระตัวนาง; ใช้ประกอบ หน้าคําอื่นแสดงความยกย่อง ๑. เทพเจ้าหรือเทวดาผู้เป็นใหญ่ เช่น พระอิศวรพระนารายณ์ พระพิรุณ ๒. พระเจ้าแผ่นดินหรือของที่ เกี่ยวข้องกับพระเจ้าแผ่นดินและเจ้านายชั้นสูง เช่น พระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ ๓. สมณศักดิ์ชั้นราชาคณะ เช่น พระราชเวที พระเทพ เมธี ๔. นักบวช เช่น พระแดง ๕. สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น พระภูมิ; อิสริยยศ เจ้านาย เช่น พระรามคําแหง พระนเรศวร พระเทียรราชา; บรรดาศักดิ์ ข้าราชการสูงกว่าหลวง ต่ำกว่าพระยา เช่น พระสารประเสริฐ พระธรรมนิเทศทวยหาญ, ใช้ประกอบหน้าชื่อบรรดาศักดิ์พระสนม; โดยปริยายหมายถึงผู้ที่มีเมตตากรุณาทรงคุณงามความดีเหมือนพระ เช่น ใจพระ พ่อแม่เป็นพระของลูก. ส. คําใช้แทนผู้ที่เราพูดถึง ใช้กับ ผู้เป็นใหญ่ เช่น พระเสด็จโดยแดนชล, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓.
  18. พิริยโยธา : น. พลรบผู้กล้าหาญ. (ป. วิริย + โยธา).
  19. ยง ๓ : ว. กล้าหาญ เช่น ยงยุทธ์ เยี่ยมยง, เก่งกล้าสามารถ เช่น ตัวยง.
  20. ยรรยง : [ยัน] ว. งามสง่า, กล้าหาญ.
  21. ราญ, ราญรอน : ก. รบ เช่น นักเลงเขาไม่หาญราญนักเลง.
  22. ลาญ : ก. แตก, หัก, ทําลาย เช่น ฝอใจห้าวบมิหาญ ลาญใจแกล้วบมิกล้า. (ตะเลงพ่าย).
  23. ลูกผู้ชาย : น. เรียกผู้ชายที่มีความยุติธรรม ความซื่อสัตย์ เข้มแข็ง เด็ดเดี่ยว กล้าหาญ และมีความรับผิดชอบ เป็นต้น.
  24. วิกรานต์ : [วิกฺราน] ว. กล้าหาญ, มีชัยชนะ, ก้าวหน้า. (ส. วิกฺรานฺต).
  25. วิร, วิระ : [วิระ] ว. วีระ, กล้าหาญ. น. ผู้กล้าหาญ, นักรบ; ผู้พากเพียร; ผู้เรืองนามในทางกล้าหาญ. (ป., ส. วีร).
  26. วีร : [วีระ] ว. กล้าหาญ. (ป., ส.).
  27. วีรกรรม : [วีระกำ] น. การกระทําที่ได้รับยกย่องว่าเป็นความกล้าหาญ, การกระทําของผู้กล้าหาญ.
  28. วีรชน : [วีระชน] น. ผู้ที่ได้รับยกย่องว่ามีความกล้าหาญ.
  29. วีรบุรุษ : [วีระบุหฺรุด] น. ชายที่ได้รับยกย่องว่ามีความกล้าหาญ. (ส. วีรปุรุษ). วีรสตรี [วีระสัดตฺรี] น. หญิงที่ได้รับยกย่องว่ามีความกล้าหาญ.
  30. ไว้ลาย : ก. แสดงความกล้าหาญหรือความสามารถอันเป็นลักษณะ พิเศษของตนฝากไว้ให้ประจักษ์แก่ผู้อื่น เช่น ชาติเสือต้องไว้ลาย.
  31. เศาร์ : ว. กล้าหาญ, เกี่ยวกับผู้กล้าหาญ. (ส. ศูร; ป. สูร).
  32. เศารยะ : [ระยะ] น. ความกล้าหาญ; อํานาจ. (ส.).
  33. สมัญญา : [สะมันยา] น. ชื่อที่มีผู้ยกย่องหรือตั้งให้ เช่น พระพุทธเจ้าได้รับสมัญญา ว่า พระสัมมาสัมพุทธเจ้า เพราะเป็นผู้ตรัสรู้เองโดยชอบ ศาสดาของ ศาสนาเชนได้รับสมัญญาว่า มหาวีระ เพราะเป็นผู้มีความกล้าหาญมาก. (ป.).
  34. เหิมหาญ : ว. ลำพองใจด้วยความกล้าหาญ.
  35. อัศวิน : [อัดสะวิน] น. นักรบขี่ม้า, นักรบที่กล้าหาญ, ผู้ที่ได้รับยกย่อง ว่าเป็นคนเก่ง; ชื่อเทวดาคู่หนึ่งซึ่งทรงรถนําหน้ารถพระอาทิตย์มาก่อน เวลารุ่งสาง เป็นบิดาของนกุลและสหเทพในมหากาพย์เรื่องมหาภารตะ. (ส.).
  36. อาจหาญ : ว. กล้าหาญ.
  37. [1-36]

(0.0122 sec)