Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: หายใจเข้า, หายใจ, เข้า , then ขา, เข้, เข้า, หายใจ, หายใจเข้า .

Royal Institute Thai-Thai Dict : หายใจเข้า, 1886 found, display 1-50
  1. หายใจ : ก. กิริยาที่ทําให้อากาศเข้าสู่และออกจากปอด, ยังมีชีวิตอยู่ เช่น คนเจ็บ ยังมีชีวิตอยู่; โดยปริยายหมายความว่า หมกมุ่นไปในทางใดทางหนึ่ง เช่น หายใจเป็นเงิน.
  2. เข้า : ก. อาการที่เคลื่อนไปข้างในหรือทําให้เคลื่อนไปข้างใน เช่น เข้าบ้าน เข้าถํ้า เอาหนังสือเข้าตู้; เคลื่อนมาสู่ที่, มาถึง, เช่น รถด่วนเข้า ๑๐ โมง; ใส่, บรรจุ, เช่น เข้าหีบ; ประสม, แทรก, เช่น เข้ายาดำ; รวม เช่น เข้าหุ้น เข้าทุน; รวม เป็นพวก เช่น เข้าพรรค เข้าแถว เข้าข้าง; ถูกกัน, ลงรอยกัน, ทําให้ลงรอยกัน, เหมาะเจาะ, เช่น เสียงเข้ากัน สีเข้ากัน เข้าไม้; เคลื่อนมาสู่ เช่น พระศุกร์เข้า; สิง เช่น เจ้าเข้า ผีเข้า; เริ่ม เช่น เข้าเรียน, เริ่มทํางาน เช่น โรงเรียนเข้า; เริ่มอยู่ ในภาวะ เช่น เข้าโรงเรียน เข้าทํางาน. ว. ตรงข้ามกับ ออก เช่น ทางเข้า ขาเข้า; ใช้ประกอบคําอื่นแสดงความหมายเร่งรัดหรือเน้นความว่า มากขึ้น เช่น เร็วเข้า คิดเข้า หนักเข้า ดึกเข้า นานเข้า.
  3. เข้า : (โบ) น. ข้าว; ขวบปี.
  4. เข้าเกณฑ์ : ก. เข้าหลักที่กําหนดไว้ เช่น อายุเข้าเกณฑ์.
  5. เข้าเกียร์ : ก. ผลักคันเกียร์ให้เข้าที่เพื่อเปลี่ยนระดับความเร็วของเครื่องยนต์.
  6. เข้าข้อ : น. อาการของโรคชนิดหนึ่งให้เมื่อยขัดอยู่ในข้อ; กามโรคที่ เรื้อรังมาจนถึงทําให้ปวดตามข้อกระดูก, มักใช้เข้าคู่กับคำ ออกดอก เป็น เข้าข้อออกดอก.
  7. เข้าข้าง : ก. เข้าเป็นฝ่าย.
  8. เข้าคิว : ก. เข้าแถวตามลําดับมาก่อนมาหลัง.
  9. เข้าคู่ : ก. เอาไพ่ตอง ๒ ใบที่เหมือนกันมาเข้าชุดกันเป็น ๑ คู่; ไปด้วยกัน ได้อย่างดี.
  10. เข้าเครื่อง : ก. สวมใส่เครื่องแต่งตัวโขน ละคร ลิเกตัวสําคัญ ๆ; คําพูด สําหรับว่าว หมายความว่า ผูกเหนียง ผูกติ่ง, ถ้าสายป่านของว่าวปักเป้า ตรงช่วงสายเหนียงติดเครื่อง คือ ติดเหนียงและติ่ง เรียกว่า เหนียง เข้าเครื่อง, ถ้าสายป่านของว่าวจุฬาติดจำปา เรียกว่า ป่านเข้าเครื่อง.
  11. เข้าเจ้า : ก. ทําพิธีให้เจ้ามาสิงในกาย, ตัวผู้ทําพิธีให้เจ้ามาสิงนั้น เรียกว่า ``คนทรง'', มักใช้เข้าคู่กับคำ เข้าทรง เป็น เข้าเจ้าเข้าทรง.
  12. เข้าเจ้าเข้านาย : ก. รู้จักธรรมเนียมเข้าเฝ้าเจ้านาย และเข้าไปหาผู้หลัก ผู้ใหญ่อย่างเหมาะสม.
  13. เข้าตอง : ก. เอาไพ่ตอง ๓ ใบที่เหมือนกันมาเข้าชุดกันเป็น ๑ ตอง.
  14. เข้าตัว : ก. อาการที่อาคม ของขลัง หรือถ้อยคําที่ปรารถนาจะกระทําหรือ พูดให้ร้ายแก่ผู้อื่น แล้วย้อนกลับมาโดนตัวเอง, ไม่พ้นตัว เช่น พูดเข้าตัว.
  15. เข้าตา : ก. เห็นว่าดีและพอใจ เช่น เข้าตากรรมการ.
  16. เข้าตู้ : (ปาก) ก. ลืมวิชาความรู้ที่ได้เรียนมา ใช้พูดว่า ``วิชาเข้าตู้'' ซึ่ง หมายความว่า วิชาที่เคยจําได้นั้นบัดนี้ลืมหมดแล้ว ยังคงอยู่แต่ใน ตําราที่เก็บไว้ในตู้.
  17. เข้าไต้เข้าไฟ : ว. เริ่มมืดต้องใช้แสงไฟ, พลบ, ใช้ว่า เวลาเข้าไต้เข้าไฟ.
  18. เข้าถึง : ก. เข้าใจอย่างซาบซึ้ง เช่น เข้าถึงบท เข้าถึงวรรณคดี, เข้าใกล้ชิด สนิทสนมเพื่อจะได้รู้ซึ้งถึงชีวิตจิตใจและความต้องการเป็นต้น เช่น เข้าถึงประชาชน.
  19. เข้าเถื่อนอย่าลืมพร้า : (สํา) ก. ให้มีความรอบคอบอย่าประมาท เช่นเดียว กับเวลาจะเข้าป่าจะต้องหามีดติดตัวไปด้วย.
  20. เข้าทรง : ก. อาการที่เจ้าเข้าสิงในตัวคนทรง, มักใช้เข้าคู่กับคำ เข้าเจ้า เป็น เข้าเจ้าเข้าทรง.
  21. เข้าที่ : ก. นั่งภาวนากรรมฐาน (ทางพระศาสนา); กลับเหมือนเดิม เช่น ซ้อมจนเข้าที่; นอน ใช้ในราชาศัพท์ พูดเต็มว่า เข้าที่บรรทม.
  22. เข้าที่เข้าทาง : ก. จัดให้เป็นระเบียบ, จัดให้เรียบร้อย, เช่น จัดข้าวของ ให้เข้าที่เข้าทาง.
  23. เข้าเนื้อ : ก. ขาดทุน, เสียทรัพย์ไป; เสียหาย, เสียเปรียบ, เช่น พูดให้เข้าเนื้อ; เข้าเลือด หรือ เข้าเลือดเข้าเนื้อ ก็ว่า.
  24. เข้าแบบ, เข้าแบบเข้าแผน : ก. ถูกต้องตามแบบแผน, เป็นไปตามแบบ เช่น ตัวละครเข้าแบบ.
  25. เข้าปากไม้ : ก. นำไม้ตั้งแต่ ๒ ชิ้นมาบากหรือเจาะตรงปลายแล้วประกอบ เข้าด้วยกัน ใช้ลูกสลักไม้หรือปลิงเหล็กยึดปลายนั้นให้แน่น.
  26. เข้าปิ้ง : ก. อาการที่ว่าวปักเป้าติดสายป่านว่าวจุฬาแล้วกระดิกไม่ไหว; อยู่ใน ความลําบากแก้ไขยาก, (ปาก) ถูกจับกุมคุมขัง, เข้าข่ายมีความผิดไปด้วย.
  27. เข้าพรรษา : น. เรียกวันที่พระสงฆ์เริ่มเข้าจําพรรษา คือ วันแรม ๑ คํ่า เดือน ๘ ว่า วันเข้าพรรษา. ก. เข้าอยู่ประจําที่ ๓ เดือนในฤดูฝน (ใช้แก่พระสงฆ์).
  28. เข้าไม้ : ก. นําไม้ตั้งแต่ ๒ ชิ้นขึ้นไปมาบากรับแล้วประกอบเข้าด้วยกัน ยึดไม้นั้นให้แน่นอยู่ในรูปแบบที่ต้องการด้วยการตอกตะปูหรือตอกอัด ด้วยลูกสลักไม้ การต่อหรือประกอบอาจทำได้หลายวิธี.
  29. เข้ารอบ : ก. เข้าเกณฑ์ที่กําหนดไว้, ได้รับคัดเลือกไว้.
  30. เข้ารางลิ้น : ก. นำไม้อันหนึ่งที่ทำให้เป็นร่องยาวมาประกบกับไม้อีกอันหนึ่ง ที่ทำให้เป็นลิ้นยาวไปตามตัวไม้ให้เข้ากันสนิทพอดี, พูดสั้น ๆ ว่า เข้าลิ้น.
  31. เข้ารีต : ว. เปลี่ยนไปถือศาสนาอื่น. น. เรียกผู้เปลี่ยนไปถือคริสต์ศาสนา ส่วนใหญ่เป็นนิกายโรมันคาทอลิกว่า ผู้เข้ารีต เช่น ญวนเข้ารีต.
  32. เข้ารูป : ก. พอเหมาะ, พอดีตัว, เช่น เสื้อเข้ารูป.
  33. เข้าเรื่อง : ว. ตรงประเด็นของเรื่อง; มีสาระ, ได้เรื่องได้ราว; มักใช้ใน ความปฏิเสธ เช่น พูดไม่เข้าเรื่อง ทำไม่เข้าเรื่อง.
  34. เข้าลิ้น : ก. นำไม้อันหนึ่งที่ทำให้เป็นร่องยาวมาประกบกับไม้อีกอันหนึ่ง ที่ทำให้เป็นลิ้นยาวไปตามตัวไม้ให้เข้ากันสนิทพอดี, พูดเต็มว่า เข้ารางลิ้น.
  35. เข้าลิลิต : ก. สัมผัสคำระหว่างบทตามแบบการแต่งลิลิตที่กำหนดไว้ใน ตำราฉันทลักษณ์ เช่นคำ ``สม'' กับ ''สนม'' ในตัวอย่างต่อไปนี้ จำใจจรจากสร้อย อยู่แม่อย่าละห้อย ห่อนช้าคืนสม แม่แลฯ สามสนมสนองนารถไท้ ทูลสาร พระจักจรจากสถาน ถิ่นท้าว เสด็จแดนทุระกันดาร ใดราช เสนอนา ฤๅพระรานเสน่ห์ร้าว ด่วนร้างแรมไฉนฯ (ตะเลงพ่าย).; เรียกคำที่เติม เอศ ข้างท้าย เพื่อทำคำสุภาพให้เป็นคำเอกตามข้อบังคับโคลงว่า ศ เข้าลิลิต.
  36. เข้าเล่ม : ก. เรียงหน้าหนังสือให้เป็นลําดับเพื่อเย็บเป็นเล่ม เรียกว่า เข้าเล่มหนังสือ.
  37. เข้าเลือด, เข้าเลือดเข้าเนื้อ : ก. เข้าเนื้อ.
  38. เข้าว่า : ว. เป็นสำคัญ เช่น เอามากเข้าว่า.
  39. เข้าเวร : ก. เข้าอยู่รักษาหน้าที่ตามเวลาที่กะกันไว้.
  40. เข้าเศียร : ก. เอาไพ่ตอง ๓ ใบพวกเดียวกันแต่ไม่เหมือนกันมา เข้าชุดกันเป็น ๑ เศียร.
  41. เข้าสมาธิ : [-สะมาทิ] ก. ทําจิตให้แน่วแน่อย่างเข้าฌาน.
  42. เข้าสิง : ก. อาการที่เชื่อกันว่าผีเข้าแทรกอยู่ในตัวคน เช่น เขาถูกผีเข้าสิง, โดยปริยายหมายความว่าครอบงำ เช่น เขาถูกผีการพนันเข้าสิง.
  43. เข้าสุหนัต : ก. เข้าพิธีขริบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายตามข้อกำหนด ในศาสนาอิสลาม.
  44. เข้าใส่ : ว. ตรงเข้าไปโดยเร็ว เช่น กรากเข้าใส่ รี่เข้าใส่.
  45. เข้าไส้ : (ปาก) ว. ถึงอกถึงใจ เช่น นักมวยคู่นี้ชกกันมันเข้าไส้; มากที่สุด เช่น เกลียดเข้าไส้.
  46. เข้าหน้า : ก. เผชิญหน้า เช่น ไม่กล้าเข้าหน้า.
  47. เข้าหลัก : ก. ถูกแบบ, ถูกตํารา, บางทีใช้ว่า เข้าหลักเข้าเกณฑ์.
  48. เข้าหุ้น : ก. รวมทุนเข้าด้วยกันเพื่อหาผลประโยชน์.
  49. เข้าให้ : ว. เน้นความเพื่อแสดงกริยาข้างหน้าให้มีนํ้าหนักขึ้นและเฉพาะ เจาะจง เช่น ด่าเข้าให้ ชกเข้าให้.
  50. หายใจไม่ทั่วท้อง : (ปาก) ก. ไม่สบายใจเพราะเป็นกังวล เช่น เขาหายใจ ไม่ทั่วท้องขณะต้องเสี่ยงขับรถไปบนสะพานชำรุด.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1886

(0.2197 sec)