หาสู่ : ก. เยี่ยมเยียน, มักใช้ควบกับคํา ไปมา เป็น ไปมาหาสู่.
คบค้า, คบค้าสมาคม : ก. ไปมาหาสู่เข้าเป็นพวกเดียวกัน, คบหา ก็ว่า.
คบหา : ก. ไปมาหาสู่เข้าเป็นพวกเดียวกัน, คบค้า หรือ คบค้าสมาคม ก็ว่า.
เงียบเหงา : ก. เปล่าเปลี่ยว, ว้าเหว่, อ้างว้าง; มีคนน้อย, มีคนไปมาหาสู่น้อย.
ถึงกัน : ก. ติดต่อไปมาหาสู่กันอยู่เสมอ เช่น นาย ก กับ นาย ข เขาถึงกัน.
เนือง, เนือง ๆ : ว. เสมอ ๆ, บ่อย ๆ, เช่น แสนเสนางค์เนืองบร. (ตะเลงพ่าย), ไปมาหาสู่ อยู่เนือง ๆ.
ประจำ : ว. เป็นปรกติ, เสมอ, เช่น มาเป็นประจํา นั่งประจํา; เฉพาะ เช่น ตราประจํากระทรวง ตราประจําตําแหน่ง; ที่กําหนดให้มีเป็น ปรกติ เช่น งานประจําปี, เรียกรถโดยสารที่วิ่งอยู่บนเส้นทางใด เส้นทางหนึ่งเป็นปรกติว่า รถประจําทาง, เรียกครูหรืออาจารย์ที่ สอนและดูแลรับผิดชอบนักเรียนชั้นใดชั้นหนึ่งเป็นปรกติว่า ครู หรืออาจารย์ประจําชั้น, เรียกบัตรที่ออกให้ไว้เฉพาะบุคคลและ จะต้องเก็บไว้กับตัวเป็นปรกติว่า บัตรประจําตัว, เรียกลูกจ้างที่จ้าง ไว้เป็นปรกติ ไม่ใช่ชั่วคราวว่า ลูกจ้างประจํา, เรียกผู้ที่มาติดต่อ หรือไปมาหาสู่กันเสมอเป็นปรกติ เช่น ลูกค้าประจํา ขาประจํา, ลักษณะการฝากเงินไว้กับธนาคารโดยจะได้รับดอกเบี้ยเมื่อฝาก ครบตามเวลาที่กำหนดไว้ เรียกว่า ฝากประจำ. น. เงินที่มอบไว้ แก่คู่สัญญา โดยตกลงว่า ถ้าตนไม่ทําตามสัญญา ให้ริบเงินนั้นเสีย เรียกว่า เงินวางประจํา, มัดจํา ก็ว่า.
เยียน : ก. ไปมาหาสู่, มักใช้ควบกับคํา เยี่ยม เป็น เยี่ยมเยียน, เยือน ก็ว่า.
เยี่ยมเยียน, เยี่ยมเยือน : ก. ไปมาหาสู่ถามข่าวคราว.
ห่างเหิน : ก. ไม่สนิทสนมดังเก่า, ไม่ค่อยได้ไปมาหาสู่หรือติดต่อกัน เหมือนเดิม, จืดจาง, เหินห่าง ก็ว่า.
เหินห่าง : ก. ไม่สนิทสนมดังเก่า, ไม่ค่อยได้ไปมาหาสู่หรือติดต่อกันเหมือน เดิม, จืดจาง, ห่างเหิน ก็ว่า.
สัตมหาสถาน : [สัดตะมะหาสะถาน] น. สถานที่ ๗ แห่งที่พระพุทธเจ้า เสวยวิมุติสุขภายหลังตรัสรู้.
หาสก, หาสกะ : [-สก, -สะกะ] น. ผู้ให้ความสนุก, คนตลก, คนมีอารมณ์ขัน. (ป., ส.).
ประหาส : น. การรื่นเริง, การสนุก, การเล่นตลก. (ส. ปฺรหาส; ป. ปหาส).
ปหาส : [ปะ-] น. ประหาส. (ป.; ส. ปฺรหาส).
ว่ายฟ้า : (วรรณ) ก. เคลื่อนไปในอากาศ เช่น ไก่ฟ้าวานว่ายฟ้า หาวหน หาสมรมายล เถื่อนท้องฯ. (ตะเลงพ่าย).