หิมพานต์ : [หิมมะ-] น. ชื่อป่าหนาวแถบเหนือของอินเดีย; ชื่อกัณฑ์ที่ ๒ แห่งเวสสันดรชาดก.
สัตว์หิมพานต์ : [หิมมะ] น. สัตว์ในวรรณคดีที่เชื่อกันว่าอยู่ในป่า หิมพานต์ เช่น คชสีห์ กินนร นรสิงห์, รูปหุ่นที่ผูกเป็นรูปสัตว์ใน วรรณคดี ใช้บรรทุกผ้าไตรแห่เข้าขบวนพระบรมศพในสมัยโบราณ.
กมล : [กะมน] (แบบ) น. บัว เช่น บาทกมล. (สมุทรโฆษ); ใจ เช่น ดวงกมล. ว. เหมือนบัว เช่น เต้าสุวรรณกมลคนที. (ม. คําหลวง หิมพานต์), บางทีใช้ว่า กระมล. (ป., ส.).
กัมบน : [กําบน] (แบบ) ก. หวั่นไหว, กําบน ก็ว่า. (ป. กมฺปน). (ม. คําหลวง กุมาร, หิมพานต์).
กามท- : [กามมะทะ-] ว. ผู้ให้ตามที่ปรารถนา เช่น หนึ่งโสดกามทราช จักประพาศยลราชี ตามวิถีแนวไม้ ไพรระเรียง. (ม. คําหลวง หิมพานต์). (ป., ส.).
โกษีย์ : (โบ) น. โกสีย์ เช่น สมเด็จท้าวโกษีย์. (ม. คําหลวง หิมพานต์).
หอมยับ : (โบ) ก. รวบเก็บไว้ เช่น ข้าแต่พระองค์ผู้เปนเครื่องประดับซึ่งให้ หอมยับทรัพย์หนใดฯ. (ม. คำหลวง หิมพานต์).
หิมวัต : [หิมมะวัด] ว. มีหิมะ, หนาว, ปกคลุมด้วยหิมะ. น. ชื่อหนึ่งของ เทือกเขาหิมาลัย; ชื่อป่าหนาวแถบเหนือของอินเดีย; ศัพท์นี้แผลงใช้ได้ หลายอย่างคือ ๑. หิมวาท (แผลงจาก ส. หิมวตฺ) ๒. หิมวาน ๓. หิมพาน (รูปประถมแห่ง ส. หิมวตฺ) ๔. หิมวันต์ (ป. หิมวนฺต) ๕. หิมพานต์ (แผลงจาก ป. หิมวนฺต) ๖. หิมวา (รูปประถมแห่ง ป. หิมวนฺต). (ส.; ป. หิมวนฺต).
อุปกาศ : [อุปะกาด, อุบปะกาด] (กลอน) ก. แจ้งข่าว เรื่อง หรือข้อความ เช่น เขือไปอุปกาศแล้ว เขือมา. (ลอ), ร้องอุปกาศสารแก่กรุงสญชัยปิตุราช. (ม. ร่ายยาว หิมพานต์).
กัณฑ์ : [กัน] น. ข้อความที่แต่งเป็นคําเทศน์เรื่องหนึ่ง ๆ ที่จบลงคราวหนึ่ง ๆ, ตอนหนึ่ง ๆ ของคําเทศน์ที่เป็นเรื่องยาว เช่น มหาเวสสันดรชาดก กัณฑ์ทศพร กัณฑ์หิมพานต์, ลักษณนามของเทศน์ เช่น เทศน์กัณฑ์หนึ่ง เทศน์ ๒ กัณฑ์; เรื่องหรือหมวด, ตอน, ส่วนของเรื่อง. (ป.).
การเวก ๑ : [การะ-] น. ชื่อนกในเรื่องปรัมปรา เชื่อกันว่ามีอยู่ในป่าหิมพานต์ บินสูงเหนือเมฆ ร้องเพราะ สัตว์ทั้งหลายได้ยินก็หยุดชะงักไป.
กำทวน : ว. สนั่น, หวั่นไหว, ก้อง, เช่น เสียงมฤคคชสีหไกรสร สีหนาทกําธร กําทวนข้างป่าหิมพานต์. (สมุทรโฆษ).
ฉัททันต์ :
(แบบ) น. ชื่อช้างตระกูล ๑ ใน ๑๐ ตระกูลเรียกว่า ฉัททันตหัตถี กายสีขาว บริสุทธิ์ดั่งสีเงินยวง แต่ปากและเท้าสีแดง. (ดู กาฬาวก)ชื่อสระใหญ่สระ ๑ ในสระทั้ง ๗ ในป่าหิมพานต์. (ป.).
ทัณฑิมา : [ทันทิ-] น. ชื่อนกในพวกสัตว์หิมพานต์ รูปเป็นครุฑถือกระบอง.
นเคนทร์, นเคศวร : น. เจ้าเขา, เขาหิมพานต์, เขาไกรลาส. (ส.).
มักกะลีผล : (โบ) น. ชื่อต้นไม้ในนิยาย ว่ามีอยู่ที่ป่าหิมพานต์ ออกผลเป็นรูปหญิง สาวงดงามห้อยย้อยเป็นระย้า ผลเมื่อครบ ๗ วันก็เน่า, นารีผล ก็เรียก.
มุจลินท์ : [มุดจะ-] น. ต้นจิก; ชื่อสระใหญ่ในป่าหิมพานต์ ซึ่งขอบสระประกอบ ด้วยต้นจิก. (ป.; ส. มุจิลินฺท).
เรือรูปสัตว์ : น. เรือหลวง มีทั้งประเภทเรือที่ขุดขึ้นจากซุงทั้งต้นกับเรือ เสริมกราบ มีลักษณะพิเศษตรงศีรษะเรือต่อไม้ขึ้นไปแล้วสลักเป็นรูป สัตว์หิมพานต์ หรือรูปอมนุษย์ต่าง ๆ เช่น ครุฑ อสุรปักษา พญานาค ตอนท้ายเรือต่อไม้ทำเป็นทวนเชิดงอนไปล่ปลิวไปทางด้านหลัง เช่น เรือเอกไชยเหินหาว เรือพาลีรั้งทวีปเรือครุฑเหินระเห็จ เรืออสุรปักษี, บางทีเรียกว่า เรือกระบวนปิดทอง.
หิมวาส, หิมเวศ : [หิมมะวาด, หิมมะเวด] น. ที่อยู่อันหนาว คือ ป่าหิมพานต์; ใช้ว่า ป่าทั่วไป ก็มี.
อโนดาต : น. ชื่อสระ ๑ ในสระทั้ง ๗ ในป่าหิมพานต์ ได้แก่ ๑. สระอโนดาต ๒. สระกัณณมุณฑะ ๓. สระรถการะ ๔. สระฉัททันตะ ๕. สระ กุณาละ ๖. สระมัณฑากินี ๗. สระสีหัปปปาตะ. (ป. อโนตตฺต).