หิม-, หิมะ : [หิมมะ-] น. ละอองนํ้าในอากาศที่แปรสภาพเป็นของแข็งเพราะอุณหภูมิตํ่า ลักษณะฟูเป็นปุยลอยลงมาจากท้องฟ้า; ความหนาว, ความเยือกเย็น; ฤดูหนาว. (ป., ส.).
หยาดน้ำฟ้า : น. นํ้าที่ตกจากบรรยากาศ (ฟ้า) ลงสู่พื้นดินในภาวะที่เป็นนํ้า หรือนํ้าแข็ง เช่น ฝน หิมะ ลูกเห็บ.
หิมาลัย : น. ชื่อเทือกเขาอยู่ทางทิศเหนือของอินเดีย ยอดเขามีหิมะปกคลุม ตลอดปี. (ป., ส. หิม + อาลย = ที่อยู่ของหิมะ).
หิมวัต : [หิมมะวัด] ว. มีหิมะ, หนาว, ปกคลุมด้วยหิมะ. น. ชื่อหนึ่งของ เทือกเขาหิมาลัย; ชื่อป่าหนาวแถบเหนือของอินเดีย; ศัพท์นี้แผลงใช้ได้ หลายอย่างคือ ๑. หิมวาท (แผลงจาก ส. หิมวตฺ) ๒. หิมวาน ๓. หิมพาน (รูปประถมแห่ง ส. หิมวตฺ) ๔. หิมวันต์ (ป. หิมวนฺต) ๕. หิมพานต์ (แผลงจาก ป. หิมวนฺต) ๖. หิมวา (รูปประถมแห่ง ป. หิมวนฺต). (ส.; ป. หิมวนฺต).
เลื่อน : น. ยานชนิดหนึ่งไม่มีล้อ ใช้ลากไปตามท้องนาและหมู่บ้าน สําหรับ บรรทุกฟ่อนข้าวเป็นต้น, บางถิ่นเรียกว่า กะเลิด, ยานชนิดหนึ่งใช้ แถบขั้วโลก ไม่มีล้อ ใช้สุนัขลากไปบนพื้นหิมะหรือบนพื้นนํ้าแข็ง. ก. เคลื่อนหรือย้ายจากที่เดิมโดยลักษณะอาการต่าง ๆ เช่น ลาก เสือกไส ยกขึ้น กดลง; เปลี่ยนเวลาจากที่กําหนดไว้เดิม เช่น เลื่อน เวลาเดินทาง เลื่อนวันประชุม; เขยิบชั้นหรือตําแหน่งฐานะสูงขึ้น ไปกว่าเดิม เช่น เลื่อนยศ เลื่อนตําแหน่ง; เพิ่มเติม (ใช้แก่อาหาร) เช่น เลื่อนแกง เลื่อนของหวาน.
สกี : น. แผ่นไม้แคบ ๆ ๒ แผ่น ปรกติยาวแผ่นละ ๑.๕๒.๔ เมตร มีที่ สําหรับสวมเท้าผู้เล่น ใช้ในการเล่นสกี; กีฬาอย่างหนึ่ง ผู้เล่นยืนบน แผ่นสกี แล้วไถตัวให้ลื่นไถลลงไปตามเนินเขาที่มีหิมะปกคลุม โดย มีไม้คู่หนึ่งสําหรับยันหรือถ่อเวลาเล่น. (อ. ski).
อาลัย ๒ : น. ที่อยู่, ที่พัก, เช่น ชลาลัย = ที่อยู่แห่งนํ้า หมายถึง ทะเล แม่น้ำ เป็นต้น หิมาลัย = ที่อยู่แห่งหิมะ เป็นชื่อของเทือกเขาสูงอยู่ทาง ทิศเหนือของอินเดีย ยอดเขามีหิมะปกคลุมตลอดปี.
หิมวันต์, หิมวา, หิมวาต, หิมวาน : [หิมมะ-] น. หิมวัต.
เหม่, เหม่ ๆ : [เหฺม่] (กลอน) อ. คําที่เปล่งออกมาแสดงความโกรธเพื่อขู่หรือตวาด, อุเหม่ ก็ว่า. ว. เสียงดังเช่นนั้น แสดงความโกรธ.
แหม่ : [แหฺม่] ว. เสียงขู่เด็กเล็ก ๆ ให้กลัว.
โหม่ : [โหฺม่] (ปาก) ก. โผล่. ว. โด่ เช่น นั่งหัวโหม่.
ใหม่ : ว. เพิ่งมี เช่น มาใหม่ รุ่นใหม่, มีอีกนอกจากที่เคยมีอยู่แล้ว เช่น มีเมียใหม่, ซํ้า เช่น พูดใหม่ ทำใหม่ อ่านใหม่, อีกครั้งหนึ่ง เช่น ตื่นมาแล้วกลับไป นอนใหม่, ยังไม่ได้ใช้ เช่น ของใหม่, ไม่เคยประสบมาก่อน เช่น ความรู้ ใหม่ เพลงใหม่, เริ่มแรก เช่น ข้าวใหม่ นักเรียนใหม่; ไม่ใช่เก่า เช่น บ้านสร้างใหม่.
ห่ม ๑ : ก. ขย่ม เช่น เด็กห่มกิ่งพุทรา ห่มเสาเข็ม.
ห่ม ๒ : ก. ใช้ผ้าเป็นต้นคลุมหรือพันสิ่งใดสิ่งหนึ่งทั้งหมดหรือเพียงบางส่วน เช่น ห่มผ้า ห่มสไบ เอาผ้าไปห่มต้นโพธิ์.
หมี่ ๑ : น. เรียกแป้งข้าวเจ้าที่โรยเป็นเส้นลงในนํ้าเดือดพอสุกแล้วนํามาตากแห้ง ว่า เส้นหมี่, ชื่ออาหารประเภทหนึ่งที่ทําด้วยเส้นหมี่ เช่น หมี่กรอบ หมี่กะทิ. (จ.).
หมี่ ๒ : น. ชื่อผ้าชนิดหนึ่ง ทอโดยเอาเชือกมัดด้ายหรือไหมเป็นเปลาะ ๆ ตามลาย แล้วย้อมสี เมื่อทอแล้วจะได้ลวดลายต่าง ๆ ตามที่มัดไว้, ผ้ามัดหมี่ ก็เรียก.
หมู่ ๑ : น. กลุ่มชนิดเดียวกัน เช่น หมู่ดาว หมู่เมฆ, พวกชนิดเดียวกัน เช่น หมู่มนุษย์ หมู่โจร; กำลังพลของทหาร ตำรวจ เป็นต้น มีจำนวน ไม่เกิน ๑๐ คน มีหัวหน้าเรียกว่า ผู้บังคับหมู่ หรือทั่ว ๆ ไปเรียกว่า ผู้หมู่, ถ้าเป็นทหารบก หรือตำรวจจะต้องมียศเป็นนายสิบ, ถ้าเป็นทหารเรือหรือทหารอากาศ จะต้องมียศเป็นจ่า.
หมู่ ๒ : น. ระยะเวลา เช่น หมู่นี้สุขภาพไม่ค่อยดี หมู่นั้นไม่ว่าง.
หมู่ ๓ : ดู คอแดง.
เหมายัน : [เห-] (ดารา) น. จุดสุดทางใต้ เมื่อดวงอาทิตย์ปรากฏในราววันที่ ๒๒ ธันวาคมเป็นจุดในหน้าหนาว มีกลางคืนยาวที่สุด เรียกว่า เหมายัน (winter solstice), คู่กับ ครีษมายัน, ทักษิณายัน ก็เรียก. (ป., ส. หิม + ส. อายน).
สัตว์หิมพานต์ : [หิมมะ] น. สัตว์ในวรรณคดีที่เชื่อกันว่าอยู่ในป่า หิมพานต์ เช่น คชสีห์ กินนร นรสิงห์, รูปหุ่นที่ผูกเป็นรูปสัตว์ใน วรรณคดี ใช้บรรทุกผ้าไตรแห่เข้าขบวนพระบรมศพในสมัยโบราณ.
หิมพาน : [หิมมะ-] น. หิมวัต.
หิมพานต์ : [หิมมะ-] น. ชื่อป่าหนาวแถบเหนือของอินเดีย; ชื่อกัณฑ์ที่ ๒ แห่งเวสสันดรชาดก.
หิมวาส, หิมเวศ : [หิมมะวาด, หิมมะเวด] น. ที่อยู่อันหนาว คือ ป่าหิมพานต์; ใช้ว่า ป่าทั่วไป ก็มี.
ก๊ก : น. พวก, หมู่, เหล่า, โดยปรกติมักใช้เข้าคู่กันว่า เป็นก๊กเป็นพวก เป็นก๊กเป็นหมู่ เป็นก๊กเป็นเหล่า. (จ. ว่า ประเทศ).
กบิล ๒ : [กะบิน] น. ระเบียบ, แบบ, ทาง, เช่น กบิลความ; วิธีการ เช่น กบิลเมือง; กระบวน, หมู่, เช่น กบิลไม้; บรรดา เช่น กบิลว่าน, คํานี้บางทีเขียนเป็น กะบิล กระบิล ระบิล. (เทียบ ฮ. กปิล ว่า ชนิด, จําพวก, ตระกูล).
กรม ๒ : [กฺรม] (แบบ) น. ลําดับ เช่น จะเล่นโดยกรม. (สมุทรโฆษ). [ส.; ข. กฺรุํ (กฺรม) ว่า หมวด, หมู่, กอง; ครอบครัว เช่น มวยกฺรุํ = ครอบครัวหนึ่ง].
กระทรวง ๑ :
[-ซวง] น. หมู่, พวก, เช่น ทุกหมวดทุกกระทรวงทรง ฤทธิเรื้อง. (ยอพระเกียรติกรุงธน), ชนิด, อย่าง, เช่น อนึ่งนั้นอุเบกขาว่าเพ่งเฉย คือแหวกเลยสุขทุกข์อาลัยห่วง ไม่มีทุกข์ไม่มีสุขสิ้นทั้งปวง สามกระทรวงนี้เป็นชื่อเวทนา. (ปกีรณําพจนาดถ์), แบบ, อย่าง, กระบวน, เช่น ส่วนองค์พระอัยกาก็ทรงพาหนะหัสดินทร กรินทรราชเป็นทัพหลวงตามกระทรวงพยุหยาตรา. (ม. ร่ายยาว มหาราช), โดยสมควรแก่กระทรวงแล้วส่งไป. (สามดวง), ผจญคนกลิ้งกลอกกลับหลอกลวง เอากระทรวงสัตย์ ซื่อให้เสื่อมเท็จ. (สุ. สอนเด็ก). (ดู กระซุง).
กาย, กาย- : [กายยะ-] น. ตัว เช่น ไม่มีผ้าพันกาย, และมักใช้เข้าคู่กับคํา ร่าง เป็น ร่างกาย, ใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส หมายความว่า หมู่, พวก, เช่น พลกาย = หมู่ทหาร. (ป., ส.).
ขนาน ๑ : [ขะหฺนาน] น. หมู่; ลักษณนามเรียกยาที่ปรุงขึ้น เช่น ยาขนานหนึ่ง ยา ๒ ขนาน.
ขย่ม :
[ขะหฺย่ม] ก. ใช้นํ้าหนักตัวกดลง แล้วยกตัวขึ้นแล้วกลับกดลงอีก ซ้ำ ๆ กัน, ห่ม ก็ว่า. (ดู ห่ม๑).
ขยอง ๒ : น. โขยง, พวก, หมู่, ฝูง.
ขันธ์ : น. ตัว, หมู่, กอง, พวก, หมวด, ส่วนหนึ่ง ๆ ของรูปกับนามที่แยก ออกเป็น ๕ กอง คือ รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ ซึ่งเรียกว่า ขันธ์ ๕ หรือ ขันธ์ทั้ง ๕. (ป.; ส. สกนฺธ).
โขยง : [ขะโหฺยง] น. พวก, หมู่, ฝูง. ว. หมดด้วยกัน.
คณ-, คณะ : [คะนะ-] น. หมู่, พวก, (ซึ่งแยกมาจากส่วนใหญ่); กลุ่มคนผู้ร่วมกันเพื่อ การอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น คณะกรรมการ คณะสงฆ์ คณะนักท่องเที่ยว; หน่วยงานในมหาวิทยาลัยหรือสถาบันที่เทียบเท่า ซึ่งรวมภาควิชาต่าง ๆ ที่จัดการเรียนการสอนวิชาในสายเดียวกัน เช่น คณะนิติศาสตร์ คณะ อักษรศาสตร์; กลุ่มคำที่จัดให้มีลักษณะเป็นไปตามแบบรูปของร้อยกรอง แต่ละประเภท ประกอบด้วยบท บาท วรรค และคำ ตามจำนวนที่กำหนด, หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการแต่งฉันท์วรรณพฤติ มี ๘ คณะ คือ ช คณะ ต คณะ น คณะ ภ คณะ ม คณะ ย คณะ ร คณะ ส คณะแต่ละคณะมี ๓ คำ หรือ ๓ พยางค์ โดยถือครุและลหุเป็นหลัก. (ป., ส.).
คอแดง : น. ชื่องูลายสาบชนิด Rhabdophis subminiatus ในวงศ์ Colubridae ตัวสีเขียวหรือเทา คอสีแดง ออกหากินเวลากลางวัน มีพิษอ่อน, หมู่ ก็เรียก.
จักรวาล : [-วาน] น. ปริมณฑล; ประชุม, หมู่; เทือกเขาในนิยาย เป็นกําแพง ล้อมรอบโลกและเป็นเขตกั้นแสงสว่างกับความมืด, บริเวณโดยรอบของ โลก, ทั่วโลก. (ส.; ป. จกฺกวาล).
จำพวก : น. พวก, ประเภท, ชนิด, หมู่, เหล่า.
เฉียง ๑ : ว. เฉหรือเบี่ยงจากแนวไปทางใดทางหนึ่ง เช่น เฉียงเหนือ เฉียงใต้ ห่ม สไบเฉียง.
ชาติ ๑, ชาติ ๑ : [ชาด, ชาติ, ชาดติ] น. การเกิด เช่น ชาตินี้ ชาติหน้า; กําเนิด เช่น มีชาติมีสกุล; เหล่ากอ, เทือกเถา, เผ่าพันธุ์, เช่น ชาติเสือ ชาติขี้ข้า; ชนิด, จําพวก, ชั้น, หมู่; คำเพิ่มข้างหลังของคำเดิม เมื่อเพิ่มแล้วความหมายคงเดิมหรือหมายถึงพวกหรือหมู่ เช่น คชาชาติ มนุษยชาติ. (ป., ส.).
ชุมนุม : น. กอง, หมู่, พวก. ก. ประชุม, รวมกัน.
ซัด ๒ : ก. สาดโดยแรง เช่น ซัดทราย ซัดปูน, เหวี่ยงไปโดยแรง เช่น ซัดหอก, ทอด เช่น ซัดลูกบาศก์ ซัดเชือกบาศ, อาการที่คลื่นเหวี่ยงตัวไปมา โดยแรง เช่น คลื่นซัดฝั่ง, ป้ายความผิดไปถึงคนอื่น เช่น นายดํา ซัดนายขาว, รําทิ้งแขนออกไปข้างหน้า เช่น ซัดแขน; เบน เช่น พระอาทิตย์ซัดใต้ซัดเหนือ; คําค่อนว่าหมายความว่า ห่ม เช่นว่า ซัดแพรสี.
ท่วย : (กลอน) น. หมู่, เหล่า.
ทวย ๑ : น. หมู่, เหล่า, เช่น ทวยราษฎร์.
ทำนวย ๑ : น. หมู่, เหล่า.
ทีม : น. ชุด, หมู่, คณะ. (อ. team).
นว ๑ : [นะวะ] ว. ใหม่ (ใช้เป็นคําหน้าสมาส). (ป., ส.).
นวก ๑, นวกะ : [นะวะกะ] น. ผู้ใหม่, ผู้อ่อน. (ป.). ว. ใหม่, อ่อน, เช่น พระนวกะ นวกภูมิ.
นักขัตฤกษ์ : น. ฤกษ์ที่ขึ้นกับการโคจรของดวงจันทร์ว่าผ่านดาวนักษัตร หมู่ใดหมู่หนึ่งใน ๒๗ หมู่ รวมถึงฤกษ์ที่ขึ้นกับการโคจรของดวงดาว ในสุริยจักรวาลว่าผ่านดาวนักษัตรหมู่ใดหมู่หนึ่งใน ๒๗ หมู่, เรียกงาน ที่จัดขึ้นตามนักขัตฤกษ์ว่า งานนักขัตฤกษ์, เรียกวันที่มีงานนักขัตฤกษ์ว่า วันนักขัตฤกษ์.