หี : น. อวัยวะสืบพันธุ์ของหญิงหรือสัตว์เพศเมียบางชนิด.
หีน- : [หีนะ-, หีนนะ-, ฮีนะ-] ว. เลว, ทราม, ตํ่าช้า. (ป., ส.).
หีนยาน : [หีนะยาน, หีนนะยาน, ฮีนะยาน] น. ชื่อนิกายพระพุทธศาสนา ฝ่ายใต้ที่ถือกันในลังกา พม่า และไทยเป็นต้น, หินยาน หรือ เถรวาท ก็ว่า.
ทัฬหิกรณ์ : [ทันหิกอน] น. เครื่องทําให้มั่น ได้แก่ข้อความที่ชัก มาอ้างเพื่อให้คําพูดของตนมั่นคง. (ป. ทฬฺหีกรณ).
กำปั่น ๒ : น. หีบทําด้วยเหล็กหนา สําหรับใส่เงินและของต่าง ๆ รูปค่อนข้างเป็นรูปลูกบาศก์ ฝามีหูยาวตรงกลาง ตอนปลาย ทําเป็นช่องเล็กเพื่อปิดลงมาสวมขอเหล็กโค้งที่ตัวหีบสําหรับใส่กุญแจ เดิมทําเป็นหีบฝังตะปูหัวเห็ดทั่วตัว.
ดุษณี, ดุษณีภาพ : [ดุดสะนี-] น. อาการนิ่งซึ่งแสดงถึงการยอมรับ. (ส. ตุษฺณีมฺ; ป. ตุณฺหี).
ทัฬหีกรรม : [ทันฮีกํา] น. การกระทําให้มั่นคงขึ้น ได้แก่การที่ทําซํ้า ลงไปเพื่อให้มั่นคงนกรณีที่การกระทําครั้งแรกไม่สมบูรณ์ มักใช้ใน พิธีสงฆ์ เช่น ทําทัฬหีกรรม สวดทัฬหีกรรม. (ป. ทฬฺหีกมฺม; ส. ทฺฤฒี + กรฺมนฺ).
มหิดล : น. พื้นดิน, พื้นโลก. (ส. มหิตล, มหีตล).
มหิธร : น. ผู้ทรงแผ่นดิน คือ ภูเขา; ชื่อหนึ่งของพระนารายณ์; พระเจ้าแผ่นดิน. (ส. มหีธร, มหีธฺร).
พาหิรกะ, พาหิระ : [หิระกะ] ว. ภายนอก. (ป.).
หิรัญญิการ์ : [หิรันยิกา] น. ชื่อไม้เถา ๒ ชนิดในสกุล Beaumontia วงศ์ Apocynaceae คือ ชนิด B. murtonii Craib และชนิด B. grandiflora Wall. ดอกใหญ่ สีขาว กลิ่นหอมอ่อน ๆ ยางและเมล็ดเป็นพิษ.
หิรัญบัฏ : [หิรันยะบัด] น. แผ่นเงินที่จารึกราชทินนามสำหรับพระราชทาน แก่พระสงฆ์และขุนนางผู้ใหญ่.
หิรัญ, หิรัญ- : [หิรัน, หิรันยะ-] น. เงิน, บางแห่งว่า ทอง ก็มี แต่โดยทั่วไปหมายถึง เงิน. (ป. หิร?ฺ?; ส. หิรณฺย).
หิรัณยการ : [หิรันยะกาน] น. ช่างทอง. (ส.).
หิรัณยเกศ : [หิรันยะเกด] ว. มีผมสีทอง. (ส.).
หิรัณยรัศมี : [หิรันยะรัดสะหฺมี] ว. มีสีผ่องดั่งเงินอย่างสีช้างเผือก. (ส.).
หิรัณย-, หิรัณย์ : [หิรันยะ-, หิรัน] น. ทองคํา, เงิน. (ส.).
กุสุมิตลดาเวลลิตา : [กุสุมิตะละดาเวนลิตา] น. ชื่อฉันท์วรรณพฤติแบบหนึ่ง กําหนดด้วย ๖ คณะคือ ม คณะ ต คณะ น คณะ ย คณะ ย คณะ ย คณะ บาทละ ๑๘ คำ หรือ ๑๘ พยางค์ (ตามแบบว่า โม โต โน โย ยา กุสุมิตลตาเวลฺลิตากฺขุตฺวสีหิ) ตัวอย่างว่า มนตรีมาตย์ผู้ฉลาดมละ ทุจริตธรรม์ พึงผดุงสรร- พสิ่งสวัสดิ์. (ชุมนุมตำรากลอน).
ทัฬหะ, ทัฬหิ, ทัฬหี : [ทันหะ, ทันหิ, ทันฮี] ว. มั่นคง, แข็งแรง, แน่นหนา, จัด. (ป.; ส. ทฺฤฒ, ทฺฤฒี).