ห่อ : ก. พันหรือหุ้มสิ่งของด้วยใบไม้หรือกระดาษเป็นต้น; ลักษณนามเรียก ของที่หุ้มด้วยใบไม้หรือกระดาษเป็นต้น เช่น ขนมห่อหนึ่ง ข้าว ๒ ห่อ.
ห่อเหี่ยว : ว. มีความรู้สึกหดหู่, สลดใจ, เช่น หมู่นี้อ่านหนังสือพิมพ์มีแต่ ข่าวร้าย ๆ ทำให้รู้สึกห่อเหี่ยว.
ห่อปาก : ก. ทำริมฝีปากให้รวบเข้าหากันเป็นช่องกลม.
ห่อแห่, ห้อแห้ : ว. มีอาการท้อแท้อ่อนเปลี้ย.
ห่อไหล่ : ก. ทำไหล่ทั้ง ๒ ให้คู้เข้าเพราะหนาวหรือเกรงกลัวเป็นต้น.
หอ : น. เรือนหรืออาคารซึ่งใช้เฉพาะกิจการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น หอพระ หอนั่ง หอสมุด; เรือนซึ่งปลูกสําหรับให้คู่บ่าวสาวที่แต่งงานกันแล้วอยู่ เรียกว่า เรือนหอ.
เข้าพกเข้าห่อ : ก. เอาไว้เป็นส่วนของตัว, รู้จักเก็บไว้บ้าง, รู้จักเก็บ ไม่ใช้สุรุ่ยสุร่าย.
ผ้าขี้ริ้วห่อทอง : (สํา) น. คนมั่งมีแต่แต่งตัวซอมซ่อ.
ไหล่ห่อ : น. ไหล่ที่คู้เข้าเพราะหนาวหรือเกรงกลัวเป็นต้น.
ปุฏะ : (แบบ) น. ห่อ; หม้อ, ขวด, โอ่ง, ไห; กระจาด. (ป.).
กระดาษ : น. วัตถุเป็นแผ่นบาง ๆ โดยมากทําจากใยเปลือกไม้ ฟาง หญ้า หรือ เศษผ้า เป็นต้น ใช้เขียนหรือพิมพ์หนังสือหรือห่อของและอื่น ๆ.
กระปรอก ๑, กระปอก ๑ : น. ชื่อไต้ชนิดหนึ่ง ห่อด้วยใบพลวงหลายชั้น ลูกยาวใหญ่ เหมือนไต้หาง แต่ไม่มีหาง ชาวทะเลและชาวชนบทชอบใช้ สําหรับหาหอย กุ้ง ปลา เพราะดวงไฟใหญ่ไม่ใคร่ดับ.
กระพุ่ม : น. ลักษณะของสิ่งที่เป็นพุ่มยอดแหลมอย่างดอกบัวตูม, (กลอน) พุ่ม เช่น ดอกพวงเผล็ดช่อ กระพุ่มห่อเกสร สลอนบุษบาบาน. (ลอ), สองถันกระพุ่มกาญจนแมนมาเลขา. (อนิรุทธ์).
กร่าย : [กฺร่าย] น. ผ้าคาดที่ถักเป็นตาข่าย เช่น คาดกร่ายชายทองวาง ร่วงรุ้ง. (กาพย์ห่อโคลง).
กองข้าว : น. พิธีอย่างหนึ่งที่ชาวชนบทห่อข้าวพร้อมด้วยของหวาน พากันไปเซ่นผีตามป่าในหน้าแล้ง.
กะพ้อ ๒ : น. ชื่อปาล์มขนาดย่อมในสกุล Licuala วงศ์ Palmae มีหลายชนิด เช่น ชนิด L. spinosa Thunb. มักขึ้นเป็นกออยู่ริมทะเล หรือในที่ซึ่ง น้ำเค็มขึ้นถึง ลําต้นสูงถึง ๔ เมตร ใบกลม เส้นผ่านศูนย์กลาง ๖๐-๑๑๐ เซนติเมตร แตกเป็นแฉกลึก ก้านใบยาว ขอบก้านมีหนาม, ชนิด L. peltata Roxb. ขึ้นตามป่าดอนในที่ชุ่มชื้นและที่แฉะ ลักษณะคล้ายชนิดแรก แต่ก้านใบล้ำอยู่ใต้โคนใบ ทั้ง ๒ ชนิด ใบใช้ห่อทําไต้ ห่อของ เย็บเป็นร่ม มุงหลังคาชั่วคราว ใบอ่อน ใช้มวนบุหรี่, กะชิง ก็เรียก, ปักษ์ใต้เรียก ชิง หรือ ชิ่ง, ปาล์มพวกนี้ เรียก พ้อ ก็มี เช่น ใบพ้อพันห่อหุ้ม กฤษณา. (โลกนิติ).
กะหรี่ปั๊บ : น. ชื่อของกินชนิดหนึ่ง ใช้แป้งสาลีห่อไส้ผสมผงกะหรี่ แล้วจับจีบคล้ายหอยแครง ทอดน้ำมัน.
กังเวียน : น. ขอบผ้าปกกระพองช้าง เช่น จัดพาดกังเวียนวาง ห่อได้. (ตําราช้างคําโคลง-วชิรญาณ เล่ม ๒๑).
กุลี ๓ : ลักษณนามบอกปริมาณ คือผ้าห่อหนึ่งที่รวมกัน ๒๐ ผืน (ใช้แก่ผ้าลาย ผ้าพื้น ผ้าขาวม้า และโสร่ง เป็นต้น).
เกล็ด : น. ส่วนที่เป็นแผ่น ๆ ซ้อนเหลื่อมกันห่อหุ้มตัวปลาและ สัตว์เลื้อยคลานบางชนิด, สิ่งที่แข็งตัวเป็นแผ่นบาง ๆ คล้ายเกล็ดปลา เช่น เกล็ดพิมเสน น้ำตาลขึ้นเกล็ด, โดยปริยายหมายความถึงสิ่งที่มี ลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น บานเกล็ด ฝาเกล็ด เกล็ดเสื้อ. ก. ขบให้เมล็ดแตกเพื่อกินเนื้อใน (ใช้แก่สิ่งที่เป็นเม็ดเล็ก ๆ) เช่น เกล็ดเมล็ดแตงโม นกเกล็ดข้าว, โดยปริยายหมายความว่าตัดเอา แต่ที่ดี ๆ เช่น เกล็ดไพ่.
เกี๊ยว : น. ของกินชนิดหนึ่งใช้แผ่นแป้งสาลี ตัดเป็นสี่เหลี่ยมเล็ก ๆ ห่อหมูสับเป็นต้น. (จ.).
ขนบ : [ขะหฺนบ] น. แบบอย่าง, แผน, ระเบียบ; กลีบ, รอยที่พับ (ของสมุดข่อย หรือผ้าจีบ หรือจีวร เป็นต้น); ชั้น เช่น ขนบหิน. (ข. ขฺนบ่ ว่า สิ่งที่อยู่ ในห่อ, ที่หมก).
ข้าวต้ม ๑ : น. ข้าวที่ต้มให้สุก; ข้าวเหนียวที่ห่อด้วยใบไม้เช่นใบตอง หรือใบมะพร้าวอ่อน แล้วต้มหรือนึ่งให้สุกอยู่ในจําพวกขนม มีชื่อ ต่าง ๆ เช่น ข้าวต้มมัด ข้าวต้มผัด.
ข้าวต้มน้ำวุ้น : น. ชื่อของหวานชนิดหนึ่ง ทําด้วยข้าวเหนียวห่อ ใบตองเป็นรูปสามเหลี่ยม ต้มสุก กินกับนํ้าเชื่อม.
ข้าวต้มปัด : น. ข้าวเหนียวต้มที่ห่อด้วยใบไม้เช่นใบมะพร้าวอ่อน หรือใบเตย มักทําถวายพระในเทศกาลออกพรรษา, ข้าวปัด ก็ว่า.
ข้าวต้มลูกโยน : น. ข้าวเหนียวที่ผัดกับกะทิใส่เกลือ น้ำตาล ห่อด้วย ใบมะพร้าวอ่อนหรือใบเตยไว้หางยาว แล้วต้มให้สุก.
ข้าวปัด : น. ข้าวเหนียวต้มที่ห่อด้วยใบไม้เช่นใบมะพร้าวอ่อนหรือใบเตย มักทําถวายพระในเทศกาลออกพรรษา, ข้าวต้มปัด ก็ว่า.
ข้าวผอก : น. ข้าวห่อหรือข้าวที่บรรจุกระบอกไปกินกลางวัน.
ข้าวเหนียว : น. ชื่อข้าวพันธุ์หนึ่งของชนิด Oryza sativa L. เนื้อเมล็ด ขุ่นกว่าข้าวเจ้า เมื่อหุงหรือนึ่งแล้วเมล็ดจะเหนียวติดกัน มีชื่อต่าง ๆ กัน เช่น ข้าวเหนียวเขี้ยวงู ข้าวเหนียวดํา, ข้าวเหนียวที่เอามากวนกับกะทิ และนํ้าตาลทราย เรียกว่า ข้าวเหนียวแก้ว, ถ้าเอามากวนกับกะทิและ นํ้าตาลหม้อมีสีแดงเป็นสีนํ้าตาลไหม้ เรียกว่า ข้าวเหนียวแดง, ถ้าเอา มานึ่งใส่หน้ากะทิตัดเป็นชิ้น ๆ เรียกว่า ข้าวเหนียวตัด, ถ้าเอามาห่อ แล้วนึ่งใส่หน้ากะทิ เรียกว่า ข้าวเหนียวห่อ; เรียกผลไม้ที่มีเนื้อนุ่ม และเหนียวอย่างข้าวเหนียว เช่น สาเกข้าวเหนียว มะตาดข้าวเหนียว.
ไข่ ๑ : น. ตัวสืบพันธุ์ประกอบด้วยเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย อาหาร และสิ่งห่อหุ้ม ซึ่งอาจจะเป็นไข่ขาววุ้น เยื่อถุงไข่ หรือเปลือก ส่วนมากมีรูปร่างกลม จะมีตัวอ่อนภายในหรือไม่ก็ได้, ฟอง ก็เรียก, ลักษณนามเรียก ฟอง ลูก หรือ ใบ; เรียกสิ่งที่เป็นเม็ดกลม ๆ เล็ก ๆ ที่มีอยู่ตามใบไม้บางชนิด เช่น ไข่ชะอม ไข่ปรง; (ปาก) ลูกอัณฑะ. ก. ตกฟอง เช่น แม่ไก่ไข่ออกมา ๓ ฟอง.
ไข่ยัดไส้ : น. ไข่กรอกในกระทะให้บาง แล้วห่อไส้หมูสับผัดน้ำมันให้สุก ปรุงรสเค็มหวาน.
ค้างคาว ๓ : น. ของว่างชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งสาลีผสมแป้งถั่วทอง นวดกับหัวกะทิ และเกลือ แผ่เป็นแผ่นห่อไส้ทำด้วยกุ้งสับผัดกับรากผักชีตำ พริกไทย เกลือ แล้วทอดนํ้ามัน เรียกว่า ขนมค้างคาว.
คืบ ๒ : น. ว่านชนิดหนึ่ง ใบเหมือนผักอีแปะ ก้านเขียวเล็ก มีเมล็ดที่ปลายใบ เมื่อเมล็ดแก่และหางตกถึงดินแล้ว เมล็ดงอกเป็นต้นขึ้นมา ในตํารา กบิลว่านกล่าวว่าใช้เมล็ดห่อผ้าไว้ ตีฟันไม่เข้า. (กบิลว่าน).
เคร่งครัด : [-คฺรัด] ก. เข้มงวด, กวดขัน, เช่น อย่าเคร่งครัดนักเลย; (กลอน) แน่น, ตึง, เช่น สองเต้าตูมเต่งเคร่งครัด ดอกไม้ทัดทั้ง ห่อผ้าห่มหวง. (ขุนช้างขุนแผน), ครัดเคร่ง ก็ว่า. ว. เข้มงวด, กวดขัน, เช่น รักษาระเบียบวินัยอย่างเคร่งครัด; ถูกต้องครบถ้วน เช่น ปฏิบัติ ตามคำสั่งอย่างเคร่งครัด ข้อยกเว้นต้องตีความอย่างเคร่งครัด; ใช้ว่า ครัดเคร่ง ก็มี.
งบ ๒ : น. ชื่อกับข้าวชนิดหนึ่งคล้ายห่อหมก ห่อด้วยใบไม้ มีใบตองเป็นต้น แล้วปิ้งไฟ. ก. ปรุงอาหารด้วยวิธีเช่นนั้น.
จาก ๑ : น. ชื่อปาล์มชนิด Nypa fruticans Wurmb ในวงศ์ Palmae ขึ้นเป็นกอ อยู่ตามป่าเลนหรือริมฝั่งนํ้ากร่อยตื้น ๆ ใบใช้มุงหลังคาและกรุฝา ออกดอก ทําด้วยแป้งข้าวเหนียวผสมมะพร้าวกับนํ้าตาล ห่อด้วยใบจากแล้วปิ้ง ว่า ขนมจาก.
จ้าง ๑ : น. ชื่อขนมของจีนชนิดหนึ่ง ทำด้วยข้าวเหนียวที่แช่น้ำด่างแล้วล้าง ให้สะอาด นำมาผึ่งให้สะเด็ดน้ำ ห่อด้วยใบไผ่แล้วต้มให้สุก. (จ. จัง).
จ่ามงกุฎ : น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง คล้ายกะละแมขาว มีไส้เป็นถั่วลิสงเม็ด ห่อด้วย ใบตองอ่อนนาบ เช่น งามจริงจ่ามงกุฎ ใส่ชื่อดุจมงกุฎทอง. (เห่ชมเครื่องคาวหวาน).
จู๋ : ว. หดตัวเข้าไปมาก, สั้นมาก ในคําว่า สั้นจู๋, จุนจู๋ ก็ว่า; อาการที่ ห่อปากเข้ามา เช่น ทําปากจู๋.
ใจแป้ว : ว. มีใจห่อเหี่ยว.
ชนวน ๑ : [ชะ] น. ชื่อหินชนิดหนึ่งเป็นแผ่นบาง ๆ ซ้อนติดกัน เนื้อแน่น และละเอียดมีสีต่าง ๆ กันตั้งแต่สีเทาไปจนถึงสีเทาแก่ และสีดำ สีน้ำเงิน ที่มีสีแดง สีเขียว สีม่วง ก็มี;เรียกกระดานเขียน หนังสือทําด้วยไม้ทาสมุกบ้าง ด้วยแผ่นหินชนวนบ้าง ว่า กระดานชนวน; ดินปืนที่ใช้ จุดให้ไฟลุกแล่นเข้าไปติดดิน ระเบิด, ถ้ามีกระดาษห่อดินปืนม้วนเป็นเส้น เรียกว่า สายชนวน; เรียกเทียนที่จุดไว้เพื่อใช้จุดต่อว่า เทียนชนวน; โดยปริยาย หมายความว่า ต้นเหตุให้เกิดเรื่องอื่นขึ้นต่อไป เช่น ชนวนสงคราม.
ชรายุ : [ชฺรา] (แบบ) น. คราบงู, รกที่ห่อหุ้มลูกคนหรือลูกสัตว์. (ส.).
ชักพระ : น. ชื่อประเพณีอย่างหนึ่งทางภาคใต้ ถือว่าเป็น ประเพณีสําคัญ นิยมมีในวันแรม ๑ คํ่า เดือน ๑๑ ซึ่งถือ ว่าเป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ กลับจากโปรดพระพุทธมารดา คล้ายวันตักบาตรเทโว ของภาคกลาง, การชักพระมี ๒ อย่าง คือ ชักพระทางบก กับทางน้ำ, ถ้าชักพระทางบก ก็อัญเชิญพระพุทธรูป ประดิษฐานไว้บนบุษบกซึ่งตั้งอยู่บนยานพาหนะแล้ว ช่วยกันชักลากไป, ถ้าชักพระทางน้ำ ก็อัญเชิญพระพุทธรูป ประดิษฐานบนบุษบกในเรือ แล้วใช้เชือกผูกเรือพระช่วยกัน ลากไปยังสถานที่ที่กำหนด แล้วจึงถวายภัตตาหารแก่ พระสงฆ์ มักจะมีการโยนข้าวต้มรูปสามเหลี่ยมห่อด้วย ใบกะพ้อเป็นต้นใส่กัน บางทีก็มีแข่งเรือและอื่น ๆ ด้วย.
ซองมือ : น. ฝ่ามือที่รวมนิ้ว มือ ให้ห่อเข้า,อุ้งมือ.
ดอกไม้รุ่ง : น. ดอกไม้เพลิงชนิดหนึ่ง ทําด้วยดินจุดใส่ในห่อกระดาษขด เหมือนไส้ไก่แขวนไว้ตามศาลาเพื่อจุดเวลาคํ่าให้มีแสงสว่างตลอดรุ่ง ใช้แทนโคม.
ดีบุก : น. ธาตุลําดับที่ ๕๐ สัญลักษณ์ Sn เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็งสีขาว คล้ายโลหะเงิน เนื้ออ่อน หลอมละลายที่ ๒๓๑.๙๐ซ. มี ๓ อัญรูป คือ ดีบุก สีเทา ดีบุกสีขาว และดีบุกรอมบิก ใช้ประโยชน์ฉาบผิวเหล็กเพื่อกันไม่ให้ เป็นสนิม ใช้ทําโลหะเจือ แผ่นดีบุกบาง ๆ ใช้สําหรับห่อของเพื่อกันชื้น. (ป. ติปุ; ส. ตฺรปุ; อ. tin).
ตราไปรษณียากร : น. แสตมป์, (กฎ) บัตรตราใด ๆ ซึ่งจัดให้มีขึ้น เพื่อใช้เป็นค่า ไปรษณียากรหรือค่าธรรมเนียมอื่น หรือจํานวนเงินที่จะต้องเสียในการส่ง ไปรษณียภัณฑ์ รวมทั้งตราไปรษณียากรสําหรับผนึก หรือตราไปรษณียากร ที่พิมพ์ ดุน หรือแสดงไว้โดยวิธีอื่นบนซอง กระดาษห่อ ไปรษณียบัตร หรือ สิ่งอื่น ๆ.
ตอง ๑ : น. ใบไม้ขนาดใหญ่ใช้ห่อของได้ เช่น ตองกล้วย; เรียกไพ่ไทยชนิดหนึ่ง โดยปรกติเล่นกัน ๖ ขา ว่า ไพ่ตอง, จํานวนไพ่ที่มีเหมือนกัน ๓ ใบ เรียกว่า ตอง, ลักษณนามเรียกไพ่ที่เหมือนกัน ๓ ใบ เช่น ไพ่ตองหนึ่ง ไพ่ ๒ ตอง.
ทอฟฟี่ : น. ของหวานแบบฝรั่ง ใช้อม ทําด้วยนํ้าตาลกวนกับนมหรือเนย เป็นต้น มักปั้นเป็นก้อนห่อกระดาษแก้วบิดหัวท้าย. (อ. toffee).
นม ๑ : น. ส่วนของร่างกาย อยู่บริเวณหน้าอก มี ๒ เต้า, ของผู้หญิงมีต่อม สำหรับผลิตน้ำนมเป็นอาหารสำหรับลูกอ่อน ส่วนของผู้ชายมีขนาด เล็กและไม่มีน้ำนม, นมของสัตว์บางชนิด เช่น ลิง ค่าง ก็มี ๒ เต้า เช่นเดียวกับคน ส่วนของสัตว์บางชนิด เช่น สุนัข วัว ควาย มีหลาย เต้าเรียงอยู่ที่ท้องเป็น ๒ แถว; แม่นม, ราชาศัพท์ว่า พระนม; น้ำนม เช่น เลี้ยงลูกด้วยนม; ชื่อสิ่งที่เป็นเต้าเป็นปุ่มคล้ายนม เช่น นมทอง หลาง นมจะเข้; เรียกสิ่งที่มีลักษณะเป็นปุยขาวห่อหุ้มต้นผักกระเฉด ว่า นมผักกระเฉด,เรียกสิ่งที่มีลักษณะเป็นปุยขาวห้อยติดอยู่ตามข้อ พังพวยว่า นมพังพวย.