ห่าน : น. ชื่อนกจําพวกเป็ดในวงศ์ Anatidae คอยาวกว่าคอเป็ดแต่สั้นกว่าคอหงส์ ทํารังบนดิน กินพืชและสัตว์เล็ก ๆ มีหลายชนิด เช่น ชนิด Anser anser, A. cygnoides ทั้ง ๒ ชนิดเป็นต้นตระกูลของห่าน ที่นํามาเลี้ยงกันทั่วไป.
กุงาน : น. ห่าน, ใช้หมายความถึง นกยูง ก็มี เช่น แพนกุงานกระพือ. (สมุทรโฆษ), กลางคชเทอดแพน กุงาน ง่าคว้าง. (ลิลิตพยุหยาตรา).
กระทุง : น. ชื่อนกน้ำขนาดใหญ่ในวงศ์ Pelecanidae ขนสีขาวหรือสีเทา ๆ ตัวขนาดห่าน ปากยาวใหญ่ ปากล่างมีลักษณะเป็นถุงขนาดใหญ่ สําหรับจับปลาทีละมาก ๆ อาศัยอยู่ตามแม่น้ำลําคลองและชายทะเล ในประเทศไทยมีเพียงชนิดเดียวคือ ชนิด Pelecanus philippensis.
กระว่า : (โบ; กลอน) น. ชื่อนกชนิดหนึ่ง เช่น เสียงนกกระว่ามาตีลาน นกกรงหงส์ห่านร้องขานคู่. (มโนห์รา).
คอห่าน : น. ส่วนของโถส้วมตรงที่มีลักษณะคล้ายคอห่านสําหรับ กักนํ้าเพื่อกันกลิ่นเป็นต้น.
คาส : [คาด] (แบบ) ก. กิน, กัด, เช่น ริ้นร่านห่านยุง ยงงคาสคุงใจ. (ม. คําหลวง สักบรรพ).
เป็ด ๑ : น. ชื่อสัตว์ปีกในวงศ์ Anatidae ปากแบน ตีนแบน ระหว่างนิ้ว มีพังผืดยึดติดกันเพื่อสะดวกในการว่ายนํ้า ตัวมีหลายสี เช่น นํ้าตาล ขาว เขียว ขนาดเล็กกว่าห่าน ว่ายนํ้าเก่ง กินปลา พืชนํ้า และสัตว์เล็ก ๆ มีต้นตระกูลมาจากเป็ดหัวเขียว (Anas platyrhynchos).
พะโล้ : น. ชื่ออาหารแบบจีนชนิดหนึ่ง ใช้ลูกโป๊ยกั้ก อบเชย และเครื่องเทศ อื่น ๆ ตำเคล้าคลุกกับเป็ดหรือห่านเป็นต้นให้เข้ากันดี และเคี่ยวจน น้ำแห้ง, ถ้าทำอย่างไทยใช้น้ำตาลปีบเคี่ยวกับซีอิ๊วและน้ำปลา มีรส หวานเค็ม และมักไม่ใส่เครื่องเทศ เช่น ไข่พะโล้ หมูพะโล้.
โล่งโต้ง, โล้งโต้ง : ว. ล่อนจ้อน, เปล่าเปลือย, เช่น เดินเปลือยกายโล่งโต้ง ถอนขน ห่านเสียโล้งโต้ง ย่านซื่อซื่อว่าบ้าน ย่านยาว เหนแต่ชุมนุมลาว ล่อนโล้ง ลากอวนส่วนหนุ่มสาว เสียงแซ่ แม่เอย เท่าแก่แล โล้งโต้ง ต่างหล้อนห่อนอายฯ (นิ. สุพรรณ), โล่งโจ้ง ก็ว่า.
สังหาร : [หาน] ก. ฆ่า, ผลาญชีวิต. (ส.).
หาร ๑ : [หาน] ก. แบ่งส่วนเท่า ๆ กัน (ใช้แก่วิธีเลข). น. เรียกเครื่องหมายรูปดังนี้ ? ว่า เครื่องหมายหาร. หารร่วมมาก ดู ตัวหารร่วมมาก.
หาร ๒ : [หาน] น. สิ่งที่เอาไปได้; การนําไป, การถือเอา, มักใช้เป็นส่วนท้ายสมาส เช่น บริหาร อวหาร. (ป., ส.).
ทหาร : [ทะหาน] น. ผู้มีหน้าที่ในเรื่องรบ, นักรบ. (อะหม หาน ว่า นักรบ).
กตาภินิหาร : [กะตาพินิหาน] (แบบ) น. อภินิหาร (บุญอันยิ่ง) ที่ทําไว้. ว. มีอภินิหารที่ทําไว้. (ป. กต ว่า อันเขาทําแล้ว + อภินิหาร).
กฤดาภินิหาร : [กฺริดาพินิหาน] น. อภินิหาร (บุญอันยิ่ง) ที่ทําไว้. ว. มีอภินิหารที่ทําไว้, (ส.; ป. กตาภินิหาร), ในบทกลอนใช้แผลง เป็น กฤษฎา หรือ กฤษฎาภินิหาร ก็มี.
กายบริหาร : [กายบอริหาน] น. การบริหารร่างกาย, การออกกำลังกาย.
บรรหาร : [บันหาน] (กลอน; แผลงมาจาก บริหาร) ก. เฉลย, กล่าวแก้, ตรัสสั่ง.
บริหาร : [บอริหาน] ก. ออกกําลัง เช่น บริหารร่างกาย; ปกครอง เช่น บริหาร ส่วนท้องถิ่น; ดําเนินการ, จัดการ, เช่น บริหารธุรกิจ; กล่าวแก้. น. ดํารัสสั่ง เช่น ราชบริหาร, คําแถลงไข เช่น พระพุทธบริหาร. (ป., ส. ปริหาร).
ประสัยหาวหาร : [ปฺระไสหาวะหาน] น. การโจรกรรมด้วยใช้อํานาจ กดขี่หรือกรรโชกให้กลัว.
ประหัตประหาร : [ปฺระหัดปฺระหาน] ก. ประหาร, เอาถึงเป็นถึงตาย.
ปราติหารย์ : [ปฺราติหาน] (กลอน) น. ปาฏิหาริย์. (ส. ปฺราติหารฺย; ป. ปาฏิหาริย).
ปริหาร : [ปะริหาน] น. บริหาร. (ป.).
ปสัยหาวหาร : [-หาวะหาน] น. การโจรกรรมด้วยใช้อํานาจ กดขี่หรือกรรโชกให้กลัว.
ปาฏิหาริย์ : [-ติหาน] น. สิ่งที่น่าอัศจรรย์, ความอัศจรรย์, มี ๓ อย่าง คือ ๑. อิทธิปาฏิหาริย์ = ฤทธิ์เป็นอัศจรรย์ หมายถึง การแสดงฤทธิ์ ที่พ้นวิสัยของสามัญมนุษย์ได้อย่างน่าอัศจรรย์ ๒. อาเทสนา ปาฏิหาริย์ = การดักใจเป็นอัศจรรย์ หมายถึง การดักใจทายใจคน ได้อย่างน่าอัศจรรย์ ๓. อนุสาสนีปาฏิหาริย์ = การสอนเป็น อัศจรรย์ หมายถึง คำสั่งสอนอันอาจจูงใจคนให้นิยมเชื่อถือไป ตามได้อย่างน่าอัศจรรย์. (ปาก) ก. กระทำสิ่งที่ตามปรกติทำไม่ได้ เช่น ปาฏิหาริย์ขึ้นไปอยู่บนหลังคา. (ป.).
ผลาหาร : [ผะลาหาน] น. อาหารคือลูกไม้.
พิหาร : [พิหาน] น. ที่อยู่ของพระสงฆ์, วัด; วิหาร, ที่ซึ่งประดิษฐาน พระพุทธรูป, คู่กับอุโบสถ. (ป. วิหาร).
รัฐประหาร : [รัดถะปฺระหาน, รัดปฺระหาน] น. การใช้กําลังเปลี่ยนแปลง คณะรัฐบาลโดยฉับพลัน, (กฎ) การใช้กำลังยึดอำนาจและเปลี่ยนแปลง รัฐบาล.
ราชวรมหาวิหาร : [ราดชะวอระมะหาวิหาน] น. เรียกพระอารามหลวง ชั้นเอกชนิดสูงสุดว่า ชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร เช่น วัดพระเชตุพน วัดมหาธาตุกรุงเทพมหานคร, เรียกพระอารามหลวงชั้นโทชนิดสูงสุด ว่า ชั้นโทชนิดราชวรมหาวิหาร มี ๒ วัด คือ วัดสระเกศ และวัดชนะ สงคราม.
ราชวรวิหาร : [ราดชะวอระวิหาน] น. เรียกพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดหนึ่งซึ่งมีฐานะตํ่ากว่าชนิดราชวรมหาวิหาร ว่า ชั้นเอก ชนิด ราชวรวิหาร เช่น วัดเบญจมบพิตร วัดราชประดิษฐ์, เรียกพระอาราม หลวงชั้นโทชนิดหนึ่ง ซึ่งมีฐานะตํ่ากว่าชนิดราชวรมหาวิหาร ว่า ชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร เช่น วัดเทพศิรินทร์ วัดราชสิทธาราม, เรียก พระอารามหลวงชั้นตรีชนิดสูงสุด ว่า ชั้นตรี ชนิดราชวรวิหาร เช่น วัดปทุมวนาราม วัดรัชฎาธิษฐาน.
รุหาญ : ว. เปรียบ, ดุจ. (เทียบ ข. รุหาน).
วิหาร, วิหาร : [วิหาน, วิหาระ] น. วัด, ที่อยู่ของพระสงฆ์; ที่ประดิษฐาน พระพุทธรูป, คู่กับ โบสถ์; การพักผ่อน เช่น ทิวาวิหาร ว่า การพักผ่อน ในเวลากลางวัน. (ป., ส.).
สมุจเฉท, สมุจเฉท : [สะหฺมุดเฉด, เฉดทะ] น. การตัดขาด. (ป., ส.). สมุจเฉทปหาน [ปะหาน] น. การละกิเลสได้ขาดอย่างพระอรหันต์.