เช่า : โดยให้ค่าเช่า; ซื้อวัตถุที่ถือว่าขลังหรือศักดิ์สิทธิ์ เช่น เช่าพระพุทธรูป.
ห้อง : น. ส่วนของเรือนหรือตึกเป็นต้นที่มีฝากั้นเป็นตอน ๆ; ตอน เช่น พระพุทธคุณ เก้าห้อง; ชั้น เช่น ห้องฟ้า.
ห้องแถว : น. อาคารไม้ที่สร้างเป็นห้อง ๆ เรียงติดกันเป็นแถว, ถ้าก่อด้วยอิฐฉาบปูนหรือคอนกรีตเป็นห้อง ๆ เรียงติดกันไปเรียกว่า ตึกแถว; (กฎ) อาคารที่พักอาศัยหรืออาคารพาณิชย์ซึ่งปลูกสร้างติดต่อ กันเป็นแถวเกิน ๒ ห้อง และประกอบด้วยวัตถุไม่ทนไฟเป็นส่วนใหญ่.
เช่าช่วง : (กฎ) ก. การที่ผู้เช่าเอาทรัพย์สินที่ตนเช่าไปให้ผู้อื่น เช่าอีกทอดหนึ่ง.
เช่าซื้อ : (กฎ) น. ชื่อสัญญาซึ่งเจ้าของเอาทรัพย์สินออกให้เช่า และให้คํามั่นว่าจะขายทรัพย์สินนั้น หรือว่าจะให้ทรัพย์สิน นั้นตกเป็นสิทธิแก่ผู้เช่า โดยเงื่อนไขที่ผู้เช่าได้ใช้เงินเป็น จํานวนเท่านั้นเท่านี้คราว.
เช่าถือสวน : ก. เช่าที่สวน.
เช่าทรัพย์ : (กฎ) น. ชื่อสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้ให้เช่า ตกลงให้บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้เช่า ได้ใช้ หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินอย่างใดอย่างหนึ่งชั่ว ระยะเวลาอันมีจํากัด และผู้เช่าตกลงจะให้ค่าเช่าเพื่อการนั้น.
ห้องเครื่อง : (ราชา; ปาก) น. ครัว, เรียกเต็มว่าห้องเครื่องวิเสท, ห้องสำหรับ เก็บเครื่องราชูปโภค, เรียกเต็มว่า ห้องเครื่องราชูปโภค; ห้องเครื่องยนต์เรือ เป็นต้น.
ห้องโถง : น. ห้องขนาดใหญ่ที่ปล่อยไว้โล่ง ๆ.
ห้องสมุด, หอสมุด : น. ห้องหรืออาคารที่มีระบบจัดเก็บรวบรวมรักษา หนังสือประเภทต่าง ๆ ซึ่งอาจรวมทั้งต้นฉบับ ลายมือเขียน ไมโครฟิล์ม เป็นต้น เพื่อใช้เป็นที่ค้นคว้าหาความรู้.
เช่าพระ : ก. ซื้อพระพุทธรูปหรือพระเครื่องไปบูชา.
ห้องชุด : (กฎ) น. ส่วนของอาคารชุดที่แยกการถือกรรมสิทธิ์ออกได้เป็น ส่วนเฉพาะของแต่ละบุคคล.
เก็บ ๑ : ก. เอาไปหรือเอามาจากที่ เช่น เก็บผ้า เก็บผลไม้, เอาเข้าที่ เช่น เอาหนังสือไปเก็บ เอารถไปเก็บ, เอาสิ่งของที่ตกหล่นอยู่ขึ้นมา เช่น เก็บของตก, รวบรวมไว้ เช่น เก็บคะแนน, เรียกเอา เช่น เก็บค่าเช่า เก็บค่าน้ำ, รักษาไว้ เช่น ห้องเก็บของ. ว. ถ้าประกอบหลังคํานามหมายความว่า ที่เก็บไว้ เช่น ของเก็บ = ของที่เก็บไว้, เงินเก็บ = เงินที่ออมเก็บไว้, เมียเก็บ = เมียที่เก็บไว้ไม่ออกหน้าออกตา, หมากเก็บ = สิ่งที่เป็นเม็ด เป็นก้อนแข็ง เด็กใช้โยนเก็บขึ้นไว้ในมือ เป็นการเล่นชนิดหนึ่งของเด็ก.
เก็บกิน : ก. เก็บผลประโยชน์เอาไว้ใช้สอยยังชีพ เช่น มีห้องแถวอยู่ ๒ ห้องได้อาศัยเก็บกินค่าเช่า.
แฟลต : [แฟฺล็ด] น. ห้องชุด ตามปรกติประกอบด้วยห้องนอน ห้องรับแขก ห้องครัว ห้องนํ้า พร้อมอยู่ในชั้นเดียวกันและรวมอยู่ในตึกหลังใหญ่ สําหรับอยู่อาศัยหรือให้เช่า. (อ. flat).
ค่าเช่า : (กฎ) น. ค่าตอบแทนที่ผู้เช่าจ่ายให้แก่ผู้ให้เช่าเพื่อเป็นการ ตอบแทนที่ได้ใช้หรือได้รับประโยชน์ในทรัพย์สินที่เช่าชั่วระยะ เวลาอันมีจำกัด.
กัลยาเยี่ยมห้อง : น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
จูงนางเข้าห้อง : น. ชื่อการเล่นชนิดหนึ่ง ใช้เบี้ยทอดแล้วเดินตามช่อง ในรูปเป็นวงอย่างก้นหอย.
บ้านช่อง, บ้านช่องห้องหอ : น. บ้านที่อยู่อาศัย เช่น บ้านช่องรกรุงรัง.
ถือ : ก. เอาไว้ในมือ, จับยึดไว้, เช่น ถือมีด ถือปืน ถือหนังสือ; ทรงไว้, ดํารงไว้; เอาไว้ในใจ เช่น ถือศีล ถือศักดินา; ยึดเอาว่า, นับเอาว่า, เช่น ถือเป็นญาติกัน ถือเราถือเขา ถือพวก ถือโทษ; เชื่อมั่นว่าเป็นมงคล หรืออัปมงคล เช่น ถือไม่ให้ใครจับหัว ถือไม่ลอดใต้ถุน; นับถือ เช่น ถือศาสนา; เช่า ในคําว่า ถือสวน, เช่าถือสวน ก็ว่า.
คัพภ-, คัพภ์ : [คับพะ-, คับ] น. ครรภ์, ท้อง; ห้อง. (ป.).
ปฏิบัติการ : ก. ทํางานตามหน้าที่. ว. ที่ทดลองเพื่อพิสูจน์ข้อเท็จจริง ตามทฤษฎีหรือฝึกงานเพื่อให้เกิดความชํานาญเป็นต้น เช่น ห้อง ปฏิบัติการ.
ลุ้ง : น. ภาชนะใส่อาหารหรือของอย่างอื่น รูปทรงกระบอกมีฝาปิด สานอย่างตะกร้าหรือเครื่องเขินก็มี ทําด้วยโลหะมีทองเหลือง และเหล็กวิลาดเป็นต้นก็มี, ถ้าใช้ใส่อาหารมักแบ่งข้างในเป็น ห้อง ๆ, ถ้าใช้ใส่ชฎา ก็มีฝาเรียวรูปกรวยเพื่อครอบยอดชฎาได้; โลงสําหรับใส่ศพ รูปสี่เหลี่ยมปากผาย ก้นสอบ; ภาชนะดินปั้น ใช้ใส่อัฐิเพื่อนำไปลอยน้ำ.
กฎหมายพาณิชย์ : (กฎ) น. กฎหมายที่วางระเบียบความเกี่ยวพัน ทางการค้าหรือธุรกิจระหว่างบุคคล เช่น กฎหมายว่าด้วยการซื้อขาย การเช่าทรัพย์ การจํานอง การจํานํา ตั๋วเงิน หุ้นส่วนบริษัท. (อ. commercial law).
กราย ๓ : [กฺราย] ก. เคลื่อนไหวอย่างมีท่าทาง, เดินอย่างมีท่าที, เช่น ห่มเสื้อกรายดาบง่า. (ลอ), ลอยชายกรายแขนเข้าในห้อง. (คาวี); เดินเฉียดเข้าไปใกล้ ๆ, เดินเฉียดใกล้เข้าไปอย่างไม่มีคารวะ, เช่น เดินกรายศีรษะ, ใช้เข้าคู่กับคํา กรีด กรุย และ กล้ำ เป็น กรีดกราย กรุยกราย และ กล้ำกราย.
กรุ ๑ : [กฺรุ] น. ห้องที่ทําไว้ใต้ดิน ใต้พระเจดีย์ เป็นต้น สำหรับเก็บพระพุทธรูปและสิ่งอื่น ๆ,โดยปริยาย หมายถึงกระทรวง ทบวง กรม ที่ข้าราชการใน สังกัดถูกเรียกตัวเข้ามาอยู่ประจำโดยมิได้มี ตำแหน่งหน้าที่ใด ๆ เพื่อเป็นการลงโทษหรือ ก่อนเกษียณอายุราชการ ในความว่า เรียกเก็บเข้ากรุ.
ขยาย : [ขะหฺยาย] ก. อธิบาย, ชี้แจง, เช่น ขยายความ, แผ่กว้างออกไป เช่น ขยายตัว, เปิดเผย เช่น ขยายความลับ, คลายให้หายแน่น เช่น ขยาย เข็มขัดให้หลวม, คลี่, แย้ม, เช่น ดอกไม้ขยายกลีบ, ทําให้กว้างใหญ่ ออกไป เช่น ขยายห้อง ขยายรูป, ทําให้มากขึ้น เช่น ขยายพันธุ์. ขยายขี้เท่อ (ปาก) ก. แสดงให้เห็นความโง่เขลา.
ขล้ง : [ขฺล้ง] (ถิ่น-ปักษ์ใต้) ก. เผลอไผล, หลง ๆ ลืม ๆ, เช่น แก่มากจนขล้ง. ว. ฟุ้งไป, กระจายไป, เช่นกลิ่นขล้งไปทั้งห้อง.
ขึ้นหา : ก. ลอบขึ้นห้องหญิงเพื่อการชู้สาว.
เข้าหา : ก. ไปให้เห็นหน้า, ไปอ่อนน้อม เช่น เรื่องนี้ต้องเข้าหาผู้ใหญ่; ลอบเข้าห้องหญิงเพื่อการชู้สาว.
คดีมโนสาเร่ : (กฎ) น. คดีอันมีทุนทรัพย์หรือค่าเช่าจำนวนเล็กน้อย ซึ่งไม่เกินจำนวนที่กำหนดในกฎหมาย.
ครรภ, ครรภ-, ครรภ์ : [คับ, คับพะ-, คัน] น. ห้อง, ท้อง เช่น หญิงมีครรภ์ (ใช้เฉพาะผู้หญิงที่มี ลูกอยู่ในท้อง). (ส. ครฺภ; ป. คพฺภ).
ครรภมณฑล : น. ห้องประดิษฐานพระพุทธรูปหรือรูปพระโพธิสัตว์. (ส. ครฺภ + มณฺฑล).
ครัว ๑ : [คฺรัว] น. โรง เรือน หรือห้องสําหรับทํากับข้าวของกิน, เรียกผู้ที่อยู่กิน ร่วมครัวกัน.
ค่า : น. มูลค่าหรือราคาของสิ่งใด ๆ ทั้งที่เป็นรูปธรรมและนามธรรม ที่มีประโยชน์ในทางใช้สอย แลกเปลี่ยน หรือทางจิตใจเป็นต้น บางอย่างก็ประเมินเป็นเงินได้ บางอย่างก็ประเมินเป็นเงินไม่ได้ เช่น ทองคำเป็นของมีค่า เวลามีค่ามาก; จำนวนเงินที่เป็นราคาสิ่งของหรือบริการ เป็นต้น เช่น ค่าจ้าง ค่าเช่า ค่าโดยสาร ค่าอาหาร; (คณิต) จำนวนหรือ ตัวเลขที่ระบุปริมาณหรือขนาดของตัวแปร; (สำ) เรียกสิ่งใดสิ่งหนึ่ง ที่มีคุณค่ามากจนไม่อาจประเมินเป็นเงินได้ว่า เป็นสิ่งที่หาค่ามิได้.
ค่าหน้าดิน : น. เงินกินเปล่าที่เจ้าของที่ดินเรียกจากผู้เช่าเป็นต้น เพื่อเป็น ค่าตอบแทนการใช้ที่ดิน.
คำขาด : น. คำบอกกล่าวอย่างเด็ดขาดครั้งที่สุดให้ปฏิบัติการอย่างใด อย่างหนึ่งโดยไม่มีการผ่อนผัน เช่น ยื่นคำขาดให้ผู้เช่าออกไปจาก บ้านเช่าภายใน ๓ วัน, ข้อเสนอเด็ดขาด, ข้อเสนอที่ยื่นให้อีกฝ่ายหนึ่ง ปฏิบัติตามโดยเด็ดขาด เช่น เขายื่นคำขาดให้เธอปฏิบัติตาม.
คู่สายโทรศัพท์ : น. สายที่ใช้ประกอบการสื่อสารทางโทรศัพท์ ๒ เส้น ต่อจากห้องเครื่องชุมสายโทรศัพท์ไปยังบ้านผู้ใช้โทรศัพท์, คู่สาย ก็ว่า.
คูหา : น. ถํ้า; สิ่งก่อสร้างเป็นห้อง ๆ อย่างตึกแถว แต่ละห้องเรียกว่า คูหา, ลักษณนามเรียกสิ่งก่อสร้างเช่นนั้น เช่น ตึกแถวนี้มี ๑๐ คูหา; โดย อนุโลมใช้เรียกช่องที่กั้นไว้เป็นสัดส่วนสำหรับใช้ประโยชน์อย่างใด อย่างหนึ่ง เช่น คูหาลงคะแนนในที่เลือกตั้งสำหรับใช้ในการกาบัตร ออกเสียงลงคะแนนเลือกตั้ง.
เคลื่อนที่ : ว. ไม่อยู่กับที่, ไม่ประจําที่, เช่น ห้องสมุดเคลื่อนที่.
จม : ก. หายลงไปหรืออยู่ใต้ผิวพื้น เช่น จมนํ้า จมดิน, โดยปริยายหมายความว่า เข้าลึก เช่น จมมีด จมเขี้ยว, หมกตัวหรือฝังตัวอยู่ เช่น จมอยู่ในห้องหนังสือ จมเลือด, ถอนทุนไม่ขึ้น เช่น ทุนจม, ยุบตัวลง เช่น สะบักจม; เรียกลวดลาย ที่ไม่เด่นว่า ลายจม. (ปาก) ว. มาก เช่น วันนี้มีการบ้านจมเลย.
จระลิ่ง, จระลึง : [จะระ-] (กลอน) ก. ตะลึง เช่น จระลิ่งทางทิพห้อง แห่งองค์. (ทวาทศมาส).
เจ้าบ้าน : (กฎ) น. บุคคลผู้เป็นหัวหน้าซึ่งครอบครองบ้านในฐานะเป็น เจ้าของผู้เช่า หรือในฐานะอื่น เช่น ผู้ดูแลบ้าน.
ช่วง ๑ : น. ตอน, ระยะ (ที่ต่อเนื่อง). ก. รับเป็นตอน เช่น รับช่วง เช่าช่วง.
ชันตาฆระ : [ชันตาคะระ] (แบบ) น. เรือนไฟ, ห้องสําหรับรมไฟ เพื่อให้เหงื่อออก. (ป.).
ชา ๑ : น. (๑) ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กชนิด Camellia sinensis (L.) Kuntze ในวงศ์ Theaceae ขึ้นตามหุบเขาในเขตร้อน ใบใช้ชงเป็น เครื่องดื่ม, พายัพเรียก เมี่ยง. (๒) ชื่อไม้พุ่มหลายชนิดใน หลายวงศ์ ใบเล็ก ที่ใช้เป็นปลูกรั้ว เช่น ชาข่อย (Acalypha siamensis Oliv. ex Gage) ในวงศ์ Euphorbiaceae, ที่นิยม ปลูกเป็นไม้ดัด คือ ชาฮกเกี้ยน [Carmona retusa (Vahl) Masam.] ในวงศ์ Boraginaceae และ ชาใบมัน (Malpighia coccigera L.) ในวงศ์ Malpighiaceae.
ชา ๒ : ว. อาการที่รู้สึกน้อยกว่าปรกติ เนื่องจากเส้นประสาทรับ ความรู้สึก ถูกกด ถูกตัดขาด หรือถูกสารพิษ เช่น มือชา เท้าชา; เรียกปลาที่จวนจะตายอยู่แล้วว่า ปลาชา.
ชา ๔ : ก. หมายไว้, กําหนดไว้, เช่น เอามีดสับชาไว้ที่ประมาณ ส่วนกลางลำอ้อยในการเล่นค่องอ้อย, ใช้ประกอบกับคํา กฎ เป็น กําหนดกฎชา, สังกัด เช่น แบ่งปันแผนกหมู่ชา. (พระอัยการบานแพนก), เด็กชา, เรือชา เช่น สรนุกนิเรียบ เรือชา. (สมุทรโฆษ).
ชา ๕ : ก. เป็น, ให้เป็น, เช่น มนตร์ชากรุงชนะ. (ดุษฎีสังเวย); สบาย, ดี, เก่ง, เช่น ลือชา. (ข.).
ชา ๖ : ก. ว่ากล่าว เช่น อย่าชาคนเมา.