ห้อยท้าย : ก. ต่อท้าย.
ท้าย : น. ส่วนที่อยู่สุดด้านหนึ่ง, ตรงข้ามกับ ด้านหัว เช่น ท้ายเรือ, ตรงข้ามกับ ด้านหน้า เช่น ท้ายวัง, ตรงข้ามกับ ต้น เช่น ท้ายฤดู.
ห้อย : ก. แขวนติดอยู่ เช่น ห้อยอุบะ, ปล่อยหรือหย่อนให้แขวนติดอยู่ เช่น นั่งห้อยเท้า.
ท้ายสังข์ : น. ท้ายสุดของปืนใหญ่แบบไทย มีลักษณะงอนคล้ายก้น ของหอยสังข์.
ท้ายเขื่อน : น. ท้ายนํ้า.
ท้ายครัว : (ปาก) ว. ทางภรรยา เช่น เข้าท้ายครัว หมายความว่า เข้าทางภรรยา.
ท้ายโต่ง : น. ท้ายที่สูงโด่งขึ้นไป (ใช้แก่เรือ).
ท้ายน้ำ : น. บริเวณที่ระบายนํ้าออกทางด้านล่างของตัวเขื่อน, ท้ายเขื่อน ก็เรียก.
ห้อยโหน : ก. อาการที่เกาะราวหรือห่วงเป็นต้น แล้วโยนตัวไปมา.
โกลน : [โกฺลน] น. ห่วงที่ห้อยลงมาจากอานม้า ๒ ข้างสําหรับสอดเท้ายัน ในเวลาขึ้นหรือขี่; ไม้ท่อนกลม ๆ ที่วางเป็นระยะ ๆ เพื่อลากของที่หนัก มาบนนั้น. ก. เกลาไว้, ทําเป็นรูปเลา ๆ ไว้, เช่น โกลนไม้ โกลนเรือ; เรียกเรือที่ทําจากซุงเพียงเปิดปีกเจียนหัวเจียนท้ายเป็นเลา ๆ พอให้มี ลักษณะคล้ายเรือ แต่ยังไม่ได้ขุด ว่า เรือโกลน. (รูปภาพ โกลน)
ดิ่ง : ว. แน่ว เช่น เสาต้นนี้ตั้งตรงดิ่ง ทางตรงดิ่ง จมดิ่ง; เรียกโลหะรูปทรง กรวยติดที่ปลายสายเชือกใช้วัดความลึกของน้ำ ตรวจสอบเสาหรือกำแพง เป็นต้นว่าอยู่ในแนวดิ่งหรือไม่ว่า ลูกดิ่ง; เรียกตะกั่วหรือเหล็กเป็นต้นที่ ผูกกับสายเชือกเป็นคู่สกัดหัวท้ายดอกจำปาของว่าวจุฬาว่า ลูกดิ่ง; วัตถุ มงคลมีลักษณะคล้ายลูกดิ่งหรือเม็ดมะยมซ้อนกันเป็นต้น สำหรับห้อย สายลูกประคำ พระมหากษัตริย์ทรงใช้ เรียกว่า พระดิ่ง และอาจพระราชทาน แก่ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่มีความดีความชอบเพื่อใช้เป็นเครื่องเตือนสติ เมื่อเกิดปัญหาจะได้พิจารณาให้รอบคอบด้วยวิธีบริกรรมนับลูกประคำ ทำให้มีสติเพื่อก่อให้เกิดสมาธิและปัญญาสามารถแก้ไขปัญหาได้.
หาม ๑ : ก. เอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งห้อยกลางไม้หรือวางบนเปลเป็นต้น แล้วช่วยกันหิ้วหรือ ยกไป, ช่วยกันยกหัวและท้ายพาไป.
ฉลอมท้ายญวน : น. ชื่อเรือใบเดินทะเลรูปท้ายตัด ใช้ทางทะเลด้านตะวันออก.
ถือท้าย : ก. ทําหน้าที่บังคับเรือให้แล่นไปตามทิศทาง; โดยปริยาย หมายความว่า เข้าข้าง เช่น ถือท้ายเด็ก; ควบคุม เช่น ถือท้ายรัฐนาวา.
นายท้าย : ( น. ผู้ถือท้ายเรือ มีหน้าที่ควบคุมเรือให้แล่นไปตามทิศทาง โดยเฉพาะตามแม่นํ้าลําคลอง.
เรือติดท้าย : น. เรือต่อชนิดหนึ่ง หัวแหลมท้ายตัด ติดตั้งเครื่องยนต์ที่ ท้ายเรือ แล่นเร็วมาก, เรือบื๋อ ก็เรียก.
ล่มหัวจมท้าย : ก. ร่วมโชคชะตาเดียวกัน เช่น สามีภรรยาต้อง ล่มหัวจมท้ายด้วยกัน.
ลิ้นห้อย : ว. อาการที่เหน็ดเหนื่อยมากเปรียบเหมือนวิ่งมาไกล เหนื่อยจนลิ้นห้อย, อาการที่เหน็ดเหนื่อยเนื่องจากต้องทำงาน หนักมาก.
ส่งท้าย : ก. พายกระตุ้นท้ายเรือเพื่อให้แล่นเร็ว เช่น เมื่อใกล้จะถึงเส้นชัย นายท้ายก็เร่งพายส่งท้าย; พูดหรือทําท้ายสุดเพื่ออําลา เช่น เขียนบทส่งท้าย ต้องไว้ฝีมือหน่อย ส่งท้ายการเลี้ยงด้วยการให้พร.
หัวก่ายท้ายเกย : ว. มากมายเต็มไปหมดอย่างไร้ระเบียบ เช่น เรือจอดหัวก่าย ท้ายเกย เด็ก ๆ นอนกันหัวก่ายท้ายเกยเต็มห้องไปหมด.
หัวปีท้ายปี : น. ต้นปีและท้ายปี เช่น เธอคลอดลูกหัวปีท้ายปี.
หอย : น. ชื่อสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในไฟลัม Mollusca มีเปลือกหุ้มตัว แบ่ง ออกได้เป็น ๒ จําพวกตามลักษณะของเปลือก คือ จําพวกกาบเดี่ยว เช่น หอยขม (Filopaludina doliaris) ในวงศ์ Viviparidae และจําพวกกาบคู่ เช่น หอยนางรม (Saccostrea forskali) ในวงศ์ Ostreidae.
คัดท้าย : ก. คอยคุมให้ไปตรงตามที่ต้องการ, โดยปริยายหมายความว่า อยู่ตําแหน่งสุดท้ายหรือเกือบสุดท้าย.
ได้ท้าย : ก. ได้ผู้หนุนหลัง.
ทิ้งท้าย : ก. ปล่อยทีเด็ดตอนลงท้าย.
ผ้าห้อยหอ : (โบ) น. ผ้าซึ่งเจ้าบ่าวนุ่งในพิธีซัดนํ้าแต่งงานแล้ว ผลัดพาดไว้ที่เรือนหอ มีของมีค่าอยู่ในนั้นเพื่อเป็นรางวัลผู้เอาไปซัก.
หัวคลองท้ายคลอง : ว. ทั่วทั้งคลอง.
หัวบ้านท้ายบ้าน : ว. ทั่วทั้งหมู่บ้าน.
หัวมังกุท้ายมังกร : (สํา) ว. ไม่เข้ากัน, ไม่กลมกลืนกัน, มีหลายแบบหลาย อย่างปนกัน.
ให้ท้าย : ก. เข้าข้างหรือส่งเสริมทำให้ได้ใจ.
ย้อย : ก. ห้อยเป็นทางลงมา เช่น รากไทรย้อยลงมา พวงมะไฟห้อยย้อย, ห้อย ลงมา เช่น รวงผึ้งย้อยลงมา ผมย้อยลงปรกหน้า, ไหลเป็นทางยืดลงมา เช่น น้ำมูกย้อย น้ำตาลย้อย, หยาดห้อยลงมาจวนจะหยด เช่น น้ำหมาก ย้อย น้ำตาย้อย; คราบหินปูนที่ย้อยลงมาจากเพดานถ้ำหินปูน มีลักษณะ เป็นท่อน เป็นกรวย หรือเป็นแผ่นม่าน เรียกว่า หินย้อย.
หลอด ๒ : น. ชื่อหอยทะเลกาบคู่ในสกุล Solen วงศ์ Solenidae เปลือกประกบกันเป็น รูปทรงกระบอกเปิดหัวเปิดท้าย หัวเปิดมีท่อสำหรับทางน้ำเข้าออก ท้าย เปิดสําหรับยื่นตีนขุดดินโคลนฝังตัว เช่น ชนิด S. strictus ซึ่งพบมากที่ ดอนหอยหลอด จังหวัดสมุทรสงคราม.
งอย ๑ : ก. อยู่หมิ่น, ตั้งอยู่หมิ่น, ห้อย.
เรือกำปั่น : น. เรือเดินทะเลขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง หัวเรือเรียวแหลม ท้าย เรือมนและราบในระดับเดียวกับหัวเรือ, ถ้ามีเสายาวยื่นออกไปสำหรับ ผูกสายใบ มีเสากระโดง ๓ เสา มีใบ เรียกว่า เรือกำปั่นใบ, ถ้าเสากระโดง ตรงกลางไม่มีปล่องไฟโดยใช้เดินด้วยกำลังเครื่องจักรไอน้ำ เรียกว่า เรือกำปั่นไฟ.
ละหาน ๒ : ว. ห้อย.
กุแหละ : [-แหฺละ] น. ชื่อเรือขุดชนิดหนึ่ง เสริมข้างกระดาน รูปร่างเพรียว หัวและท้ายเรือแหลมสูง มี ๒ แจว ใช้ตามชายฝั่งทะเลหรือแถบปากน้ำ สําหรับบรรทุกหอย ปู ปลา เป็นต้น.
เรือกุแหละ : น. เรือขุดชนิดหนึ่ง เสริมข้างกระดาน รูปร่างเพรียว หัวและ ท้ายเรือแหลมสูง มี ๒ แจว ใช้ตามชายฝั่งทะเลหรือแถบปากน้ำ สำหรับ บรรทุกหอย ปู ปลา เป็นต้น.
undefined : น. รังผึ้ง มักมีลักษณะเป็นแผงคล้ายรูปสามเหลี่ยมห้อยลงมา, ลักษณนาม ว่า รวง เช่น รวงผึ้ง ๒ รวง; องค์ประกอบของอาคาร มีลักษณะเป็นแผงรูป สามเหลี่ยมเรียงกันใต้กระจังฐานพระที่หน้าบันโบสถ์ วิหาร หรือมุขเด็จ.
กกัลปพฤกษ์ : น. ลูกมะนาวหรือของที่บรรจุเงินปลีกเป็นต้นไว้ ข้างในสําหรับโปรยทาน, โดยปริยายเรียกสลากที่ห้อยไว้ตามต้นไม้ ให้คนสอยในงานกุศลหรืองานรื่นเริงเป็นต้น.
กงพัด ๑ : น. กงสําหรับพัด เป็นรูปใบพัดที่หมุนได้ เช่น กงพัดสีลม กงพัดเครื่องสีฝัด กงพัดเครื่องระหัด; ประตูหมุน; เครื่องมือชนิดหนึ่ง เป็นไม้ยาวประมาณ ๕๐ เซนติเมตร เจาะรูหัวท้าย ใส่ไม้ขวาง สําหรับ พัดด้าย.
ก้น : น. ส่วนเบื้องล่างหรือส่วนท้ายของลําตัว, โดยปริยายหมายความ ถึงบริเวณก้นด้วย เช่น ล้างก้น; ส่วนล่างของภาชนะ เช่น ก้นหม้อ, ส่วนสุดของห้วงหรือแอ่ง เช่น ก้นบ่อ ก้นสระ ก้นคลอง, ตรงข้ามกับปาก; ส่วนสุดที่เหลือ เช่น ก้นเทียน ก้นบุหรี่.
กระจาบ : น. ชื่อนกขนาดเล็กในวงศ์ Ploceidae มี ๓ ชนิด คือ กระจาบธรรมดา หรือ กระจาบอกเรียบ (Ploceus philippinus) กระจาบอกลาย (P. manyar) ทำรังด้วยหญ้าห้อยอยู่กับกิ่งไม้หรือพืชน้ำ ปากรัง อยู่ด้านล่าง และ กระจาบทอง (P. hypoxanthus) ทํารังด้วยหญ้า โอบหุ้มกิ่งไม้หรือใบพืชน้ำ ปากรังอยู่ด้านล่าง มักอยู่รวมกันเป็นหมู่ กินเมล็ดพืช.
กระจู้ : น. เครื่องดักปลาไหลชนิดหนึ่ง สานด้วยไม้ไผ่ รูปคล้ายหม้อคอสูง มีงาแซงอยู่ริมก้น ห้อยเหยื่อไว้ภายใน, เรียกว่า อีจู้ หรือ จู้ ก็มี.
กระชัง ๒ : น. เครื่องสําหรับขังปลาชนิดหนึ่ง ใช้ไม้ไผ่ทําเป็นกง ๔ อัน แล้วผูกด้วยซี่ไม้ไผ่โดยรอบ รูปกลม หัวท้ายเรียว ตอนบนเจาะ เป็นช่อง มีฝาปิด ใช้ไม้ขัดฝา ๒ ข้าง ใช้ไม้ไผ่กระหนาบ เพื่อให้ลอยได้ ในขณะออกไปจับปลาตามกร่ำ เมื่อจับปลาหรือกุ้ง ได้ก็เอาใส่ไว้ในนั้นชั่วคราว, อีกชนิดหนึ่ง สานด้วยไม้ไผ่ มีปากเปิดกว้างคล้าย ๆ ตะกร้าหรือเข่งใส่ของ แต่ใหญ่กว่า กระชังชั่วคราวนั้นหลายเท่า เป็นที่สําหรับจับปลาขนาดใหญ่ มาขังไว้หรือเลี้ยงลูกปลาให้โตตามที่ต้องการ เพื่อบริโภคหรือ ค้าขาย และเอากระชังนี้ผูกติดหลักแช่ลอยน้ำไว้.
กระเช้าสวรรค์ : น. อุปกรณ์เพื่อความเพลิดเพลินชนิดหนึ่ง มักมีตามสวนสนุกและในงานเทศกาลต่าง ๆ ประกอบด้วยล้อโลหะ ขนาดใหญ่คู่ขนานกัน หมุนด้วยแรงกลในแนวตั้งรอบแกนที่ติดอยู่ กับที่ มีที่นั่งในกระเช้าโลหะซึ่งห้อยติดอยู่เป็นช่วงระหว่างโครง ของล้อทั้ง ๒, ชิงช้าสวรรค์ ก็ว่า.
กระแชง : น. เครื่องบังแดดฝน โดยนําใบเตยหรือใบจากเป็นต้นมาเย็บเป็นแผง, ลักษณนามว่า ผืน (เทียบมลายู กระชัง = แผงสำหรับคลุมเรือหรือ รถ เย็บด้วยใบไม้); เชือกหนังสําหรับติดกับสายรัดประโคนของช้าง แต่มักติดเบื้องท้ายสันหลัง เพื่อควาญช้างจับในเวลาคับขัน; เชือกบาศสําหรับคล้องช้าง; ชื่อเรือบรรทุกชนิดหนึ่ง เล็กกว่า เรือเอี้ยมจุ๊น ท้องเรือกลมป้อม ใช้กระแชงทําเป็นประทุน เรียกว่า เรือกระแชง.
กระแซง : น. เชือกหรือลวดหนังตีเป็นเกลียวหุ้มผ้าแดง ปลายสายทั้ง ๒ ข้างผูก กับสายสำอางคร่อมอยู่ทางท้ายสันหลังช้าง สำหรับควาญช้างจับ เมื่อเวลาคับขัน, กระแอก หรือ ประแอก ก็เรียก.
กระดึง : น. เครื่องโลหะหรือเครื่องไม้มักมีรูปคล้ายกระดิ่ง มีลูกกระทบแขวนอยู่ภายในหรือห้อยกระหนาบอยู่ภายนอก มักใช้แขวนคอสัตว์เช่นวัวควาย เพื่อให้เกิดเสียงดัง, โปง ก็ว่า.
กระต่องกระแต่ง : ว. อาการที่แขวนหรือห้อยแกว่งไปแกว่งมา, ต่องแต่ง ก็ว่า.
กระตุกกระติก : ว. ตุก ๆ ติก ๆ, อาการที่ห้อยแกว่งไปมา.