ห้าว : ว. แก่จัด ในคำว่า มะพร้าวห้าว; กล้าทางมุทะลุ เช่น คนห้าวมักไม่กลัวตาย; มีเสียงใหญ่.
หาว : น. ที่แจ้ง, ท้องฟ้า, เช่น กลางหาว. ก. กิริยาที่สูดลมเข้าแล้วระบายลมออก ทางปากเมื่อเวลาง่วงนอนเป็นต้น.
จั่นห้าว : น. เครื่องยิงสัตว์ ใช้หอก หรือปืน หรือหลาว ขัดสายใยไว้ เมื่อคนหรือสัตว์ไปถูกสายใยเข้า ก็ลั่นแทงเอาหรือยิงเอา ใช้อย่างเดียว กับหน้าไม้ก็ได้.
ทิ้งมะพร้าวห้าว : น. ท่ากระโดดนํ้าอย่างหนึ่ง เวลากระโดดงอเข่า ทั้ง ๒ ขึ้นมา แล้วเอามือทั้ง ๒ รวบเข่า ทิ้งก้นลงไป, มัดหมู ก็ว่า.
มะพร้าวห้าว : น. ผลมะพร้าวที่แก่จัด.
เหิมห้าว : ว. ลำพองใจด้วยความมุทะลุดุดัน, ลำพองใจด้วยความแข็งกร้าว.
เอามะพร้าวห้าวไปขายสวน : (สํา) ก. แสดงความรู้หรืออวดรู้กับผู้ที่ รู้เรื่องดีกว่า.
กล้าม : [กฺล้าม] น. เนื้อมะพร้าวห้าว; มัดเนื้อที่รวมกันเป็นก้อน ๆ ในกายคนและสัตว์ เรียกว่า กล้ามเนื้อ.
กะทิ ๑ : น. น้ำที่คั้นออกจากมะพร้าวขูดโดยเจือน้ำบ้างเล็กน้อย, ถ้าคั้นจากเนื้อมะพร้าวขูดล้วน ๆ เรียกว่า หัวกะทิ, ของหวานทําด้วยน้ำตาลกวนกับมะพร้าวคล้ายหน้ากระฉีก แต่ใช้น้ำตาลมากกว่า เรียกว่า น้ำตาลกะทิ, มะพร้าวห้าวที่มีน้ำข้น เนื้ออ่อนกล้ามหนา เรียกว่า มะพร้าวกะทิ. ว. โดยปริยายหมายความว่า ที่ดีเด่นเป็นพิเศษ เรียกว่า หัวกะทิ.
มัดหมู : น. ท่ากระโดดนํ้าอย่างหนึ่ง เวลากระโดดงอเข่าทั้ง ๒ ขึ้นมา แล้วเอา มือทั้ง ๒ รวบเข่า ทิ้งก้นลงไป, ทิ้งมะพร้าวห้าว ก็ว่า.
แม่ม่ายลองไน : น. ชื่อจักจั่นขนาดใหญ่ที่มีลําตัวและปีกสีฉูดฉาด เช่น ดํา ขาว เหลือง หรือส้ม สีเหล่านี้เป็นลายหรือเป็นแถบพาดตามหัว ลําตัว หรือปีก มีอวัยวะทําเสียงซึ่ง เสียงจะเป็นเสียงห้าว ก้องกังวานได้ยินไปไกล ๆ มีหลายชนิด ชนิดที่โตที่สุดใน ประเทศไทย คือ ชนิด Tosena melanoptera, ลองไน ก็เรียก.
ล้างหน้าผี, ล้างหน้าศพ : ก. ผ่ามะพร้าวห้าวให้น้ำรดลงไปบนหน้า ศพก่อนเผา.
ลาญ : ก. แตก, หัก, ทําลาย เช่น ฝอใจห้าวบมิหาญ ลาญใจแกล้วบมิกล้า. (ตะเลงพ่าย).
เหิม : ว. กําเริบ, ลําพองใจ, มักใช้เข้าคู่กับคำอื่น เช่น เหิมเกริม เหิมหาญ เหิมห้าว เหิมฮึก.
กลางหาว : น. กลางแจ้ง เช่น รองน้ำฝนกลางหาว, บนฟ้า เช่น เครื่องบินรบกันกลางหาว.
นภ : [นะพะ, นบพะ] น. ฟ้า, หาว, อากาศ. (ป., ส. นภ, นภสฺ).
ประสัยหาวหาร : [ปฺระไสหาวะหาน] น. การโจรกรรมด้วยใช้อํานาจ กดขี่หรือกรรโชกให้กลัว.
เหินหาว : ก. บินหรือเหาะไปในอากาศในระยะสูง.
กระเบิก : (กลอน) ก. เบิก เช่น ปรดิพหุลดุลยปรดิมุข หุลดุลยอุกกลุก ก็เกริกกระเบิกหาวหบ. (อนิรุทธ์).
ทรหึงทรหวล : [ทอระหึงทอระหวน] (กลอน) ว. เสียงดังปั่นป่วน เช่น ทรหึงทรหวลพะ พานพัด หาวแฮ. (ตะเลงพ่าย).
นภาลัย : [ น. ฟากฟ้า, กลางหาว. (ป.).
นิทรา : [นิดทฺรา] น. การหลับ, การนอนหลับ. ก. หลับ, นอน, เช่น ให้หาว นิทราเป็นพ้นไป. (อิเหนา). (ส.; ป. นิทฺทา).
ผย่ำเผยอ : [ผะหฺยํ่าผะเหฺยอ] ก. ปํ้า ๆ เป๋อ ๆ เช่น ทําหาวเรอพูดผยํ่าเผยอ. (พงศ. เลขา).
เรือรูปสัตว์ : น. เรือหลวง มีทั้งประเภทเรือที่ขุดขึ้นจากซุงทั้งต้นกับเรือ เสริมกราบ มีลักษณะพิเศษตรงศีรษะเรือต่อไม้ขึ้นไปแล้วสลักเป็นรูป สัตว์หิมพานต์ หรือรูปอมนุษย์ต่าง ๆ เช่น ครุฑ อสุรปักษา พญานาค ตอนท้ายเรือต่อไม้ทำเป็นทวนเชิดงอนไปล่ปลิวไปทางด้านหลัง เช่น เรือเอกไชยเหินหาว เรือพาลีรั้งทวีปเรือครุฑเหินระเห็จ เรืออสุรปักษี, บางทีเรียกว่า เรือกระบวนปิดทอง.
ลมขึ้น : ก. อาการที่ลมดันออกจากภายในร่างกาย ทําให้หาวเรอ หรือให้เกิดอาการวิงเวียน หน้ามืด และอาเจียน ในกรณีหลังนี้ บางทีก็เรียกว่า ลมขึ้นเบื้องสูง.
ว่ายฟ้า : (วรรณ) ก. เคลื่อนไปในอากาศ เช่น ไก่ฟ้าวานว่ายฟ้า หาวหน หาสมรมายล เถื่อนท้องฯ. (ตะเลงพ่าย).
ว่าวเหลิง, ว่าวเหลิงลม : [เหฺลิง] น. ว่าวติดลมส่ายไปมาบังคับไม่อยู่. (สํา) ว. เพลินจนลืมตัว เช่น กลัวต้องลมแล้วจะหาวเหมือนว่าวเหลิง. (อภัย).
หวอด : น. ฟองนํ้าที่ปลาบางชนิดมีปลากัด ปลาช่อนเป็นต้น พ่นไว้สําหรับเก็บไข่. ว. อาการที่หาวทำเสียงดังเช่นนั้น ในคำว่า หาวหวอด.
หาวนอน : ก. หาวเพราะง่วงนอน, บางทีใช้เข้าคู่กับคํา ง่วงเหงา เป็น ง่วงเหงา หาวนอน ก็มี.
อันตลิกขะ : [อันตะลิกขะ] น. ท้องฟ้า, กลางหาว. (ป.; ส. อนฺตริกฺษ).