ห้า : น. จํานวนสี่บวกหนึ่ง; ชื่อเดือนจันทรคติ เรียกว่า เดือน ๕ ตกในราวเดือน เมษายน.
ห้าแต้ม : ว. พลั้งพลาดน่าขายหน้า.
เครื่องห้า ๑ : น. เครื่องบูชาชนิดหนึ่งสําหรับพระเจ้าแผ่นดินทรงใช้ บูชาพระธรรมเวลาทรงสดับเทศนา มีเชิงเทียน ๒ เชิง กระถางธูป ๑ ใบ กรวยปักดอกไม้ ๕ กรวย ตั้งในพานทองลงยาราชาวดี, เรียกเต็มว่า เครื่องนมัสการทองน้อยเครื่องห้า.
ชักแม่น้ำทั้งห้า : (สํา) ก.พูดจาหว่านล้อมยกยอบุญคุณเพื่อ ขอสิ่งที่ประสงค์ เช่น เถ้าก็พูดจาหว่านล้อมด้วยคํายอ ชักเอาแม่นํ้าทั้งห้าเข้ามาล่อ. (ม. ร่ายยาว กุมาร).
ปี่พาทย์เครื่องห้า : น. วงปี่พาทย์ที่ประกอบด้วยปี่ใน ระนาดเอก ฆ้องวงใหญ่ ตะโพน กลองทัด และฉิ่ง, พิณพาทย์เครื่องห้า ก็เรียก.
พระเจ้าห้าพระองค์ ๑ : น. เรียกคาถา นโมพุทธายะ ว่า คาถาพระเจ้าห้าพระองค์.
พิณพาทย์เครื่องห้า : น. วงพิณพาทย์ที่ประกอบด้วยปี่ใน ระนาดเอก ฆ้องวงใหญ่ ตะโพน กลองทัด และฉิ่ง, ปี่พาทย์เครื่องห้า ก็เรียก. พิณพาทย์เครื่องใหญ่ น. วงพิณพาทย์ที่ประกอบด้วยปี่ใน ระนาด เอก ระนาดทุ้ม ระนาดเอกเหล็ก ระนาดทุ้มเหล็ก ฆ้องวงใหญ่ ฆ้อง วงเล็ก กลองทัด และฉิ่ง, แต่บางทีก็มีฉาบเล็ก ฉาบใหญ่ และฆ้อง โหม่งผสมด้วย, ปี่พาทย์เครื่องใหญ่ ก็ว่า.
โภชนะห้า : [โพชะนะห้า] น. ข้าว ๕ อย่าง คือ ข้าวสุก (ข้าวมัน หรือ ข้าวผัด ก็นับเข้า) ขนมสด (ขนมที่จะบูดเมื่อล่วงเวลาแล้ว เช่น แป้งจี่ ขนมด้วง ขนม ครก) ขนมแห้ง (ที่ไม่บูด เช่น จันอับ ขนมปัง) ปลา (รวมทั้งหอย กุ้ง และ สัตว์นํ้าเหล่าอื่นที่ใช้เป็นอาหาร) เนื้อ (เนื้อของสัตว์บกและนกที่ใช้เป็น อาหาร).
เกสรทั้งห้า : น. เกสรดอกไม้ ๕ ชนิด มี เกสรดอกพิกุล เกสรดอก บุนนาค เกสรดอกสารภี เกสรดอกบัวหลวง เกสรดอกมะลิ.
ขายหน้าวันละห้าเบี้ย : (สํา) ก. ทําให้ต้องอับอายขายหน้าอยู่ทุกวัน.
เครื่องห้า ๒ : น. ปี่พาทย์ที่ใช้เครื่องดนตรี ๕ อย่าง ตรงกับเบญจดุริยางค์ ของอินเดีย มี ๒ ชนิด คือ ชนิดเบาใช้สําหรับการแสดงละครและหนัง ในพื้นเมือง และชนิดหนักใช้สําหรับการแสดงโขน ชนิดเบาประกอบ ด้วย เครื่องทําลํานํา ๑ ทับ ๒ กลอง ๑ ฆ้องคู่ ๑ ชนิดหนักประกอบด้วย ปี่ ๑ ระนาด ๑ ฆ้องวง ๑ กลอง ๑ โทน (ตะโพน) กับ ฉิ่ง ๑.
เงินน้ำห้าน้ำหก : (โบ) น. เงินเนื้อไม่บริสุทธิ์ เพราะมีทองแดงปนติดอยู่บ้าง.
จำห้าประการ : ว. มีเครื่องจองจําครบ ๕ อย่าง คือ ๑. ตรวนใส่เท้า ๒. เท้า ติดขื่อไม้ ๓. โซ่ล่ามคอ ๔. คาไม้ใส่คอทับโซ่ ๕. มือ ๒ ข้างสอดเข้าไป ในคาและไปติดกับขื่อทําด้วยไม้, เรียกสั้น ๆ ว่า จําครบ. (ประชุมพงศ. ๓๙).
ไทยนับสาม, ไทยนับห้า : น. ชื่อวิธีเขียนหนังสือลับอย่างโบราณ เมื่อจะอ่านต้องนับอ่านตัวที่ ๓ หรือที่ ๕ ฯลฯ ตามชื่อ.
บ้าห้าร้อยจำพวก : (สํา) ว. บ้ามากมายหลายประเภท.
พระเจ้าห้าพระองค์ ๒ : น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Dracontomelon dao (Blanco) Merr. et Rolfe ในวงศ์ Anacardiaceae ดอกเล็ก สีขาว.
มะไฟเดือนห้า : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Excoecaria oppositifolia Griff. ในวงศ์ Euphorbiaceae ใช้ทํายาได้ ยางเป็นพิษ.
แมงไฟเดือนห้า : ดู เต่าบ้า.
หะหาย, หะห้าย : ว. เสียงเยาะ เช่น หะหายกระต่ายเต้น ชมแข. (ตำนานเรื่องศรีปราชญ์).
กุรุง : (โบ) น. กรุง เช่น จากกุรุงสาวถีกับสงฆ์ ห้าร้อยหย่อนองค์
เครื่องคู่ : น. ปี่พาทย์เครื่องห้าที่เพิ่มเติมให้เป็นคู่ ๆ คือ ปี่นอกคู่กับปี่ใน ระนาดทุ้มคู่กับระนาดเอก ฆ้องวงเล็กคู่กับฆ้องวงใหญ่ เปิงมางสองหน้า คู่กับโทน ฉาบคู่กับฉิ่ง และกลองคู่หนึ่ง.
จำครบ : ว. จําห้าประการ.
ชฎามหากฐิน : น. ชฎาที่ทํายอดเป็น ๕ ยอด มีขนนกการเวกปัก ตอนบน, ชฎาห้ายอด ก็เรียก.
บัณณาส : [บันนาด] ว. ห้าสิบ. (ป. ปณฺณาส).
บัณรส : [บันนะรด] ว. สิบห้า. (ป. ปณฺณรส).
เบญจดุริยางค์ : น. ปี่พาทย์เครื่องห้า มี ๒ ชนิด คือ เครื่องอย่างเบา ใช้เล่นละครพื้นเมืองชนิดหนึ่งและเครื่องอย่างหนักใช้เล่นโขน ชนิดหนึ่ง, อย่างเบามี ปี่ ๑ ทับ ๒ กลอง ๑ ฆ้องคู่ เป็นเครื่องทํา จังหวะ ๑, อย่างหนักมี ปี่ ๑ ระนาด ๑ ฆ้องวง ๑ กลอง ๑ โทน (ตะโพน) ๑. (ตํานานเครื่องมโหรีปี่พาทย์).
เบญจ-, เบญจะ : [เบนจะ-] ว. ห้า, ลําดับที่ ๕ เช่น นาเบญจะ หัวเมืองเบญจะ มาตรา ... เบญจะ. (ป. ปญฺจ; ส. ปญฺจนฺ), มักใช้เป็นส่วนหน้า สมาส.
เบญจเพส : ว. ยี่สิบห้า เช่น อายุถึงเบญจเพส. (ป. ปญฺจวีส).
เบญจวรรณ : ว. ๕ สี, ๕ ชนิด. น. นกแก้วขนาดโตมีหลายสี. เบญจวรรณห้าสี น. ชื่อกลบทอย่างหนึ่ง.
ปัญจวีสติ : [-วีสะติ] (แบบ) ว. ยี่สิบห้า. (ป.).
ปัญญาส- : [ปันยาสะ-] (แบบ) ว. ห้าสิบ. (ป.).
ปัณณาส : ว. ห้าสิบ. (ป.).
ปัณรส- : [ปันนะระสะ-] ว. สิบห้า. (ป. ปณฺณรส).
พม่า ๒ : [พะม่า] น. ชื่อเพลงไทยจําพวกหนึ่ง มีชื่อขึ้นต้นด้วยคําว่า พม่า เช่น พม่ากล่อม พม่าเห่ พม่ากําชับ พม่าห้าท่อน.
พระเจ้า : น. พระพุทธเจ้า เช่น พระเจ้าห้าพระองค์, พระพุทธรูป เช่น ทุกแห่งห้องพระเจ้า นั่งเนือง. (กําสรวล), เทพผู้เป็นใหญ่; คํานําหน้า พระเจ้าแผ่นดินและเจ้านายเช่น พระเจ้ากรุงธนบุรี พระเจ้าลูกเธอ; พระเศียรหรือพระเกศาพระเจ้าแผ่นดิน.
เพส : ว. ยี่สิบ เช่น เบญจเพส ว่า ยี่สิบห้า. (ป. วีส).
ริ้ว : น. เส้นลายหรือสิ่งอื่นที่มีลักษณะเป็นรอย เป็นทาง ๆ เป็นแถวหรือเป็น แนวยาวไป เช่น ผ้าขาดเป็นริ้ว ริ้วขบวน ริ้วปลาแห้ง, ลักษณนามเรียก สิ่งที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น เรียกปลาแห้งที่ผ่าเป็น ๕ ริ้ว ว่า ปลา ๕ ริ้ว หรือเรียกสั้น ๆ ว่า ปลาห้า.
ลาช, ลาชะ, ลาชา : [ลาด, ลาชะ] น. ข้าวตอก เช่น อนนเรืองรองด้วยจตุรพรรณมาลา ลาชาชาติห้าสิ่ง. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์). (ป., ส.).
ลายเฉลว ๕ มุม : น. ชื่อลายจักสานลายหนึ่ง ใช้ในการสานตะกร้อ จะสานด้วยหวายหรือไม้ไผ่ก็ได้ วิธีสานเหมือนกับสานตาเฉลว โปร่ง แต่ใช้หวาย ๕ เส้นเรียงกันเป็นแถบและสานให้มีลักษณะ เป็นตาห้าเหลี่ยม.
สัตถันดร, สัตถันดรกัป : [สัดถันดอน, สัดถันดะระกับ] น. ชื่อกัปหรือกัลป์หนึ่ง ซึ่งถือว่าคน เสื่อมจากศีลธรรมอย่างที่สุด มีการรบราฆ่าฟันกัน ไม่รู้จักญาติพี่น้อง เช่น ห้าขวบมีฆราวาส ใจร้ายกาจโกลี กัลปนั้นมีนามกร ชื่อสัตถันดร พึงมี. (มาลัยคําหลวง). (ป. สตฺถ + อนฺตร).
สับ ๓ : ว. ถ้วน, พอดี, เช่น ห้าสองหนเป็นสิบสับ. (มูลบทบรรพกิจ).
หก ๓ : น. จํานวนห้าบวกหนึ่ง; ชื่อเดือนจันทรคติ เรียกว่า เดือน ๖ ตกในราวเดือน พฤษภาคม.
หมาย : น. หนังสือราชการที่ใช้เกณฑ์ เกาะกุม หรือ เรียกตัว เป็นต้น เช่น หมาย เกณฑ์ หมายจับ หมายศาล, (กฎ) หนังสือคําสั่งของศาลหรือเจ้าพนักงาน สั่งให้กระทําการ หรือห้ามกระทําการอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น หมายเกณฑ์ หมายจับ หมายค้น หมายเรียก. ก. มุ่ง เช่น เป้าที่หมายไว้, คาด, กะ, เช่น หมายว่าจะได้ผล หมายว่าจะพบ, ขีดไว้เป็นเครื่องกําหนด เช่น หมายหัว กระดาษ ใช้ปูนหมายหัวไว้.
หา ๑ : ก. มุ่งพบ, พบ, เช่น ไปหาหมอ เพื่อนมาหา; เยี่ยม, เยี่ยมเยียน, เช่น เพิ่ง ทราบว่าครูกำลังป่วย ต้องไปหาท่านเสียหน่อย; ฟ้อง, กล่าวโทษ, เช่น เขาหาว่า...; พึ่ง เช่น ไม่รู้จะหันหน้าไปหาใคร; บางทีก็ใช้ควบกับคำอื่น มีความหมายว่า ขวนขวายเพื่อให้ได้มาโดยวิธีต่าง ๆ เช่น ค้นหา สืบหา เที่ยวหา ตามหา เสาะหา แสวงหา. บ. ที่ เช่น เขาอยู่หาไหน ๆ ก็ไม่รู้ จะไปตามตัวเขาได้อย่างไร; สู่ เช่น เด็กว่ายน้ำเข้าหาฝั่ง.
หา ๒ : ว. เสียงซักหรือเตือนให้ตอบ เช่น ว่ากระไรหา.
หาไม่ ๒, หา...ไม่ : ว. ใช้ในความปฏิเสธ นิยมใช้คร่อมกับคำนามหรือคำ กริยา เช่น หาใช่คนไม่ = ไม่ใช่คน หาพบไม่ = ไม่พบ.
หาเช้ากินค่ำ : ก. หาเลี้ยงชีพด้วยความลำบากยากแค้นพอประทังชีวิตไป วันหนึ่ง ๆ.
หาตัวจับยาก : (สํา) ว. เก่งมาก, หาคนเทียบเท่าได้ยาก, เช่น เขาเป็นคน เรียนเก่งหาตัวจับยาก เขาเล่นการพนันเก่งหาตัวจับยาก.
หาทำยายาก : (สำ) ก. หาได้ยากเพราะไม่ค่อยมีทำนองเดียวกับสมุนไพร บางอย่างในที่บางแห่งหาได้ยากมาก.
หาเรื่อง : ก. ทําให้เกิดเหตุ เช่น อยู่ดี ๆ ก็ไปหาเรื่อง, เอาความไม่ดีมาให้ เช่น เด็กคนนี้หาเรื่องให้ปวดหัวอยู่เรื่อย; หาสาเหตุเพื่อทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น หาเรื่องกินเหล้ากัน; ชวนวิวาท เช่น พวกเรานั่งอยู่ดี ๆ มาหาเรื่อง กันได้.