Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: องค์ประกอบ, ประกอบ, องค์ , then ประกอบ, องค, องค์, องค์ประกอบ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : องค์ประกอบ, 792 found, display 1-50
  1. องค์ประกอบ : น. สิ่งต่าง ๆ ที่ใช้ประกอบเป็นสิ่งใหญ่, ส่วนของสิ่ง ต่าง ๆ ที่เป็นเครื่องประกอบทําให้เกิดเป็นรูปขึ้นใหม่โดยเฉพาะ, ส่วนประกอบ ก็เรียก
  2. ประกอบ : ก. เอาชิ้นส่วนต่าง ๆ มารวมหรือคุมกันเข้าเป็นรูปร่างตามที่ต้องการ เช่น ประกอบรถยนต์; ทํา เช่น ประกอบอาชีพ ประกอบธุรกิจ; ประสมหรือปรุงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เช่น ประกอบยา; เสริม, เพิ่มเติม, เช่น อธิบายประกอบ.
  3. ปัจจัย : น. เหตุอันเป็นทางให้เกิดผล, หนทาง, เช่น การศึกษาเป็นปัจจัย ให้เกิดความรู้ความสามารถ, องค์ประกอบ, ส่วนประกอบ, เช่น ปัจจัยในการผลิต, คำ ''ปัจจัย'' กับ คํา ''เหตุ'' มักใช้แทนกันได้; เครื่องอาศัยยังชีพ, เครื่องอาศัยเลี้ยงชีวิตของบรรพชิตใน พระพุทธศาสนา ๔ อย่าง คือ จีวร (ผ้านุ่งห่ม) บิณฑบาต (อาหาร) เสนาสนะ (ที่อยู่) คิลานเภสัช (ยา) รวมเรียกว่า จตุปัจจัย คือ ปัจจัย ๔, คือ ปัจจัย ๔, โดยปริยายหมายถึงเงินตราก็ได้ (มักใช้ แก่ภิกษุสามเณร); (ไว)ส่วนเติมท้ายธาตุหรือศัพท์เพื่อแสดง ความหมายเป็นต้น. (ป.).
  4. ส่วนประกอบ : น. สิ่งต่าง ๆ ที่ใช้ประกอบเป็นสิ่งใหญ่, ส่วนของสิ่ง ต่าง ๆ ที่เป็นเครื่องประกอบทําให้เกิดเป็นรูปขึ้นใหม่โดยเฉพาะ, องค์ประกอบ ก็เรียก.
  5. องค, องค์ : [องคะ] น. ส่วนของร่างกาย, อวัยวะ, ตัว (ราชาศัพท์ใช้สำหรับ พระมหากษัตริย์ พระบรมราชินี และพระบรมวงศ์ชั้นสูงที่ทรง ได้รับพระราชทานฉัตร ๗ ชั้น ใช้ว่า พระองค์ เช่น แต่งพระองค์); ส่วนย่อยที่เป็นองค์ประกอบ เช่น มรรคมีองค์ ๘; ในราชาศัพท์ใช้ เป็นลักษณนามเรียกอวัยวะหรือสิ่งของ หรือคำพูด เป็นต้น ของ กษัตริย์หรือเจ้านาย เช่น พระทนต์ ๑ องค์ (ฟัน ๑ ซี่) พระศรี ๑ องค์ (หมาก ๑ คํา) พระที่นั่ง ๑ องค์ พระบรมราโชวาท ๒ องค์; ลักษณนาม ใช้เรียกสิ่งที่เคารพบูชาบางอย่างในทางศาสนา เช่น พระพุทธรูป ๑ องค์ พระเจดีย์ ๒ องค์, (ปาก) ลักษณนามใช้เรียกภิกษุสามเณร นักบวชในศาสนาอื่น เช่น ภิกษุ ๑ องค์ บาทหลวง ๒ องค์. (ป., ส. องฺค).
  6. ซูโครส : [–โคฺร้ด] (วิทยา) น. นํ้าตาลชนิดหนึ่งประเภทไดแซ็กคาไรด์ ลักษณะเป็นของแข็งสีขาว หลอมละลายที่ ๑๘๐บซ. องค์ประกอบ เป็นโมเลกุลของกลูโคสเชื่อมกับโมเลกุลของฟรักโทส มีรสหวานจัด มักทําจากต้นอ้อย, สามัญเรียกว่า นํ้าตาลทราย. (อ. sucrose).
  7. สงฆ์ : น. ภิกษุ เช่น ของสงฆ์ พิธีสงฆ์, บางทีก็ใช้ควบกับคํา พระ หรือ ภิกษุ เป็น พระสงฆ์ หรือ ภิกษุสงฆ์ เช่น นิมนต์พระสงฆ์มาเจริญ พระพุทธมนต์ มีภิกษุสงฆ์มารับบิณฑบาตมาก, ลักษณนามว่า รูป หรือ องค์ เช่น ภิกษุสงฆ์ ๒ รูป พระสงฆ์ ๔ องค์; ภิกษุตั้งแต่ ๔ รูป ขึ้นไปร่วมกันทําสังฆกรรม แต่จํานวนภิกษุที่เข้าร่วมสังฆกรรม แต่ละอย่างไม่เท่ากัน คือในสังฆกรรมทั่ว ๆ ไป เช่น ในการสวด พิธีธรรม สวดอภิธัมมัตถสังคหะ ประกอบด้วยภิกษุ ๔ รูป เรียกว่า สงฆ์จตุรวรรค ในการรับกฐิน สวดพระปาติโมกข์ ปวารณากรรม และอุปสมบทในถิ่นที่ขาดแคลนภิกษุ ต้องประกอบด้วยภิกษุ ๕ รูป เรียกว่า สงฆ์ปัญจวรรค ในการอุปสมบทในถิ่นที่มีภิกษุมาก ต้อง ประกอบด้วยภิกษุ ๑๐ รูป เรียกว่า สงฆ์ทสวรรค และในการสวด อัพภานระงับอาบัติสังฆาทิเสส ต้องประกอบด้วยภิกษุ ๒๐ รูป เรียกว่า สงฆ์วีสติวรรค, ภิกษุที่เข้าร่วมสังฆกรรมดังกล่าว ถ้ามากกว่า จํานวนที่กําหนดจึงจะใช้ได้ ถ้าขาดจํานวนใช้ไม่ได้. (ป. สงฺฆ; ส. สํฆ).
  8. ประกอบด้วย : ก. มี, มีมาก, เช่น ประกอบด้วยเมตตา, กอบด้วย ก็ว่า.
  9. องค์ประชุม : น. จํานวนสมาชิกหรือกรรมการที่มาประชุมตามข้อ บังคับการประชุมที่กำหนดไว้ เช่น กรรมการต้องมาประชุมอย่างน้อย ครึ่งหนึ่งจึงจะถือว่าเป็นองค์ประชุม.
  10. ประกอบอาหาร : ก. ทําหรือปรุงแต่งอาหารต่าง ๆ.
  11. องค์กฐิน : น. ผ้ากฐิน, ผ้าผืนที่ถวายสงฆ์เพื่อกรานกฐิน.
  12. undefined : น. รังผึ้ง มักมีลักษณะเป็นแผงคล้ายรูปสามเหลี่ยมห้อยลงมา, ลักษณนาม ว่า รวง เช่น รวงผึ้ง ๒ รวง; องค์ประกอบของอาคาร มีลักษณะเป็นแผงรูป สามเหลี่ยมเรียงกันใต้กระจังฐานพระที่หน้าบันโบสถ์ วิหาร หรือมุขเด็จ.
  13. กฐิน, กฐิน- : [กะถิน, กะถินนะ-] น. ผ้าพิเศษที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตแก่ ภิกษุสงฆ์เฉพาะกฐินกาล, ตามศัพท์แปลว่า ไม้สะดึง คือ กรอบไม้สำหรับขึงผ้าที่จะเย็บเป็นจีวร; คํา กฐิน นี้ ใช้ประกอบ กับคําอื่นอันเนื่องด้วยพิธีกฐิน ผ้าที่ถวายแก่ภิกษุสงฆ์ในพิธีนี้ เรียกว่า ผ้ากฐิน ในฤดูกาลเรียกว่า กฐินกาล [กะถินนะกาน] คือระยะเวลาตั้งแต่แรมค่าหนึ่ง เดือน ๑๑ ถึงกลางเดือน ๑๒ ระยะเวลานี้เรียกเป็นสามัญว่า เทศกาลกฐิน [เทดสะกานกะถิน] ฤดูกฐิน หรือ หน้ากฐิน ก็มี ก่อนจะถึงกฐินกาลผู้ประสงค์จะถวาย ผ้ากฐินแก่ภิกษุสงฆ์วัดใดจะต้องไปแจ้งความจํานงว่าจะนำผ้ากฐิน ไปทอดที่วัดนั้นเป็นการล่วงหน้า การแสดงความจํานงล่วงหน้านี้ เรียกว่า จองกฐิน การทําพิธีถวายผ้ากฐิน เรียกว่า ทอดกฐิน พระภิกษุผู้ได้รับมอบผ้ากฐินจากสงฆ์โดยวิธีที่กําหนดไว้ใน พระวินัย เรียกว่า ผู้กรานกฐิน ผู้ครองกฐิน หรือ องค์ครองกฐิน เฉพาะผ้ากฐิน บางทีก็เรียกว่า องค์กฐิน ถ้าพร้อมกับของอื่นอัน เป็นบริวารสําหรับถวายภิกษุสงฆ์ เรียกว่า เครื่องกฐิน หรือ บริวารกฐิน [บอริวานกะถิน] เมื่อนําผ้ากฐินไปทอดโดยมีขบวน แห่ เรียกว่า แห่กฐิน ถ้ามีพิธีฉลอง เรียกว่า ฉลองกฐิน การที่ภิกษุสงฆ์ผู้ร่วมอยู่ในพิธีอนุโมทนาต่อองค์ครองกฐิน ตามพระวินัย หรือการที่บุคคลแสดงความยินดีในการที่เขาทอดกฐิน เรียกว่า อนุโมทนากฐิน [อะนุโมทะนากะถิน] ภิกษุสงฆ์ผู้ได้ อนุโมทนากฐินแล้วนั้น ย่อมได้ชื่อว่าเป็น ผู้กรานกฐิน ด้วย ผลของ การทอดกฐิน เรียกว่า อานิสงส์กฐิน, ในทางวินัยสิทธิพิเศษ ๕ ประการซึ่งมีแก่ภิกษุผู้ได้กรานกฐินแล้ว ก็เรียกว่า อานิสงส์กฐิน เช่นกัน. (ดู กรานกฐิน และ จุลกฐิน).
  14. กรมการจังหวัด : น. คณะกรมการจังหวัด; กรมการจังหวัดแต่ละคน ที่เป็นองค์ประกอบของคณะกรมการจังหวัด. (ดู คณะกรมการจังหวัด).
  15. กรมการอำเภอ : (เลิก) น. คณะกรมการอำเภอ; กรมการอำเภอแต่ละ คนที่เป็นองค์ประกอบของคณะกรมการอำเภอ.
  16. กำมะถัน : น. ธาตุสีเหลือง ติดไฟง่าย กลิ่นเหม็นฉุน ใช้ทํายา ทําดินปืน ฯลฯ, สุพรรณถัน ก็ว่า; (วิทยา) ธาตุลําดับที่ ๑๖ สัญลักษณ์ S เป็นอโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง มีอัญรูปหลายแบบ ใช้ประโยชน์ได้มากมาย เช่น ในอุตสาหกรรมทํากรดซัลฟิวริก อุตสาหกรรมยาง ทําหัวไม้ขีดไฟ ดินปืน ดอกไม้เพลิง และ ยารักษาโรค, ยาประเภทซัลฟาและประเภทเพนิซิลลินก็มีธาตุกํามะถันเป็น องค์ประกอบด้วย. (อ. sulphur).
  17. คาร์บอน : น. ธาตุลําดับที่ ๖ สัญลักษณ์ C เป็นอโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง มีหลายอัญรูป เช่น เพชร แกรไฟต์ คาร์บอนเป็นธาตุองค์ประกอบ ที่สําคัญที่สุดธาตุหนึ่งของสิ่งที่มีชีวิต. (อ. carbon).
  18. แคลเซียม : [แคน-] น. ธาตุลําดับที่ ๒๐ สัญลักษณ์ Ca เป็นโลหะ ลักษณะเป็น ของแข็งสีขาว เนื้ออ่อน หลอมละลายที่ ๘๓๘ํซ. เป็นองค์ประกอบ สําคัญของกระดูก ฟัน หินอ่อน หินปูน. (อ. calcium).
  19. เงินเยอรมัน : น. โลหะเจือซึ่งมีองค์ประกอบโดยประมาณเป็นทองแดง ๕ ส่วน สังกะสี ๒ ส่วน และนิกเกิล ๒ ส่วน. (อ. German silver).
  20. เงินสเตอร์ลิง : น. โลหะเจือซึ่งประเทศอังกฤษเคยใช้ทําเงินตรา มี องค์ประกอบเป็นโลหะเงินร้อยละ ๙๒.๕ ทองแดงร้อยละ ๗.๒ ตะกั่วร้อยละ ๐.๒ และทองคําร้อยละ ๐.๑. (อ. sterling silver).
  21. จันทรกานต์ : น. แร่ประกอบหินที่มีค่าสูงชนิดหนึ่ง จัดอยู่ในพวกรัตนชาติ มีโพแทสเซียมอะลูมิเนียมซิลิเกต (KAlSi3O8) เป็นองค์ประกอบสําคัญ ปรกติมีสีขาวปนฟ้าหรือสีเหลืองขุ่นมัวอย่างนํ้านม แต่มีวาวขาวฉาบหน้า เหมือนวาวมุกในหอยมุก หรือวาวแสงจันทร์ในหยาดนํ้าค้าง. (ส.; อ. moonstone).
  22. จาดตะกั่ว : น. สารประกอบชนิดหนึ่งของธาตุตะกั่ว เป็นสารสี สีขาว มีสูตร 2PbCO3•Pb(OH)2 ใช้เป็นองค์ประกอบของสีทาบางประเภท. (อ. white lead).
  23. จำนวนเชิงซ้อน : (คณิต) น. จํานวนที่มีองค์ประกอบ ๒ ส่วน เขียนได้ เป็น a + bi โดย a และ b เป็นจํานวนจริง และ i๒ = -๑.
  24. ชีวเคมี : น. วิชาเคมีสาขาหนึ่งที่ศึกษาเกี่ยวกับองค์ประกอบ ทางเคมีของสิ่งที่มีชีวิตและการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น กับองค์ประกอบเหล่านั้น ตลอดจนกระบวนการต่าง ๆ ที่ ควบคุมการเปลี่ยนแปลงนั้น ๆ. (อ. biochemistry).
  25. ซีเมนต์ : น. วัสดุใช้ในการก่อสร้างชนิดหนึ่ง ลักษณะเป็นผง เมื่อผสมคลุกกับ นํ้าแล้วทิ้งไว้จะเกิดปฏิกิริยาเคมีเป็นผลให้เกิดการก่อตัวและแข็งตัวได้ องค์ประกอบเคมีที่สําคัญของซีเมนต์ คือ แคลเซียมซิลิเกต แคลเซียมอะลูมิเนต และแคลเซียมอะลูมิโนเฟอร์ไรต์ ใช้ประโยชน์ เพื่อทําคอนกรีต ปูนฉาบ หรือ ปูนก่อเป็นต้น เรียกว่า ปูนซีเมนต์. (อ. cement).
  26. เซลลูโลส : น. สารประกอบคาร์โบไฮเดรตประเภทโพลีแซ็กคาไรด์ชนิดที่ ซับซ้อน มีสูตรเคมี (C6H10O5)n ประกอบด้วยโมเลกุลของกลูโคส มากมายเชื่อมโยงกัน เซลลูโลสเป็นองค์ประกอบสําคัญของเนื้อไม้ ฝ้าย ใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมพลาสติก กระดาษ ไหมเทียม ดินระเบิด ฟิล์มภาพยนตร์ หรือฟิล์มถ่ายรูปชนิดไม่ไวไฟ เป็นต้น. (อ. cellulose).
  27. โซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต : น. เกลือกรดชนิดหนึ่ง มีสูตร NaHCO3 ลักษณะเป็นผงสีขาว ใช้ประโยชน์เป็นตัวทําให้ขนมมีลักษณะฟูพรุน เช่น ขนมปัง ใช้เป็นองค์ประกอบเคมีในเครื่องดับเพลิง ทางแพทย์ใช้ เป็นตัวลดกรดในกระเพาะอาหาร. (อ. Sodium hydrogen carbonate).
  28. ฌาน : [ชาน] น. ภาวะที่จิตสงบแน่วแน่เนื่องมาจากการเพ่งอารมณ์, การเพ่ง อารมณ์จนจิตแน่วแน่เป็นสมาธิ, เรียกลักษณะการทําจิตให้สงบตาม หลักทางศาสนาว่า เข้าฌาน เช่น พระเข้าฌาน ฤษีเข้าฌาน, โดย ปริยายหมายถึงนั่งหลับหรือนั่งเหม่อใจลอยไม่รับรู้อะไร เรียกว่า เข้าฌาน, ฌานนั้นจัดเป็น ๔ ชั้น เรียกชื่อตามลําดับที่ประณีตขึ้นไป กว่ากัน คือ ปฐมฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๑ มีองค์ ๕ คือ ยังมีตรึก ซึ่งเรียก ว่า วิตก มีตรอง ซึ่งเรียกว่า วิจาร เหมือนอารมณ์แห่งจิตของคนสามัญ มีปีติ คือความอิ่มใจ มีสุข คือความสบายใจอันเกิดแต่วิเวกคือความ เงียบ และประกอบด้วยจิตมีอารมณ์เป็นหนึ่งลงไปซึ่งเรียกว่า เอกัคตา, ทุติยฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๒ มีองค์ ๓ คือ ละวิตกวิจารเสียได้ คงอยู่แต่ปีติและสุขอันเกิดแต่สมาธิกับเอกัคตา, ตติยฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๓ มีองค์ ๒ คือ ละปีติเสียได้ คงอยู่แต่สุขกับเอกัคตา, จตุตถฌาน ได้แก่ ฌานที่ ๔ มีองค์ ๒ เหมือนกัน ละสุขเสียได้ กลายเป็นอุเบกขาคือเฉย ๆ กับเอกัคตา, ฌานทั้ง ๔ นี้จัดเป็นรูปฌาน เป็นรูปสมาบัติ มีรูปธรรมเป็นอารมณ์ สงเคราะห์เข้าในรูปาวจรภูมิ. (ป.; ส. ธฺยาน).
  29. ทางสายกลาง : น. มรรคมีองค์ ๘ อันเป็นทางที่จะนำไปสู่ความ ดับทุกข์ ประกอบด้วย ๑. สัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ ๒. สัมมาสังกัปปะ ความดำริชอบ ๓. สัมมาวาจา การเจรจาชอบ ๔. สัมมากัมมันตะ การงานชอบ ๕. สัมมาอาชีวะ การเลี้ยงชีวิตชอบ ๖. สัมมาวายามะ ความพยายามชอบ ๗. สัมมาสติ ความระลึกชอบ ๘. สัมมาสมาธิ ความตั้งใจชอบ รวมเรียกว่า มัชฌิมาปฏิปทา แปลว่า ทางสายกลาง; การปฏิบัติที่ไม่ตึงนักไม่หย่อนนัก, การปฏิบัติที่ไม่ตึงไปทางใด ทางหนึ่ง.
  30. น้ำ : น. สารประกอบซึ่งมีองค์ประกอบเป็นธาตุไฮโดรเจนและออกซิเจน ในอัตราส่วน ๑ : ๘โดยนํ้าหนัก เมื่อบริสุทธิ์มีลักษณะเป็นของเหลว ใส ไม่มีสี กลิ่น รส มีประโยชน์มากเช่นใช้ดื่ม ชําระล้างสิ่งสกปรก, โบราณถือว่าเป็น ธาตุ ๑ ในธาตุ ๔ คือ ดิน นํ้า ไฟ ลม, ใช้เรียกสิ่งอื่น ที่มีลักษณะเป็นนํ้าหรือเหลวเหมือนนํ้า เช่น นํ้าตา นํ้าปลา นํ้าพริก นํ้าส้ม; โดยปริยายหมายถึงคุณสมบัติที่ถือว่าเป็นสาระของสิ่งที่กล่าวถึง เช่น นํ้าคํา นํ้าใจ นํ้าพัก นํ้าแรง นํ้ามือ; ความแวววาว (ใช้แก่รัตนชาติ); ลักษณนามเรียกเรือที่ใช้มาแล้ว ๒ ปี ๓ ปี ว่า เรือ ๒ นํ้า เรือ ๓ นํ้า, และ ที่ใช้เกี่ยวกับนํ้าหมายความว่า ครั้ง เช่น ล้าง ๓ นํ้าต้ม ๓ นํ้า. ว. มีแสง แวววาว (ใช้แก่รัตนชาติ) เช่น เพชรนํ้าหนึ่ง ทับทิมนํ้างาม.
  31. นิวตรอน : น. อนุภาคมูลฐานชนิดหนึ่งซึ่งเป็นองค์ประกอบของนิวเคลียสของ อะตอมของธาตุทุกชนิดยกเว้นไฮโดรเจนธรรมดา อนุภาคนี้ไม่มี ประจุไฟฟ้าและมีมวล ๑.๖๗๔๘๒ x ๑๐ x ๒๗ กิโลกรัม. (อ. neutron).
  32. ไนโตรเจน : น. ธาตุลําดับที่ ๗ สัญลักษณ์ N เป็นอโลหะ ลักษณะเป็นแก๊ส ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่ไวต่อปฏิกิริยาเคมี มีปรากฏอยู่ประมาณร้อยละ ๘๐ ใน บรรยากาศ ธาตุนี้มีความสําคัญยิ่งต่อสิ่งมีชีวิต โดยเป็นองค์ประกอบ สําคัญของโปรตีนและกรดนิวคลิอิก. (อ. nitrogen).
  33. ปิโตรเลียม : น. นํ้ามันดิบ ประกอบด้วยสารไฮโดรคาร์บอนและสารอินทรีย์ อื่น ๆ อีกมาก องค์ประกอบไม่แน่นอนแล้วแต่แหล่งที่พบ. (อ. petroleum).
  34. ปูนซีเมนต์ : น. วัสดุใช้ในการก่อสร้างชนิดหนึ่ง ลักษณะเป็นผง เมื่อผสมคลุกกับนํ้าแล้วทิ้งไว้จะเกิดปฏิกิริยาเคมีเป็นผลให้เกิดการ ก่อตัวและแข็งตัวได้ องค์ประกอบเคมีที่สําคัญคือ แคลเซียมซิลิเกต แคลเซียมอะลูมิเนต และแคลเซียมอะลูมิโนเฟอร์ไรต์ ใช้ประโยชน์ เพื่อทําคอนกรีต ปูนฉาบ หรือ ปูนก่อ.
  35. โปรตอน : [โปฺร-] น. อนุภาคมูลฐานชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นองค์ประกอบของ นิวเคลียสแห่งอะตอมของธาตุทุกชนิด อนุภาคนี้มีประจุไฟฟ้า บวก มีมวล ๑.๖๗๒๕๒ x ๑๐-๒๗ กิโลกรัม. (อ. proton).
  36. ผงขาว : น. ยาเสพติดร้ายแรงชนิดหนึ่ง มีองค์ประกอบส่วนใหญ่ เป็นสารประเภทแอลคาลอยด์ คือ มอร์ฟีน เฮโรอีน และแอลคาลอยด์ อื่น ๆ ที่ได้จากฝิ่น ลักษณะเป็นของแข็ง เมื่อทําให้ร้อนจะแปร สภาพเป็นไอ.
  37. ผงซักฟอก : น. สารอินทรีย์ชนิดหนึ่ง ลักษณะเป็นผง มีหลายชนิด มีองค์ประกอบที่สําคัญแตกต่างกัน เช่น ประกอบด้วยโซเดียม ลอริลซัลเฟต (sodium lauryl sulphate) หรือโซเดียมอัลคิลอะริล ซัลโฟเนต (sodium alkyl aryl sulphonate) เป็นต้น ใช้ประโยชน์ ในการซักฟอกได้ดีกว่าสบู่ ทั้งใช้ซักฟอกในนํ้าอ่อน นํ้ากระด้าง หรือนํ้าเค็มได้ดี.
  38. พระ : [พฺระ] น. คำใช้แทนชื่อเรียกภิกษุสงฆ์ เช่น วัดนี้มีพระกี่องค์ พระลง โบสถ์, พระพุทธรูป เช่น ชักพระ ไหว้พระในโบสถ์, พระพุทธเจ้า หรือ เนื่องด้วยพระพุทธเจ้า เช่น เมืองพระ คําพระ พระมาตรัส, ชื่อวันประชุมถือศีลฟังธรรมในพระพุทธศาสนา เดือนหนึ่งมี ๔ วัน คือ วันขึ้น ๘ ค่ำ ขึ้น ๑๕ ค่ำ แรม ๘ ค่ำ และแรม ๑๕ ค่ำ ถ้าเป็น เดือนขาดก็แรม ๑๔ ค่ำ เรียกว่า วันพระ; พระเจ้า, พระเยซู, (ตามที่ คริสต์ศาสนิกชนในเมืองไทยใช้อนุโลมเรียก) เช่น พระลงโทษ แม่พระ; นักบวช, นักพรต, เช่น พระไทยพระแขก พระฝรั่ง พระจีน พระญวน; ตัวเอกในเรื่องละคร เช่น ตัวพระตัวนาง; ใช้ประกอบ หน้าคําอื่นแสดงความยกย่อง ๑. เทพเจ้าหรือเทวดาผู้เป็นใหญ่ เช่น พระอิศวรพระนารายณ์ พระพิรุณ ๒. พระเจ้าแผ่นดินหรือของที่ เกี่ยวข้องกับพระเจ้าแผ่นดินและเจ้านายชั้นสูง เช่น พระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ ๓. สมณศักดิ์ชั้นราชาคณะ เช่น พระราชเวที พระเทพ เมธี ๔. นักบวช เช่น พระแดง ๕. สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น พระภูมิ; อิสริยยศ เจ้านาย เช่น พระรามคําแหง พระนเรศวร พระเทียรราชา; บรรดาศักดิ์ ข้าราชการสูงกว่าหลวง ต่ำกว่าพระยา เช่น พระสารประเสริฐ พระธรรมนิเทศทวยหาญ, ใช้ประกอบหน้าชื่อบรรดาศักดิ์พระสนม; โดยปริยายหมายถึงผู้ที่มีเมตตากรุณาทรงคุณงามความดีเหมือนพระ เช่น ใจพระ พ่อแม่เป็นพระของลูก. ส. คําใช้แทนผู้ที่เราพูดถึง ใช้กับ ผู้เป็นใหญ่ เช่น พระเสด็จโดยแดนชล, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓.
  39. มรรค, มรรค-, มรรคา : [มัก, มักคะ-, มันคา] น. ทาง; เหตุ, ใช้คู่กับ ผล ว่า เป็นมรรคเป็นผล; ในพระพุทธศาสนา เป็นชื่อแห่งโลกุตรธรรม คู่กับ ผล มี ๔ ชั้น คือ โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตมรรค, ทางที่จะนำไปสู่ความพ้นทุกข์ เป็น ๑ ในอริยสัจ ๔ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค เรียกเต็มว่า มรรคมีองค์ประกอบด้วย สัมมาทิฐิ - ความเห็นชอบ ๑ สัมมาสังกัปปะ - ความดำริชอบ ๑ สัมมาวาจา - การเจรจาชอบ ๑ สัมมากัมมันตะ - การงานชอบ ๑ สัมมาอาชีวะ - การเลี้ยงชีวิตชอบ ๑ สัมมาวายามะ - ความพยายามชอบ ๑ สัมมาสติ - ความระลึกชอบ ๑ สัมมาสมาธิ -ความตั้งใจชอบ ๑ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มัชฌิมาปฏิปทา คือ ทางสายกลาง. (ส. มารฺค; ป. มคฺค).
  40. มอลโทส : (วิทยา) น. นํ้าตาลชนิดหนึ่งประเภทไดแซ็กคาไรด์ ลักษณะเป็น ของแข็งสีขาว หลอมละลายที่ ๑๖๐-๑๖๕ ? ซ. องค์ประกอบเป็น กลูโคส ๒ โมเลกุลเชื่อมกัน เกิดขึ้นเนื่องจากเอนไซม์ไดแอสเทส ซึ่ง นํ้ามีในข้าวมอลต์ ทําปฏิกิริยากับแป้ง มีรสหวานน้อยกว่าตาลทราย. (อ. maltose).
  41. มาฆบูชา : น. การทําบุญพิเศษทางพระพุทธศาสนาในวันเพ็ญ เดือน ๓ เพื่อระลึกถึงเหตุการณ์สําคัญซึ่งประกอบด้วยองค์ ๔ ประการ คือ ๑. วันเพ็ญดวงจันทร์เสวยมาฆฤกษ์ (ดวงจันทร์ เดินมาถึงดาวฤกษ์ชื่อ มฆะ) ๒. พระสงฆ์ ๑,๒๕๐ รูปประชุมกัน โดยมิได้นัดหมาย ๓. พระสงฆ์ที่มาประชุมนั้นล้วนได้รับ เอหิภิกขุอุปสัมปทา ๔. ท่านเหล่านั้นเป็นพระอรหันต์ทั้งสิ้น, (วันจาตุรงคสันนิบาต ก็เรียก. ป. มาฆปูชา).
  42. มิสซา : น. พิธีกรรมในศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิก เพื่อระลึกถึง พระเยซูที่ทรงสั่งเสียสาวกขณะที่รับประทานอาหารมื้อสุดท้าย โดยสัญญาว่า เมื่อประกอบพิธีแบ่งขนมปังดังที่พระองค์กระทํา พระองค์จะเสด็จมาประทับร่วมด้วยทุกครั้ง. (ล. missa; อ. mass).
  43. ยานมาศ, ยานุมาศ : [ยานนะมาด, ยานุมาด] น. พระราชยานคานหามสําหรับพระมหากษัตริย์ มีลักษณะเป็นพระแท่นราชบัลลังก์ทรงสูง หรือ พระแท่นราชบัลลังก์ทรง ราบ มีทั้งที่มีพนักกงและไม่มีพนักกง ปิดทองทั้งองค์ ประกอบเข้ากับคาน หาม ใช้หามหรือหิ้วถวายเป็นพระที่นั่งราชยานในโอกาสเสด็จพระราช ดําเนินโดยกระบวนพยุหยาตราทางบก.
  44. เยี่ยวอูฐ : น. ยาดมชนิดหนึ่ง มีองค์ประกอบเป็นเม็ดแอมโมเนียม คาร์บอเนตผสมนํ้าแอมโมเนียและสารหอมบางอย่าง ใช้สูดดมแก้ อาการวิงเวียน.
  45. รังสีคอสมิก : น. คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีพลังงานสูงยิ่ง มีช่วงคลื่นสั้น ยิ่งกว่ารังสีแกมมามากองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นโปรตอนประมาณ ร้อยละ ๙๐ และพบอิเล็กตรอน อนุภาคแอลฟาด้วยเกิดมาจากอวกาศ นอกโลกพุ่งมาสู่โลก ยังไม่ทราบแหล่งกําเนิดแน่นอน. (อ. cosmic rays).
  46. รีเนียม : น. ธาตุลําดับที่ ๗๕ สัญลักษณ์ Re เป็นโลหะลักษณะเป็นของแข็งสีเทา หลอมละลายที่ ๓๑๘๐?ซ. ใช้ประโยชน์นําไปผสมกับโลหะอื่นให้เป็น โลหะเจือ ใช้ทําอุปกรณ์ไฟฟ้า ใช้เป็นองค์ประกอบของโลหะทนไฟใน จรวด. (อ. rhenium).
  47. แล็กโทส : (วิทยา) น. นํ้าตาลชนิดหนึ่งประเภทไดแซ็กคาไรด์ ลักษณะเป็น ของแข็งสีขาว หลอมละลายที่ ๒๐๓?ซ. องค์ประกอบเป็นโมเลกุล ของกลูโคสเชื่อมกับโมเลกุลของกาแล็กโทส มีปรากฏในนํ้านม ของคนและสัตว์ทุกชนิด มีรสหวานน้อยกว่านํ้าตาลทราย. (อ. lactose).
  48. สเปกตรัม : (ฟิสิกส์) น. ผลที่ได้จากการที่การแผ่รังสีของแม่เหล็กไฟฟ้าถูกแยก ออกเป็นองค์ประกอบต่าง ๆ ตามขนาดของช่วงคลื่นหรือความถี่ ขององค์ประกอบนั้น ๆ. (อ. spectrum).
  49. ออกไซด์ : น. สารประกอบที่มีองค์ประกอบเป็นธาตุออกซิเจนกับธาตุอื่น. (อ. oxide).
  50. อัฏฐังคิกมรรค : [อัดถังคิกะมัก] น. มรรคประกอบด้วยองค์ ๘. (ป. อฏฺ?งฺคิกมคฺค).
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-792

(0.2044 sec)