อนุภาค : น. ชิ้นหรือส่วนขนาดเล็กมาก, ในทางวิทยาศาสตร์มักใช้เรียกส่วน ที่มีขนาดเล็กกว่าอะตอม เช่น อนุภาคแอลฟา อนุภาคบีตา. (อ. particle).
กัมมันตภาพรังสี : [กํามันตะ-] น. การเสื่อมสลายโดยตัวเองของนิวเคลียสของอะตอม ที่ไม่เสถียร เป็นผลให้ได้อนุภาคแอลฟา อนุภาคบีตา รังสีแกมมา ซึ่งเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีช่วงคลื่นสั้นมากและมีพลังงานสูง ทั้งหมดนี้พุ่งออกมาด้วยความเร็วสูงมาก ในบางกรณีอาจมี พลังงานความร้อนและพลังงานแสงเกิดตามมาด้วย เช่น การเสื่อมสลายของนิวเคลียสของธาตุเรเดียมไปเป็นธาตุเรดอน. (อ. radioactivity).
แกมมา : (ฟิสิกส์) น. คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าหรือโฟตอน (photon) ที่มีพลังงานสูงมาก มีช่วงคลื่นสั้นมาก มักเรียกกันว่า รังสีแกมมา เคลื่อนที่ด้วยความเร็วประมาณ ๓๐๐,๐๐๐ กิโลเมตร/วินาที มีอํานาจใน การเจาะทะลุได้สูง สามารถเจาะทะลุแผ่นตะกั่วหนาหลายเซนติเมตรได้ เกิดจากการเสื่อมสลายของสารกัมมันตรังสี เช่น ธาตุเรเดียม ธาตุโคบอลต์-๖๐ หรือเกิดจากการที่อนุภาคบีตาพุ่งชนอะตอมของธาตุ ใช้ประโยชน์ในการแพทย์รักษาโรคมะเร็งและในการเกษตร. (อ. gamma).
แขวนลอย : (เคมี) น. ภาวะที่อนุภาคซึ่งมีขนาดจํากัดแผ่กระจายอยู่ในของไหลหรือ ของแข็งโดยไม่ละลายหรือสลายตัวรวมเป็นเนื้อเดียวกับของไหลหรือ ของแข็งนั้น, สารที่อยู่ในภาวะเช่นนี้เรียกว่า สารแขวนลอย เช่น ฝุ่นใน อากาศ หยดนํ้าเล็ก ๆ ในแก๊ส. (อ. suspension).
ควัน : [คฺวัน] น. สิ่งที่เห็นเป็นสีดําหรือขาวคล้ายหมอกลอยออกมาจากของที่ กําลังไหม้ไฟ หรือจากการเผาไหม้, สิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น; (วิทยา) แก๊สที่มีอนุภาคละเอียดของของแข็งแขวนลอยอยู่.
แคดเมียม : น. ธาตุลําดับที่ ๔๘ สัญลักษณ์ Cd เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง สีเงิน เนื้ออ่อน หลอมละลายที่ ๓๒๑ํซ. เป็นตัวดูดกลืนอนุภาคนิวตรอน ได้ดี จึงทําเป็นแท่ง เรียกว่า แท่งควบคุมในเครื่องปฏิกรณ์นิวเคลียร์. (อ. cadmium).
นิวเคลียส : น. ส่วนใจกลางของอะตอมของธาตุทุกชนิด ส่วนนี้ประกอบด้วยอนุภาค มูลฐานที่สําคัญ ๒ ชนิด คือ โปรตอน และ นิวตรอน (สําหรับอะตอม ของไฮโดรเจนธรรมดา นิวเคลียสมีแต่โปรตอนเท่านั้น ไม่มีนิวตรอน), ส่วนที่สําคัญยิ่งของเซลล์ ลักษณะเหนียวข้นเป็นก้อนประกอบด้วยส่วน ย่อย ๆ อีกหลายชนิด มักอยู่ตอนกลางของเซลล์ที่ยังอ่อนอยู่ และอาจร่น ไปอยู่ริมเซลล์เมื่อแก่เข้า. (อ. nucleus).
นิวตรอน : น. อนุภาคมูลฐานชนิดหนึ่งซึ่งเป็นองค์ประกอบของนิวเคลียสของ อะตอมของธาตุทุกชนิดยกเว้นไฮโดรเจนธรรมดา อนุภาคนี้ไม่มี ประจุไฟฟ้าและมีมวล ๑.๖๗๔๘๒ x ๑๐ x ๒๗ กิโลกรัม. (อ. neutron).
บีตา : (ฟิสิกส์) น. ชื่ออนุภาคที่พุ่งออกมาจากนิวเคลียสของอะตอม กัมมันตรังสี มี ๒ ชนิด คือ อิเล็กตรอน และ โพซิตรอน. (อ. beta particle), มักเรียกกระแสอนุภาคบีตาว่า รังสีบีตา ซึ่ง เคลื่อนที่ด้วยความเร็วประมาณ ๒๙๐,๐๐๐ กิโลเมตรต่อวินาที มีอํานาจในการเจาะทะลุมากกว่ารังสีแอลฟา แต่น้อยกว่ารังสี แกมมา. (อ. beta rays).
ประจุไฟฟ้า : น. อนุภาคที่แสดงอํานาจไฟฟ้าซึ่งได้แก่ โปรตอน และอิเล็กตรอน วัตถุใดที่มีจํานวนโปรตอนมากกว่าจํานวน อิเล็กตรอน ก็กําหนดว่าวัตถุนั้นมีประจุไฟฟ้าบวก แต่ถ้ามีจํานวน อิเล็กตรอนมากกว่าจํานวนโปรตอน ก็กําหนดว่าวัตถุนั้นมีประจุ ไฟฟ้าลบ.
โปรตอน : [โปฺร-] น. อนุภาคมูลฐานชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นองค์ประกอบของ นิวเคลียสแห่งอะตอมของธาตุทุกชนิด อนุภาคนี้มีประจุไฟฟ้า บวก มีมวล ๑.๖๗๒๕๒ x ๑๐-๒๗ กิโลกรัม. (อ. proton).
ฝ้า : น. อนุภาคเล็ก ๆ ที่รวมตัวกัน มีลักษณะเป็นแผ่นบาง ลอยอยู่บนผิวนํ้า หรือติดอยู่ที่แผลเป็นต้น; แผ่นที่ดาดกรุหลังคา เพดาน หรือปิดใต้ตง. ว. ขุ่นมัวไม่ผ่องใส (ใช้แก่ผิว) เช่น กระจกฝ้า เพชรเป็นฝ้า, เรียกหน้า ที่มีลักษณะเป็นจุดหรือรอยผื่นสีคลํ้า ๆ ว่า หน้าเป็นฝ้า.
พลาสมา : น. ส่วนประกอบของเลือดที่แยกเอาเม็ดเลือดออกแล้ว; (ฟิสิกส์) ภาวะหนึ่งของสสาร ณ ภาวะนี้สสารอยู่ในสภาพแก๊สที่ร้อนจัด อย่างยิ่งยวด และแตกตัวเป็นอนุภาคบวกกับอิเล็กตรอนซึ่งมี จํานวนเท่ากันโดยประมาณ สสารในภาวะนี้เป็นตัวนําไฟฟ้าที่ดียิ่ง. (อ. plasma).
โพซิตรอน : [ตฺรอน] น. อนุภาคมูลฐานชนิดหนึ่ง มีมวลเท่ากับอิเล็กตรอน มีประจุไฟฟ้าเท่ากับประจุไฟฟ้าของอิเล็กตรอน แต่เป็นประจุไฟฟ้า บวก เมื่อโพซิตรอนและอิเล็กตรอนอย่างละ ๑ อนุภาคมากระทบกัน ทั้งคู่จะทําลายล้างกันสูญหายไปด้วยกันทั้งสิ้น และให้พลังงาน มากมายเกิดขึ้นในรูปของรังสีแกมมา, แอนติอิเล็กตรอน ก็เรียก. (อ. positron).
ฟ้าหลัว : น. อากาศมัวเนื่องจากในอากาศขณะนั้นมีอนุภาคที่มอง ไม่เห็น เช่น เกลือจากทะเล ควันไฟ ฝุ่นละอองปะปนอยู่เป็น จํานวนมาก.
ไฟฟ้า : น. พลังงานรูปหนึ่งซึ่งเกี่ยวข้องกับการแยกตัวออกมา หรือการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนหรือโปรตอนหรืออนุภาคอื่นที่มี สมบัติแสดงอํานาจคล้ายคลึงกับอิเล็กตรอนหรือโปรตอน ใช้ประโยชน์ก่อให้เกิดพลังงานอื่น เช่น ความร้อน แสงสว่าง การเคลื่อนที่.
รังสีคอสมิก : น. คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีพลังงานสูงยิ่ง มีช่วงคลื่นสั้น ยิ่งกว่ารังสีแกมมามากองค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นโปรตอนประมาณ ร้อยละ ๙๐ และพบอิเล็กตรอน อนุภาคแอลฟาด้วยเกิดมาจากอวกาศ นอกโลกพุ่งมาสู่โลก ยังไม่ทราบแหล่งกําเนิดแน่นอน. (อ. cosmic rays).
อะตอม : น. ส่วนที่เล็กที่สุดของธาตุซึ่งเข้าทําปฏิกิริยาเคมีได้ อะตอม ประกอบด้วยอนุภาคมูลฐานที่สําคัญ คือ นิวเคลียสเป็นแกนกลาง และมีอิเล็กตรอนเคลื่อนที่อยู่โดยรอบ, เดิมเรียกว่า ปรมาณู. (อ. atom).
อิเล็กตรอน : [ตฺรอน] น. อนุภาคมูลฐานชนิดหนึ่ง ซึ่งเป็นองค์ประกอบของ อะตอมของธาตุทุกชนิด อนุภาคนี้มีประจุไฟฟ้าลบ มีมวล ๙.๑๐๙๑ x ๑๐-๓๑ กิโลกรัม. (อ. electron).
แอลฟา : (ฟิสิกส์) น. ชื่ออนุภาคที่พุ่งออกมาจากนิวเคลียสของอะตอม กัมมันตรังสี เป็นนิวเคลียสของธาตุฮีเลียม มักเรียกกระแสอนุภาค แอลฟาว่า รังสีแอลฟา ซึ่งเคลื่อนที่ด้วยความเร็วประมาณ ๒๐,๐๐๐ กิโลเมตรต่อวินาที มีอํานาจในการเจาะทะลุได้น้อย เมื่อกระทบกับ ฉากเรืองแสงจะทําให้เกิดแสงเรืองขึ้นได้. (อ. alpha rays).