อย่าง : [หฺย่าง] น. วิธี, แบบ, เยี่ยง, เช่น ทำอย่างนี้ เขียนอย่างนั้น, ลักษณนาม บอกจำนวน หมายถึง ชนิด, สิ่ง, เช่น ทำกับข้าวไว้ ๒ อย่าง ทำงาน หลายอย่าง. ว. เหมือน เช่น อย่างใจ อย่างเคย, ใช้ประกอบคําวิเศษณ์ หมายความว่า โดยอาการที่ เช่น อย่างดี อย่างเข้มแข็ง.
สม่ำเสมอ : [สะหฺมํ่าสะเหฺมอ] ว. เสมอเป็นปรกติ เช่น มาประชุมสม่ำเสมอ, เสมอตามกำหนด เช่น ส่งดอกเบี้ยสม่ำเสมอ; ราบเรียบ, ไม่ลุ่ม ๆ ดอน ๆ, (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น พื้นไม่สม่ำเสมอ.
วัดผล : ก. ทดสอบเพื่อวัดเชาวน์ ผลสัมฤทธิ์ของการเรียนรู้ บุคลิกภาพ เป็นต้น โดยใช้วิธีการแบบใดแบบหนึ่ง เช่น การเรียนรู้ ในสาขาวิชาต่าง ๆ จำเป็นจะต้องวัดผลอย่างสม่ำเสมอ.
กระทรวง ๑ :
[-ซวง] น. หมู่, พวก, เช่น ทุกหมวดทุกกระทรวงทรง ฤทธิเรื้อง. (ยอพระเกียรติกรุงธน), ชนิด, อย่าง, เช่น อนึ่งนั้นอุเบกขาว่าเพ่งเฉย คือแหวกเลยสุขทุกข์อาลัยห่วง ไม่มีทุกข์ไม่มีสุขสิ้นทั้งปวง สามกระทรวงนี้เป็นชื่อเวทนา. (ปกีรณําพจนาดถ์), แบบ, อย่าง, กระบวน, เช่น ส่วนองค์พระอัยกาก็ทรงพาหนะหัสดินทร กรินทรราชเป็นทัพหลวงตามกระทรวงพยุหยาตรา. (ม. ร่ายยาว มหาราช), โดยสมควรแก่กระทรวงแล้วส่งไป. (สามดวง), ผจญคนกลิ้งกลอกกลับหลอกลวง เอากระทรวงสัตย์ ซื่อให้เสื่อมเท็จ. (สุ. สอนเด็ก). (ดู กระซุง).
กระเหน็จ : (โบ) น. วิธี, อย่าง, อุบาย, เช่น กลกระเหน็จต่าง ๆ. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์).
กล, กล- : [กน, กนละ-] น. การลวงหรือล่อลวงให้หลงหรือให้เข้าใจผิด เพื่อให้ฉงนหรือเสียเปรียบ เช่น เล่ห์กล, เล่ห์เหลี่ยม เช่น กลโกง; เรียกการเล่นที่ลวงตาให้เห็นเป็นจริงว่า เล่นกล; เครื่องกลไก, เครื่องจักร, เครื่องยนต์, เช่น ช่างกล. ว. เช่น, อย่าง, เหมือน, เช่น เหตุผลกลใด; เคลือบแฝง เช่น ถ้าจําเลยให้การเป็นกลความ. (กฎหมาย).
ฉัน ๓ : ว. เสมอเหมือน, เช่น, อย่าง, เช่น ฉันญาติ.
ดัง ๓, ดั่ง : ว. เช่น, อย่าง, ราวกับ, คล้าย, เหมือน.
นิยาม : [ยาม] (แบบ) น. การกําหนด, ทาง, อย่าง, วิธี. ก. กําหนดหรือจํากัด ความหมายที่แน่นอน. (ป., ส.).
เหมือน : [เหฺมือน] ว. ดั่ง, เช่น, ดั่งเช่น, อย่าง, เช่น เขาทำได้เหมือนใจฉันเลย.
เยี่ยง, เยี่ยงอย่าง : น. อย่าง, แบบอย่าง, เช่น จงเอาเยี่ยงกา อย่าถือเป็นเยี่ยงอย่าง. ว. เช่น, ใช้ว่า เยื่อง ก็มี.
โดยสิ้นเชิง, อย่างสิ้นเชิง : ว. ทั้งหมด, ทั้งสิ้น, เช่น เขาพ้นข้อหาโดยสิ้นเชิง โครงการนี้ล้มเหลวอย่างสิ้นเชิง.
ไปอย่างน้ำขุ่น ๆ : (สํา) ก. พูดแก้ตัวหลบเลี่ยงไปอย่างข้าง ๆ คู ๆ.
ยศอย่าง : น. การทําตามแบบอย่างผู้มียศ, การถือยศ ถือศักดิ์.
รู้อย่างเป็ด : (สํา) ก. รู้ไม่จริงสักอย่างเดียว.
กินเหมือนหมู อยู่เหมือนหมา, กินอย่างหมู อยู่อย่างหมา : (สํา) ว. เละเทะไม่มีระเบียบ.
ไก่สามอย่าง : น. เครื่องกินแกล้มเหล้า มีกุ้งแห้ง ถั่วลิสง และตะไคร้ เป็นหลัก อาจเพิ่ม ขิง หัวหอม หรือพริกขี้หนูเข้าด้วยก็ได้.
เจ้ายศ, เจ้ายศเจ้าอย่าง : ว. ถือยศถือศักดิ์.
ทั้งอย่างนั้น : ว. ทั้ง ๆ ที่เป็นอยู่ในลักษณะอาการเช่นนั้น.
ทุกสิ่งทุกอย่าง : ว. ทั้งหมด.
แบบอย่าง : น. ตัวอย่างที่จะอ้างเป็นบรรทัดฐานได้.
พูดอย่างมะนาวไม่มีน้ำ : (สํา) ก. พูดห้วน ๆ.
ร้อยสีพันอย่าง, ร้อยสีร้อยอย่าง : (ปาก) ว. โยกโย้ไปต่าง ๆ นานา.
ลายอย่าง : น. ลายตัวอย่างที่ใช้เป็นแบบเช่นลายถ้วยชาม ลายผ้า, ลายที่ส่งไปเป็นตัวอย่างให้ทำเข้ามาขาย.
เอาอย่าง : ก. เลียนแบบ, ทําตาม.
เชื้อ ๑ : น. สิ่งที่เป็นต้นเหตุทําให้เกิดสิ่งอื่น ๆ ที่มีลักษณะทํานอง เดียวกัน เช่น เชื้อไฟ เชื้อเหล้า; ผู้ที่สืบวงศ์วานว่านเครือ เผ่าพันธุ์ต่อ ๆ กันมา เช่น มีเชื้อจีน มีเชื้อแขก; อย่าง เช่น ๓ เชื้อ ว่า ๓ อย่าง.
แบบ : น. สิ่งที่กําหนดให้ถือเป็นหลักหรือเป็นแนวดําเนิน, ตัวอย่าง เช่น ลอกแบบ เลียนแบบ; อย่าง เช่น คนแบบนี้; ตํารา เช่น แบบเรียน; รูปลักษณะ เช่น แบบเสื้อ แบบบ้าน; สิ่งที่แกะหรือสลักเป็นต้น ให้เป็นรอยลึกลงไป หรือนูนขึ้นมาเพื่อใช้เป็นแม่พิมพ์; ใบตอง ซ้อนกันหลาย ๆ ชั้น แล้วใช้มีดเจียนให้เป็นแผ่นกลม ใช้ไม้กลัด กลัดไว้ สําหรับรองขนมบางชนิด เช่น ขนมลืมกลืน หรือตัดให้เป็น รูปต่าง ๆ ใช้รองเย็บกลีบดอกไม้มีดอกบานบุรีเป็นต้น เย็บเป็น ดอกไม้ประดิษฐ์.
กฏุก, กฏุก- : [กะตุก, กะตุกะ-] ว. เผ็ด, เผ็ดร้อน, เช่น ตรีกฏุก หมายถึงเครื่องยาที่เผ็ดร้อนรวม ๓ อย่าง คือ พริกไทย ดีปลี ขิงแห้ง. (ป.).
กาลจักร : [กาละ-] น. ชื่อพิธีกรรมในลัทธิตันตระ ซึ่งมีข้อปฏิบัติเบื้องต้น ๕ อย่าง คือ ดื่มน้ำเมา กินเนื้อสัตว์ พร่ามนตร์ แสดงท่ายั่วยวน และ เสพเมถุน ซึ่งปฏิบัติในเวลากลางคืนหรือที่มืด, กาฬจักร ก็ว่า. (ส.).
กาลิก : น. ของที่พระสงฆ์เก็บไว้ฉันได้ตามเวลาที่กําหนดให้ มี ๓ อย่าง คือ ๑. ยาวกาลิก-ของที่เก็บไว้ฉันได้ชั่วคราวตั้งแต่เช้าถึงเที่ยงวัน ได้แก่ข้าวปลาอาหาร ๒. ยามกาลิก-ของที่เก็บไว้ฉันได้ชั่วคราวเพียง วันหนึ่งกับคืนหนึ่ง ได้แก่น้ำอัฐบาน ๓. สัตตาหกาลิก- ของที่เก็บไว้ฉันได้ชั่วคราวเพียง ๗ วัน ได้แก่ เภสัชทั้ง ๕. (ป.).
กินสี่ถ้วย : ก. กินเลี้ยงในงานมงคล [สี่ถ้วย คือ ขนม ๔ อย่าง อย่างละถ้วย ได้แก่ ไข่กบ (สาคูหรือเมล็ดแมงลัก), นกปล่อย (ลอดช่อง), มะลิลอย (ข้าวตอก), อ้ายตื้อ (ข้าวเหนียว) มีน้ำกะทิใส่ชามอยู่กลาง].
กุศลกรรมบถ : [กุสนละกํามะบด] น. ธรรมหมวดหนึ่ง มี ๑๐ อย่าง คือ กายสุจริต ๓ วจีสุจริต ๔ มโนสุจริต ๓. (ส.).
ขง : (โบ) น. กรุง, บางทีเขียนเป็น โขง. (``กรุง'' เป็น ``ขุง'' และเป็น ``ขง'' อย่าง ทุ่ง-ท่ง, มุ่ง-ม่ง).
คชาธาร : น. ช้างทรง, ช้างพระที่นั่ง; เครื่องแต่งหลังช้างชนิดหนึ่ง มี ๓ อย่าง คือ ๑. พระคชาธารเครื่องมั่น สําหรับใช้ในการสงคราม. ๒. พระคชาธารพุดตานทอง สำหรับผูกช้างพระที่นั่งทรงซึ่งใช้ในกระบวน อิสริยยศ. ๓. พระคชาธารกาญจนฉันท์ สําหรับผูกหลังช้าง ประดิษฐาน พระชัยวัฒน์. (ป. คช + อาธาร).
เครื่องห้า ๒ : น. ปี่พาทย์ที่ใช้เครื่องดนตรี ๕ อย่าง ตรงกับเบญจดุริยางค์ ของอินเดีย มี ๒ ชนิด คือ ชนิดเบาใช้สําหรับการแสดงละครและหนัง ในพื้นเมือง และชนิดหนักใช้สําหรับการแสดงโขน ชนิดเบาประกอบ ด้วย เครื่องทําลํานํา ๑ ทับ ๒ กลอง ๑ ฆ้องคู่ ๑ ชนิดหนักประกอบด้วย ปี่ ๑ ระนาด ๑ ฆ้องวง ๑ กลอง ๑ โทน (ตะโพน) กับ ฉิ่ง ๑.
โครส : [-รด] น. นมวัว (มี ๕ อย่าง คือ นมสด นมส้ม เนยใส เนยข้น เปรียง เรียก ปัญจ-โครส หรือ เบญจโครส). (ป., ส.).
จตุปัจจัย : [จะตุปัดไจ] น. เครื่องอาศัยเลี้ยงชีวิตของบรรพชิตในพระพุทธศาสนา ๔ อย่าง คือ จีวร (ผ้านุ่งห่ม) บิณฑบาต (อาหาร) เสนาสนะ (ที่อยู่) คิลานเภสัช (ยา). (ป.).
จับกิ้ม : น. ชื่อขนมของจีนชนิดหนึ่ง มี ๑๐ อย่าง เช่น ฟักเชื่อม ถั่วตัด งาตัด ข้าวพอง มักใช้เป็นของไหว้เจ้า. (จ.).
จับปลาสองมือ : (สำ) ก. หมายจะเอาให้ได้ทั้ง ๒ อย่าง, เสี่ยงทำการ ๒ อย่าง พร้อม ๆ กัน ซึ่งอาจไม่สำเร็จทั้ง ๒ อย่าง.
จาตุกรณีย์ : น. ราชกิจ ๔ อย่าง คือ ๑. ตัดสินความเมือง ๒. บํารุงราษฎร ๓. บํารุงผลประโยชน์บ้านเมือง ๔. ป้องกันพระนคร, บางทีในบทกลอนใช้ว่า จาตุกรณย์, จาตุรราชการ ก็ว่า. (ป., ส. จตุ + กรณีย).
จำห้าประการ : ว. มีเครื่องจองจําครบ ๕ อย่าง คือ ๑. ตรวนใส่เท้า ๒. เท้า ติดขื่อไม้ ๓. โซ่ล่ามคอ ๔. คาไม้ใส่คอทับโซ่ ๕. มือ ๒ ข้างสอดเข้าไป ในคาและไปติดกับขื่อทําด้วยไม้, เรียกสั้น ๆ ว่า จําครบ. (ประชุมพงศ. ๓๙).
จีวร, จีวร- : [จีวอน, จีวอนระ-] น. เครื่องนุ่งห่มของภิกษุสามเณรในพระพุทธศาสนา, ผ้าสําหรับห่มของภิกษุสามเณร, คู่กับ สบง, ภาษาปากเรียก ผ้าเหลือง. [ในพระพุทธศาสนา จีวร ในคําว่า บาตรจีวร หรือ ไตรจีวร หมายเอาผ้า ทั้ง ๓ อย่าง คือ ผ้าทาบ (สังฆาฏิ) ผ้าห่ม (จีวร) และผ้านุ่ง (สบง), ในคําว่า สบง จีวร สังฆาฏิ หมายเอาแต่ผ้าห่มอย่างเดียว]. (ป., ส.).
ชนิด : [ชะ] น. อย่าง เช่น มี ๒ ชนิด, จําพวก เช่น คนชนิดนี้.
ชักพระ : น. ชื่อประเพณีอย่างหนึ่งทางภาคใต้ ถือว่าเป็น ประเพณีสําคัญ นิยมมีในวันแรม ๑ คํ่า เดือน ๑๑ ซึ่งถือ ว่าเป็นวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ กลับจากโปรดพระพุทธมารดา คล้ายวันตักบาตรเทโว ของภาคกลาง, การชักพระมี ๒ อย่าง คือ ชักพระทางบก กับทางน้ำ, ถ้าชักพระทางบก ก็อัญเชิญพระพุทธรูป ประดิษฐานไว้บนบุษบกซึ่งตั้งอยู่บนยานพาหนะแล้ว ช่วยกันชักลากไป, ถ้าชักพระทางน้ำ ก็อัญเชิญพระพุทธรูป ประดิษฐานบนบุษบกในเรือ แล้วใช้เชือกผูกเรือพระช่วยกัน ลากไปยังสถานที่ที่กำหนด แล้วจึงถวายภัตตาหารแก่ พระสงฆ์ มักจะมีการโยนข้าวต้มรูปสามเหลี่ยมห่อด้วย ใบกะพ้อเป็นต้นใส่กัน บางทีก็มีแข่งเรือและอื่น ๆ ด้วย.
ช้างสีปลาด : [ปะหฺลาด] (กฎ) น. ช้างที่มีมงคลลักษณะ อย่างหนึ่งอย่างใดใน ๗ อย่าง คือ ตาขาว เพดานปากขาว เล็บขาว ขนขาว พื้นหนังขาวหรือสีคล้ายหม้อใหม่ ขนหาง ขาว หรืออัณฑโกศขาวหรือสีคล้ายหม้อใหม่.
เช่น : น. อย่าง, ชนิด, เช่น รู้เช่นเห็นชาติ เช่นนี้ เช่นใด. ว. เหมือน, ใช้นําหน้าคําประสมได้ แปลว่า อย่าง เช่น เช่นนี้ ว่า อย่างนี้, เช่นใด ว่า อย่างใด.
ตรีกันสวาต : [-สะหฺวาด] น. กลิ่นแก้ลม ๓ อย่าง คือ ผลเร่วใหญ่ ผลจันทน์เทศ
ตรีกาฬพิษ : [-กาละพิด, -กานละพิด] น. พิษกาฬ ๓ อย่าง คือ กระชาย รากข่า รากกะเพรา.
ตรีเกสรมาศ : น. เกสรทอง ๓ อย่าง คือ ผลมะตูมอ่อน เปลือกฝิ่น เกสรบัวหลวง.
ตรีฉินทลามกา : [-ฉินทะลามะกา] น. ของแก้ลามกให้ขาดไป ๓ อย่าง คือ โกฐนํ้าเต้า สมอไทย รงทอง.