Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: อย่างเป็นจริง, อย่าง, เป็น, จริง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : อย่างเป็นจริง, 9707 found, display 1-50
  1. อย่าง : [หฺย่าง] น. วิธี, แบบ, เยี่ยง, เช่น ทำอย่างนี้ เขียนอย่างนั้น, ลักษณนาม บอกจำนวน หมายถึง ชนิด, สิ่ง, เช่น ทำกับข้าวไว้ ๒ อย่าง ทำงาน หลายอย่าง. ว. เหมือน เช่น อย่างใจ อย่างเคย, ใช้ประกอบคําวิเศษณ์ หมายความว่า โดยอาการที่ เช่น อย่างดี อย่างเข้มแข็ง.
  2. กล, กล- : [กน, กนละ-] น. การลวงหรือล่อลวงให้หลงหรือให้เข้าใจผิด เพื่อให้ฉงนหรือเสียเปรียบ เช่น เล่ห์กล, เล่ห์เหลี่ยม เช่น กลโกง; เรียกการเล่นที่ลวงตาให้เห็นเป็นจริงว่า เล่นกล; เครื่องกลไก, เครื่องจักร, เครื่องยนต์, เช่น ช่างกล. ว. เช่น, อย่าง, เหมือน, เช่น เหตุผลกลใด; เคลือบแฝง เช่น ถ้าจําเลยให้การเป็นกลความ. (กฎหมาย).
  3. เป็นจริงเป็นจัง : ว. เป็นหลักฐานมั่นคง, เป็นชิ้นเป็นอัน, เป็นลํ่าเป็นสัน.
  4. จริง, จริง : [จิง] ว. แน่ เช่น ทําจริง ชอบจริง ๆ; แท้, ไม่ปลอม, เช่น ของจริงไม่ใช่ของเทียม; เป็นอย่างนั้นแน่แท้ ไม่กลับเป็นอย่างอื่น เช่น ข้อนี้เป็นความจริง, ไม่เท็จ, ไม่โกหก, ไม่หลอกลวง, เช่น เรื่องจริง พูดจริง, เป็นไปตามนั้น เช่น ความฝัน กลายเป็นความจริง.
  5. ตา ๒ : น. ส่วนหนึ่งของร่างกายคนและสัตว์ ทําหน้าที่เป็นเครื่องดูรูป; ส่วนหนึ่ง ของต้นไม้ตรงที่แตกกิ่ง, รอยของต้นไม้ตรงที่เคยแตกกิ่ง; ช่องที่เกิดจาก การถัก สาน หรือลากเส้นผ่านกัน เช่น ตาร่างแห ตาตะแกรง ตาตาราง; คราว เช่น ตานี้ ถึงตาฉันบ้างละนะ; เรียกลายที่เป็นตาตามรูปต่าง ๆ ตามลักษณะ ของสิ่งของ เช่น ตาสมุก ตาราชวัติ ตาเมล็ดงา ตาเม็ดบัว ตาหมากรุก. ตากบ ๑ ว. มีลักษณะคล้ายตากบ ใช้เปรียบข้าวที่หุงดิบ ๆ สุก ๆ, ตากบตาเขียด ก็เรียก. ตากบตาเขียด ว. มีลักษณะคล้ายตากบ ใช้เปรียบข้าวที่หุงดิบ ๆ สุก ๆ, ตากบ ก็เรียก. ตากล้อง (ปาก) น. ผู้ทําหน้าที่ถ่ายภาพ. ตากลับ ว. ลักษณะที่ตาเหลือกขึ้นจนไม่แลเห็นตาดํา; ลักษณะที่สายตาคน มีอายุกลับเห็นชัดเจนขึ้น. ตากล้า น. พื้นดินที่ยกเป็นคันแบ่งเป็นช่อง ๆ สําหรับตกกล้า, ตาตกกล้า ก็ว่า. ตากุ้ง ว. สีเหมือนตาของกุ้ง, สีม่วงอมเทา. ตาโก้ง น. ชื่อผ้าชนิดหนึ่งที่ทอเป็นตาโต ๆ. ตาไก่ น. ชื่อเครื่องหมายชนิดหนึ่ง มีรูปคล้ายตาไก่ ดังนี้ ๏ ในหนังสือเก่า สําหรับเขียนขึ้นต้นวรรคหรือต้นบรรทัด, ฟองมัน ก็เรียก; โลหะที่ทําเป็นรู ใช้เลี่ยมรูผ้าหรือรูหนังเพื่อกันช่องสึก, ถ้าขนาดใหญ่เรียกว่า ตางัว. ตาขวาง ว. เริ่มแสดงอาการคลั่ง; ขุ่นเคือง, ไม่พอใจ. ตาขอ น. ไม้หรือเหล็กที่งอ ๆ สําหรับชัก เกี่ยว แขวน หรือสับ, ขอ หรือ ตะขอ ก็ว่า. ตาข่าย น. เครื่องดักสัตว์มีนกหรือกระต่ายเป็นต้น ถักเป็นตาร่างแห, เรียก ลวดหรือด้ายที่ถักเป็นตา ๆ อย่างข่ายว่า ลวดตาข่าย ฯลฯ. ตาขาว ว. แสดงอาการขลาดกลัว. ตาขุ่นตาเขียว ว. แสดงอาการโกรธจัด, ตาเขียว ก็ว่า. ตาเข น. ตาเหล่น้อย. ตาเขียว ว. แสดงอาการโกรธจัด, ตาขุ่นตาเขียว ก็ว่า. ตาแข็ง ว. ไม่ง่วง, ไม่กะพริบง่าย. ตาคม น. ตาที่มีลักษณะอย่างของมีคม อาจบาดหรือแทงใจได้. ตาค้าง ว. อาการที่ตาเหลือกขึ้นและไม่กลับลงมาตามเดิม, อาการที่นอนหลับ หรือตายลืมตา, อาการที่ตาไม่กะพริบ. ตางัว ๑ น. ชื่อโคมชนิดหนึ่ง; โลหะที่ทําเป็นรูใช้เลี่ยมรูผ้าหรือรูหนังเพื่อกัน ช่องสึก, ถ้าขนาดเล็กเรียกว่า ตาไก่. ตาจระเข้ น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์จิตรา มี ๑ ดวง, ดาวไต้ไฟ ดาวเสือ หรือ ดาวต่อมนํ้า ก็เรียก; ตาคนที่มีรูปยาวเหมือนตาของจระเข้. ตาเจ้าชู้ (สำ) น. ตาที่แสดงอาการกรุ้มกริ่มเป็นเชิงทอดไมตรีในทางชู้สาว. ตาชั่ง น. เครื่องชั่งสําหรับชั่งสิ่งของต่าง ๆ มีหลายชนิด เช่น ตราชู ชั่งจีน ชั่งสปริง. ตาแดง น. โรคเยื่อหุ้มลูกตาอักเสบ. ตาตกกล้า น. ตากล้า. ตาตั๊กแตน ๑ ว. มีลักษณะที่ใสแจ๋ว. ตาตั้ง ว. อาการที่ตาแข็งและเหลือกในเวลาชัก. ตาตาราง น. ช่องสี่เหลี่ยมที่เกิดจากเส้นขนานในแนวยืนกับแนวนอนตัดกัน, ตาราง ก็ว่า. ตาตี่ น. ตาที่หนังตาบนตกลงมาจนเกือบปิด ทําให้เบิกตากว้างไม่ได้. ตาตุ่ม ๑ น. อวัยวะส่วนที่เป็นปุ่มกลม ๆ ที่ข้อเท้าทั้ง ๒ ข้าง. ตาเต็ง น. เครื่องชั่งหรือตาชั่งขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีถาดห้อยอยู่ทางหัวคัน ที่เป็นไม้หรืองาช้าง มีตุ้มถ่วงห้อยเลื่อนไปมาตามคันได้ เดิมใช้สําหรับ ชั่งทอง เงิน เพชร และพลอย, เต็ง ก็เรียก. (เทียบ จ. เต็ง). ตาโต ๑ (สํา) ว. อาการที่ตาเบิกกว้างเพราะอยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, แสดง อาการอยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, ตาพอง ตาลุก หรือ ตาลุกตาชัน ก็ว่า. ตาถั่ว น. ตาที่มีจุดขาวมัว ๆ อยู่กลางตาดํา ทําให้มองไม่ค่อยเห็น, โดยปริยาย หมายความว่า เซ่อ เช่น ของวางอยู่ตรงหน้า ไม่เห็นก็ตาถั่วแล้ว. ตาทัพ น. ทางที่กองทัพเดิน ซึ่งเปรียบด้วยตาหรือแต้มหมากรุก. ตาทิพย์ น. ตาที่สามารถดูอะไรเห็นได้หมด. ตานกแก้ว น. อวัยวะส่วนที่เป็นปุ่มกลมที่ข้อมือทั้ง ๒ ข้าง. ตาน้ำ น. ทางนํ้าใต้ดินที่มีนํ้าไหลไม่ขาดสาย. ตาบอด น. ตามืด, ตามองไม่เห็น, โดยปริยายหมายถึงหลงผิดไปชั่วคราว ไม่รู้ว่าอะไรผิดอะไรถูก เช่น เพราะความรักเลยทำให้เขาตาบอดไปชั่ว ระยะหนึ่ง. ตาบอดคลำช้าง (สํา) น. คนที่รู้อะไรด้านเดียวหรือนัยเดียวแล้วเข้าใจว่า สิ่งนั้นเป็นอย่างนั้น. ตาบอดได้แว่น (สํา) น. ผู้ที่ได้สิ่งซึ่งไม่เป็นประโยชน์แก่ตน มักพูดเข้าคู่กับ หัวล้านได้หวี เป็น หัวล้านได้หวี ตาบอดได้แว่น. ตาบอดตาใส น. ตาบอดอย่างที่ตาดูเหมือนเป็นปรกติ แต่มองไม่เห็น. ตาบอดสอดตาเห็น (สํา) อวดรู้ในเรื่องที่ตนไม่รู้. ตาบอดสี น. ตาที่มองเห็นสีผิดไปจากสีที่เป็นจริง เนื่องจากประสาทตาที่ รับรู้สีพิการหรือเจริญไม่เต็มที่. ตาปลา น. เนื้อซึ่งด้านเป็นไตแข็งคล้ายตาของปลา มักเป็นที่ฝ่าเท้าหรือนิ้วเท้า. ตาปลาดุก น. ตาที่มีลักษณะเล็กเรียว. ตาปู น. ตะปู. ตาเป็นมัน (สํา) ว. อาการที่จับตามองจ้องดูสิ่งที่ต้องใจอย่างจดจ่อ. ตาเป็นสับปะรด (สํา) ว. มีพรรคพวกที่คอยสอดส่องเหตุการณ์ให้อยู่รอบข้าง. ตาโป่ง น. ตาหมากรุกที่เดินผิดกติกา โดยเดินทแยง ๔๕ องศาไป ๓ ตาตาราง (มักใช้แก่การเดินหมากม้าในหมากรุกไทย). ตาฝาด ว. เห็นผิดพลาดไป, เห็นคลาดเคลื่อนไปจากของเดิม. ตาพร่า ว. อาการที่เห็นไม่ชัดเจน. ตาพอง ๑ น. ตาที่มีลักษณะโป่งโตขึ้นมา. (สํา) ว. อาการที่ตาเบิกกว้างเพราะ อยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, แสดงอาการอยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, ตาโต ตาลุก หรือ ตาลุกตาชัน ก็ว่า. ตาโพลง ว. เบิกตากว้าง เช่น ตกใจลืมตาโพลง. ตาฟาง น. ตาที่มองอะไรเห็นไม่ชัดเจน. ตาฟางไก่ น. ตาที่มองเห็นเฉพาะในเวลากลางวัน ในเวลากลางคืนมอง อะไรไม่เห็น. ตาเฟื้องตาสลึง (สํา) น. ตาที่แสดงอาการว่าชอบพอรักใคร่ เป็นการทอด ไมตรีในทางชู้สาว (มักใช้แก่หญิงสาว). ตามด น. รูเล็ก ๆ ที่นํ้าซึมออกได้อย่างรูรั่วตามก้นหม้อเป็นต้น. ตาแมว น. ชื่อชันชนิดหนึ่ง เรียกว่า ชันตาแมว; คดที่ได้จากตาแมว; แก้ว มีค่าชนิดหนึ่ง เรียกว่าเพชรตาแมว; แก้วสะท้อนแสงชนิดหนึ่งที่ฝังไว้ ตาไม่มีแวว (สำ) ว. ไม่รู้จักของดี เช่น เขาเป็นคนตาไม่มีแวว มีของดีมา ให้เลือกยังไม่ยอมเลือก. ตาราง น. ช่องสี่เหลี่ยมที่เกิดจากเส้นขนานในแนวยืนกับแนวนอนตัดกัน, ตาตาราง ก็ว่า; ใช้เป็นคํานําหน้าคํามาตราวัดที่เป็นหน่วยมาตรฐาน หมายความว่า สี่เหลี่ยมจัตุรัส เช่น ตารางวา หมายความว่า วาสี่เหลี่ยมจัตุรัส. ตารางสอน น. ตารางที่บรรจุรายการสอนว่า วันใด เวลาใด สอนวิชาใด. ตารางเหลี่ยม (เลิก) น. ชื่อมาตราวัดพื้นผิวที่เป็นหน่วยมาตรฐาน คือพื้นที่ กําหนดเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส เช่น ๑ เมตรตารางเหลี่ยม เท่ากับ กว้าง ๑ เมตร ยาว ๑ เมตร หรือ ๑ ตารางเมตร. ตาร้าย น. เรียกผู้ที่มองดูคนอื่นแล้วถือว่าให้โทษแก่คนนั้น, ดูร้าย ก็ว่า; ที่ เดือดร้อน ในคําว่า เข้าตาร้าย. ตาริ้ว น. แถวซึ่งตั้งเป็น ๒ แถวหรือ ๔ แถวขนานกัน เช่นแถวกระบวนแห่ เป็นต้น. ตาเริด ว. อาการที่นอนตาค้างหรือนอนไม่หลับ. ตาลม น. โรคตาชนิดหนึ่ง. ตาลอ น. ตาถั่ว. ตาลอย ว. อาการที่ตาเหม่อ. ตาลาย ว. อาการที่มองเห็นอะไรไม่ชัดพร่าลายไปหมด. ตาลีตาเหลือก ว. อาการรีบร้อนลนลาน, ตื่นกลัว, ตาเหลือก ก็ว่า. ตาลุก ๑ ก. ลืมตาโพลงด้วยความสนใจ. ตาลุก ๒, ตาลุกตาชัน (สํา) ว. อาการที่ตาเบิกกว้างเพราะอยากได้เมื่อ เห็นเงินเป็นต้น, แสดงอาการอยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, ตาโต หรือ ตาพอง ก็ว่า. ตาเล็กตาน้อย (สํา) น. ตาที่แสดงอาการว่าชอบพอรักใคร่ เป็นการทอด ไมตรีในทางชู้สาว (มักใช้แก่หญิงสาว), ตาที่แสดงอาการประจบประแจง (มักใช้แก่เด็ก). ตาวาว ว. อาการที่จ้องมองดูสิ่งใดสิ่งหนึ่งด้วยความอยากได้ เช่น พอเห็น เงินก็ตาวาว เด็ก ๆ พอเห็นขนมก็ตาวาว. ตาแวว ว. ลักษณะของตาที่มีความไวในการเห็นภัยอันตราย, หวาดระแวง, เช่น กาตาแววเห็นธนู. ตาไว ว. ลักษณะของตาที่เห็นอะไรได้รวดเร็ว เช่น ตาไวเห็นคนรู้จักนั่งรถ ผ่านไป. ตาโศก น. ตามีลักษณะเศร้า ชวนให้เอ็นดู. ตาสว่าง น. ตามองเห็นชัดเจน เช่น พอหยอดยา ก็รู้สึกว่าตาสว่างขึ้น; ไม่ง่วง งัวเงีย, นอนต่อไม่หลับ, เช่น ตื่นขึ้นมากลางดึก เลยตาสว่าง นอนไม่หลับอีก; โดยปริยายหมายความว่า เข้าใจแล้วว่าอะไรผิดอะไรถูก เช่น เดี๋ยวนี้เขา ตาสว่างแล้วหลังจากที่หลงผิดมานาน. ตาส่อน น. ตาที่มีตาดําอยู่ไม่ตรงที่ตามปรกติ. ตาสำเภา น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์อารทรา มี ๑ ดวง, ดาวตัวโค ดาวอทระ หรือ ดาวอัททา ก็เรียก. ตาหมากรุก น. เรียกผ้าที่มีลายเป็นตารางสี่เหลี่ยมจัตุรัสแบบกระดาน หมากรุกมีสีสลับกันว่าผ้าตาหมากรุก. ตาหยี น. ตาหรี่, ตาที่แคบเรียวเล็ก. ตาหวาน ๑ น. ตาที่มีแววน่ารักน่าเอ็นดู, ตาแสดงอาการน่ารักน่าเอ็นดู. ตาเหล่ น. ตาเขมาก. ตาเหลือก ๑ น. ตาที่เบิกกว้าง, ตาที่กลอกขึ้น, ตาที่ตาดําอยู่ข้างบน. ว. อาการรีบร้อนลนลาน, ตื่นกลัว, ตาลีตาเหลือก ก็ว่า. ตาเหลือกตาพอง ว. อาการที่แสดงความตกใจกลัว. ตาแหลม ว. มีสายตาคมพอมองเห็นก็รู้ทันทีว่าอะไรดีมีคุณค่า เช่น ผู้หญิง คนนี้ตาแหลมพอมองเห็นหัวแหวนก็รู้ว่าเป็นเพชรแท้หรือเพชรเทียม. ตาแหวน น. ตาที่มีเส้นสีขาวหรือสีงาช้างเวียนรอบขอบตาดํา (มักใช้แก่ ม้า วัว ควาย). ตาอ้อย น. ชื่อลายชนิดหนึ่ง. ตาเอก น. ตาที่มีตาดําอยู่ไม่ตรงที่.
  6. อัน : น. สิ่ง, ชิ้น; ทะลาย เช่น อันหมาก อันมะพร้าว; คําบอกลักษณะ สิ่งของซึ่งโดยปรกติมีลักษณะแบนยาวหรือเป็นชิ้นเป็นแผ่นเป็นต้น, ลักษณนามเรียกสิ่งที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น ไม้อันหนึ่ง ไม้ ๒ อัน; เวลากําหนดสําหรับชนไก่พักหนึ่ง ๆ. ส. คำใช้แทนนามหรือ ข้อความที่อยู่ข้างหน้า เช่น ความจริงอันปรากฏขึ้นมา. ว. อย่าง เช่น เป็นอันมาก เป็นอันดี, ใช้เป็นคำนำหน้านามที่เป็นประธาน หรือใช้ขึ้นต้นข้อความต่าง ๆ เช่น อันอายุความนั้น ถ้าไม่มีกฎหมาย บัญญัติไว้เป็นอย่างอื่น ท่านให้มีกำหนดสิบปี. (ประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์ มาตรา ๑๖๔ ฉบับเก่า), ใช้ว่า อันว่า ก็มี เช่น อันว่า ทรัพย์นั้น โดยนิตินัยได้แก่วัตถุมีรูปร่าง. (ประมวลกฎหมายแพ่งและ พาณิชย์ มาตรา ๙๘ ฉบับเก่า).
  7. แล้ : ว. สุดกําลังความสามารถ (ใช้แก่แขนหรือไหล่ที่กําลังหามหรือคอน เป็นต้น), มักใช้เข้าคู่กับคํา เต็ม เป็น เต็มแล้; แท้, จริง, ทีเดียว, ฉะนี้, เช่น วรรคหนึ่งพึงเติมแล้ เล่ห์นี้จงยล เยี่ยงนา.
  8. ถึงเป็นถึงตาย : ว. อย่างเอาจริงเอาจังเกินไป, อย่างรุนแรง เช่น ต่อสู้ กันอย่างถึงเป็นถึงตาย.
  9. เอาเป็นเอาตาย : ว. ตั้งใจทําอย่างจริงจังโดยไม่เห็นแก่เหน็ดเหนื่อย หรือความยากลําบาก เช่น ทำงานอย่างเอาเป็นเอาตาย; เอาจริงเอาจัง อย่างรุนแรง เช่น เรื่องเล็ก ๆ แค่นี้ เถียงกันเอาเป็นเอาตายไปได้.
  10. กระทรวง ๑ : [-ซวง] น. หมู่, พวก, เช่น ทุกหมวดทุกกระทรวงทรง ฤทธิเรื้อง. (ยอพระเกียรติกรุงธน), ชนิด, อย่าง, เช่น อนึ่งนั้นอุเบกขาว่าเพ่งเฉย คือแหวกเลยสุขทุกข์อาลัยห่วง ไม่มีทุกข์ไม่มีสุขสิ้นทั้งปวง สามกระทรวงนี้เป็นชื่อเวทนา. (ปกีรณําพจนาดถ์), แบบ, อย่าง, กระบวน, เช่น ส่วนองค์พระอัยกาก็ทรงพาหนะหัสดินทร กรินทรราชเป็นทัพหลวงตามกระทรวงพยุหยาตรา. (ม. ร่ายยาว มหาราช), โดยสมควรแก่กระทรวงแล้วส่งไป. (สามดวง), ผจญคนกลิ้งกลอกกลับหลอกลวง เอากระทรวงสัตย์ ซื่อให้เสื่อมเท็จ. (สุ. สอนเด็ก). (ดู กระซุง).
  11. แน่ ๑ : ว. แท้, จริง, ไม่เป็นอื่น, เช่น ทําแน่ ไปแน่; เก่ง, มีฝีมือดี, เช่น คนนี้ มือแน่มาก.
  12. ตัตว- : [ตัดตะวะ-] (แบบ) น. ความเป็นอย่างนั้น, ความเป็นจริง. (ส. ตตฺตฺว). ตัตวศาสตร์ น. วิชาว่าด้วยความจริง. (ส. ตตฺตฺว + ศาสฺตฺร).
  13. ตัถย์ : [ตัด] (แบบ) น. ความเป็นอย่างนั้น, ความจริง. ว. เป็นอย่างนั้นจริง. (ส.).
  14. ทึก ๑, ทึกทัก : ก. ตู่เอาเป็นของตัว, ถือเอาเป็นจริงเป็นจัง, เหมาเอาว่าเป็นอย่างนั้น อย่างนี้.
  15. บ้าง : ว. ใช้ประกอบคําอื่นหมายความว่า บางจํานวนหรือบางส่วนของสิ่งที่ กล่าวถึงโดยเฉพาะ เช่น อย่างนั้นบ้าง อย่างนี้บ้าง ขอบ้าง, บางส่วนของ จํานวนรวมที่แบ่งเป็น ๒ เช่น เรื่องที่เล่าจริงบ้าง เท็จบ้าง, มีส่วนร่วม มีความหมายคล้ายคำว่า ด้วย เช่น ขอเล่นบ้าง ขอขี่จักรยานบ้าง, เอาอย่าง เช่น เห็นเขาทําก็ทําบ้าง. ส. คําใช้แทน ผู้หรือสิ่งที่พูดถึงในกรณีที่แยก กล่าวโดยเฉพาะ เช่น บ้างก็กิน บ้างก็เล่น, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๓.
  16. บิด ๑ : ก. หมุนให้เป็นเกลียวอย่างบิดผ้า, หมุนไปทางใดทางหนึ่ง เช่น บิดลูกบิด; เผล้ไปจากสภาพปรกติ เช่น ล้อรถบิด, ทําให้ผิดไป จาก สภาพความจริง เช่น บิดข้อความ; หลีกเลี่ยงเพราะความ เกียจคร้านเป็นต้น เช่น บิดงาน บิดการ, เอานิ้วมือบีบเนื้ออย่าง แรงทํานองแหนบแล้วหมุน เช่น บิดเนื้อ บิดหู; กิริยาที่ปลากัด ปลาเข็มเอาปากต่อปากกัดกันจนติดแล้วกลับตัวไปมา. น. ลักษณนามเรียกอาการที่ปลากัดปลาเข็มเอาปากต่อปาก กัดกันแล้วกลับตัวไปมาเช่นนั้นแต่ละยกว่า บิดหนึ่ง ๒ บิด.
  17. ปรมัตถ์ : [ปะระมัด, ปอระมัด] น. ประโยชน์อย่างยิ่ง, เนื้อความ อย่างยิ่ง, ความจริงอันเป็นที่สุด; ชื่อพระอภิธรรมปิฎก. ว. ลึกซึ้ง ยากที่ปุถุชนจะเข้าใจได้ เช่น นี่เป็นเรื่องปรมัตถ์. (ป.). ปรมาจารย์ [ปะระมาจาน, ปอระมาจาน] น. อาจารย์ผู้เป็นเอกหรือ ยอดเยี่ยมในทางวิชาใดวิชาหนึ่ง.
  18. ประพจน์ : น. ข้อเสนอ, ข้อความที่กล่าว. (ส.); (คณิต) ประโยคบอกเล่าหรือ ประโยคปฏิเสธซึ่งเป็นข้อความจริงหรือเท็จอย่างใดอย่างหนึ่ง เท่านั้น จะมีความหมายกํากวมไม่ได้. (อ. proposition). (ส. ปฺรวจน).
  19. เผาหลอก : (ปาก) ก. นําดอกไม้จันทน์ ธูป เทียนไปวางใต้หีบศพ เป็นพิธีอย่างหนึ่งในประเพณีเผาศพ ทําก่อนเผาจริง.
  20. ลับลมคมใน : ว. มีเงื่อนงำบางอย่างแฝงอยู่ ไม่รู้ว่าความจริงเป็น อย่างไร เช่น เขาเป็นคนลับลมคมใน คบยาก เรื่องนี้มีลับลมคมใน ต้องสืบสวนต่อไป.
  21. สมจริง : ว. ควรถือได้ว่าเป็นจริง, คล้ายกับที่เป็นจริง, เช่น เขาแสดง บทบาทในละครได้อย่างสมจริง; ตามความเป็นจริง เช่น เขาทำได้ สมจริงอย่างที่พูดไว้; (วรรณ) เหมือนจริงแต่ไม่ใช่ความจริงทั้งหมด เช่น นวนิยายสมจริง เรื่องสมจริง.
  22. สัจนิยม : [สัดจะ] (ศิลปะและวรรณคดี) น. คตินิยมในการสร้างสรรค์ วรรณกรรมหรือศิลปะซึ่งแสดงให้เห็นชีวิตและโลกอย่างสมจริง; (ปรัชญา) ทฤษฎีที่ถือว่าโลกและวัตถุเป็นสิ่งมีอยู่จริงเช่นเดียวกับจิต และมีอยู่อย่างอิสระจากจิต. (อ. realism).
  23. หุ่น : น. รูป, รูปแบบ, รูปตุ๊กตา, รูปแบบที่จําลองจากของจริงต่าง ๆ; รูปปั้นหรือ แกะสลักที่ทําโกลนไว้เพื่อเป็นแบบชั่วคราว, (ปาก) รูปทรงของร่างกาย เป็นต้น เช่น คนนี้หุ่นดี; ชื่อการเล่นมหรสพที่ใช้รูปหุ่นแสดงเป็นเรื่องราว เช่น หุ่นกระบอก หุ่นจีน, โดยปริยายหมายถึงบุคคลที่กลายเป็นเครื่องมือ ของผู้อื่นโดยได้รับแต่งตั้งให้อยู่ในตำแหน่งบังคับบัญชา แต่ไม่มีอำนาจ อะไรอย่างแท้จริง เช่น เป็นหุ่นให้เขาเชิด รัฐบาลหุ่น.
  24. ขง : (โบ) น. กรุง, บางทีเขียนเป็น โขง. (``กรุง'' เป็น ``ขุง'' และเป็น ``ขง'' อย่าง ทุ่ง-ท่ง, มุ่ง-ม่ง).
  25. ถ่มร้าย : น. รอยบุ๋มที่ตะโพกทั้ง ๒ ข้าง ถือว่าเป็นลักษณะไม่ดี สําหรับหญิง ๑ ใน ๓ อย่าง คือ สีจัก ยักหล่ม ถ่มร้าย, มักใช้เข้าคู่ กับคำ ยักหล่ม เป็น ยักหล่มถ่มร้าย.
  26. ยักหล่ม : น. รอยบุ๋มที่สะบักทั้ง ๒ ข้าง ถือว่าเป็นลักษณะไม่ดีสําหรับ หญิง ๑ ใน ๓ อย่าง คือ สีจัก ยักหล่ม ถ่มร้าย, มักใช้เข้าคู่กับ ถ่มร้าย เป็น ยักหล่มถ่มร้าย.
  27. เป็น : ก. คํากริยาสําหรับแสดงความสัมพันธ์ระหว่างคํากับคําเพื่อ ให้เห็นว่าคําหน้าและคําหลังมีภาวะ คือ ความมี ความเป็น เกี่ยวข้องกันอย่างไร เช่น ท่านเป็นเจ้า เขาเป็นนาย.
  28. เป็น : ก. สามารถ, ได้, เช่น เต้นเป็น รําเป็น. ว. ยังมีชีวิตอยู่, ยังไม่ตาย, เช่น ปลาเป็น; ประหนึ่ง เช่น ทําเป็นบ้า.
  29. ทุย : ว. กลมรีอย่างผลมะตูม; เรียกผลมะพร้าวที่เจริญเติบโตตามปรกติ จนเปลือกแห้ง รูปรี ๆ กะลาลีบ นํ้าหนักเบาเพราะไม่มีเนื้อและนํ้า ว่า มะพร้าวทุย นิยมตัดครึ่งท่อนเพื่อทํากราดวงถูบ้านเป็นต้น; เป็น คําเรียกควายที่มีเขาสั้นหรือหงิกว่า ควายทุย.
  30. แบบ : น. สิ่งที่กําหนดให้ถือเป็นหลักหรือเป็นแนวดําเนิน, ตัวอย่าง เช่น ลอกแบบ เลียนแบบ; อย่าง เช่น คนแบบนี้; ตํารา เช่น แบบเรียน; รูปลักษณะ เช่น แบบเสื้อ แบบบ้าน; สิ่งที่แกะหรือสลักเป็นต้น ให้เป็นรอยลึกลงไป หรือนูนขึ้นมาเพื่อใช้เป็นแม่พิมพ์; ใบตอง ซ้อนกันหลาย ๆ ชั้น แล้วใช้มีดเจียนให้เป็นแผ่นกลม ใช้ไม้กลัด กลัดไว้ สําหรับรองขนมบางชนิด เช่น ขนมลืมกลืน หรือตัดให้เป็น รูปต่าง ๆ ใช้รองเย็บกลีบดอกไม้มีดอกบานบุรีเป็นต้น เย็บเป็น ดอกไม้ประดิษฐ์.
  31. ยิบ ๆ : ว. อาการที่รู้สึกคันทั่วไปตามผิวหนังเพราะเป็นผดหรือถูกละออง เป็นต้น เช่น คันผดยิบ ๆ; อาการกะพริบตาถี่ ๆ เช่น ทำตายิบ ๆ; เป็น ประกายอย่างเปลวแดด เช่น เห็นแดดยิบ ๆ.
  32. ศีล : [สีน] น. ข้อบัญญัติทางพระพุทธศาสนาที่กําหนดการปฏิบัติกาย และวาจา เช่น ศีล ๕ ศีล ๘, การรักษากายวาจาให้เรียบร้อย, เป็น ธรรมข้อ ๑ ในทศพิธราชธรรม; (ดู ทศพิธราชธรรม และ ราชธรรม)พิธีกรรมบางอย่างทางศาสนา เช่น ศีลจุ่ม ศีลมหาสนิท. (ส. ศีล ว่า ความประพฤติที่ดี, ป. สีล).
  33. เป็นตุเป็นตะ : ว. อาการที่เล่าเป็นจริงเป็นจังเหมือนกับรู้เห็นมาด้วย ตนเอง เช่น พูดเป็นตุเป็นตะ.
  34. เป็นที่ ๑, เป็นที่เป็นทาง : ว. มีที่อยู่เป็นหลักแหล่งแน่นอน เช่น เขาอยู่ไม่เป็นที่เป็นทาง; อาการที่เก็บของไว้ตามที่อย่างเป็น ระเบียบเช่น เก็บของไม่เป็นที่ เก็บของเป็นที่เป็นทาง.
  35. เป็นบ้า : (ปาก) ว. อย่างยิ่ง เช่น สวยเป็นบ้า เก่งเป็นบ้า.
  36. เป็นบ้าเป็นหลัง : ว. เอาจริงเอาจังเกินไป เช่น ทํางานเป็นบ้าเป็นหลัง.
  37. เป็นล่ำเป็นสัน : ว. เป็นหลักฐานมั่นคง, เป็นชิ้นเป็นอัน, เป็นจริงเป็นจัง.
  38. กระเซอ : ว. เซ่อเซอะ, เร่อร่า, เช่น ผัวเขาจริง ๆ วิ่งกระเซอ. (รามเกียรติ์ พลเสพย์), นิยมใช้เข้าคู่กับคํา กระเซอะ เป็น กระเซอะกระเซอ.
  39. กราย ๓ : [กฺราย] ก. เคลื่อนไหวอย่างมีท่าทาง, เดินอย่างมีท่าที, เช่น ห่มเสื้อกรายดาบง่า. (ลอ), ลอยชายกรายแขนเข้าในห้อง. (คาวี); เดินเฉียดเข้าไปใกล้ ๆ, เดินเฉียดใกล้เข้าไปอย่างไม่มีคารวะ, เช่น เดินกรายศีรษะ, ใช้เข้าคู่กับคํา กรีด กรุย และ กล้ำ เป็น กรีดกราย กรุยกราย และ กล้ำกราย.
  40. กรุณา : [กะรุนา] น. ความสงสารคิดจะช่วยให้พ้นทุกข์ เป็น ๑ ในพรหมวิหาร ๔ คือ เมตตา กรุณามุทิตา อุเบกขา; ใช้ประกอบหน้ากริยาแสดงความขอร้องอย่างสุภาพ เช่น กรุณาส่ง; ใช้ร่วมกับคำ พระ เป็นสรรพนามสําหรับพระเจ้าแผ่นดิน เช่น กราบบังคมทูลพระกรุณา. (ป.).
  41. กสิกรรม : น. การทําไร่ไถนา. [กะสิน] น. สมถกรรมฐานหมวดหนึ่งว่าด้วยอารมณ์ที่กําหนดธาตุ ๔ คือ ปฐวี (ดิน) อาโป (น้า) เตโช (ไฟ) วาโย (ลม), ว่าด้วยวรรณะ (สี) ๔ คือ นีล (สีเขียว) ปีต (สีเหลือง) โลหิต (สีแดง) โอทาต (สีขาว), ว่าด้วยอากาศ (ที่ว่าง) และ อาโลก (แสงสว่าง) รวมเป็น ๑๐ อย่าง. (ป.). [กะ-] น. เกณฑ์สําหรับลบพุทธศักราชเป็นจุลศักราช ตรงกับเลข ๑๑๘๑. [กะหาปะนะ] (แบบ) น. เงินตรามีพิกัดเท่ากับ ๒๐ มาสก หรือ ๑ ตําลึง คือ ๔ บาท. (ป.). [กะเลวะราก] (กลอน) น. ซากศพ, บางทีใช้เข้าคู่กันเป็น กเฬวรากซากศพ, เขียนเป็น กเฬวราก์ ก็มี เช่น เผากเฬวราก์ผู้อนาถ. (มาลัยคําหลวง). น. กลุ่มแห่งต้นไม้ที่เกิดจากเหง้าเดียวกัน เช่น กอหญ้า กอแขม กอไผ่, ต้นไม้ที่ขึ้นเป็นกลุ่ม เช่น กอข้าว, ใช้เข้าคู่กับคํา เหล่า ว่า เหล่ากอ หมายความว่า เชื้อสาย. (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ต้นก่อ. (ดู ก่อ๒). ดู หนอนกอ ที่ หนอน๑. ก. ทําให้เกิดขึ้น มีขึ้น หรือเป็นรูปขึ้น เช่น ก่อไฟ ก่อสงคราม ก่อตึก.
  42. กสิณ : [กะสิน] น. สมถกรรมฐานหมวดหนึ่งว่าด้วยอารมณ์ที่กําหนดธาตุ ๔ คือ ปฐวี (ดิน) อาโป (น้า) เตโช (ไฟ) วาโย (ลม), ว่าด้วยวรรณะ (สี) ๔ คือ นีล (สีเขียว) ปีต (สีเหลือง) โลหิต (สีแดง) โอทาต (สีขาว), ว่าด้วยอากาศ (ที่ว่าง) และ อาโลก (แสงสว่าง) รวมเป็น ๑๐ อย่าง. (ป.).
  43. กอง ๑ : ก. ทําให้รวมสุมกันไว้, สุมกันไว้. น. สิ่งต่าง ๆ ที่รวมกันไว้เช่นนั้น เช่น กองมะม่วง กองฟืน, สิ่งต่าง ๆ ที่สุมกันไว้ เช่น กองขยะ; กำลังพลของทหาร ตำรวจ เป็นต้น จำนวน ๔ หมวด เรียกว่า กองร้อย, ถ้าเป็นทหารหรือตำรวจหัวหน้าจะต้องมียศร้อยเอก เรือเอก เรืออากาศเอก หรือร้อยตำรวจเอก เรียกว่า ผู้บังคับกองร้อย หรือทั่ว ๆ ไปเรียกว่า ผู้กอง เฉพาะตำรวจนิยมเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สารวัตร; ส่วนราชการที่รองจากกรม. ว. ถ้ามีคํา เป็น ประกอบหน้า หมายความว่า มาก เช่น โตขึ้นเป็นกอง มากกว่าเป็นกอง.
  44. ก้อร่อก้อติก : ว. แสดงอาการเจ้าชู้, ทําเป็นเจ้าชู้. น. ชนชาวเขาพวกหนึ่ง ในตระกูลทิเบต-พม่า มีอยู่ทาง แถบเหนือของไทย คล้ายพวกมูเซอ, อีก้อ ก็เรียก. (ถิ่น-พายัพ) น. ทับทิม เช่น ต้นก๊อ ว่า ต้นทับทิม. (พจน. ๒๔๙๓). ก. ดูดเลือด หนอง หรือลมออกจากร่างกายหรือดูดเอาน้ำนม ออกจากเต้านมโดยใช้ถ้วย กระบอก ฯลฯ เป็นเครื่องดูด. น. มะกอก. น. เครื่องเปิดปิดน้ำจากท่อหรือภาชนะ, หัวก๊อก ก็เรียก. (อ. cock). น. เรียกเปลือกต้นก่อชนิด Quercus suber L. ในวงศ์ Fagaceae ที่ใช้ทําจุกขวดและอื่น ๆ ว่า ไม้ก๊อก. ก. เกาะแกะ เช่น อย่ากอแกชาววังหลังจะลาย. ก. ทําให้รวมสุมกันไว้, สุมกันไว้. น. สิ่งต่าง ๆ ที่รวมกันไว้เช่นนั้น เช่น กองมะม่วง กองฟืน, สิ่งต่าง ๆ ที่สุมกันไว้ เช่น กองขยะ; กำลังพลของทหาร ตำรวจ เป็นต้น จำนวน ๔ หมวด เรียกว่า กองร้อย, ถ้าเป็นทหารหรือตำรวจหัวหน้าจะต้องมียศร้อยเอก เรือเอก เรืออากาศเอก หรือร้อยตำรวจเอก เรียกว่า ผู้บังคับกองร้อย หรือทั่ว ๆ ไปเรียกว่า ผู้กอง เฉพาะตำรวจนิยมเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สารวัตร; ส่วนราชการที่รองจากกรม. ว. ถ้ามีคํา เป็น ประกอบหน้า หมายความว่า มาก เช่น โตขึ้นเป็นกอง มากกว่าเป็นกอง.
  45. ขวาง : [ขฺวาง] ก. กีดกั้น, สกัด; รำคาญหรือไม่ถูกใจ; ใช้เข้าคู่กับ กว้าง เป็น กว้างขวาง หมายความอย่างเดียวกับคําว่า กว้าง.
  46. เข่น : ก. ทุบหรือตีอย่างแรงเพื่อให้แบนเป็นต้น เช่น เข่นมีด. เข่นเขี้ยว ก. กัดฟันด้วยความโกรธ, มักใช้เข้าคู่กับคำ เคี้ยวฟัน เป็น เข่นเขี้ยวเคี้ยวฟัน.
  47. คราง ๑ : [คฺราง] ก. ร้องเบา ๆ เรื่อย ๆ ด้วยความเจ็บปวดหรือเสียใจ, มักใช้เข้าคู่ กับคำ ครวญ เป็น ครวญคราง; ร้องเสียงลากยาว ๆ อย่างเสียงฟ้าร้อง เช่น อัมพรอุทรคราง เรียมคร่ำ ครวญแม่. (นิ. นรินทร์).
  48. คู่ : น. จํานวนที่หารด้วย ๒ ลงตัว, ตรงข้ามกับ คี่; ของ ๒ สิ่งที่สําหรับกัน หรือใช้กํากับกันอย่างช้อนส้อม; ลักษณนามหมายถึงของที่มีลักษณะ เป็น ๒ เช่น ตะเกียบคู่หนึ่ง; ผัวหรือเมีย เช่น เลือกคู่ มีคู่ หาคู่. ว. ลักษณะ ของสิ่ง ๒ สิ่งที่ต่างกันแต่มีภาวะคล้ายคลึงกัน เช่น ดวงอาทิตย์คู่กับ ดวงจันทร์ หรือมีความสัมพันธ์กัน เช่น หญิงคู่กับชาย; โดยปริยาย หมายความว่า เท่า, เสมอ, เช่น คู่ฟ้า คู่ดิน.
  49. จับกิ้ม : น. ชื่อขนมของจีนชนิดหนึ่ง มี ๑๐ อย่าง เช่น ฟักเชื่อม ถั่วตัด งาตัด ข้าวพอง มักใช้เป็นของไหว้เจ้า. (จ.).
  50. จับฉ่าย : น. ชื่ออาหารอย่างจีนชนิดหนึ่งที่ใส่ผักหลาย ๆ อย่าง. (ปาก) ของต่าง ๆ ที่ปะปนกันไม่เป็นสํารับ ไม่เป็นชุด. (จ.).
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | 5451-5500 | 5501-5550 | 5551-5600 | 5601-5650 | 5651-5700 | 5701-5750 | 5751-5800 | 5801-5850 | 5851-5900 | 5901-5950 | 5951-6000 | 6001-6050 | 6051-6100 | 6101-6150 | 6151-6200 | 6201-6250 | 6251-6300 | 6301-6350 | 6351-6400 | 6401-6450 | 6451-6500 | 6501-6550 | 6551-6600 | 6601-6650 | 6651-6700 | 6701-6750 | 6751-6800 | 6801-6850 | 6851-6900 | 6901-6950 | 6951-7000 | 7001-7050 | 7051-7100 | 7101-7150 | 7151-7200 | 7201-7250 | 7251-7300 | 7301-7350 | 7351-7400 | 7401-7450 | 7451-7500 | 7501-7550 | 7551-7600 | 7601-7650 | 7651-7700 | 7701-7750 | 7751-7800 | 7801-7850 | 7851-7900 | 7901-7950 | 7951-8000 | 8001-8050 | 8051-8100 | 8101-8150 | 8151-8200 | 8201-8250 | 8251-8300 | 8301-8350 | 8351-8400 | 8401-8450 | 8451-8500 | 8501-8550 | 8551-8600 | 8601-8650 | 8651-8700 | 8701-8750 | 8751-8800 | 8801-8850 | 8851-8900 | 8901-8950 | 8951-9000 | 9001-9050 | 9051-9100 | 9101-9150 | 9151-9200 | 9201-9250 | 9251-9300 | 9301-9350 | 9351-9400 | 9401-9450 | 9451-9500 | 9501-9550 | 9551-9600 | 9601-9650 | 9651-9700 | 9701-9707

(0.4467 sec)