Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: อะไร , then อร, อะไร .

Royal Institute Thai-Thai Dict : อะไร, 293 found, display 1-50
  1. อะไร : ส. คําใช้แทนนาม แสดงคําถาม เช่น อะไรอยู่ในตู้, คําใช้แทนนาม ที่ไม่เฉพาะเจาะจง เช่น อะไรก็เกิดขึ้นได้เสมอ. ว. ไร, ไหน, เช่น เขาห่มผ้าอะไรก็ได้ทั้งนั้น ท่านไปซื้อของอะไรมา.
  2. กระใด : (โบ) ว. กระไร, อะไร, ทําไม, เช่น ผู้แกล้วกระใดรณภู. (สมุทรโฆษ).
  3. กว้า : [กฺว้า] (โบ) ว. หรือ, อะไร, ทําไม, เป็นไร, บ้างซิ, บ้างเถิด, ว้า, หวามใจ, เช่น ในรลุงนาภี พรั่นกว้า. (ทวาทศมาส).
  4. บ่า ๒ : ว. อาการที่นํ้าไหลล้นมาโดยเร็ว; อะไร, ทําไม.
  5. ไย : ว. ไฉน, อะไร, ทําไม, เช่น จะช้าอยู่ไย ไยจึงไม่มา.
  6. ฤๅ ๒ : [รือ] ว. หรือ, อะไร, ไม่ใช่; โดยมากใช้ในบทร้อยกรอง เช่น กวีฤๅแล้ง แหล่งสยาม.
  7. ว่าอะไรว่าตามกัน : (สำ) ก. ปรองดองกัน, ไม่ขัดคอกัน, พูดเต็มว่า ว่าอะไรว่าตามกัน ได้เงินหม้อทองหม้อ หมายความว่า ว่าอะไร ว่าตามกัน จะเกิดความเจริญมั่งคั่ง (มักใช้แก่คู่สามีภรรยา).
  8. กระไร : ว. อะไร เช่น เขาไม่ว่ากระไร, อย่างไร เช่น จะทำกระไรดี, เท่าไร เช่น ถูกปรับเพียง ๑๐๐ บาทก็ไม่กระไรนัก, ทำไม, ไฉน, เช่น ข้าแต่นเรศูรสมเด็จพระบิดาเจ้าข้าเอ่ย กระไรเลยไม่ปรานี. (ม. ร่ายยาว กุมาร).
  9. ไซ้ ๒ : ว. ได้, ไหน, อะไร.
  10. เป็นใด : (กลอน) ว. เป็นอะไร, อะไร.
  11. พิสัง : (ถิ่นอีสาน) ว. อะไร.
  12. ไร ๕ : ว. ไหน, ใด, อะไร.
  13. อร ๓ : ก. ทำให้ดีใจ, ทำให้ปลาบปลื้มใจ, เช่น ใครรู้แห่งพระแพศยันดร บอกจงอรใจกู. (ม. คำหลวง ชูชก). (ข. อร ว่า ดีใจ, ปลาบปลื้ม).
  14. กงการ : (ปาก) น. กิจการ, หน้าที่, ธุระ, เช่น กงการอะไรของคุณ ไม่ใช่กงการของฉัน.
  15. กระเป๋าตุง : (ปาก) ว. มีเงินในกระเป๋ามาก เช่น ไปทำอะไร จึงกระเป๋าตุงกลับมา.
  16. กระแอม ๒ : น. ลายที่ผูกเป็นตัวลอย ๆ ลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยม ขนมเปียกปูนคล้ายลายกระหนกหางโต ใช้สําหรับอุด หรือปิดช่องไฟระหว่างลายกระหนกเครือวัลย์ เรียกว่า ลูกกระแอม, ตัวที่บอกให้รู้ว่าได้ทําอะไรแปลกไปจาก การประดิษฐ์ แสดงเป็นตัวลูกไม้เพิ่มขึ้น เรียกว่า ตัวกระแอม.
  17. กรีดกราย : ว. เยื้องกราย, เดินทอดแขน, มีท่าทางหยิบหย่ง, ทำอะไรไม่เต็มกำลัง.
  18. ก่อแล้วต้องสาน : (สํา) ก. เริ่มอะไรแล้วต้องทําต่อให้เสร็จ.
  19. กำขี้ดีกว่ากำตด : (สํา) ได้บ้างดีกว่าไม่ได้อะไรเลย.
  20. กำแพงเจ็ดชั้น ๑ : น. ชื่อมนตร์. กำแพงมีหูประตูมีช่อง, กำแพงมีหูประตูมีตา (สํา) น. การที่จะพูด หรือทําอะไร ให้ระมัดระวัง แม้จะเป็นความลับเพียงไร ก็อาจมีคนล่วงรู้ได้.
  21. กินข้าวต้มกระโจมกลาง : (สำ) ก. ทำอะไรด้วยความใจร้อน ไม่พิจารณาให้รอบคอบ มักเป็นผลเสียแก่ตน.
  22. กินน้ำไม่เผื่อแล้ง : (สํา) ก. มีอะไรใช้หมดทันทีไม่คิดถึงวันข้างหน้า.
  23. กินลมกินแล้ง : (สํา) ก. ไม่ได้ประโยชน์อะไรเลย.
  24. เก่งกาจ : ก. กล้าหาญไม่กลัวอะไร.
  25. เก็บเบี้ยใต้ถุนร้าน : (สํา) ก. เก็บเล็กผสมน้อย, ทําอะไรที่ประกอบด้วย ส่วนเล็กส่วนน้อย โน่นบ้างนี่บ้าง จนสําเร็จเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา.
  26. เกลี้ยง ๑ : [เกฺลี้ยง] ว. เรียบ ๆ ไม่ขรุขระหรือไม่มีลวดลาย; หมดไม่มีเหลือไม่มีอะไรติดอยู่ เช่น หมดเกลี้ยง กินเสียเกลี้ยง.
  27. เกลือก ๑ : [เกฺลือก] ก. กลิ้งหรือเสือกตัวไปมา เช่น เกลือกตม เกลือกฝุ่น, เอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งทําเช่นนั้นเพื่อให้สิ่งอื่นติด เช่น เอาขนมเกลือกงา. เกลือกกลั้ว ก. คบหาสมาคม, คลุกคลี, เช่น เกลือกกลั้วกับคนพาล; ทําให้มัวหมอง, ทําให้มีมลทิน, เช่น ไม่มีอะไรมาเกลือกกลั้ว. เกลือกกลิ้ง ก. กลิ้งหรือเสือกตัวไปมา เช่น นอนเกลือกกลิ้งอยู่บนที่นอน, เกลือก ก็ว่า; พยายามกระเสือกกระสนไปตามมีตามได้หรือด้วย ความทุกข์ทรมาน เช่น นอนกลิ้งเกลือกไปมาด้วยความทุรนทุราย, กลิ้งเกลือก ก็ว่า.
  28. เก้อ : ว. แสดงสีหน้าเจื่อนเพราะรู้สึกผิดคาดหรือทําอะไรผิดพลาดไป เช่น ทําหน้าเก้อ, รู้สึกผิดคาดผิดหวัง เช่น ไปเก้อ คอยเก้อ, ผิดแผกไปจากผู้อื่นเขาหรือแต่งตัวรอจะไปงานแล้วไม่ได้ไป เช่น แต่งตัวเก้อ; กระดาก, อาย, เช่น ทําแก้เก้อ; ขัดเขินหรือค้างอยู่ เพราะไม่เข้ากัน ไม่รับกัน เช่น รําเก้อ เรือนหลังนี้ทําไม่ได้ส่วนดูเก้อ ข้อความที่เขียนไว้เก้อไม่รับกัน.
  29. เกินดี : ว. เลยไปจนหมดดี เช่น ทําเกินดี คือใช้ให้ไปทําอะไร แต่ทําจนเกินต้องการ เรียกว่า ทําเกินดี.
  30. เกี่ยวแฝกมุงป่า : (สํา) ก. ทําอะไรเกินกําลังความสามารถของตัว.
  31. แก้วสารพัดนึก : น. แก้วที่เชื่อกันว่า ถ้าผู้ใดมีอยู่แล้ว นึกอะไรได้อย่างใจ.
  32. แกะดำ : (สํา) น. คนที่ทําอะไรผิดเพื่อนผิดฝูงในกลุ่มนั้น ๆ (ใช้ในทางไม่ดี).
  33. ไกลปืนเที่ยง : (สํา) ว. ไม่รู้อะไรเพราะอยู่ห่างไกลความเจริญ.
  34. ขบ ๑ : ก. เอาฟันเน้นเพื่อให้แตก เช่น ขบเมล็ดแตงโม, เอาฟันเน้นกัน เช่น ขบฟัน; กัด เช่น หมาใดตัวร้ายขบบาทา. (โลกนิติ); อาการที่เมื่อยปวด เหมือนมีอะไรบีบหรือกดอยู่ที่ตรงนั้น เรียกว่า เมื่อยขบ, ลักษณะของสิ่ง ที่ยังเข้ากันได้ไม่สนิท ยังปีนหรือเกยกันอยู่ เช่น บานประตูขบกัน; อาการที่เล็บมือเล็บเท้ายาวจนกดเนื้อข้างเล็บ เรียกว่า เล็บขบ.
  35. ขบเขี้ยวเคี้ยวฟัน : ก. แสดงอาการโกรธเมื่อยังทําอะไรเขาไม่ได้.
  36. ขว้างงูไม่พ้นคอ : (สํา) ก. ทําอะไรแล้วผลร้ายกลับมาสู่ตัวเอง.
  37. ข่าวลือ : น. ข่าวที่พูดกันทั่วไป แต่ยังไม่มีอะไรยืนยันได้แน่นอน.
  38. ข้าวใหม่ปลามัน : (สํา) น. อะไรที่เป็นของใหม่ก็ถือว่าดี, นิยมเรียก ช่วงเวลาที่สามีภรรยาเพิ่งแต่งงานกันใหม่ ๆ ว่า ระยะข้าวใหม่ปลามัน.
  39. ขึ้น ๑ : ก. ไปสู่เบื้องบน เบื้องสูง หรือ เบื้องหน้า, ไปสู่เบื้องที่ถือว่าตรงข้าม กับลง; เพิ่มหรือทําให้เพิ่ม เช่น ขึ้นราคา ขึ้นภาษี ราคาขึ้น ภาษีขึ้น; เริ่ม เช่น ขึ้นหนุ่ม ขึ้นบรรทัดใหม่; เอาเข้าไว้เป็นหลักฐาน เช่น ขึ้นทะเบียน ขึ้นทําเนียบ; เอ่ยคําหยาบออกมาด้วยความโกรธ เช่น ขึ้นมึง ขึ้นกู; เกิด, มี, เช่น ฝีขึ้น สนิมขึ้น; นิยมนับถือ,เลื่อมใส, เช่น อาจารย์คนนี้มีคนขึ้นมาก; อยู่ในสังกัด เช่น กรมศิลปากรขึ้นกับ กระทรวงศึกษาธิการ; อืดพอง เช่น ศพขึ้น ท้องขึ้น; ฟู เช่น ขนมขึ้น; แรกปรากฏจากขอบฟ้า เช่น ตะวันขึ้น; งอก เช่น ต้นไม้ขึ้น; มีโชค จะทําอะไรก็ประสบผล เช่น มือขึ้น ชะตาขึ้น; ก่ง เช่น ขึ้นธนู; ขึง เช่น ขึ้นกลอง ขึ้นฆ้อง; เริ่มเดินเป็นครั้งแรก เช่น ขึ้นขุน ขึ้นโคน; ทําให้เป็น รูปร่าง เช่น ขึ้นรูป ขึ้นกระบุง; เอาเช็คเป็นต้นไปขอรับเป็นตัวเงินจาก ธนาคาร เรียกว่า ขึ้นเงิน; เอาเข้าเก็บไว้ เช่น ขึ้นคลัง; (ปาก) แล่นไปตาม ทางจากใต้ไปเหนือ เช่น รถขึ้น ขาขึ้น. น. ข้างขึ้น เช่น ขึ้นคํ่าหนึ่ง ขึ้น ๒ คํ่า.
  40. เข้าฌาน : ก. ทําใจให้สงบตามหลักทางศาสนา, โดยปริยายหมายถึง นั่งหลับหรือนั่งเหม่อใจลอยไม่รับรู้อะไร. (ดู ฌาน).
  41. เข้าด้ายเข้าเข็ม : (สํา) ว. จวนจะสำเร็จ ถ้าทำผิดพลาดหรือมีอะไรมา ขัดจังหวะแม้เพียงเล็กน้อยก็เสียการ.
  42. คนจริง : น. ผู้ที่ทําอะไรทําจริงโดยไม่ท้อถอย, คนที่พูดจริงทําจริง.
  43. คลำ : [คฺลํา] ก. กิริยาที่ใช้อวัยวะเช่นมือ แตะ ลูบ หรือควานอย่างช้า ๆ เพื่อให้รู้ ว่าเป็นอะไรอยู่ที่ไหน เช่น คลำหาทางออก คลำหาสวิตช์ไฟ; โดยปริยาย หมายความว่า ค้นหา เช่น คลําหาเงื่อนงําไม่พบ.
  44. คะ ๒ : ว. คําลงท้ายที่ผู้หญิงใช้ต่อจากคำถามหรือคำแสดงความสงสัยเพื่อ แสดงความสุภาพ เช่น อะไรคะ กระมังคะ, คำลงท้ายที่ผู้หญิงใช้ต่อ จากคำ ซิ นะ เพื่อแสดงความสุภาพ เช่น เชิญซิคะ ไปนะคะ.
  45. คะคาน : ก. ค้านกัน, ยังตกลงกันไม่ได้, เช่น จะเอาชนะคะคานอะไรกัน.
  46. คำทาย : น. ปัญหาที่ตั้งขึ้นมาเพื่อให้ทายว่าได้แก่อะไร มีคําว่า อะไรเอ่ย อยู่ข้างหน้าเสมอ เช่นอะไรเอ่ย ต้นเท่าครก ใบปกดิน, มักใช้เข้าคู่กับคำ ปริศนา เป็น ปริศนาคำทาย.
  47. เคี้ยวฟัน : ก. แสดงอาการโกรธเมื่อยังทําอะไรเขาไม่ได้, มักใช้เข้าคู่กับคํา เข่นเขี้ยว เป็น เข่นเขี้ยวเคี้ยวฟัน.
  48. เคี้ยวเอื้อง : ก. อาการที่สัตว์บางจำพวกเช่นวัวควายสํารอกอาหารออกมา เคี้ยวอีกให้ละเอียด, โดยปริยายหมายความว่า ทำอะไรช้า, บดเอื้อง ก็ว่า.
  49. ใคร ๒, ใคร ๆ : [ไคฺร] ส. ผู้ใดผู้หนึ่ง, คนใดคนหนึ่ง, (ซึ่งมิได้กำหนดแน่นอนลงไป) เช่น ฉันไม่อยากพึ่งใคร ใคร ๆ ก็ช่วยอะไรเขาไม่ได้.
  50. งกเงิ่น, งก ๆ เงิ่น ๆ : ว. ตัวสั่น, มีอาการประหม่าตัวสั่นจนทําอะไรไม่ถูก.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-293

(0.0634 sec)