หนึ่ง : น. ตัวเลขตัวแรกของจำนวนนับ; จำนวนเดียว, คนเดียว, สิ่งเดียว, เช่น หนึ่งในดวงใจ. ว. เดี่ยว; เป็นเอก, เป็นเลิศ, เช่น เพื่อน ๆ ยกให้เขาเป็น หนึ่งในรุ่น.
อันดับ : น. ชั้น เช่น พระสงฆ์นั่งตามอันดับ, ระเบียบ; ลําดับ เช่น สอบได้ ในอันดับต้น ๆ.
...ใด...หนึ่ง : ว. ใครก็ได้, อะไรก็ได้, เช่น คนใดคนหนึ่ง สิ่งใดสิ่งหนึ่ง.
หนึ่งไม่มีสอง : ว. เป็นเลิศอยู่คนเดียว.
กลดพระสุเมรุ : น. ท่ารําละครท่าหนึ่ง อยู่ในอันดับว่า สารถีชักรถ กลดพระสุเมรุ ตระเวนเวหา. (ฟ้อน).
ดอกไม้ทะเล : น. ชื่อสัตว์ทะเลไม่มีกระดูกสันหลังหลายชนิดและหลายสกุล ในอันดับ Actiniaria รูปทรงกระบอกยืดหดได้ ด้านหนึ่งเป็นฐานสําหรับยึด ด้าน ตรงข้ามเป็นช่องปาก มีหนวดมาก, เห็ดหลุบ ก็เรียก.
ตระเวนเวหา : น. วิธีรำละครท่าหนึ่ง อยู่ในอันดับว่า สารถีชักรถ กลดพระสุเมรุ ตระเวนเวหา. (ฟ้อน).
โลก, โลก : [โลก, โลกะ, โลกกะ] น. แผ่นดิน, โดยปริยายหมายถึงหมู่มนุษย์ เช่น ให้โลกนิยม; ส่วนหนึ่งแห่งสกลจักรวาล เช่น มนุษยโลก เทวโลก พรหมโลก โลกพระอังคาร; (ภูมิ) ดาวเคราะห์ดวงหนึ่ง มีขนาดใหญ่ เป็นอันดับ ๕ ในระบบสุริยะ เป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์และสิ่งมีชีวิต ทั้งหลาย ลักษณะอย่างรูปทรงกลม มีเส้นผ่าศูนย์กลางที่ศูนย์สูตรยาว ๑๒,๗๕๕ กิโลเมตร ศูนย์กลางที่ขั้วโลกยาว ๑๒,๗๑๑ กิโลเมตร มี เนื้อที่บนผิวโลก ๕๑๐,๙๐๓,๔๐๐ ตารางกิโลเมตร. (ป., ส.).
สมาชิก ๒ : [สะมา] (คณิต) น. สิ่งแต่ละสิ่งที่มีปรากฏอยู่ในเซตใดเซตหนึ่ง เช่น { ก, ข, ค } คือ เซตของอักษร ๓ ตัวแรกในภาษาไทย มีสมาชิก ๓ ตัว, สิ่งที่ปรากฏอยู่ในคู่อันดับใดคู่อันดับหนึ่ง เช่น (ก, ข) คือ คู่อันดับหนึ่ง (ที่มี ก เป็นสมาชิกตัวหน้า ข เป็นสมาชิกตัวหลัง. อ. element, member).
อันตรภาค : [พาก] (สถิติ) น. ช่วงคะแนนหรือขอบเขตของคะแนน เป็นต้นในขั้นหนึ่ง ๆ ในตารางแจกแจงความถี่ เช่น อันตรภาคของ คะแนนตั้งแต่ ๘๖๑๐๐ เป็นอันดับ ๑.
เอกอัครราชทูต : [เอกอักคฺระ] น. ทูตอันดับหนึ่งซึ่งประมุขของรัฐ แต่งตั้งไปประจํายังสํานักของประมุขของอีกรัฐหนึ่ง เพื่อให้เป็น ตัวแทนในการเจรจากิจการต่าง ๆ และดูแลผลประโยชน์คนในชาติ ของตนในรัฐนั้น ๆ. (อ. ambassador).
เอกอัครสมณทูต : [เอกอักคฺระ] น. สมณทูตอันดับหนึ่งที่สันตะปาปา ทรงแต่งตั้งไปประจําสํานักของประมุขของอีกรัฐหนึ่ง เพื่อเป็นตัวแทน ทางการทูต รวมทั้งทําหน้าที่ดูแลและประสานงานกับคริสต์ศาสนิกชน นิกายโรมันคาทอลิกในส่วนที่เกี่ยวกับศาสนา มีฐานะระดับเดียวกับ เอกอัครราชทูต. (อ. nuncio).
ดวด ๑ : น. ชื่อการเล่นชนิดหนึ่ง เดินแต้มตามเบี้ยที่ทอดได้ไปตามตาตาราง. (ปาก) ก. ดื่มทีเดียวหมด (มักใช้แก่เหล้า). ว. เดี่ยว, หนึ่ง; (ปาก) ทีเดียว.
หลิ่ว : ว. เดี่ยว, หนึ่ง, เช่น นกเขาหลิ่ว คือ นกเขาขันเสียงเดียว.
อ้าย ๑ : (โบ) น. เรียกลูกชายคนที่ ๑ ว่า ลูกอ้าย. (สามดวง); โดยปริยาย อนุโลมเรียกพี่ชายคนโตว่า พี่อ้าย. ว. ต้น, หนึ่ง, ในคำว่า เดือนอ้าย.
กระติ๊ด ๒, กระติ๊ดเดียว, กระติ๊ดหนึ่ง : (ปาก) ว. เล็กน้อย, เล็กนิดเดียว, เช่น เสื้อตัวนี้ติดกระดุมเม็ด กระติ๊ดเดียว ขอเกลือสักกระติ๊ดหนึ่ง, ติ๊ดเดียว หรือ ติ๊ดหนึ่ง ก็ว่า.
ดังหนึ่ง : ว. เสมือนหนึ่ง.
น้ำหนึ่ง : ว. มีคุณสมบัติสูงสุดและมีแสงแวววาวบริสุทธิ์ (ใช้แก่เพชร) เรียกว่า เพชรนํ้าหนึ่ง.
น้ำหนึ่งใจเดียวกัน : (สํา) ว. มีความคิดเห็นเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน.
นิดหนึ่ง : ว. หน่อยหนึ่ง.
พระอันดับ : น. พระลูกวัด, พระอนุจร ก็เรียก, พระผู้มิได้เป็นประธาน หรือคู่สวดในสังฆกรรม เช่น พระอันดับนาค (พระอันดับในพิธีบวช นาค) พระอันดับแจง (พระอันดับในพิธีสวดแจง), โดยปริยายหมายถึง ผู้น้อยที่เข้าร่วมพิธีโดยมิได้มีบทบาทสําคัญอะไร.
มือหนึ่ง : น. เพชฌฆาตที่ลงดาบประหารชีวิตนักโทษเป็นคนแรก; ผู้มีความสามารถยอดเยี่ยมในทางใดทางหนึ่ง เช่น เขาเป็นมือหนึ่ง ทางประวัติศาสตร์.
เหมือนว่า, เหมือนหนึ่งว่า : สัน. ดุจว่า, ประหนึ่งว่า, เหมือนกับว่า, เช่น เขาพูดกับฉันเหมือนว่าฉันเป็นเพื่อนเขา เขารักฉันเหมือนหนึ่งว่าเป็น ลูกในไส้.
ดุจดัง, ดุจหนึ่ง : [ดุด-] ว. เหมือน, คล้าย, เช่น, เพียงดัง, ราวกะ.
ตะหนึ่งรัด : ว. เป็นใหญ่. (ช.).
เป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน : ว. พร้อมเพรียงกัน, พร้อมใจกัน.
เพชรน้ำหนึ่ง, เพชรน้ำเอก : (สำ) ว. ดีเป็นพิเศษยอดเยี่ยม.
ข้อ : น. ส่วนที่อยู่ระหว่างปล้องของไม้ไผ่หรืออ้อยเป็นต้น, ส่วนตรงที่ของ ๒ สิ่งมาต่อกัน เช่น ข้อต่อท่อประปา; ตอนหนึ่ง ๆ, ชิ้นหนึ่ง ๆ, ท่อน หนึ่ง ๆ, เช่น อ้อยควั่นเป็นข้อ ๆ เข็มขัดทองเป็นข้อ ๆ; เรียกอวัยวะ บางส่วนที่มีข้อต่อและงอได้ เช่น ข้อมือ ข้อศอก ข้อเท้า; เนื้อความ ตอนหนึ่ง ๆ, ใจความสั้น ๆ ของเรื่อง, ข้อความ ก็ว่า, เรื่อง เช่น ข้อพิพาท ข้อยุติ, หัวข้อ เช่น ข้ออ้าง ข้อข้องใจ.
ช่วงชัย : น. การเล่นพื้นเมืองอย่างหนึ่ง นิยมเล่นในเทศกาล เช่น สงกรานต์ มีผู้เล่นหลายคน แบ่งออกเป็น ๒ ฝ่าย ชายฝ่าย หนึ่ง หญิงฝ่ายหนึ่ง ยืนหันหน้าเข้าหากัน ห่างพอที่จะใช้ ลูกช่วงที่ทําด้วยผ้าขาวม้าเป็นต้นเป็นลูกกลม ๆ ผูกให้แน่น โยน หรือปาให้กัน ถ้าฝ่ายใดรับได้แล้วปาไปถูกคนใดคนหนึ่ง ของฝ่ายตรงข้าม ฝ่ายนั้นก็เป็นฝ่ายแพ้ มี ๓ ชนิด คือ ช่วงรํา ผู้แพ้ต้องออกไปรํา ช่วงใช้ ผู้แพ้ต้องไปอยู่อีกข้างหนึ่ง และ ช่วงขี้ข้า ผู้แพ้ต้องให้อีกฝ่ายหนึ่งขี่คอ.
ท่อน : น. ส่วนที่ตัดหรือทอนออกเป็นตอน ๆ เช่น ท่อนหัว ท่อนกลาง ท่อนหาง, ตอนหนึ่ง ๆ ของเพลงไทย เช่น ท่อน ๑ ท่อน ๒ ท่อน ๓; ลักษณนามเรียกสิ่งที่ตัดแบ่งหรือทอนออกเป็นท่อน ๆ เช่น ฟืนท่อน หนึ่ง ฟืน ๒ ท่อน เพลง ๓ ท่อน.
ประโยค : [ปฺระโหฺยก] (ไว) น. คําพูดหรือข้อความที่ได้ความบริบูรณ์ตอน หนึ่ง ๆ เช่น ประโยคบอกเล่า ประโยคปฏิเสธ ประโยคคําถาม; ชั้นแห่งความรู้ภาษาบาลี เช่น เปรียญ ๓ ประโยค สอบได้ประโยค ๓; ความเพียรเครื่องประกอบ, ความเพียร เช่น ประโยคสัมปทา หมายถึง การถึงพร้อมด้วยความเพียร. (ส. ปฺรโยค; ป. ปโยค).
วงเล็บเหลี่ยม : น. เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ [ ] สำหรับใช้กัน คำหรือข้อความที่ขยายหรืออธิบายจากข้อความอื่นในอีกลักษณะ หนึ่ง เมื่อข้อความนั้นได้มีการใช้เครื่องหมายวงเล็บแบบอื่นด้วย เช่น กตัญญู น. ผู้รู้อุปการคุณที่ท่านทำให้, ผู้รู้คุณท่าน,เป็นคำคู่กันกับ กตเวที. [ป. กต ว่า (อุปการคุณ) ที่ท่านทำแล้ว + ญู ว่า ผู้รู้], ใช้บอก คำอ่านในหนังสือประเภทพจนานุกรม เช่น ขนง [ขะหฺนง] น. คิ้ว, ใช้เป็นราชาศัพท์ว่า, พระขนงใช้กันข้อความในการเขียน บรรณานุกรมและเชิงอรรถในกรณีที่ข้อความนั้นไม่ปรากฏใน หนังสือ แต่ผู้ทำบรรณานุกรมเพิ่มเติมเข้าไปเอง โดยมีหลักฐาน ยืนยัน เช่น [ตรี อมาตยกุล] นำชมหอสมุดดำรงราชานุภาพ. พระนคร : กรมศิลปากร, ๒๔๙๔., ใช้ในวิชาคณิตศาสตร์ เพื่อกั้นกลุ่มตัวเลขกลุ่มสัญลักษณ์ที่มีวงเล็บอื่นอยู่แล้วไว้เป็น กลุ่มเดียวกัน เช่น 11 + 2[x + 4 3{x + 5 4(x + 1)}] = 23, ใช้ ในทางวิทยาศาสตร์เพื่อกั้นกลุ่มตัวเลขหรือกลุ่มสัญลักษณ์เพื่อ แสดงความหมายต่าง ๆ เช่น [Ba2+][F2] = 1.05.106, Na2 [Fe(Cn)5(NO)]2H2O. วงวัง น. การล้อม.
วรรค : [วัก] น. ตอน, บางทีก็ใช้เข้าคู่กันเป็น วรรคตอน เช่น เครื่องหมาย วรรคตอน เขียนหนังสือควรให้มีวรรคตอน, หมวด เช่น วรรค ก; ช่วงหนึ่งของคําหรือข้อความที่สุดลงแล้วเว้นเป็นช่องว่างไว้ระยะ หนึ่ง เรียกว่า เว้นวรรค, ถ้าเป็นเรื่องร้อยกรองถือข้อความช่วงหนึ่ง เป็น วรรคหนึ่ง เช่น ถึงม้วยดินสิ้นฟ้ามหาสมุทร; ชื่อมาตรา ปักษคณนา ๔ หรือ ๕ ปักษ์ เรียก วรรคหนึ่ง คือ ปักษ์ถ้วน ๓ ปักษ์ ขาด ๑ เรียก จุลวรรค, ปักษ์ถ้วน ๔ ปักษ์ขาด ๑ เรียก มหาวรรค; (กฎ) ย่อหน้าหนึ่ง ๆ ของบทบัญญัติในแต่ละมาตราของกฎหมาย. (ส. วรฺค; ป. วคฺค).
วรุตดม, วรุตมะ, วโรดม, วโรตมะ : [วะรุดดม, วะรุดตะมะ, วะโรดม, วะโรดตะมะ] ว. ประเสริฐสุด. (ป. วร + อุตฺตม). [วะรง] น. ''ส่วนสําคัญของร่างกาย'' คือ หัว. (ส. วร + องฺค). [วะระนะ] น. ป้อม, กําแพง, ที่ป้องกัน; การป้องกัน. (ป., ส.). [วัก] น. ตอน, บางทีก็ใช้เข้าคู่กันเป็น วรรคตอน เช่น เครื่องหมาย วรรคตอน เขียนหนังสือควรให้มีวรรคตอน, หมวด เช่น วรรค ก; ช่วงหนึ่งของคําหรือข้อความที่สุดลงแล้วเว้นเป็นช่องว่างไว้ระยะ หนึ่ง เรียกว่า เว้นวรรค, ถ้าเป็นเรื่องร้อยกรองถือข้อความช่วงหนึ่ง เป็น วรรคหนึ่ง เช่น ถึงม้วยดินสิ้นฟ้ามหาสมุทร; ชื่อมาตรา ปักษคณนา ๔ หรือ ๕ ปักษ์ เรียก วรรคหนึ่ง คือ ปักษ์ถ้วน ๓ ปักษ์ ขาด ๑ เรียก จุลวรรค, ปักษ์ถ้วน ๔ ปักษ์ขาด ๑ เรียก มหาวรรค; (กฎ) ย่อหน้าหนึ่ง ๆ ของบทบัญญัติในแต่ละมาตราของกฎหมาย. (ส. วรฺค; ป. วคฺค). [วัก] ว. เกี่ยวกับหมู่กับคณะ, เป็นหมวด, เป็นหมู่. (ส. วรฺคฺย; ป. วคฺคิย). [วัด] น. โทษ, ความผิด. (ส. วรฺช; ป. วชฺช). [วัด] ว. ที่ควรเว้น. (ส. วรฺชฺย). [วันนะ] น. สี เช่น เบญจวรรณ แปลว่า ๕ สี, มักใช้เข้าคู่กับคำ สีสันเป็น สีสันวรรณะ; ผิว เช่น ขอให้เจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละ, มักใช้เข้าคู่กับคำ ผิวพรรณ เป็น ผิวพรรณวรรณะ; ชั้นชน, ในสังคมฮินดูแบ่งคนออกเป็น ๔ วรรณะ คือ พราหมณ์ กษัตริย์ แพศย์ ศูทร; หนังสือ เช่น วรรณกรรม วรรณคดี. (ส. วรฺณ; ป. วณฺณ).
ศก ๒ : น. ระบบการคํานวณนับเวลาเรียงลําดับกันเป็นปี ๆ โดยถือเอา เหตุการณ์ใดเหตุการณ์หนึ่งเป็นจุดเริ่มต้น ดังในคําว่า รัตน โกสินทรศก ซึ่งถือเอาปีเริ่มสร้างกรุงรัตนโกสินทร์เป็นจุดเริ่มต้น, บางทีก็ใช้เป็นคําย่อของศักราช เช่น พุทธศก คริสต์ศก; คําเรียกปี หนึ่ง ๆ ของจุลศักราช เพื่อให้ทราบว่าเป็นปีที่ลงท้ายด้วย ๑ ๒ ... หรือ ๐ เช่น ถ้าลงท้ายด้วย ๑ เรียกว่า เอกศก ลงท้ายด้วย ๒ เรียกว่า โทศก ... ลงท้ายด้วย ๐ เรียกว่า สัมฤทธิศก; (ปาก) ปี เช่น ศกนี้ ศกหน้า วันเถลิงศก. (ส.).
หน่วย : [หฺน่วย] น. ตัวเลขหลังสุดของเลขจํานวนเต็มที่เรียงกันเรียกว่า เลขหลัก หน่วย เช่น ๑๔๓ เลข ๓ เป็นเลขหลักหน่วย; จํานวนหรือหมู่ที่นับเป็น หนึ่ง เช่น หน่วยอนุสภากาชาด; ลูกตา ในคําว่า นํ้าตาคลอหน่วย นํ้าตา ล่อหน่วย; ลูก, ผล, เช่น มะม่วง ๓ หน่วย. ว. หนึ่ง (ใช้แก่การพนันถั่ว และโป).
เอก, เอก : [เอกะ, เอกกะ] ว. หนึ่ง (จํานวน); ชั้นที่ ๑ (ใช้เกี่ยวกับลําดับชั้น หรือขั้นของยศ ตําแหน่ง คุณภาพ หรือวิทยฐานะ สูงกว่า โท) เช่น ร้อยเอก ข้าราชการชั้นเอก ปริญญาเอก; เรียกเครื่องหมายวรรณยุกต์ รูปดังนี้ ? ว่า ไม้เอก; ดีเลิศ เช่น กวีเอก, สําคัญ เช่น ตัวเอก; เรียก ระนาดที่มีเสียงแกร่งกร้าวกว่าระนาดทุ้ม มีไม้แข็ง ๒ อันสําหรับตี ว่า ระนาดเอก. (โบ) น. เรียกลูกหญิงคนที่ ๗ ว่า ลูกเอก, คู่กับ ลูกชายคนที่ ๗ ว่า ลูกเจ็ด. (กฎ.). (ป., ส.).
เอ็ด ๑ : ว. หนึ่ง (ใช้เรียกจํานวนเลขที่มี ๑ อยู่ท้าย เช่น ๑๑ ว่า สิบเอ็ด ๑๐๑ ว่า ร้อยเอ็ด หรือหนึ่งร้อยเอ็ด).
กั้ง ๑ : น. ชื่อสัตว์น้ำไม่มีกระดูกสันหลังในชั้น Crustacea อันดับ Stomatopoda มีหลายวงศ์ ส่วนใหญ่อยู่ในวงศ์ Squillidae หายใจด้วยเหงือก ลําตัวแบนหรือกลม แบ่งเป็นปล้อง ๆ เปลือก ที่หุ้มท่อนหัวและอกคลุมมาถึงอกปล้องที่ ๕ แต่ไม่ถึงปล้องที่ ๘ กรี มีลักษณะแบนราบ มี ๖ ขา, กั้งตั๊กแตน ก็เรียก.
กุ้ง ๑ : น. ชื่อสัตว์น้ำไม่มีกระดูกสันหลังในชั้น Crustacea อันดับ Decapoda มีหลายวงศ์ หายใจด้วยเหงือก ลําตัวยาว แบนหรือกลม แบ่งเป็นปล้อง ๆ เปลือกที่หุ้มท่อนหัวและ อกคลุมมาถึงอกปล้องที่ ๘ ส่วนใหญ่กรีมีลักษณะแบนข้าง ก้ามและขาอยู่ที่ส่วนหัวและอก มี ๑๐ ขา มีทั้งในน้ำจืดและน้ำเค็ม มีหลายชนิด เช่น กุ้งก้ามกราม กุ้งก้ามเกลี้ยง กุ้งตะกาด กุ้งตะเข็บ กุ้งนาง กุ้งฝอย กุ้งหลวง กุ้งหัวแข็ง กุ้งหัวโขน.
ตะกาด ๒ : น. ชื่อกุ้งขนาดเล็กหลายชนิดในวงศ์ Penaeidae อันดับ Decapoda เช่น ชนิด Metapenaeus ensis พบในบริเวณนํ้ากร่อยและ ชายฝั่งทะเล, ชันกาด ก็เรียก.
ทวาทศมณฑล : น. กลมโดยรอบครบ ๑๒ ราศี; ชื่อมาตราวัด จักรราศีเท่ากับ ๒ อัฒจักร เป็น ๑ จักรราศี คือ ทวาทศมณฑล หนึ่ง. (ส.).
เบี้ยต่อไส้ : (สํา) น. เงินที่พอประทังชีวิตให้ยืนยาวไปได้ชั่วระยะ หนึ่ง.
วิกัป : [กับ] น. การใคร่ครวญอย่างไม่แน่ใจ; คําแสดงความหมาย ให้เลือกเอาอย่างใดอย่าง หนึ่ง. ก. กำหนด; ให้, ฝาก (ตามพระวินัยบัญญัติ). (ป. วิกปฺป; ส. วิกลฺป).
จุติ : [จุ-ติ, จุดติ] ก. เคลื่อน, เปลี่ยนสภาพจากกำเนิดหนึ่งไปเป็นอีกกำเนิด หนึ่ง, (มักใช้แก่เทวดา). (ป.; ส. จฺยุติ).
มวย ๓ : ว. หนึ่ง, เดียว. (ข.).
สะตาหมัน : น. สวน. (ช. สะ ว่า หนึ่ง, ตาหมัน ว่า สวน).
แหนง ๒ : [แหฺนง] (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. พิธีทางไสยศาสตร์อย่างหนึ่งที่ทำให้ผู้หญิงไม่ได้ แต่งงานตลอดไป.
เอ ๑ : ว. หนึ่ง; เปลี่ยว, เดี่ยว, เช่น เอองค์. (ตัดมาจาก เอก).
เอกา, เอ้กา : ว. หนึ่ง, คนเดียว, โดดเดี่ยว; ถือกินข้าวหนเดียวในเวลาระหว่างเช้า ถึงเที่ยงเป็นกิจวัตร เรียกว่า ถือเอ้กา.