Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: อัป , then อป, อปฺ, อับ, อัป .

Royal Institute Thai-Thai Dict : อัป, 52 found, display 1-50
  1. อัป : [อับปะ] คำประกอบหน้าศัพท์ที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต มีความหมายว่า ไม่, ไร้, ไปจาก, ปราศจาก, เช่น อัปภาคย์ ว่า ไร้โชค ปราศจากโชค, อัปยศ ว่า ไร้ยศ, ใช้ อป ก็ได้. (ป., ส. อป).
  2. อัปฏิฆะ : [อับปะติคะ] ว. ไม่ระคายใจ, ไม่เคืองใจ, ไม่แค้นเคือง. (ป. อปฺปฏิฆ).
  3. อัปฏิภาค : [อับปะติพาก] ว. ไม่มีเปรียบ, เทียบไม่ได้. (ป. อปฺปฏิภาค).
  4. อัประมาท : [อับปฺระหฺมาด] น. ความไม่มึนเมา; ความไม่เลินเล่อ, ความระวัง, ความเอาใจใส่; อประมาท ก็ว่า. (ส.; ป. อปฺปมาท).
  5. อัประไมย : [อับปฺระไม] ว. นับไม่ได้, ไม่จํากัด, มากมาย, อประไมย ก็ว่า. (ส. อปฺรเมย; ป. อปฺปเมยฺย).
  6. อประมาท, อัประมาท : [อะปฺระหฺมาด, อับปฺระหฺมาด] น. ความไม่มึนเมา; ความไม่เลินเล่อ, ความระวัง, ความเอาใจใส่. (ส.; ป. อปฺปมาท).
  7. อประไมย, อัประไมย : [อะปฺระไม, อับปฺระไม] ว. นับไม่ได้, ไม่จํากัด, มากมาย. (ส. อปฺรเมย; ป. อปฺปเมยฺย).
  8. อป : [อะปะ] คําประกอบหน้าศัพท์ที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต มีความหมายว่า ไม่, ปราศจาก, เช่น อปมงคล = ไม่เป็นมงคล, ปราศจากมงคล. (ป., ส.).
  9. อับ ๒ : ว. ไม่มีลมเข้าออก, ไม่โปร่ง, เช่น อากาศอับ, ไม่เคลื่อนไหว เช่น ลมอับ; ไม่มีตาไป (ใช้แก่หมากรุก); โง่ เช่น ปัญญาอับ; ถึงที่อับจน, ถึงคราวชะตาตก, เช่น ตกอับ; มัวหมอง เช่น อับเศร้าหมองศรี; มืด เช่น อับทิศ คือ มืดทุกทิศ; อาการที่นกเขาซึ่งเคยขันแล้วกลับไม่ขัน; ลักษณะของกลิ่นซึ่งเกิดจากสิ่งที่ไม่มีอากาศผ่าน เช่น เหม็นอับ.
  10. อับ ๑ : น. ตลับ.
  11. อัปกะ : [อับปะ] ว. เล็กน้อย, นิดหน่อย. (ป. อปฺปก; ส. อลฺปก).
  12. อัปภาคย์ : [อับปะ] ว. ปราศจากโชค, เคราะห์ร้าย, วาสนาน้อย; ไม่มีดี เช่น จะดูดินฟ้าพนาวัน สารพันอัปภาคย์หลากลาง. (อิเหนา), นิยมใช้ เข้าคู่กับคำ อาภัพ เป็น อาภัพอัปภาคย์, อปภาคย์ ก็ว่า. (ส.).
  13. อัประมาณ : [อับปฺระ] ว. กําหนดจำนวนไม่ได้, จํากัดไม่ได้; น่าอับอาย เช่น ย่อยยับอัประมาณ; อประมาณ ก็ว่า. (ส.; ป. อปฺปมาณ).
  14. อัปรีย์ : [อับปฺรี] ว. ระยํา, จัญไร, เลวทราม, ตํ่าช้า, ชั่วช้า, ไม่เป็นมงคล. (ส. อปฺริย; ป. อปฺปิย).
  15. อปภาคย์, อัปภาคย์ : [อะปะพาก, อับปะพาก] ว. ปราศจากโชค, เคราะห์ร้าย, วาสนา น้อย, นิยมใช้เข้าคู่กับคำ อาภัพ เป็น อาภัพอัปภาคย์. (ส.).
  16. อปโลกน์ ๑, อุปโลกน์ : [อะปะโหฺลก, อุปะโหฺลก, อุบปะโหฺลก] ก. ยกกันขึ้นไป เช่น อุปโลกน์ให้เป็นหัวหน้า. (ป. อปโลกน).
  17. อปโลกน์ ๒ : [อะปะโหฺลก] ว. ที่บอกเล่า เช่น คําอปโลกน์. (ป. อปโลกน).
  18. อับสปอร์ : น. โครงสร้างที่มีลักษณะคล้ายถุง ห่อหุ้มสปอร์ เป็นที่เกิดของสปอร์.
  19. อประมาณ, อัประมาณ : [อะปฺระ, อับปฺระ] ว. กําหนดจำนวนไม่ได้, จํากัดไม่ได้; น่าอับอาย เช่น ย่อยยับอัประมาณ. (ส.; ป. อปฺปมาณ).
  20. บงอับบงรา, บ่งอับบ่งรา : ก. เข้าที่อับจน.
  21. อัปปะ : [อับ] ว. เล็ก, น้อย. (ป.; ส. อลฺป).
  22. อัปเปหิ : [อับ] (ปาก) ก. ขับไล่, อเปหิ ก็ว่า.
  23. อเปหิ, อัปเปหิ : [อะ, อับ] (ปาก) ก. ขับไล่. (ป. อเปหิ ว่า จงหลีกไป).
  24. อับเฉา ๑ : ดูใน อับ.
  25. อัปการ : [อับปะกาน] (กลอน) ว. ผิดรูป, พิการ, น่าเกลียด. (ป., ส. อปการ).
  26. อัปมงคล : [อับปะ] ว. ปราศจากมงคล, ไม่เจริญ, เป็นลางร้าย, อปมงคล ก็ว่า. (ป., ส.).
  27. อัปยศ : [อับปะ] ว. ไร้ยศ, ปราศจากยศ; เสื่อมเสียชื่อเสียง, น่าอับอาย ขายหน้า; อปยศ ก็ว่า. (ส. อปยศสฺ).
  28. อัปราชัย : [อับปะราไช] น. ความไม่แพ้, ความชนะ, คู่กับ ปราชัย คือ ความแพ้; (กลอน) บางทีใช้หมายความว่า แพ้ เช่น คบคนดีเป็นศรีแก่ตัว คบคน ชั่วอัปราชัย; อปราชัย ก็ว่า. (ป., ส.).
  29. อัปลักษณ์ : [อับปะ] ว. ชั่ว (มักใช้แก่รูปร่าง หน้าตา), มีลักษณะที่ถือว่าไม่เป็น มงคล, เช่น รูปร่างอัปลักษณ์ หน้าตาอัปลักษณ์, อปลักษณ์ ก็ว่า. (ส. อปลกฺษณ; ป. อปลกฺขณ).
  30. อัปสร : [อับสอน] น. นางฟ้า. (ส. อปฺสรสฺ; ป. อจฺฉรา).
  31. อัพภันดร, อัพภันตร : [อับพันดอน, ตะระ] น. ส่วนใน, ภายใน, ท่ามกลาง; ชื่อมาตราวัด ในบาลี ราว ๗ วา เป็น ๑ อัพภันดร. (ป.; ส. อภฺยนฺตร).
  32. อัพภาน : [อับพาน] น. การชักกลับมา, ในวินัยหมายถึง การรับภิกษุผู้ต้อง อาบัติสังฆาทิเสส และได้ถูกทําโทษคือ อยู่ปริวาสแล้วให้กลับคืน เป็นผู้บริสุทธิ์, การสวดประกาศเรื่องนี้ เรียกว่า สวดอัพภาน. (ป.).
  33. อัพภาส : [อับพาด] น. คําซํ้า, ในไวยากรณ์บาลีและสันสกฤต หมายเอา การซ้อน หรือซํ้าอักษรลงหน้าศัพท์ เช่น ชวาล (เรือง) เป็น ชัชวาล (รุ่งเรือง), ใน ภาษาไทยก็ใช้ เช่น ครื้น ครึก ยิ้ม แย้ม ใช้ อัพภาส เป็น คะครื้น คะครึก ยะยิ้ม ยะแย้ม. (ป.; ส. อภฺยาส).
  34. อัพยากฤต : [อับพะยากฺริด] น. กลาง ๆ ระหว่างกุศลกับอกุศล คือไม่จัดเป็นกุศล หรืออกุศล ในความว่า ธรรมที่เป็นอัพยากฤต. (ส.; ป. อพฺยากต).
  35. กระแตไต่ไม้ ๒ : น. ชื่อเฟินอิงอาศัยชนิด Drynaria quercifolia (L.) J. Smith ในวงศ์ Polypodiaceae ขึ้นเกาะตามต้นไม้ใหญ่ในป่าที่ชุ่มชื้น เหง้ามีขนเป็นปุยสีน้ำตาลแก่คล้ายกระแต ใบมี ๒ ชนิด คือใบสร้างอับสปอร์ ยาวประมาณ ๑ เมตร เว้าเป็นแฉกลึก เกือบถึงเส้นกลางใบ และมีอับสปอร์เป็นจุด ๆ สีน้ำตาล เข้มใต้ใบ ใบไม่สร้างอับสปอร์ ขนาดประมาณฝ่ามือ ขอบจักหยาบ ๆ สีน้ำตาล แข็งติดอยู่กับเหง้าจนผุ ไม่หล่นเหมือนใบสร้างอับสปอร์ ทําหน้าที่กักปุ๋ย, กระปรอกว่าว ใบหูช้าง สไบนาง สะโมง หรือ หัวว่าว ก็เรียก.
  36. กระอักกระไอ : ว. อิดเอื้อน, ไม่กล้าพูด, ทําเสียงไออุบอับอยู่ในคอ, เช่น พูดจากุกกักกระอักกระไอ (ไกรทอง).
  37. ชรอ่ำ : [ชฺระ] (กลอน) ว. ชอํ่า, มืดมัว, มืดครึ้ม, เช่น ชรอ่ำฟ้าใต้ แผ่นหงาย. (แช่งน้ำ), ฟ้าหล้าเข็ดขาม ชรอื้อชรอ่ำอับทิศ. (สมุทรโฆษ).
  38. ชรอื้อ : [ชฺระ] (กลอน) ว. ชื้อ, ชอื้อ, มืดมัว, มืดคลุ้ม, ครึ้ม, อับแสง, เช่น ด่งงไซรชรเอมชรอื้อ อรทื้อแทบทางเดอร. (ม. คำหลวง ชูชก), ฟ้าหล้าเข็ดขาม ชรอื้อชรอ่ำอับทิศ. (สมุทรโฆษ).
  39. ชระอับ : [ชฺระ] (กลอน) ว. อับ, มืดมัว, มืดคลุ้ม.
  40. ชอื้อ : [ชะ] ว. ชื้อ, มืดมัว, มืดคลุ้ม, ครึ้ม, อับแสง.
  41. ชายผ้าสีดา : น. ชื่อเฟินอิงอาศัยหลายชนิดในสกุล Platycerium วงศ์ Polypodiaceae เหง้าใหญ่สั้น ใบมี ๒ แบบ ใบที่ทาบกับ ต้นไม้เป็นใบไม่สร้างอับสปอร์แผ่นใบตั้ง ไม่มีก้านใบ ติดอยู่กับต้นตลอดไป ส่วนใบสร้างอับสปอร์แผ่นใบ ตั้งขึ้นหรือห้อยลง ขอบหยักเว้า ใบจะร่วงไปตามอายุ.
  42. ซวย : (ปาก) ว. เคราะห์ร้าย, อับโชค. (จ.).
  43. แปรงล้างขวด : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Callistemon viminalis (Sol. ex Gaertn.) G. Don ex Loud. ในวงศ์ Myrtaceae ก้านชูอับเรณูสีแดง เป็นฝอยเหมือนแปรง.
  44. มะดูก : น. (๑) ชื่อไม้ต้นชนิด Beilschmiedia roxburghiana Nees ในวงศ์ Lauraceae ดอกสีขาวอมเขียว อับเรณูสีแดง. (๒) ชื่อไม้ต้นชนิด Siphonodon celastrineus Griff. ในวงศ์ Celastraceae ดอกสีเหลืองมี ขีดหรือจุดประสีนํ้าตาลแดง ผลสุกกินได้ รสหวาน.
  45. อปมงคล, อัปมงคล : [อะปะ, อับปะ] ว. ปราศจากมงคล, ไม่เจริญ, เป็นลางร้าย. (ป., ส.).
  46. อปยศ, อัปยศ : [อะปะยด, อับปะยด] ว. ไร้ยศ, ปราศจากยศ; เสื่อมเสียชื่อเสียง, น่าอับอายขายหน้า. (ส.).
  47. อปรา : [อะปะรา, อับปะรา] (กลอน) ก. พ่ายแพ้ เช่น ต่อสู้เคี่ยวขับไม่อปรา หาไม่พ่อตาจะต้องริบ. (สังข์ทอง).
  48. อปราชัย, อัปราชัย : [อะปะ, อับปะ] น. ความไม่แพ้, ความชนะ; (กลอน) บางทีใช้ หมายความว่า แพ้ เช่น คบคนดีเป็นศรีแก่ตัว คบคนชั่วอัปราชัย. (ป.).
  49. อปลักษณ์, อัปลักษณ์ : [อะปะ, อับปะ] ว. ชั่ว (มักใช้แก่รูปร่าง หน้าตา), มีลักษณะ ที่ถือว่าไม่เป็นมงคล, เช่น หน้าตาอปลักษณ์, รูปร่างอัปลักษณ์. (ส.; ป. อปลกฺขณ).
  50. อุดอู้ : ว. อับ, ไม่โปร่ง, (ใช้แก่สถานที่).
  51. [1-50] | 51-52

(0.0521 sec)