Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: อากาศธาตุ, อากาศ, ธาตุ , then ธาต, ธาตุ, อากาศ, อากาศธาตุ, อากาส, อากาสธาตุ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : อากาศธาตุ, 454 found, display 1-50
  1. อากาศธาตุ : [ทาด] น. ที่ว่าง, ที่ว่างเปล่า; ลม, แก๊ส; โดยปริยาย หมายถึงความว่างเปล่า เช่น ลงทุนทําการค้าไปหลายล้านบาท บัดนี้กลายเป็นอากาศธาตุไปหมดแล้ว.
  2. อากาศ, อากาศ : [อากาด, อากาดสะ] น. แก๊สผสมที่ประกอบด้วยไนโตรเจนและ ออกซิเจนเป็นส่วนใหญ่ ใช้หายใจหรือช่วยในการเผาไหม้เป็นต้น; (ปรัชญา) ที่ที่ว่างเปล่าซึ่งมีอยู่เป็นเอกเทศจากสสาร, เป็นธาตุอย่าง ๑ ใน ๖ คือ ปฐวีธาตุ (ธาตุดิน) อาโปธาตุ (ธาตุนํ้า) เตโชธาตุ (ธาตุไฟ) วาโยธาตุ (ธาตุลม) อากาศธาตุ (ที่ว่างเปล่า) และวิญญาณธาตุ (ธาตุรู้); ท้องฟ้า เช่น นกบินไปในอากาศ; บางทีใช้หมายถึงสภาพดินฟ้าอากาศ โดยทั่ว ๆ ไป เช่น เช้านี้อากาศดีจัง. (ส.; ป. อากาส).
  3. ธาตุ ๑, ธาตุ- : [ทาด, ทาตุ, ทาดตุ] น. สิ่งที่ถือว่าเป็นส่วนสําคัญที่คุมกันเป็นร่างของ สิ่งทั้งหลาย โดยทั่ว ๆ ไปเชื่อว่ามี ๔ ธาตุ ได้แก่ ธาตุดิน ธาตุนํ้า ธาตุไฟ ธาตุลม แต่ก็อาจมีธาตุอื่น ๆ อีก เช่น อากาศธาตุวิญญาณธาตุ ธาตุไม้ ธาตุทอง ธาตุเหล็ก. (ป.).
  4. ก๊าซ : น. อากาศธาตุ, (วิทยา) สถานะหนึ่งของสสาร รูปร่างและ ปริมาตรไม่คงที่ ขึ้นอยู่กับภาชนะที่บรรจุ, เรียกไฟซึ่งเกิดจากการ จุดอะเซทิลีน ซึ่งได้จากก้อนแคลเซียมคาร์ไบด์ทําปฏิกิริยากับน้ำว่า ไฟก๊าซ, แก๊ส ก็ว่า. (อ. gas).
  5. แก๊ส : น. อากาศธาตุ, (วิทยา) สถานะหนึ่งของสสาร รูปร่างและ ปริมาตรไม่คงที่ขึ้นอยู่กับภาชนะที่บรรจุ, เรียกไฟซึ่งเกิดจากการ จุดอะเซทิลีน (acetylene) ซึ่งได้จากก้อนแคลเซียมคาร์ไบด์ทำ ปฏิกิริยากับน้ำว่า ไฟแก๊ส, ก๊าซ ก็ว่า. (อ. gas).
  6. ธาตุ : [ทาด] น. รากศัพท์ของคําบาลีสันสกฤตเป็นต้น เช่น ธาตุ มาจาก ธา ธาตุ สาวก มาจาก สุ ธาตุ กริยา มาจาก กฺฤ ธาตุ.
  7. ธาตุ : [ทาด, ทาตุ] น. กระดูกของพระพุทธเจ้า พระปัจเจกพุทธเจ้า และพระ อรหันต์ โดยทั่ว ๆ ไปเรียกรวม ๆ ว่า พระธาตุ, ถ้าเป็นกระดูกของ พระพุทธเจ้า เรียก พระบรมธาตุ หรือ พระบรมสารีริกธาตุ, ถ้าเป็นกระดูก ของพระอรหันต์ เรียกว่า พระธาตุ, ถ้าเป็นกระดูกส่วนใดส่วนหนึ่งของ พระพุทธเจ้า ก็เรียกตามความหมายของคํานั้น ๆ เช่น พระอุรังคธาตุ พระทันตธาตุ, ถ้าเป็นผมของพระพุทธเจ้า เรียกว่า พระเกศธาตุ; ชื่อคัมภีร์ ในพระพุทธศาสนาซึ่งว่าด้วยธาตุ เช่น ธาตุกถา ธาตุปาฐ. (ป., ส.); (ถิ่นอีสาน) เจดีย์ที่บรรจุกระดูกคนที่เผาแล้ว.
  8. ธาตุ : [ทาด] (วิทยา) น. สารเนื้อเดียวล้วนซึ่งประกอบด้วยบรรดาอะตอมที่มี โปรตอนจํานวนเดียวกันในนิวเคลียส.
  9. เบญจภูต : น. ธาตุทั้ง ๕ คือ ดิน นํ้า ไฟ ลม อากาศ.
  10. ตรีอากาศผล : น. ผลแก้อากาศธาตุ ๓ อย่าง คือ ขิง กระลําพัก อบเชยเทศ.
  11. ธาตุโขภ : [ทาตุโขบ] น. ความกําเริบของธาตุ ได้แก่ธาตุทั้ง ๔ ในร่างกาย ไม่ปรกติ มีอาหารเสีย เป็นต้น. (ป.).
  12. ธาตุครรภ : [ทาตุคับ] น. ส่วนสําคัญของพระสถูปหรือพระปรางค์ที่บรรจุ พระบรมสารีริกธาตุหรือพระธาตุไว้ภายใน, ครรภธาตุ หรือ เรือนธาตุ ก็ว่า.
  13. ธาตุเจดีย์ : [ทาด] น. เจดีย์บรรจุพระธาตุ.
  14. ธาตุมมิสสา : [ทาตุมมิดสา] น. ชื่อฉันท์วรรณพฤติ กําหนดด้วย ๓ คณะ คือ ม ภ ต คณะ กับลงท้ายเป็นครุอีก ๒ พยางค์ (ตามแบบว่า ธาตุมฺมิสฺสา ยติ สา มฺภา ตคา โค) ตัวอย่างว่า จักสําแดงมิตร สุจริตจิตนามขนาน บัญญัติคือสมาน สุขทุข เสมอประดุจกัน. (ชุมนุมตํารากลอน).
  15. ธาตุสถูป : [ทาดสะถูบ] น. ธาตุเจดีย์.
  16. ธาตุเบา : [ทาด] ว. ที่กินยาระบายอ่อน ๆ ก็ถ่าย.
  17. ธาตุหนัก : [ทาด] ว. ที่ต้องกินยาถ่ายมาก ๆ จึงจะถ่าย.
  18. กสิกรรม : น. การทําไร่ไถนา. [กะสิน] น. สมถกรรมฐานหมวดหนึ่งว่าด้วยอารมณ์ที่กําหนดธาตุ ๔ คือ ปฐวี (ดิน) อาโป (น้า) เตโช (ไฟ) วาโย (ลม), ว่าด้วยวรรณะ (สี) ๔ คือ นีล (สีเขียว) ปีต (สีเหลือง) โลหิต (สีแดง) โอทาต (สีขาว), ว่าด้วยอากาศ (ที่ว่าง) และ อาโลก (แสงสว่าง) รวมเป็น ๑๐ อย่าง. (ป.). [กะ-] น. เกณฑ์สําหรับลบพุทธศักราชเป็นจุลศักราช ตรงกับเลข ๑๑๘๑. [กะหาปะนะ] (แบบ) น. เงินตรามีพิกัดเท่ากับ ๒๐ มาสก หรือ ๑ ตําลึง คือ ๔ บาท. (ป.). [กะเลวะราก] (กลอน) น. ซากศพ, บางทีใช้เข้าคู่กันเป็น กเฬวรากซากศพ, เขียนเป็น กเฬวราก์ ก็มี เช่น เผากเฬวราก์ผู้อนาถ. (มาลัยคําหลวง). น. กลุ่มแห่งต้นไม้ที่เกิดจากเหง้าเดียวกัน เช่น กอหญ้า กอแขม กอไผ่, ต้นไม้ที่ขึ้นเป็นกลุ่ม เช่น กอข้าว, ใช้เข้าคู่กับคํา เหล่า ว่า เหล่ากอ หมายความว่า เชื้อสาย. (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ต้นก่อ. (ดู ก่อ๒). ดู หนอนกอ ที่ หนอน๑. ก. ทําให้เกิดขึ้น มีขึ้น หรือเป็นรูปขึ้น เช่น ก่อไฟ ก่อสงคราม ก่อตึก.
  19. กสิณ : [กะสิน] น. สมถกรรมฐานหมวดหนึ่งว่าด้วยอารมณ์ที่กําหนดธาตุ ๔ คือ ปฐวี (ดิน) อาโป (น้า) เตโช (ไฟ) วาโย (ลม), ว่าด้วยวรรณะ (สี) ๔ คือ นีล (สีเขียว) ปีต (สีเหลือง) โลหิต (สีแดง) โอทาต (สีขาว), ว่าด้วยอากาศ (ที่ว่าง) และ อาโลก (แสงสว่าง) รวมเป็น ๑๐ อย่าง. (ป.).
  20. ครรภธาตุ : [คับพะ-] น. ส่วนของพระสถูปหรือพระปรางค์ที่บรรจุ พระบรมสารีริกธาตุหรือพระธาตุไว้ภายใน, ธาตุครรภ หรือ เรือนธาตุ ก็ว่า. (ส. ครฺภ + ธาตุ).
  21. ครรภธาตุมณฑล : น. ภาวะอันแท้จริงของพระพุทธเจ้าซึ่งอยู่ในสรรพสัตว์ แต่ยังไม่ได้สําแดงให้ปรากฏ. (ส. ครฺภ + ธาตุ + มณฺฑล).
  22. คาร์บอนไดออกไซด์ : น. ชื่อแก๊สชนิดหนึ่ง ไม่มีสี สูตรเคมี CO2 มีปรากฏในบรรยากาศ เกิดจากการเผาไหม้โดยสมบูรณ์องธาตุคาร์บอนหรือสารอินทรีย์ เป็นแก๊สหนักกว่าอากาศและไม่ช่วยการเผาไหม้ จึงใช้ประโยชน์ ในการดับเพลิง ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องดื่มอัดลม เช่น นํ้าโซดา นํ้าหวาน ใช้ทํานํ้าแข็งแห้ง ซึ่งเป็นตัวทําความเย็น. (อ. carbon dioxide).
  23. คาร์บอนมอนอกไซด์ : [-มอน็อก-] น. ชื่อแก๊สชนิดหนึ่ง ไม่มีสี สูตรเคมี CO เป็นแก๊สพิษ ร้ายแรง จุดไฟติดในอากาศให้เปลวสีนํ้าเงินอ่อน เกิดจากการเผาไหม้ โดยไม่สมบูรณ์ของธาตุคาร์บอน มีปรากฏในแก๊สจากท่อไอเสียของ เครื่องยนต์ ใช้ประโยชน์เป็นแก๊สเชื้อเพลิง ใช้เตรียมเมทิลแอลกอฮอล์ ในอุตสาหกรรม. (อ. carbon monoxide).
  24. บรรพตธาตุ : (แบบ) น. แร่. (ส. ปรฺวต + ธาตุ).
  25. แบเรียม : น. ธาตุลําดับที่ ๕๖ สัญลักษณ์ Ba เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง สีเงิน เนื้ออ่อน เมื่อถูกอากาศสีจะหมองลงอย่างรวดเร็ว หลอม ละลายที่ ๗๑๔?ซ. สารประกอบของแบเรียมใช้ในอุตสาหกรรม สีทา แก้ว และดอกไม้ไฟ. (อ. barium).
  26. ฟอสฟอรัส : น. ธาตุลําดับที่ ๑๕ สัญลักษณ์ P เป็นอโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง มีหลายอัญรูป อัญรูปที่สําคัญ คือ ฟอสฟอรัสขาว (บางทีก็เรียกว่า ฟอสฟอรัสเหลือง) ลักษณะอ่อนคล้ายขี้ผึ้ง หลอมละลายที่ ๔๔ ? ซ. ติดไฟง่าย เมื่อกระทบอากาศจะให้แสงเรืองเป็นพิษอย่างแรง, ฟอสฟอรัสแดง ลักษณะเป็นผงสีแดงแกมม่วง เมื่อกระทบอากาศ ไม่ให้แสงเรือง ติดไฟยาก ไม่เป็นพิษเหมือนฟอสฟอรัสขาว. (อ. phosphorus).
  27. แมกนีเซียม : น. ธาตุลําดับที่ ๑๒ สัญลักษณ์ Mg เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็งสีเงิน หลอมละลายที่ ๖๕๐?ซ. เมื่อจุดให้ติดไฟในอากาศจะได้เปลวสีขาว สว่างจัด ใช้ประโยชน์ในการถ่ายรูป ทําระเบิดเพลิง นําไปผสมกับโลหะอื่นให้เป็นโลหะ เจือชนิดนํ้าหนักเบา เป็นต้น. (อ. magnesium).
  28. ลม ๑ : น. ธาตุอย่างหนึ่งในธาตุทั้ง ๔ ของร่างกาย คือ ดิน นํ้า ไฟ ลม, ถ้าลมในร่างกายแปรปรวนไม่ปรกติจะทําให้เกิดอาการต่าง ๆ ได้ เช่น เป็นลม; ลมหายใจ เช่น หมดลม สิ้นลม หมายความว่า ตาย; อากาศที่เคลื่อนที่; ชื่อโรคชนิดหนึ่ง มีอาการหลายอย่าง เช่น วิงเวียน หน้ามืด คลื่นเหียน, ถ้าอาการรุนแรงอาจถึงแก่สิ้นสติ หรือตายได้ เช่น เขาเป็นลมแน่นิ่งไป.
  29. ออกซิเจน : น. ธาตุลําดับที่ ๘ สัญลักษณ์ O เป็นแก๊ส มีปนอยู่ในอากาศประมาณ ร้อยละ ๒๐ โดยปริมาตร ไม่มีสี ไม่มีกลิ่น ไม่มีรส ไม่ติดไฟ แต่ช่วย ให้ไฟติด มีประโยชน์อย่างยิ่งต่อการหายใจและการเผาไหม้เป็นต้น ใช้จุดกับแก๊สอะเซทิลีนเพื่อเชื่อมหรือตัดโลหะ ในทางแพทย์ใช้ช่วย การหายใจของคนไข้. (อ. oxygen).
  30. อาร์กอน : น. ธาตุลําดับที่ ๑๘ สัญลักษณ์ Ar เป็นแก๊สเฉื่อย มีปรากฏอยู่ใน อากาศประมาณร้อยละ ๐.๙๔ โดยปริมาตร ใช้ประโยชน์นําไป บรรจุในหลอดไฟฟ้าและหลอดเรืองแสง. (อ. argon).
  31. เกศธาตุ : น. ผม (มักใช้ทางศาสนา) เช่น พระเกศธาตุ หมายถึง พระเกศาของพระพุทธเจ้า.
  32. โกรมธาตุ : (โบ) น. ธาตุใต้ฟ้า คือแผ่นดิน เช่น ปางน้นนไกรโกรมธาตุ. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์).
  33. คุมธาตุ : ก. ทําให้ธาตุทั้ง ๔ คือ ดิน นํ้า ไฟ ลม ในร่างกายเป็นปรกติ สมํ่าเสมอกัน.
  34. จตุกาลธาตุ : [-กาละทาด] น. ธาตุกาล ๔ คือ ว่านนํ้า เจตมูลเพลิง แคแตร พนมสวรรค์.
  35. เดินอากาศ : ก. ประกอบกิจการขนส่งทางอากาศ.
  36. ตรีผลธาตุ : น. ผลแก้ธาตุ ๓ อย่าง คือ กะทือ ไพล รากตะไคร้.
  37. เบียนธาตุ : ก. ทําให้ความหมายของธาตุผิดไปจากเดิม เช่น คม = ไป – อาคม = มา.
  38. ปรับอากาศ : ว. ที่ปรับอุณหภูมิและความชื้นของอากาศด้วยอุปกรณ์ ที่เรียกว่าเครื่องปรับอากาศ.
  39. แปรธาตุ : ก. ทําให้ธาตุหนึ่งกลายเป็นอีกธาตุหนึ่ง. น. แปรรูป, แจงรูป.
  40. ผิดอากาศ : ก. ผิดไปจากอากาศที่เคยคุ้น, แพ้อากาศ.
  41. โพยม : [พะโยม] น. ท้องฟ้า, อากาศ, โพยมัน หรือ โพยมาน ก็ใช้. (ส. โวฺยมนฺ).
  42. ภูมิอากาศ : น. อากาศประจำถิ่น, ลักษณะอากาศเฉลี่ยของภูมิภาคแห่งใด แห่งหนึ่งในช่วงระยะเวลาหนึ่งซึ่งอาจเป็นเดือน เป็นปีหรือเป็นศตวรรษ ก็ได้.
  43. แยกธาตุ : ก. ทำให้ธาตุที่รวมกันอยู่หรือประกอบกันอยู่แยกออกจากกัน.
  44. รถปรับอากาศ : น. รถโดยสารที่ติดตั้งเครื่องปรับอากาศ.
  45. เรือนธาตุ : น. ส่วนสําคัญของพระสถูปหรือพระปรางค์ที่บรรจุพระบรม สารีริกธาตุหรือพระธาตุไว้ภายใน, ครรภธาตุ หรือ ธาตุครรภ ก็ว่า.
  46. วายุ : น. ลม, อากาศ, ลมหายใจ; เทพแห่งลม. (ป., ส.). (ดู พายุ).
  47. วาโยธาตุ : น. ธาตุลม เป็นธาตุ ๑ ในธาตุทั้ง ๔ คือ ดิน นํ้า ไฟ ลม. (ป.).
  48. สลัดอากาศ : น. โจรที่จี้หรือปล้นเครื่องบินในอากาศ.
  49. หลุมอากาศ : น. บริเวณอากาศบางเป็นเหตุให้เครื่องบินเสียระดับโดย กะทันหัน.
  50. หันอากาศ : น. เรียกเครื่องหมายรูปสระดังนี้ ?ว่า ไม้หันอากาศ ใช้แทน เสียงสระอะในกรณีที่มีตัวสะกด เช่น ก ะ ด = กัด, หางกังหัน หรือ ไม้ผัด ก็เรียก.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-454

(0.1561 sec)