อาตม : [อาดตะมะ] น. ตน, ตัวตน. (ส. อาตฺมนฺ, อาตฺมา ว่า ตน, วิญญาณ, ร่างกาย; ป. อตฺต, อตฺตา).
อาตมทาน : น. การสละตัวเอง, การพลีตัว. (ส.).
อาตมา ๑ : ดูใน อาตม.
อาตมภาพ, อาตมา ๑ : [พาบ, อาดตะมา] ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด สําหรับพระภิกษุสามเณรพูดกับคฤหัสถ์, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑. (ส. อาตฺมภาว, อาตฺมา).
กรีฑาภิรมย์ : ว. น่ารื่นรมย์ยิ่งในกรีฑา, (โบ) ใช้ว่า กรีธา ก็มี เช่น แห่งอรอาตมชายา อันกรีธาภิรมย์. (ม. คําหลวง ทศพร).
กำลุง : (แบบ) บ. ใน, ที่, เช่น แล้วจึงตั้งกมลจิตร ประดิษฐ์กําลุงใน หุงการชาลอรรคนิประไพ ก็เผาอาตมนิศกนธ์. (ดุษฎีสังเวย).
อาตมา ๒ : น. ตัวเอง เช่น ไม่พอเลี้ยงอาตมา. (ส.).
เลี้ยงอาตมา : ก. เลี้ยงตัว, เลี้ยงชีพ ก็ว่า.
เลี้ยงตัว : ก. ทำมาหากินเพื่อให้ชีวิตดำรงอยู่ได้, เลี้ยงชีพ หรือ เลี้ยง อาตมา ก็ว่า, ดำเนินงานพอให้กิจการดำรงอยู่ได้ เช่น กิจการพอ เลี้ยงตัวได้; อาการที่ประคองตัวให้ทรงอยู่บนสิ่งที่ล่อแหลมต่อการ พลั้งพลาดหรือบางทีอาจเป็นอันตราย เช่น เลี้ยงตัวบนเส้นลวด.
สมณโวหาร : น. ถ้อยคําที่ควรแก่สมณะ เช่น อาตมา ฉันจังหัน กัปปิยภัณฑ์. (ป.).
เลี้ยงชีพ : ก. เลี้ยงตัว, ทำมาหากินเพื่อให้ชีวิตดำรงอยู่ได้, เลี้ยงอาตมา ก็ว่า.
อัตตา : น. ตน. (ป.; ส. อาตฺมนฺ, อาตฺมา).