Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: อาหารเช้า, อาหาร, เช้า , then ชา, เช้า, อาหาร, อาหารเช้า .

Royal Institute Thai-Thai Dict : อาหารเช้า, 668 found, display 1-50
  1. อาหาร : น. ของกิน, เครื่องคํ้าจุนชีวิต, เครื่องหล่อเลี้ยงชีวิต, เช่น อาหารเช้า อาหารปลา อาหารนก; โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึง เช่นนั้น เช่น อาหารตา อาหารใจ. (ป., ส.).
  2. เช้า : น. เวลาระหว่างรุ่งสว่างกับสาย, เวลาตั้งแต่รุ่งสว่างถึงเที่ยง. ว. ที่อยู่ในช่วงเวลาตั้งแต่รุ่งสว่างถึงเที่ยง เช่น รอบเช้า ผลัดเช้า; เร็วกว่าเวลาที่กําหนดในระหว่างรุ่งสว่างกับสาย เช่น มาแต่เช้า; โดยปริยายหมายความว่า ก่อนเวลาที่กําหนด.
  3. เช้า : (โบ) น. กระเช้า เช่น ครั้นเช้าก็หิ้วเช้า. (ม. คําหลวง มัทรี).
  4. อาหารว่าง : น. ของกินนอกเวลากินอาหารตามปรกติ มักกินใน เวลาบ่าย, ของว่าง ก็ว่า, ราชาศัพท์ใช้ว่า เครื่องว่าง.
  5. เช้าตรู่ : น. เวลาสาง ๆ, เวลาที่แสงเงินแสงทองขึ้น, รุ่งอรุณ.
  6. เช้ามืด : น. เวลาจวนสว่าง.
  7. กลางวัน : น. ระยะเวลาตั้งแต่ย่ำรุ่งถึงย่ำค่ำ, ระยะเวลาราว ๆ เที่ยง, เรียกอาหารระหว่างมื้อเช้ากับมื้อเย็นว่า อาหารกลางวัน.
  8. กาลิก : น. ของที่พระสงฆ์เก็บไว้ฉันได้ตามเวลาที่กําหนดให้ มี ๓ อย่าง คือ ๑. ยาวกาลิก-ของที่เก็บไว้ฉันได้ชั่วคราวตั้งแต่เช้าถึงเที่ยงวัน ได้แก่ข้าวปลาอาหาร ๒. ยามกาลิก-ของที่เก็บไว้ฉันได้ชั่วคราวเพียง วันหนึ่งกับคืนหนึ่ง ได้แก่น้ำอัฐบาน ๓. สัตตาหกาลิก- ของที่เก็บไว้ฉันได้ชั่วคราวเพียง ๗ วัน ได้แก่ เภสัชทั้ง ๕. (ป.).
  9. กินงาย : ก. กินอาหารมื้อเช้า.
  10. ข้าวประดับดิน : (ถิ่น-อีสาน) น. อาหารที่เอาไปวางไว้ตามต้นโพและ พระเจดีย์เป็นต้นในเวลาเช้ามืดวันแรม ๑๕ ค่ำ เดือน ๙.
  11. มื้อ : น. เวลา, คราว, (ใช้เกี่ยวกับการกินอาหาร) เช่น อาหารมื้อเช้า อาหารมื้อกลางวัน อาหารมื้อเย็น กินอาหารให้เป็นมื้อเป็นคราว, ลักษณนามหมายถึง คราว, ครั้ง, หน, เช่น กินอาหารวันละ ๓ มื้อ.
  12. ยาวกาลิก : [ยาวะ] น. ของที่พระสงฆ์เก็บไว้ฉันได้ชั่วคราวตั้งแต่เช้าถึงเที่ยงวัน ได้แก่ ข้าวปลาอาหาร. (ดู กาลิก). (ป.).
  13. กรนนเช้า : [กฺรัน-] (โบ) น. กระเช้า เช่น คร้นนเช้าก็หิ้วกรนนเช้า ชายป่าเต้าไปหาชาย. (ม. คําหลวง มัทรี).
  14. คอกระเช้า : น. เรียกเสื้อคอกลมคว้านกว้างลึกทั้งข้างหน้าและข้างหลัง มีจีบรูดตรงคอ ตัวหลวม ว่า เสื้อคอกระเช้า, ใช้เป็นเสื้อชั้นในแบบเก่า. ของผู้หญิง.
  15. จังหัน ๑ : น. ข้าว, อาหาร, (ใช้แก่พระสงฆ์). (ข. จงฺหาน่).
  16. เจริญอาหาร : ก. บริโภคอาหารได้มาก. ว. ที่ทําให้บริโภคอาหาร ได้มากเช่น ยาเจริญอาหาร.
  17. ทำวัตรเช้า : ก. ไหว้พระสวดมนต์ในตอนเช้า.
  18. ประกอบอาหาร : ก. ทําหรือปรุงแต่งอาหารต่าง ๆ.
  19. ภักต–, ภักตะ : [พักตะ–] น. ผู้ภักดี, สาวก. (ส.); อาหาร, ข้าวสุก, ของกินซึ่งสุกด้วยนํ้า. (ส. ภกฺต; ป.ภตฺต).
  20. ภักษาหาร : น. เหยื่อ, อาหาร, อาหารที่กินประจํา, เช่น เนื้อเป็นภักษาหาร ของเสือ หญ้าเป็นภักษาหารของวัว.
  21. รุ่งเช้า : น. เวลาพระอาทิตย์เพิ่งขึ้น, เวลาระหว่างรุ่งสว่างถึงเช้า, เช้าวัน รุ่งขึ้น.
  22. โรงอาหาร : น. โรงสำหรับเป็นที่กินอาหารของนักเรียน นักศึกษาเป็นต้น.
  23. ส้มเช้า : น. (๑) ชื่อไม้พุ่มชนิด Euphorbia ligularia Roxb. ในวงศ์ Euphorbiaceae ต้นคล้ายต้นสลัดได แต่มีใบซึ่งมีรสเปรี้ยวในเวลาเช้า. (๒) ดู ต้นตายใบเป็น.
  24. กรรเช้า : [กัน-] (โบ) น. กระเช้า.
  25. หาเช้ากินค่ำ : ก. หาเลี้ยงชีพด้วยความลำบากยากแค้นพอประทังชีวิตไป วันหนึ่ง ๆ.
  26. กัปปิยการก : [-การก] น. ผู้ปฏิบัติภิกษุในเรื่องปัจจัย ๔ คือ จีวร อาหาร ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค.
  27. กัปปิยภัณฑ์ : น. สิ่งของที่ควรแก่ภิกษุ ได้แก่ ปัจจัย ๔ คือ จีวร อาหาร ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค และสิ่งอื่น ๆ เช่น ร่ม รองเท้า.
  28. ไข่ ๑ : น. ตัวสืบพันธุ์ประกอบด้วยเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย อาหาร และสิ่งห่อหุ้ม ซึ่งอาจจะเป็นไข่ขาววุ้น เยื่อถุงไข่ หรือเปลือก ส่วนมากมีรูปร่างกลม จะมีตัวอ่อนภายในหรือไม่ก็ได้, ฟอง ก็เรียก, ลักษณนามเรียก ฟอง ลูก หรือ ใบ; เรียกสิ่งที่เป็นเม็ดกลม ๆ เล็ก ๆ ที่มีอยู่ตามใบไม้บางชนิด เช่น ไข่ชะอม ไข่ปรง; (ปาก) ลูกอัณฑะ. ก. ตกฟอง เช่น แม่ไก่ไข่ออกมา ๓ ฟอง.
  29. จตุปัจจัย : [จะตุปัดไจ] น. เครื่องอาศัยเลี้ยงชีวิตของบรรพชิตในพระพุทธศาสนา ๔ อย่าง คือ จีวร (ผ้านุ่งห่ม) บิณฑบาต (อาหาร) เสนาสนะ (ที่อยู่) คิลานเภสัช (ยา). (ป.).
  30. ฉลาก : [ฉะหฺลาก] น. สิ่งเช่นติ้ว ตั๋ว หรือแผ่นกระดาษเล็ก ๆ เป็นต้น ซึ่งทําเป็น เครื่องหมายกําหนดไว้เนื่องในการเสี่ยงโชคเสี่ยงทายเป็นต้น; ป้ายบอก ชื่อยา ใช้ปิดขวดยารักษาโรค เรียกว่า ฉลากยา; สลาก ก็ว่า; (กฎ) รูป รอย ประดิษฐ์ เครื่องหมายหรือข้อความใด ๆ ที่แสดงไว้ที่ภาชนะหรือหีบห่อ บรรจุยา อาหาร หรือผลิตภัณฑ์อื่น เช่น ฉลากยา ฉลากเครื่องสําอาง.
  31. ตรีกาล : น. กาลทั้ง ๓ คือ อดีต ปัจจุบัน อนาคต, เวลาทั้ง ๓ คือ เช้า กลางวัน เย็น.
  32. ตะกัง : น. ชื่อโรคลมชนิดหนึ่ง ตามตําราแพทย์แผนโบราณว่า ทําให้มีอาการปวดหัวเวลา เช้า ๆ ปวดกระบอกตา เมื่อเห็นแดดจะลืมตาไม่ขึ้น เรียกว่า ลมตะกัง, ปะกัง ก็ว่า.
  33. ที่ : น. แหล่ง, ถิ่น, เช่น ที่ประกอบอาชีพ ที่ทํามาหากิน, สถานที่ เช่น ที่ประชุม ที่พัก, ตําแหน่งที่ เช่น เอาแว่นวางไว้ที่โต๊ะ; ที่ดิน เช่น ซื้อที่ ขายที่ เช่าที่; ภาชนะ, เครื่องใช้, เช่น ที่บูชา ที่นอน ที่เขี่ยบุหรี่; ลักษณนามบอกสถานที่หรือสิ่งของเป็นชุด ๆ เป็นต้น เช่น ที่นั่ง ๓ ที่ อาหาร ๓ ที่. ส. คําใช้แทนคํานามหรือข้อความที่อยู่ข้างหน้า เช่น คนที่ขยัน เด็กที่ฉลาด. ว. คํานําหน้าสังขยาบอกลําดับ เช่น ที่ ๑ ที่ ๒. บ. ใน, ณ, เช่น อยู่ที่บ้าน.
  34. บิณฑบาต : น. อาหาร (ใช้แก่พระภิกษุสามเณร) เช่น รับบิณฑบาต. ก. กิริยาที่พระภิกษุสามเณรรับของที่เขานํามาใส่บาตร, โดยปริยาย หมายถึงกิริยาที่พระภิกษุสามเณรขอหรือขอร้อง เช่น เรื่องนี้ ขอบิณฑบาตให้เลิกแล้วต่อกัน. (ป. ปิณฺฑปาต ว่า ก้อนข้าวที่ตก).
  35. ปัจจัย : น. เหตุอันเป็นทางให้เกิดผล, หนทาง, เช่น การศึกษาเป็นปัจจัย ให้เกิดความรู้ความสามารถ, องค์ประกอบ, ส่วนประกอบ, เช่น ปัจจัยในการผลิต, คำ ''ปัจจัย'' กับ คํา ''เหตุ'' มักใช้แทนกันได้; เครื่องอาศัยยังชีพ, เครื่องอาศัยเลี้ยงชีวิตของบรรพชิตใน พระพุทธศาสนา ๔ อย่าง คือ จีวร (ผ้านุ่งห่ม) บิณฑบาต (อาหาร) เสนาสนะ (ที่อยู่) คิลานเภสัช (ยา) รวมเรียกว่า จตุปัจจัย คือ ปัจจัย ๔, คือ ปัจจัย ๔, โดยปริยายหมายถึงเงินตราก็ได้ (มักใช้ แก่ภิกษุสามเณร); (ไว)ส่วนเติมท้ายธาตุหรือศัพท์เพื่อแสดง ความหมายเป็นต้น. (ป.).
  36. เพสลาด : [เพสะหฺลาด] ว. ไม่อ่อนไม่แก่ (มักใช้แก่ใบไม้บางชนิดที่ใช้เป็น อาหาร เช่น ใบชะพลู ใบทองหลาง).
  37. ภักขะ : น. เหยื่อ, อาหาร. (ป. ภกฺข; ส. ภกฺษ).
  38. ภักษ–, ภักษ์ : [พักสะ–, พัก] น. เหยื่อ, อาหาร. ก. กิน. (ส. ภกฺษ; ป. ภกฺข).
  39. ภักษา : น. เหยื่อ, อาหาร. (ส. ภกฺษ; ป. ภตฺต).
  40. ภัตตาหาร : น. อาหารสําหรับภิกษุสามเณรฉัน. (ป. ภตฺต + อาหาร).
  41. โภชนะห้า : [โพชะนะห้า] น. ข้าว ๕ อย่าง คือ ข้าวสุก (ข้าวมัน หรือ ข้าวผัด ก็นับเข้า) ขนมสด (ขนมที่จะบูดเมื่อล่วงเวลาแล้ว เช่น แป้งจี่ ขนมด้วง ขนม ครก) ขนมแห้ง (ที่ไม่บูด เช่น จันอับ ขนมปัง) ปลา (รวมทั้งหอย กุ้ง และ สัตว์นํ้าเหล่าอื่นที่ใช้เป็นอาหาร) เนื้อ (เนื้อของสัตว์บกและนกที่ใช้เป็น อาหาร).
  42. ยุทธปัจจัย : น. สิ่งของทั้งปวงที่มิใช่ยุทธภัณฑ์ แต่เป็นสิ่งเกื้อกูลต่อ การรบ เช่น อาหาร ยา เคมีภัณฑ์ รวมถึงสัตว์พาหนะด้วย.
  43. รองรัง : ว. มีสำรองไว้เผื่อขาดแคลน, มีสำรองไว้ไม่ให้ขาด, เช่น อาหาร รองรัง.
  44. หลอดอาหาร : น. ทางเดินอาหารอยู่ระหว่างคอหอยส่วนล่างกับกระเพาะ อาหาร. (อ. oesophagus, esophagus).
  45. เหนียว : [เหฺนียว] ว. ดึงขาดยาก, ทนทานไม่หักไม่ขาดง่าย, แกะออกยาก, ไม่ยุ่ย, ไม่เปื่อย, เช่น กิ่งมะขามเหนียวมาก ด้ายหลอดเหนียวมาก มือเหนียว ตีนเหนียว; มีลักษณะคล้ายยางใช้ติดสิ่งอื่นได้ เช่น เอาแป้งมันผสมน้ำ ตั้งไฟแล้วกวนจนเหนียว, อาการที่ทำให้รู้สึกเหนอะหนะ เช่น เหงื่อ ออกจนเนื้อตัวเหนียวไปหมด; (ปาก) คงกระพัน, ทนทานต่อศาสตราวุธ, ฟัน แทง หรือยิงไม่เข้า, เช่น เขาเป็นคนหนังเหนียว; ตระหนี่ เช่น เขา เป็นคนเหนียวมาก, มักใช้ว่า ขี้เหนียว. น. ชื่อดินที่มีลักษณะเหนียวใช้ ปั้นได้ เรียกว่า ดินเหนียว; ชื่อข้าวที่มีลักษณะเหนียวมาก ใช้นึ่งเป็น อาหาร เรียกว่า ข้าวเหนียว; ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทําด้วยแป้งข้าวเหนียว คลุกมะพร้าวขูด โรยน้ำตาลเคี่ยวและข้าวตากคั่ว เรียกว่า ขนมเหนียว.
  46. เหยี่ยว : น. ชื่อนกในวงศ์ Accipitridae ปากงุ้มและคม ขาและนิ้วตีนแข็งแรงมาก เล็บยาวแหลม ปีกแข็งแรง บินร่อนได้นาน ๆ ส่วนใหญ่ล่าสัตว์กินเป็น อาหาร มีหลายชนิด เช่น เหยี่ยวขาว หรือ เหยี่ยวปักหลัก (Elanus caeruleus) เหยี่ยวแดง (Haliastur indus) เหยี่ยวรุ้ง (Spilornis cheela).
  47. สถานบริการ : (กฎ) น. สถานที่ที่ตั้งขึ้นเพื่อให้บริการโดยหวังประโยชน์ ในการค้า ดังต่อไปนี้ (๑) สถานเต้นรำ รำวง หรือรองเง็ง ประเภทที่มีและ ประเภทที่ไม่มีหญิงพาตเนอร์บริการ (๒) สถานที่ที่มีอาหาร สุรา น้ำชา หรือเครื่องดื่มอย่างอื่นจำหน่ายและบริการ โดยมีหญิงบำเรอสำหรับ ปรนนิบัติลูกค้า หรือโดยมีที่สำหรับพักผ่อนหลับนอนหรือมีบริการ นวดให้แก่ลูกค้า (๓) สถานอาบน้ำ นวด หรืออบตัว ซึ่งมีผู้บริการให้แก่ ลูกค้า (๔) สถานที่ที่มีอาหาร สุรา น้ำชา หรือเครื่องดื่มอย่างอื่นจำหน่าย โดยจัดให้มีการแสดงดนตรี หรือการแสดงอื่นใดเพื่อการบันเทิง.
  48. กบ ๒ : น. ชื่อสัตว์สี่เท้าสะเทินน้ำสะเทินบกในวงศ์ Ranidae ไม่มีหาง ตีนแบนมีหนังติดเป็นพืด กระโดดได้ไกล ว่ายน้ำดําน้ำได้เร็ว มักวางไข่ในน้ำ เมื่อยังเป็นตัวอ่อนจะมีหาง อยู่ในน้ำเรียกว่า ลูกอ๊อด ภายหลังจึงงอกขา หางหดหายไป แล้วขึ้นอาศัยบนบก หน้าแล้งอยู่แต่ในรู ไม่ออกหาอาหารชั่วคราว เรียกว่า กบจําศีล มีหลายชนิด เช่น กบนา (Rana tigerina).
  49. กบนา : น. ชื่อกบชนิด Rana tigerina ในวงศ์ Ranidae ตัวสีเขียว มีลาย สีเข้ม มักอาศัยในรูตามคันนา นิยมนำมาทำเป็นอาหาร.
  50. กรร- ๓ : [กัน-] ใช้เป็นพยางค์หน้า (ซึ่งโบราณเขียนเป็น กนน หรือ กัน ก็มี) แทน กระ เช่น กรรชิง - กันชิง - กระชิง, กรรเช้า - กรนนเช้า - กระเช้า, กรรเชอ - กนนเชอ - กระเชอ, กรรโชก - กันโชก - กระโชก, กรรพุ่ม - กระพุ่ม, กรรลึง - กระลึง.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-668

(0.1696 sec)