Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: อาหารเย็น, อาหาร, เย็น , then ยน, เย็น, อาหาร, อาหารเย็น .

Royal Institute Thai-Thai Dict : อาหารเย็น, 622 found, display 1-50
  1. อาหาร : น. ของกิน, เครื่องคํ้าจุนชีวิต, เครื่องหล่อเลี้ยงชีวิต, เช่น อาหารเช้า อาหารปลา อาหารนก; โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึง เช่นนั้น เช่น อาหารตา อาหารใจ. (ป., ส.).
  2. เย็น : น. เวลาใกล้คํ่า ประมาณ ๑๖๑๘ นาฬิกา.
  3. เย็น : ว. มีความรู้สึกตามผิวหนังเหมือนถูกน้ำแข็งเป็นต้น, หนาว, หายร้อน, ตรงข้ามกับ ร้อน; ไม่รู้สึกกระวนกระวาย เช่น เย็นใจ.
  4. เย็นเจี๊ยบ : ว. เย็นมาก เช่น น้ำแข็งเย็นเจี๊ยบ.
  5. เย็นฉ่ำ : ว. เย็นชุ่มชื้น เช่น หลังฝนตกอากาศเย็นฉ่ำ.
  6. เย็นเฉียบ : ว. เย็นจัด เช่น หน้าหนาวน้ำในลำธารเย็นเฉียบ.
  7. เย็นเฉื่อย : ว. เย็นเพราะลมพัดมาเรื่อย ๆ เช่น ตรงนี้ลมพัดเย็นเฉื่อย; มี อารมณ์เรื่อย ๆ ช้า ๆ เช่น เขาเป็นคนอารมณ์เย็นเฉื่อย.
  8. เย็นชา : ว. แสดงอาการเฉยเมยไม่สนใจใยดี เช่น เดี๋ยวนี้เขาแสดงอาการ เย็นชา, ชาเย็น ก็ว่า.
  9. เย็นชืด : ว. เย็นอย่างสิ่งไม่มีชีวิต เช่น เขานอนตายตัวเย็นชืด, เย็นจนหมด รสชาติ เช่น แกงเย็นชืด.
  10. เย็นชื่น : ว. เย็นสบาย เช่น ฝนตกใหม่ ๆ อากาศเย็นชื่น.
  11. เย็นชื้น : ว. เย็นอย่างมีไอน้ำซึมซาบอยู่ เช่น ฝนตกติดกันหลายวันอากาศ เย็นชื้น.
  12. เย็นยะเยือก : ว. อาการที่รู้สึกหนาวสะท้านถึงขั้วหัวใจ, เย็นเยือก หรือ เยือกเย็น ก็ว่า.
  13. เย็นเยียบ : ว. อาการที่รู้สึกเย็นจับขั้วหัวใจเพราะหวาดกลัวเป็นต้น เช่น เข้าไปในป่าช้ากลางคืนรู้สึกเย็นเยียบ, เยียบเย็น ก็ว่า.
  14. เย็นเยือก : ว. อาการที่รู้สึกหนาวสะท้านถึงขั้วหัวใจ เช่น บนยอดดอย น้ำค้างตกเย็นเยือก หน้าหนาวอากาศบนภูเขาเย็นเยือก, เย็นยะเยือก หรือ เยือก ก็ว่า.
  15. เย็นวาบ : ว. อาการที่รู้สึกเย็นในทันทีทันใดแล้วก็หายไป เช่น ลมพัด กระโชกเข้ามารู้สึกเย็นวาบ.
  16. เย็นวูบ : ว. อาการที่ความเย็นมากระทบตัวโดยฉับพลันแล้วก็หายไป เช่น เข้าไปในห้องปรับอากาศรู้สึกเย็นวูบ.
  17. อาหารว่าง : น. ของกินนอกเวลากินอาหารตามปรกติ มักกินใน เวลาบ่าย, ของว่าง ก็ว่า, ราชาศัพท์ใช้ว่า เครื่องว่าง.
  18. กลางวัน : น. ระยะเวลาตั้งแต่ย่ำรุ่งถึงย่ำค่ำ, ระยะเวลาราว ๆ เที่ยง, เรียกอาหารระหว่างมื้อเช้ากับมื้อเย็นว่า อาหารกลางวัน.
  19. กินเพรา : [-เพฺรา] น. กินอาหารมื้อเย็น.
  20. ข้าวแช่ : น. ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง มีข้าวสุกขัดแช่นํ้าเย็น กินกับเครื่อง กับข้าวต่าง ๆ.
  21. มื้อ : น. เวลา, คราว, (ใช้เกี่ยวกับการกินอาหาร) เช่น อาหารมื้อเช้า อาหารมื้อกลางวัน อาหารมื้อเย็น กินอาหารให้เป็นมื้อเป็นคราว, ลักษณนามหมายถึง คราว, ครั้ง, หน, เช่น กินอาหารวันละ ๓ มื้อ.
  22. ลงขัน : ก. เอาเงินใส่ลงในขันเป็นต้นเพื่อช่วยในงานต่าง ๆ เช่น งานตัดจุก, ช่วยกันออกเงินเพื่อการใดการหนึ่ง เช่น ลงขันซื้อตู้เย็น ไว้ใช้เป็นส่วนกลาง ลงขันเพื่อรวมเงินเป็นค่าอาหารในเวลาเดินทาง.
  23. ว่าง : ว. เปล่า, ไม่มีอะไรนอกจากตัวของมันเองที่อ้างถึง, เช่น ห้องว่าง ที่ว่าง ตําแหน่งว่าง, บางทีใช้ควบคู่กับคํา เปล่า เป็น ว่างเปล่า; ไม่มี ภาระผูกพัน เช่น วันนี้ว่างทั้งวันเย็นนี้หมอว่าง ไม่มีคนไข้. น. เรียกของกินในเวลาที่ไม่ใช่เวลากินข้าวว่า ของว่าง เครื่องว่าง อาหารว่าง.
  24. จังหัน ๑ : น. ข้าว, อาหาร, (ใช้แก่พระสงฆ์). (ข. จงฺหาน่).
  25. เจริญอาหาร : ก. บริโภคอาหารได้มาก. ว. ที่ทําให้บริโภคอาหาร ได้มากเช่น ยาเจริญอาหาร.
  26. ชาเย็น : ว. แสดงอาการเฉยเมยไม่สนใจใยดี เช่น เดี๋ยวนี้ เขาแสดงอาการชาเย็น, เย็นชา ก็ว่า.
  27. แช่เย็น : ก. เอาใส่ไว้ในเครื่องทําความเย็นหรือนํ้าแข็ง; โดยปริยายหมายความว่า เอาไปเก็บไว้เป็นเวลานาน.
  28. ประกอบอาหาร : ก. ทําหรือปรุงแต่งอาหารต่าง ๆ.
  29. ภักต–, ภักตะ : [พักตะ–] น. ผู้ภักดี, สาวก. (ส.); อาหาร, ข้าวสุก, ของกินซึ่งสุกด้วยนํ้า. (ส. ภกฺต; ป.ภตฺต).
  30. ภักษาหาร : น. เหยื่อ, อาหาร, อาหารที่กินประจํา, เช่น เนื้อเป็นภักษาหาร ของเสือ หญ้าเป็นภักษาหารของวัว.
  31. มือเย็น : ว. เรียกคนที่มักปลูกต้นไม้ได้งอกงามดีว่า คนมือเย็น, ตรงข้ามกับ มือร้อน.
  32. ยากเย็น : ว. ลําบากมาก เช่น ได้มาด้วยความยากเย็น.
  33. เย็นตาโฟ, เย็นเตาโฟ : น. อาหารแบบจีนอย่างหนึ่งคล้ายก๋วยเตี๋ยว แต่ใส่ผักบุ้ง ปลาหมึกแช่ด่าง เต้าหู้ เลือดหมู ลูกชิ้นปลา แมงกะพรุน และน้ำเต้าหู้ยี้หรือซอสมะเขือเทศ. (จ.).
  34. เยือกเย็น : ว. มีจิตใจหนักแน่น ไม่ฉุนเฉียวโกรธง่าย เช่น สำคัญที่เป็นคน เยือกเย็น จึงจะตัดสินปัญหาได้อย่างรอบคอบ.
  35. โรงอาหาร : น. โรงสำหรับเป็นที่กินอาหารของนักเรียน นักศึกษาเป็นต้น.
  36. เลือดเย็น : ว. มีใจเหี้ยมสามารถทำลายชีวิตหรือชื่อเสียงผู้อื่นได้ โดยไม่รู้สึกหวั่นไหว เช่น ฆ่าอย่างเลือดเย็น.
  37. เลือดเย็น : น. สัตว์มีกระดูกสันหลังที่สามารถปรับอุณหภูมิของ ร่างกายให้เหมาะสมกับอุณหภูมิของสภาวะแวดล้อม เช่นปลา กบ เรียกว่า สัตว์เลือดเย็น.
  38. ศีต : [สีตะ] ว. หนาว, เย็น, เย็นเยือก. (ส.; ป. สีต).
  39. ศีตละ : [สีตะละ] ว. หนาว, เย็น, เยือกเย็น. (ส.; ป. สีตล).
  40. หวานเย็น : น. ของกินเป็นก้อนสี่เหลี่ยม ทำด้วยน้ำหวานหรือน้ำกะทิ เป็นต้น แล้วทำให้แข็งด้วยความเย็น. (ปาก) ว. ที่แล่นไปช้า ๆ อย่างไม่ รีบร้อน (มักใช้แก่รถไฟ รถประจำทาง) เช่น รถไฟขบวนหวานเย็น.
  41. ข้าวเย็นใต้ : น. ชื่อไม้เถาชนิด Smilax glabra Roxb. ในวงศ์ Smilacaceae เหง้าใช้ทํายาได้.
  42. ข้าวเย็นเหนือ : น. ชื่อไม้เถาชนิด Smilax china L. ในวงศ์ Smilacaceae เหง้าใช้ทํายาได้.
  43. เดือนเย็น : น. หน้าหนาว.
  44. น้ำเย็นปลาตาย : (สํา) น. คําพูดที่ไพเราะอ่อนหวานทำให้ตายใจ อาจเป็น โทษเป็นภัยได้,มักพูดเข้าคู่กับ นํ้าร้อนปลาเป็น.
  45. เป็นน้ำยาเย็น : ว. จืดชืด.
  46. สงครามเย็น : น. การต่อสู้ระหว่างประเทศต่อประเทศโดยไม่ใช้อาวุธ แต่ใช้อํานาจอื่นแทน เช่น อำนาจทางการเมือง อำนาจทางเศรษฐกิจ.
  47. หนีร้อนมาพึ่งเย็น : (สำ) ก. หนีจากที่ที่มีความเดือดร้อนมาอาศัยอยู่ในที่ที่ มีความสงบสุข.
  48. เอาน้ำเย็นเข้าลูบ : (สํา) ก. ใช้คําพูดอ่อนหวานหว่านล้อม.
  49. กัปปิยการก : [-การก] น. ผู้ปฏิบัติภิกษุในเรื่องปัจจัย ๔ คือ จีวร อาหาร ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค.
  50. กัปปิยภัณฑ์ : น. สิ่งของที่ควรแก่ภิกษุ ได้แก่ ปัจจัย ๔ คือ จีวร อาหาร ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค และสิ่งอื่น ๆ เช่น ร่ม รองเท้า.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-622

(0.1589 sec)