อา ๓, อ๋า : น. วิธีแทงโปวิธีหนึ่ง โดยแทง อา เหม็ง ซั้ว กางปีก ๓ ประตู โปออก ประตูใดใน ๓ ประตูนั้น เจ้ามือใช้ ๑ ต่อ ถ้าออกประตูอื่น เจ้ามือกิน หมดทั้ง ๓ ประตู.
อา ๑ : น. น้องของพ่อ, (โบ) เขียนเป็น อาว์ ก็มี. (อีสาน อา ว่า น้องสาว ของพ่อ, อาว ว่า น้องชายของพ่อ).
อา ๒ : (กลอน) ว. คําออกเสียงท้ายคําพูดในความรําพึงหรือวิตกเป็นต้น เช่น แม่อา พี่อา.
อาราธน์, อาราธนา : [อาราด, อาราดทะนา] ก. เชื้อเชิญ, นิมนต์, อ้อนวอน, (ใช้แก่ พระภิกษุสามเณรและสิ่งศักดิ์สิทธิ์); ขอ. (ป., ส.).
อากังขา : น. ความจํานง, ความหวัง. (ป.; ส. อากางฺกฺษา).
อาเกียรณ์ : [เกียน] ว. เกลื่อนกล่น, เกลื่อนกลาด. (ส. อากีรฺณ; ป. อากิณฺณ).
อาคันตุกภัต : น. อาหารที่เตรียมถวายภิกษุที่จรมา. (ป. อาคนฺตุกภตฺต).
อาคันตุกวัตร : น. มรรยาทที่จะต้องประพฤติต่อแขกผู้มาหา. (ส.; ป. อาคนฺตุกวตฺต).
อาดุระ, อาดูร : [ดูน] ว. เดือดร้อน, ทนทุกขเวทนาทั้งกายและใจ, ในบทกลอนตัดใช้ว่า ดุร ก็มี. (ป., ส. อาตุร).
อาตุระ : ว. อาดุระ, อาดูร. (ป., ส. อาตุร).
อาเทสนาปาฏิหาริย์ : น. การดักใจเป็นอัศจรรย์ หมายถึง การดักใจทายใจคนได้อย่างน่า อัศจรรย์, เป็นปาฏิหาริย์อย่าง ๑ ในปาฏิหาริย์ ๓ ได้แก่ อิทธิปาฏิหาริย์ อาเทสนาปาฏิหาริย์ และอนุสาสนีปาฏิหาริย์.
อานาปาน, อานาปานะ : [นะ] น. ลมหายใจเข้าออก ในคําว่า อานาปานัสสติ. (ป., ส.).
อานาปานัสสติ :
ดู อานาปาน, อานาปานะ.
อาโปธาตุ : น. ของเหลวที่เอิบอาบซาบซึมไปได้ นับเป็นธาตุ ๑ ใน ธาตุทั้ง ๔ คือ ๑. ปฐวีธาตุ = ธาตุดิน ๒. อาโปธาตุ = ธาตุนํ้า ๓. เตโชธาตุ = ธาตุไฟ ๔. วาโยธาตุ = ธาตุลม. (ป., ส.).
อาภัสระ : [พัดสะระ] น. ชื่อพรหมโลกชั้น ๑ ในรูปพรหม ๑๖ ชั้น, เรียก พรหมซึ่งอยู่ชั้นนี้ว่า อาภัสรพรหม. ว. สว่าง, สุกใส, เปล่งปลั่ง. (ป. อาภสฺสร).
อายุกตกะ, อายุตกะ : [ยุกตะกะ, ยุดตะกะ] น. นายส่วย, เจ้าพนักงาน, เจ้าหน้าที่. (ส. อายุกฺตก; ป. อายุตฺตก).
อาวาห, อาวาหะ : [อาวาหะ] น. ''การพาหญิงมาอยู่บ้านของตน'' หมายถึง การ แต่งงานแบบหนึ่งที่ฝ่ายชายจะนําหญิงที่ตนแต่งงานด้วยมาอยู่ ที่บ้านของตน เรียกว่า อาวาหมงคล, เป็นประเพณีแต่งงานที่นิยม ปฏิบัติกันในประเทศอินเดียฝ่ายเหนือ. (ป., ส.).
อาสัตย์ : ว. ไม่ซื่อสัตย์, ไม่ซื่อตรง, กลับกลอก, เช่น คนอาสัตย์, อสัตย์ ก็ว่า. (ส. อสตฺย).
อาหลักอาเหลื่อ : ว. อึดอัดใจ, ลําบากใจ, อลักเอลื่อ อิหลักอิเหลื่อ หรือ อีหลักอีเหลื่อ ก็ว่า.
อากัมปนะ, อากัมปะ : [กําปะ] น. ความหวั่นไหว. (ส.).
อาครหายณี : [อาคฺระหายะนี] น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์มฤคศิระ มี ๓ ดวง, ดาวหัวเต่า ดาวหัวเนื้อ ดาวศีรษะเนื้อ ดาวศีรษะโค ดาวมฤคเศียร ดาวมฤคศิรัส หรือ ดาวมิคสิระ ก็เรียก. (ส.).
อานันทนะ : น. การรื่นเริง, การทําให้เพลิดเพลิน. (ป., ส.).
อานาปานัสสติ : [นัดสะติ] น. สติที่กําหนดลมหายใจเข้าและ ลมหายใจออก.
อาโปกสิณ : [กะสิน] น. วิธีเจริญสมถกรรมฐานโดยยึดหน่วงเอา ธาตุนํ้าเป็นอารมณ์.
อาพัทธ์ : ก. ผูกพัน, ติดพัน, เกี่ยวพัน. (ป., ส.).
อาพันธ์, อาพันธนะ : น. เครื่องผูก, การผูก. (ป., ส.).
อาพาธิก, อาพาธึก : ว. เป็นไข้, เจ็บป่วย, เป็นโรค. (ป., ส.).
อาพาธิก, อาพาธึก : ดู อาพาธ.
อามลกะ : [มะละกะ] น. มะขามป้อม. (ป., ส.).
อายาจนะ : [จะนะ] น. การขอร้อง, การวิงวอน, การเชื้อเชิญ. (ป.).
อายานะ : น. การมา, การมาถึง. (ป., ส.).
อาวัชนาการ : [วัดชะ] น. ความรําพึง; การรําลึก. (ป. อาวชฺชน + อาการ).
อาวาสิก : น. ผู้ครอบครองอาวาส คือ พระสงฆ์. (ป.).
อาวาสิก : ดู อาวาส.
อาสันนะ : ว. ใกล้, เกือบ. (ป., ส.).
อาสิญจ์ : [สิน] ก. โปรย, รด, หลั่ง, ประพรม. (ป.).
อาหตะ : ว. ถูกตี, โดนตี. (ป., ส.).
อารัมภ, อารัมภะ, อารัมภ์ : [อารำพะ] น. การปรารภ มักใช้เป็นส่วนหน้าของคำสมาส เช่น อารัมภบท อารัมภกถา; การเริ่มต้น, การตั้งต้น, ในคำว่า วิริยารัมภะ = การเริ่มต้นความเพียร; ความเพียร. (ป., ส.).
อาธรรม, อาธรรม์, อาธรรมิก, อาธรรมึก : [ทํา, ทัน, ทันมิก, ทันมึก] ว. ชั่ว, ไม่เป็นธรรม, ไม่เที่ยงธรรม, ไม่ยุติธรรม. (ส. อาธรฺมิก; ป. อธมฺมิก).
บิตุละ, บิตุลา : (แบบ) น. ลุง, อา, (พี่น้องผู้ชายข้างพ่อ). (ป. ปิตุล).
ปะเสหรันอากง : [-หฺรันอากง] น. วังลูกหลวง. (ช.).
ปิตุละ, ปิตุลา : น. ลุง, อา, (พี่น้องผู้ชายข้างพ่อ). (ป.).
อาทีนพ, อาทีนวะ : [นบ, นะวะ] น. โทษ (บางทีใช้ควบกันว่า อาทีนพโทษ หรือ อาทีนวโทษ); ผลร้าย, บางทีใช้เป็นส่วนท้ายของคำสมาส เช่น กามาทีนพ = โทษของกาม. (ป., ส.).
อาปะ, อาโป : น. นํ้า, เมื่อใช้เป็นส่วนหน้าของสมาสมักใช้ว่า อาโป เช่น อาโปกสิณ อาโปธาตุ.
อายุร, อายุษ :
[อายุระ, อายุด] น. อายุ. (ดู อายุ). (ส.).
อารดี, อารติ : [อาระดี, ติ] น. การเว้น, การเลิก, การหยุด, อารัติ ก็ว่า. (ป. อารติ).
อาศิรพิษ, อาศิรวิษ, อาศีรพิษ, อาศีรวิษ : น. 'ผู้มีพิษในเขี้ยว' คือ งู, อสรพิษ. (ส. อาศีรวิษ, อาศีวิษ; ป. อาสีวิส).
อาดุลย์, อาดูลย์ : น. ความชั่งไม่ได้, ความไม่มีที่เทียบ, ความไม่มีที่เปรียบ. (ป., ส. อตุลฺย).
ประเสบัน, ประเสบันอากง ๑ : น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง. (ช.)
ประเสบันอากง ๒ : น. วังลูกหลวง, วังหลานหลวง. (ช.).