อิง : ก. พิง เช่น อิงหมอน; พึ่ง, อาศัย, บางทีใช้เข้าคู่กับคำ อาศัย เป็น อิงอาศัย.
ฟีก : (โบ) ก. แฝง; อิง; หลีก.
อง : น. คำนำหน้านามของบุคคลซึ่งเป็นเชื้อพระวงศ์ของกษัตริย์ญวน เช่น องเชียงสือ องเชียงชุน, คำนำหน้าสมณศักดิ์พระสงฆ์อนัมนิกาย ชั้นปลัดขวาปลัดซ้ายและพระคณานุกรม เช่น องสรภาณมธุรส องสุตบทบวร. (ญ.).
อึ : (ปาก) ก. ถ่ายอุจจาระ (มักใช้แก่เด็ก). น. ขี้, อุจจาระ.
พิง : ก. อิง เช่น ยืนพิงเสา.
กระเจี้ยง : น. ชื่อกล้วยไม้อิงอาศัยชนิด Epigeneium amplum (Lindl.) Summerh. ในวงศ์ Orchidaceae ดอกใหญ่ ทั้งกลีบนอกและกลีบในสีเหลือง ประแดง, เอื้องศรีเที่ยง ก็เรียก.
กระเช้าผีมด : น. (๑) ชื่อไม้เถาชนิด Aristolochia tagala Cham. ในวงศ์ Aristolochiaceae ผลเมื่อแก่ตอนโคนแยกออกเป็น ๖ สาย คล้ายสาแหรก รากใช้ทํายาได้. (๒) ชื่อไม้พุ่มอิงอาศัยชนิด Hydnophytum formicarium Jack ในวงศ์ Rubiaceae ชอบเกาะไม้ต้นในป่าดิบชื้นใกล้ฝั่งทะเล ลําต้นทรงกลมอวบน้ำ มีรูพรุนภายในเป็นที่อาศัยของมด ส่วนที่เป็นรูพรุนใช้ทํายาได้, หัวร้อยรู ก็เรียก.
กระแตไต่ไม้ ๒ : น. ชื่อเฟินอิงอาศัยชนิด Drynaria quercifolia (L.) J. Smith ในวงศ์ Polypodiaceae ขึ้นเกาะตามต้นไม้ใหญ่ในป่าที่ชุ่มชื้น เหง้ามีขนเป็นปุยสีน้ำตาลแก่คล้ายกระแต ใบมี ๒ ชนิด คือใบสร้างอับสปอร์ ยาวประมาณ ๑ เมตร เว้าเป็นแฉกลึก เกือบถึงเส้นกลางใบ และมีอับสปอร์เป็นจุด ๆ สีน้ำตาล เข้มใต้ใบ ใบไม่สร้างอับสปอร์ ขนาดประมาณฝ่ามือ ขอบจักหยาบ ๆ สีน้ำตาล แข็งติดอยู่กับเหง้าจนผุ ไม่หล่นเหมือนใบสร้างอับสปอร์ ทําหน้าที่กักปุ๋ย, กระปรอกว่าว ใบหูช้าง สไบนาง สะโมง หรือ หัวว่าว ก็เรียก.
กระปรอก ๓ : (ถิ่น-ตะวันออก, ปักษ์ใต้) น. ชื่อเรียกเฟินอิงอาศัยหลายชนิด ในสกุล Drynaria และ Platycerium วงศ์ Polypodiaceae.
กะเรกะร่อน : น. ชื่อกล้วยไม้หลายชนิดในสกุล Cymbidium วงศ์ Orchidaceae อิงอาศัยตามต้นไม้ ใบเขียวหนา ยาว ๒๐-๖๐ เซนติเมตร เช่น กะเรกะร่อนด้ามข้าว (C. bicolor Lindl.) ดอกสีขาว กะเรกะร่อนปากเป็ด (C. finlaysonianum Lindl.) ดอกสีเหลือง ปากสีแดงคล้ำ.
ขนน : [ขะหฺนน] น. หมอนอิง. (ข. ขฺนล่ ว่า หมอนอิง, ขอนที่ใช้เป็นหมอน).
ขวาน ๑ : [ขฺวาน] น. เครื่องมือสําหรับตัด ฟัน ผ่า ถากไม้ ทําด้วยเหล็กมีสัน หนาใหญ่, ถ้าบ้องที่หัวบิดได้สําหรับตัดและถาก เรียกว่า ขวานโยน, ขวานปูลู หรือ ขวานปุลู ก็เรียก, ถ้าด้ามสั้น สันหนา มีบ้องยาวตามสัน เป็นเครื่องมือของช่างไม้ ใช้ตัด ถาก ฟัน เรียกว่า ขวานหมู, ถ้าด้ามยาว ใบขวานใหญ่ เรียกว่า ขวานผ่าฟืน; หมอนที่ทำหน้าตัดเป็นรูปสามเหลี่ยม คล้ายขวาน ใช้อิง เรียกว่า หมอนขวาน.
ข้าหลวงหลังลาย : น. ชื่อเฟินอิงอาศัยชนิด Asplenium nidus L. ในวงศ์ Aspleniaceae รูปทรงคล้ายชาม แตกใบอ่อนตรงกลาง.
จุกโรหินี : [จุกกะ-] น. ชื่อไม้อิงอาศัยชนิด Dischidia rafflesiana Wall. ในวงศ์ Asclepiadaceae เกาะเลื้อยบนต้นไม้ มีนํ้ายางขาว ใบเป็นรูปถุง กลวงใน ออกเป็นกระจุก รากใช้ทํายาได้, พุงปลา หรือ พุงปลาช่อน ก็เรียก, พายัพเรียก กล้วยไม้.
ช้องนางคลี่ : น. ชื่อไม้อิงอาศัยไร้ดอกชนิด Lycopodium phlegmaria L. ในวงศ์ Lycopodiaceae ลําต้นยาวห้อยลง แยกแขนงเป็นคู่ ๆ.
ชายผ้าสีดา : น. ชื่อเฟินอิงอาศัยหลายชนิดในสกุล Platycerium วงศ์ Polypodiaceae เหง้าใหญ่สั้น ใบมี ๒ แบบ ใบที่ทาบกับ ต้นไม้เป็นใบไม่สร้างอับสปอร์แผ่นใบตั้ง ไม่มีก้านใบ ติดอยู่กับต้นตลอดไป ส่วนใบสร้างอับสปอร์แผ่นใบ ตั้งขึ้นหรือห้อยลง ขอบหยักเว้า ใบจะร่วงไปตามอายุ.
นมพิจิตร : น. (๑) ชื่อพืชอิงอาศัยชนิด Hoya parasitica Wall. ในวงศ์ Asclepiadaceae ใบรี หนา ดอกสีขาวกลางดอกสีม่วง กลิ่นหอม ทุกส่วนมียางขาวคล้าย น้ำนม, นมตำเรีย หรือ นมตำเลีย ก็เรียก. (๒) ชื่อไม้เถาชนิด Trichosanthes cucumerina L. ในวงศ์ Cucurbitaceae ผลมีรสขมใช้ทํายาได้, บวบขม ก็เรียก.
บังอิง : น. พนัก. ก. อิง, พิง.
บิฐ : [บิด] น. ตั่ง, ที่นั่งชนิดหนึ่ง รูปสี่เหลี่ยม มีเท้า มีพนักอิงบ้างไม่มีบ้าง. (ป. ปี?). (รูปภาพ บิฐ)
ประอรประเอียง : ว. งามกรีดกราย, เคล้าพิงอิงเอียง.
พญาฉัททันต์ : น. ชื่อกล้วยไม้อิงอาศัยชนิด Vandopsis gigantea (Lindl.) Pfitz. ในวงศ์ Orchidaceae ดอกสีเหลืองประนํ้าตาล.
ยมโดย : น. ชื่อเฟินอิงอาศัยชนิด Lycopodium squarrosum Forst. ในวงศ์ Lycopodiaceae.
สร้อยระย้า ๒ : น. (๑) ชื่อกล้วยไม้อิงอาศัยชนิด Otochilus fusca Lindl. ในวงศ์ Orchidaceae ดอกเล็ก สีขาว ออกเป็นช่อห้อยลง กลิ่นหอม. (๒) ชื่อไม้พุ่มอิงอาศัยชนิด Medinilla magnifica Lindl. ในวงศ์ Melastomataceae ใบรูปไข่เป็นมัน เส้นกลางใบสีขาวนวล ดอกสีชมพู ออกเป็นช่อห้อยลง.
หมอนขวาน : น. หมอนที่ทําหน้าตัดเป็นรูปสามเหลี่ยมคล้ายขวาน ใช้อิง.
องคุละ : [คุละ] น. นิ้วมือ, นิ้วเท้า. (ป., ส.).
กระจองงอง, กระจองงอง ๆ : ว. เสียงร้องเช่นนั้นพร้อมตีฆ้องป่าวประกาศว่า กระจองงอง ๆ เจ้าข้าเอ๊ย.
ขันน้ำพานรอง : น. ขันนํ้าที่มีพานรองรับ.
ฉม่อง : [ฉะหฺม่อง] น. คนตีฆ้อง เช่น พานรนายฉม่องว่องไว คุมคนธรรพ์ไป ประจานให้ร้องโทษา. (คําพากย์).
ตระหง่อง, ตระหน่อง : [ตฺระ-] (โบ; กลอน) ก. จ้อง, คอยดู, เช่น ตาเรียมตระหง่องตั้ง ตาเรือ แม่ฮา. (ทวาทศมาส), เขียนเป็น ตรง่อง ก็มี เช่น อันว่าพระมหาสัตวก็ต้งงตาแลตรง่อง ซึ่งช้นนช่องมรรคา ที่มีผู้จะมาน้นน โสดแล. (ม. คําหลวง กุมาร), กระหง่อง หรือ กระหน่อง ก็ใช้.
เป็นกอง, เป็นก่ายเป็นกอง : ว. มาก, มากมาย, เช่น โตขึ้นเป็นกอง ซื้อมาเป็นก่ายเป็นกอง.
อีหน็องอีแหน็ง : ว. กะหน็องกระแหน็ง.
กระจองหง่อง, กระจ๋องหง่อง : ว. อาการที่นั่งยอง ๆ จ้องดู.
ค่องอ้อย : น. ชื่อการพนันด้วยการทายความสั้นยาวของท่อนอ้อย โดยเอามีดสับ คาไว้ที่ประมาณส่วนกลางลำอ้อย แล้วตั้งพิงไว้ให้ผู้เล่นทายว่าส่วนของ ท่อนอ้อยด้านบนกับด้านล่างของมีดยาวเท่ากันหรือสั้นยาวกว่ากันเท่าใด ผู้ใดทายได้ถูกต้องหรือใกล้เคียงที่สุดเป็นผู้ชนะ.
จองหง่อง : ว. อาการที่นั่งอย่างหงอยเหงา.
ด่อง ๆ, ด้อง ๆ : ว. หย่อง ๆ.
ดาบสองคม : (สํา) ว. มีทั้งคุณและโทษ, อาจดีอาจเสียก็ได้.
เทิงบอง, เทิ้งบอง : น. เสียงเถิดเทิง, กลองยาว.
ผีตองเหลือง : น. ชนชาติข่าพวกหนึ่ง, ตองเหลือง ก็เรียก.
ยาดอง : น. ยาที่ใช้เครื่องสมุนไพรห่อแช่เหล้าเป็นต้น กินบำรุงร่างกาย หรือแก้โรค.
หง่อง ๆ : ว. อาการที่เดินขย่มตัวหัวสั่นหัวคลอนไปตามลำพัง, โดยปริยายหมายถึง เดินอยู่ตามลำพัง; เสียงดังเช่นเสียงฆ้องกระแต.
หงองแหงง : [หฺงองแหฺงง] ก. ระหองระแหง, ไม่ลงรอยกัน.
หน็องแหน็ง : ว. กะหน็องกะแหน็ง.
หย็องกรอด : [หฺย็องกฺรอด] ว. ซูบผอมมีท่าทางคล้ายคนอิดโรย.
อึ่ง : น. ชื่อสัตว์สี่เท้าสะเทินนํ้าสะเทินบกหลายชนิดในวงศ์ Microhylidae รูปร่างอ้วนป้อมและมักพองตัวได้ เช่น อึ่งอ่าง (Kaloula pulchra) อึ่งแว่น (Calluella guttulata).
แอ่ง : น. ที่ซึ่งลาดลึกลงไปพอนํ้าขังได้.
โอ่ง : น. ภาชนะสําหรับขังนํ้า ก้นสอบเล็กน้อย ปากกว้าง มีขนาดต่าง ๆ กัน, บางทีก็เรียกว่า ตุ่ม.
คำกร่อน : (ไว) น. คำที่ลดเสียงสระและเสียงสะกด (ถ้ามี) ให้เป็นเสียง อะ โดยยังคงเสียงพยัญชนะต้นเสียงเดี่ยวหรือเสียงพยัญชนะต้นที่เป็น อักษรควบอักษรกล้ำไว้ มักจะเกิดในคำสองพยางค์ที่พยางค์แรกออก เสียงเบา เช่น หมากม่วง เป็น มะม่วง ต้นเคียน เป็น ตะเคียน อันหนึ่ง เป็น อนึ่ง แจ้นแจ้น เป็น จะแจ้น ขวักไขว่ เป็น ขวะไขว่ โครมโครม เป็น คระ โครม, และมีปรากฏในคำพยางค์เดียวด้วย เช่น เสีย เป็น ซะ แล้ว เป็น ละ, แต่บางกรณีก็ลดเสียงสระและเสียงสะกด (ถ้ามี) ให้เป็น เสียง เออะ หรือ อึ เช่น เถิด เป็น เถอะ หรือ เป็น รึ.
รัสสระ : [รัดสะสะหฺระ] น. สระที่มีเสียงสั้น ในภาษาบาลีได้แก่ อ อิ อุ, ในภาษาสันสกฤตได้แก่ อ อิ อุ ฤ ฦ, ในภาษาไทยได้แก่ อ อิ อึ อุ เอะ แอะ โอะ เอาะ เออะ เอียะ เอือะ อัวะ ฤ ฦ อํา ใอ ไอ เอา. (ป.).
อุจจาร, อุจจาระ : [อุดจาระ] น. ขี้, (ปาก) อึ. (ป., ส.).
องคชาต : [องคะ] น. อวัยวะสืบพันธุ์ของชาย. (ป., ส. องฺคชาต ว่า อวัยวะสืบพันธุ์ของชายหญิง).