อิฏฐ, อิฐ ๑ : [อิดถะ] ว. น่าปรารถนา, เป็นที่พอใจ, ต้องใจ, น่ารัก. (ป.; ส. อิษฺฏ).
อิฐ ๒ : [อิด] น. ดินเผามีลักษณะเป็นทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้าใช้ก่อตึกและ กําแพงเป็นต้น; โดยปริยายใช้เรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึง เช่นนั้น เช่น อิฐบล็อก. ว. สีอย่างสีอิฐใหม่ เรียกว่า สีอิฐ. (ป. อิฏฺ?กา; ส. อิษฺฏกา).
เผาอิฐ : ก. เผาดินซึ่งส่วนมากทำเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าให้สุกเพื่อใช้ ก่อตึกหรือกำแพงเป็นต้น.
พระอิฐพระปูน : (สํา) ว. นิ่งเฉย, วางเฉย ไม่เดือดร้อน, ไม่รู้สึกยินดี ยินร้าย.
กอดแข้งกอดขา, กอดมือกอดตีน : ก. ประจบประแจง. ว. เดิม, เริ่ม, ลําดับแรก, เช่น แต่ก่อน, ถ้าใช้ประกอบหลังคํานาม บอกเวลา หมายความว่า ล่วงมาแล้ว เช่น วันก่อน เดือนก่อน, ถ้าใช้ประกอบหน้าคํานามบอกเวลา หมายความว่า ยังไม่มาถึง เช่น ก่อนเที่ยง, ใช้ประกอบหลังคํากริยา บางกรณีหมายความว่า ให้ระงับยับยั้งไว้ชั่วคราว เช่น หยุดก่อน รอก่อน, บางกรณี หมายความว่า ล่วงหน้า เช่น ไปก่อน. น. คําบอกลักษณะของเล็ก ๆ ที่เกาะหรือติดรวมกันแน่น ไม่กําหนดรูปแน่นอน โดยมากมีลักษณะค่อนข้างกลม เช่น ข้าวเกาะกันเป็นก้อน, เรียกสิ่งที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น ก้อนข้าว; สิ่งที่แยกหรือแตกออกจากสิ่งใหญ่ ไม่กําหนดรูปแน่นอน โดยมากมีลักษณะค่อนข้างกลม เช่น ก้อนอิฐ ก้อนหิน ก้อนดิน; ลักษณนามเรียกของเช่นนั้น เช่น ข้าว ๓ ก้อน หิน ๒ ก้อน; โดยปริยายหมายถึง จํานวนรวม เช่น ได้เป็นเงินก้อน; (ถิ่น-ปักษ์ใต้) เงิน ๑ สลึง (ที่สงขลามีค่า = ๑๕ สตางค์).
ก้อน : น. คําบอกลักษณะของเล็ก ๆ ที่เกาะหรือติดรวมกันแน่น ไม่กําหนดรูปแน่นอน โดยมากมีลักษณะค่อนข้างกลม เช่น ข้าวเกาะกันเป็นก้อน, เรียกสิ่งที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น ก้อนข้าว; สิ่งที่แยกหรือแตกออกจากสิ่งใหญ่ ไม่กําหนดรูปแน่นอน โดยมากมีลักษณะค่อนข้างกลม เช่น ก้อนอิฐ ก้อนหิน ก้อนดิน; ลักษณนามเรียกของเช่นนั้น เช่น ข้าว ๓ ก้อน หิน ๒ ก้อน; โดยปริยายหมายถึง จํานวนรวม เช่น ได้เป็นเงินก้อน; (ถิ่น-ปักษ์ใต้) เงิน ๑ สลึง (ที่สงขลามีค่า = ๑๕ สตางค์).
ก้อนเส้า : น. ก้อนดิน ก้อนอิฐ หรือก้อนหินเป็นต้นที่เอามาตั้งต่างเตา; ชื่อดาวฤกษ์ภรณี มี ๓ ดวง. ก. เอามือ ๒ ข้างรวบสิ่งของเข้ามาจนนิ้วก้อยของมือชิดกันแล้วยกขึ้น. น. เรียกของที่กอบขึ้นครั้งหนึ่ง ๆ ว่า กอบหนึ่ง ๆ, ลักษณนามเรียกปริมาณของของที่กอบขึ้นมาเช่นนั้น เช่น ทรายกอบหนึ่ง ข้าวสาร ๒ กอบ.
ก้อนเส้า : น. ก้อนดิน ก้อนอิฐ หรือก้อนหินเป็นต้นที่เอามาตั้งต่างเตา; ชื่อดาวฤกษ์ภรณี มี ๓ ดวง.
ก่อฤกษ์ : ก. ทําพิธีเริ่มก่อสร้าง เช่น วางอิฐวางหิน.
ก่อสร้าง : ก. ก่อและสร้างโดยใช้อิฐและปูนเป็นส่วนใหญ่.
กำแพง : น. เครื่องกั้น เครื่องล้อม ที่ก่อด้วยอิฐ ดิน หรือ หิน เป็นต้น. (ข. กํแพง).
กุฏิ ๒ : [กุด] น. ที่บรรจุศพที่ก่ออิฐถือปูนเป็นหลัง ๆ; เรือนที่ทําให้นกขุนทองนอน. (เทียบทมิฬ กูฏุ ว่า รังนก).
ขลัง : [ขฺลัง] ว. มีกําลังหรืออํานาจที่อาจบันดาลให้เป็นไปได้, มีอํานาจ ศักดิ์สิทธิ์ที่เชื่อกันว่า อาจบันดาลให้สําเร็จได้ดังประสงค์. น. สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น ในนั้นปูอิฐวางขลัง. (สิบสองเดือน).
เขื่อน : น. เครื่องป้องกันไม่ให้ดินริมนํ้าพัง, สิ่งที่สร้างขึ้นขวางกั้นลํานํ้า เพื่อกัก เก็บน้ำไว้ใช้ประโยชน์ในทางชลประทานเป็นต้น เช่น เขื่อนเจ้าพระยา, โดยปริยายใช้เรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น กำแพงดิน หรืออิฐที่ล้อมรอบต้นโพธิ์; (โบ) รั้ว, กำแพง, คันดินกันตลิ่งพัง, เช่น ปิดประตูเมืองลง เขื่อนขว้าง. (ยวนพ่าย).
คำผวน : น. คำที่พูดทวนกลับได้ เช่น ตกที่อิฐ ผวนเป็น ติดที่อก.
ช่องตีนกา : น. ช่องอิฐโปร่งหรือที่ก่อเป็นช่องลึกรูปกากบาท ใต้แนวใบเสมาของกำแพงเมืองหรือกำแพงวัง.
ถือปูน : ก. เอาปูนโบกอิฐหรือสิ่งอื่นที่ก่อขึ้น.
ทุบ : ก. ใช้ของแข็งเช่นค้อนหรือสิ่งที่มีลักษณะกลม ๆ เป็นต้นตีลงไป บนสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อให้แตก เช่น ทุบมะพร้าว ทุบอิฐ ทุบหิน หรือ เพื่อให้นุ่มให้แหลก เช่น ทุบเนื้อวัว ทุบเนื้อหมู หรือเพื่อให้ตาย เช่น ทุบด้วยท่อนจันทน์ ทุบหัวปลา, โดยปริยายหมายถึงอาการที่ คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เอากําปั้นทุบหลัง เอามือทุบโต๊ะ.
ปูนสอ : น. ปูนขาวที่ผสมกับทรายและนํ้ากาวหนังหรือนํ้าอ้อย เป็นต้น สําหรับเชื่อมอิฐหรือหิน, ปูนขาวหรือปูนซีเมนต์ผสม กับทรายและนํ้า สําหรับเชื่อมอิฐหรือหิน.
ผนัง : [ผะหฺนัง] น. ฝาที่ก่ออิฐถือปูน, ฝาทึบที่โบกปูน, โดยปริยายหมายถึง สิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ผนังถ้ำ.
ผวน : [ผฺวน] ก. หวน, กลับ, เช่น ผวนคํา, เรียกคําที่พูดทวนกลับเช่นนั้น เช่น ตกที่อิฐ ผวนเป็นติดที่อก ว่า คําผวน.
พลสิงห์ : [พนละ] น. พนักบันไดอิฐ.
ฟัน ๑ : ก. เอาของมีคมเช่นดาบฟาดลงไป, โดยปริยายหมายถึงอาการที่ คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เอาสันมือฟันอิฐ.
เลปกร : [เลปะกอน] น. ช่างอิฐ, ช่างปูน. (ป.).
แลง ๑ : น. ชื่อหินชนิดหนึ่ง เมื่ออยู่ใต้ดินมีลักษณะเป็นดินอ่อน เมื่อถูกลม แล้วแข็ง เป็นหินสีแดงอย่างอิฐเผา แต่ปรุเป็นรูเหมือนไม้ที่เพรียงกิน เรียกว่า หินแลง หรือ ศิลาแลง.
ศิลาแลง : น. หินชนิดหนึ่ง เมื่ออยู่ใต้ดินมีลักษณะอ่อน แต่ถูกลม แล้วแข็ง มีสีแดงอย่างอิฐเผา และเป็นรูพรุนเหมือนไม้เพรียงกิน, หินแลง ก็เรียก.
สอปูน : ก. นําปูนสอมาเชื่อมอิฐหรือหินให้ติดกัน.
หมอน : [หฺมอน] น. เครื่องสําหรับหนุนศีรษะหรือหนุนสิ่งต่าง ๆ เป็นต้น, เรียกตาม รูปทรงก็มี เช่น หมอนขวาน หมอนตะพาบ หมอนหน้าอิฐ, เรียกตามวัตถุ ประสงค์ที่ใช้สอยก็มี เช่น หมอนหนุนศีรษะ หมอนหนุนเท้า หมอนหนุน รางรถไฟ, เรียกตามวัตถุที่ใช้ทำก็มี เช่น หมอนไม้ หมอนอิฐ; เครื่องสําหรับ อัดดินปืนในลํากล้องให้แน่น.
ห้องแถว : น. อาคารไม้ที่สร้างเป็นห้อง ๆ เรียงติดกันเป็นแถว, ถ้าก่อด้วยอิฐฉาบปูนหรือคอนกรีตเป็นห้อง ๆ เรียงติดกันไปเรียกว่า ตึกแถว; (กฎ) อาคารที่พักอาศัยหรืออาคารพาณิชย์ซึ่งปลูกสร้างติดต่อ กันเป็นแถวเกิน ๒ ห้อง และประกอบด้วยวัตถุไม่ทนไฟเป็นส่วนใหญ่.
หินแลง : น. หินชนิดหนึ่ง เมื่ออยู่ใต้ดินมีลักษณะอ่อน แต่ถูกลมแล้วแข็ง มีสีแดงอย่างอิฐเผา และเป็นรูพรุนเหมือนไม้เพรียงกิน, ศิลาแลง ก็เรียก.