Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: อิ่มเอิบ, เอิบ, อิ่ม , then อบ, อม, อมอบ, อิ่ม, อิ่มเอิบ, เอิบ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : อิ่มเอิบ, 248 found, display 1-50
  1. อิ่มเอิบ : ว. แช่มชื่น, สดชื่น, เช่น หน้าตาอิ่มเอิบ; ปลาบปลื้ม, สบายใจมาก, เช่น จิตใจอิ่มเอิบ.
  2. อิ่ม : ก. เต็มแล้ว, พอแล้ว, หายหิว, หายอยาก. ว. เบิกบาน, แช่มชื่น, เช่น หน้าอิ่ม.
  3. เอิบ : ก. ซึมเข้าไป, ซาบเข้าไป.
  4. กระเอิบ : (กลอน) ก. เอิบ, อิ่ม, เช่น เถ้ากระเอิบเรอสมออกแล. (ม. คําหลวง กุมาร).
  5. อิ่มหนำ : ว. อิ่มเต็มที่ (ใช้แก่กริยากิน), อิ่มหนําสําราญ ก็ว่า.
  6. อิ่มเอม : ว. เป็นที่พอใจมาก, มักใช้เข้าคู่กับคำ เปรมใจ หรือ เปรมปรีดิ์ เป็น อิ่มเอมเปรมใจ หรือ อิ่มเอมเปรมปรีดิ์.
  7. เอิบอาบ : ก. อาบไปทั่ว, ซึมซาบ; ซาบซ่าน; อาบเอิบ ก็ว่า.
  8. อิ่มตัว : ว. เต็มที่แล้ว.
  9. อิ่มหมีพีมัน : ว. ได้รับการเลี้ยงดูอย่างเต็มที่.
  10. ชุ่มใจ, ชุ่มอกชุ่มใจ : ก. อิ่มเอิบใจ.
  11. พริ้ม : ว. งามอย่างยิ้มแย้ม, มีหน้าตาอิ่มเอิบและดูยิ้มละไมอยู่ในหน้า, เช่น พระพุทธรูปมีพระพักตร์พริ้ม นอนหลับตาพริ้ม.
  12. ยิ้มน้อยยิ้มใหญ่ : ก. ยิ้มแล้วยิ้มอีกด้วยความดีใจหรืออิ่มเอิบใจ.
  13. ราศี ๒ : น. ความสง่างาม, ลักษณะดีงามของคน, เช่น หน้าตามีราศี, โดยปริยาย หมายความว่าความอิ่มเอิบ, ความภาคภูมิ, เช่น ได้ตำแหน่งดี ดูมีราศีขึ้น; สิริมงคล เชื่อกันว่าเวลาเช้าราศีอยู่ที่หน้า เวลากลางวันราศีอยู่ที่หน้าอก เวลากลางคืนราศีอยู่ที่เท้า.
  14. หน้าเปิด : น. หน้าอิ่มเอิบผ่องใสชวนดู, หน้าสว่าง ก็ว่า.
  15. หน้าสว่าง : น. หน้าอิ่มเอิบผ่องใสชวนดู, หน้าเปิด ก็ว่า.
  16. แช่อิ่ม : ว. ที่แช่นํ้าตาลเชื่อมจนอิ่มตัว เช่น ผลไม้แช่อิ่ม เปลือกส้มโอแช่อิ่ม.
  17. อาบเอิบ : ก. อาบทั่วไป, ซึมซาบ; ซาบซ่าน, เอิบอาบ ก็ว่า.
  18. อม : ก. เอาสิ่งของใส่ปากแล้วหุบปากไว้ไม่กลืนลงไป, โดยปริยาย หมายความว่า ไม่แสดงออกมา เช่น อมภูมิ; กลมกลืน, ปนกัน, เช่น อมเปรี้ยวอมหวาน เขียวอมเหลือง; (ปาก) เม้ม, ขมิบ, ยักเอาไว้.
  19. ข้าวเหลือเกลืออิ่ม : (สํา) น. บ้านเมืองที่บริบูรณ์ด้วยข้าวปลาอาหาร.
  20. อบ : ก. ปรุงกลิ่นด้วยควันหรือรมด้วยกลิ่นในที่ที่ควันหรือกลิ่นกระจาย ออกไปไม่ได้; ทําให้ร้อนหรือสุกด้วยไอนํ้าหรือไอไฟในที่ที่ความ ร้อนออกไม่ได้; อากาศถ่ายเทไม่ได้.
  21. อิ่มใจ, อิ่มอกอิ่มใจ : ก. ปลื้มใจ, สบายใจ, ภูมิใจ, ปีติยินดี.
  22. ตฤป : [ตฺริบ] (แบบ) ก. อิ่ม, ให้อิ่ม, ให้กิน, เลี้ยง, กิน เช่น ตฤปตฤณ. (ส.; ป. ตปฺป).
  23. กินอยู่พูวาย : ก. กินอย่างอิ่มหนําสําราญ.
  24. ของขบเคี้ยว : น. ของกินเล่นที่ไม่เจตนากินให้อิ่ม.
  25. ความชื้นสัมพัทธ์ : น. อัตราส่วนระหว่างมวลของไอนํ้าที่มีอยู่จริงในอากาศ เทียบกับมวลของไอนํ้าอิ่มตัวเมื่อมีปริมาตรและอุณหภูมิเท่ากัน มักกําหนด ค่าเป็นร้อยละ. (อ. relative humidity).
  26. จุดน้ำค้าง : น. อุณหภูมิที่ไอนํ้าในอากาศเกิดการอิ่มตัวและเริ่มควบแน่น เป็นหยดนํ้า. (อ. dew point).
  27. ชุ่ม : ก. มีนํ้าหรือของเหลวซึมซาบเอิบอาบอยู่ เช่น ชุ่มคอ.
  28. ซึ้ง ๒ : ว. ลึกมากจนยากที่จะหยั่งรู้ได้ เช่น ปัญหาลึกซึ้ง คิดลึกซึ้ง; รู้สึก เอิบอาบซาบซ่านแผ่ไปทั่วร่างกายและจิตใจ เช่น ภาพนี้มองดูซึ้ง ฟังเขาพูดแล้วรู้สึกซึ้งมาก.
  29. ซึมซาบ : ก. เอิบอาบเข้าไปทั่วถึง.
  30. เท้อ : ว. อาการที่นํ้าขึ้นมากเต็มที่แล้วไม่ลดลงชั่วระยะหนึ่ง เรียกว่า นํ้าเท้อ; ไม่อยากอาหารเพราะยังอิ่มอยู่เป็นต้น.
  31. เปรมปรีดิ์ : [-ปฺรี] ว. อิ่มอกอิ่มใจ, ปลาบปลื้มใจ.
  32. แปล้ : [แปฺล้] ว. แบนราบ เช่น หวีผมแปล้, เพียบ, เต็มที่ เช่น อิ่มแปล้ หนักแปล้; เตี้ยลง.
  33. ระรื่น, ระรื้น : ว. ชื่นบาน, เบิกบานใจ, เช่น ยิ้มระรื่น, เอิบอาบใจ, ซาบซ่านใจ, เช่น หอมระรื่น.
  34. รากสามสิบ : น. ชื่อไม้เถาชนิด Asparagus racemosus Willd. ในวงศ์ Asparagaceae เถามีหนาม ใบลดรูปเป็นเกล็ด กิ่งเรียวรูปเข็ม รากอวบใช้ทํายาและ แช่อิ่มได้, พายัพเรียก จ๋วงเครือ หรือ จั่นดิน.
  35. สะบัดมือ : ก. ลุกไปทันทีเป็นเชิงเอาเปรียบหรือรู้มาก เช่น งานยัง ไม่ทันเสร็จก็สะบัดมือไปแล้ว กินอิ่มแล้วก็สะบัดมือไป.
  36. หนักท้อง : ว. พอให้อิ่ม, พอประทังหิว, เช่น กินพอให้หนักท้อง.
  37. หนำ : ว. มากพอกับความต้องการ เช่น อิ่มหนำสำราญ.
  38. อยู่ท้อง : ว. อิ่มได้นาน.
  39. อาโปธาตุ : น. ของเหลวที่เอิบอาบซาบซึมไปได้ นับเป็นธาตุ ๑ ใน ธาตุทั้ง ๔ คือ ๑. ปฐวีธาตุ = ธาตุดิน ๒. อาโปธาตุ = ธาตุนํ้า ๓. เตโชธาตุ = ธาตุไฟ ๔. วาโยธาตุ = ธาตุลม. (ป., ส.).
  40. อมทุกข์ : ว. มีความทุกข์สุมอยู่ เช่น หน้าตาอมทุกข์.
  41. อมพระมาพูด : (สำ) ใช้ในการพูดโดยอ้างพระหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์มา ประกอบเป็นพยาน มักใช้ในความปฏิเสธ เช่น ต่อให้อมพระมาพูด ก็ไม่เชื่อ.
  42. อมเพลิง : [เพฺลิง] น. เรียกไม้เสาที่มีเปลือกและกระพี้เป็นชั้น ๆ ว่า เสาอมเพลิง ถือว่าเป็นเสาไม่ดี.
  43. อมเลือดอมหนอง : ว. มีเลือดและหนองปนกันอยู่ข้างใน เช่น ฝีอมเลือดอมหนอง.
  44. อมเลือดอมฝาด : ว. มีผิวพรรณผุดผ่อง.
  45. หยี ๒ : (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ชื่อไม้ต้น ๓ ชนิดในสกุล Dialium วงศ์ Leguminosae ผลมี เมล็ดเดียว เมื่อแก่เปลือกกรอบสีดํา เนื้อหุ้มเมล็ดสีนํ้าตาล รสเปรี้ยวอมหวาน คือ ชนิด D. indum L. ลูกหยีที่เป็นของกินเล่นส่วนใหญ่เป็นผลของต้นนี้, หยีท้องบึ้ง (D. platysepalum Backer), และชนิด D. cochinchinense L. ชนิดหลังนี้ เขลง ก็เรียก, อีสานเรียก นางดํา.
  46. ดูดอมดูดาย : ก. ละทิ้ง เช่น บมิควรดูดอมดูดาย. (สมุทรโฆษ).
  47. เทียนอบ : น. เทียนที่มีส่วนผสมของสิ่งที่มีกลิ่นหอม จุดใช้ควัน อบขนมเป็นต้น.
  48. เป็นกอบเป็นกำ : (สํา) ว. เป็นผลดี, เป็นชิ้นเป็นอัน เช่น ทำให้ เป็นกอบเป็นกำ, เป็นก้อนใหญ่ ทําประโยชน์ต่อไปได้ดี เช่น ได้เงินมาเป็นกอบเป็นกำ.
  49. หย็อมแหย็ม : ว. มีเล็กน้อย, มีห่าง ๆ ไม่เป็นพวกเป็นหมู่, เช่น มีหนวดหย็อมแหย็ม, กะหร็อมกะแหร็ม หรือ หร็อมแหร็ม ก็ว่า.
  50. เซือม : ดู เนื้ออ่อน.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-248

(0.1353 sec)