อิ่ม : ก. เต็มแล้ว, พอแล้ว, หายหิว, หายอยาก. ว. เบิกบาน, แช่มชื่น, เช่น หน้าอิ่ม.
อิ่มหนำ : ว. อิ่มเต็มที่ (ใช้แก่กริยากิน), อิ่มหนําสําราญ ก็ว่า.
อิ่มเอม : ว. เป็นที่พอใจมาก, มักใช้เข้าคู่กับคำ เปรมใจ หรือ เปรมปรีดิ์ เป็น อิ่มเอมเปรมใจ หรือ อิ่มเอมเปรมปรีดิ์.
อิ่มเอิบ : ว. แช่มชื่น, สดชื่น, เช่น หน้าตาอิ่มเอิบ; ปลาบปลื้ม, สบายใจมาก, เช่น จิตใจอิ่มเอิบ.
อิ่มตัว : ว. เต็มที่แล้ว.
อิ่มหมีพีมัน : ว. ได้รับการเลี้ยงดูอย่างเต็มที่.
กระเอิบ : (กลอน) ก. เอิบ, อิ่ม, เช่น เถ้ากระเอิบเรอสมออกแล. (ม. คําหลวง กุมาร).
แช่อิ่ม : ว. ที่แช่นํ้าตาลเชื่อมจนอิ่มตัว เช่น ผลไม้แช่อิ่ม เปลือกส้มโอแช่อิ่ม.
อม : ก. เอาสิ่งของใส่ปากแล้วหุบปากไว้ไม่กลืนลงไป, โดยปริยาย หมายความว่า ไม่แสดงออกมา เช่น อมภูมิ; กลมกลืน, ปนกัน, เช่น อมเปรี้ยวอมหวาน เขียวอมเหลือง; (ปาก) เม้ม, ขมิบ, ยักเอาไว้.
ข้าวเหลือเกลืออิ่ม : (สํา) น. บ้านเมืองที่บริบูรณ์ด้วยข้าวปลาอาหาร.
อิ่มใจ, อิ่มอกอิ่มใจ : ก. ปลื้มใจ, สบายใจ, ภูมิใจ, ปีติยินดี.
ตฤป : [ตฺริบ] (แบบ) ก. อิ่ม, ให้อิ่ม, ให้กิน, เลี้ยง, กิน เช่น ตฤปตฤณ. (ส.; ป. ตปฺป).
กินอยู่พูวาย : ก. กินอย่างอิ่มหนําสําราญ.
ของขบเคี้ยว : น. ของกินเล่นที่ไม่เจตนากินให้อิ่ม.
ความชื้นสัมพัทธ์ : น. อัตราส่วนระหว่างมวลของไอนํ้าที่มีอยู่จริงในอากาศ เทียบกับมวลของไอนํ้าอิ่มตัวเมื่อมีปริมาตรและอุณหภูมิเท่ากัน มักกําหนด ค่าเป็นร้อยละ. (อ. relative humidity).
จุดน้ำค้าง : น. อุณหภูมิที่ไอนํ้าในอากาศเกิดการอิ่มตัวและเริ่มควบแน่น เป็นหยดนํ้า. (อ. dew point).
ชุ่มใจ, ชุ่มอกชุ่มใจ : ก. อิ่มเอิบใจ.
เท้อ : ว. อาการที่นํ้าขึ้นมากเต็มที่แล้วไม่ลดลงชั่วระยะหนึ่ง เรียกว่า นํ้าเท้อ; ไม่อยากอาหารเพราะยังอิ่มอยู่เป็นต้น.
เปรมปรีดิ์ : [-ปฺรี] ว. อิ่มอกอิ่มใจ, ปลาบปลื้มใจ.
แปล้ : [แปฺล้] ว. แบนราบ เช่น หวีผมแปล้, เพียบ, เต็มที่ เช่น อิ่มแปล้ หนักแปล้; เตี้ยลง.
พริ้ม : ว. งามอย่างยิ้มแย้ม, มีหน้าตาอิ่มเอิบและดูยิ้มละไมอยู่ในหน้า, เช่น พระพุทธรูปมีพระพักตร์พริ้ม นอนหลับตาพริ้ม.
ยิ้มน้อยยิ้มใหญ่ : ก. ยิ้มแล้วยิ้มอีกด้วยความดีใจหรืออิ่มเอิบใจ.
รากสามสิบ : น. ชื่อไม้เถาชนิด Asparagus racemosus Willd. ในวงศ์ Asparagaceae เถามีหนาม ใบลดรูปเป็นเกล็ด กิ่งเรียวรูปเข็ม รากอวบใช้ทํายาและ แช่อิ่มได้, พายัพเรียก จ๋วงเครือ หรือ จั่นดิน.
ราศี ๒ : น. ความสง่างาม, ลักษณะดีงามของคน, เช่น หน้าตามีราศี, โดยปริยาย หมายความว่าความอิ่มเอิบ, ความภาคภูมิ, เช่น ได้ตำแหน่งดี ดูมีราศีขึ้น; สิริมงคล เชื่อกันว่าเวลาเช้าราศีอยู่ที่หน้า เวลากลางวันราศีอยู่ที่หน้าอก เวลากลางคืนราศีอยู่ที่เท้า.
สะบัดมือ : ก. ลุกไปทันทีเป็นเชิงเอาเปรียบหรือรู้มาก เช่น งานยัง ไม่ทันเสร็จก็สะบัดมือไปแล้ว กินอิ่มแล้วก็สะบัดมือไป.
หนักท้อง : ว. พอให้อิ่ม, พอประทังหิว, เช่น กินพอให้หนักท้อง.
หน้าเปิด : น. หน้าอิ่มเอิบผ่องใสชวนดู, หน้าสว่าง ก็ว่า.
หน้าสว่าง : น. หน้าอิ่มเอิบผ่องใสชวนดู, หน้าเปิด ก็ว่า.
หนำ : ว. มากพอกับความต้องการ เช่น อิ่มหนำสำราญ.
อยู่ท้อง : ว. อิ่มได้นาน.
อมทุกข์ : ว. มีความทุกข์สุมอยู่ เช่น หน้าตาอมทุกข์.
อมพระมาพูด : (สำ) ใช้ในการพูดโดยอ้างพระหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์มา ประกอบเป็นพยาน มักใช้ในความปฏิเสธ เช่น ต่อให้อมพระมาพูด ก็ไม่เชื่อ.
อมเพลิง : [เพฺลิง] น. เรียกไม้เสาที่มีเปลือกและกระพี้เป็นชั้น ๆ ว่า เสาอมเพลิง ถือว่าเป็นเสาไม่ดี.
อมเลือดอมหนอง : ว. มีเลือดและหนองปนกันอยู่ข้างใน เช่น ฝีอมเลือดอมหนอง.
อมเลือดอมฝาด : ว. มีผิวพรรณผุดผ่อง.
ดูดอมดูดาย : ก. ละทิ้ง เช่น บมิควรดูดอมดูดาย. (สมุทรโฆษ).
หย็อมแหย็ม : ว. มีเล็กน้อย, มีห่าง ๆ ไม่เป็นพวกเป็นหมู่, เช่น มีหนวดหย็อมแหย็ม, กะหร็อมกะแหร็ม หรือ หร็อมแหร็ม ก็ว่า.
เซือม : ดู เนื้ออ่อน.
ระอมระอา : (กลอน) ก. เบื่อหน่ายเต็มที.
วอมแวม, วอม ๆ แวม ๆ, ว็อมแว็ม, ว็อม ๆ แว็ม ๆ : ว. ลักษณะของแสงที่มองเห็นเรือง ๆ ไหว ๆ อยู่ในระยะไกล เช่น ในเวลากลางคืนพอมองเห็นแสงไฟวอมแวมอยู่ในที่ไกล ก็รู้สึกใจ ชื้นขึ้นมาหน่อย กระท่อมหลังนั้นคงมีคนอยู่ เพราะเห็นไฟวอม ๆ แวม ๆ อยู่ มีแสงไฟจากเรือหาปลาว็อมแว็ม.
หวานอมขมกลืน : (สำ) ก. ตกอยู่ในฐานะที่จำต้องยอมรับ ไม่ว่าจะดีหรือ ร้าย พอใจหรือไม่พอใจก็ตาม.
อมรินทร์, อมเรนทร์ : น. พระอินทร์. (ส. อมร + อินฺทฺร).
อมรินทร์, อมเรนทร์ :
ดู อมร, อมร.
เอาลูกเขามาเลี้ยงเอาเมี่ยงเขามาอม : (สำ) ก. เอาลูกของคนอื่นมา เลี้ยงเป็นลูกเป็นภาระรับผิดชอบที่หวังผลตอบแทนแน่นอนไม่ได้.
ก็ได้ ๒ : นิ. แสดงความหมายว่ายอมอย่างไม่เต็มใจนัก เช่น ท่านจะไปก็ได้.
กรอก ๒ : น. ชื่อนกยางขนาดเล็กในวงศ์ Ardeidae ในประเทศไทยมี ๓ ชนิด คือ ยางกรอกพันธุ์จีน (Ardeola bacchus) หัวสีน้ำตาลแดง หลังสีเทา อมดำ อกสีแดง ยางกรอกพันธุ์ชวา (A. speciosa) หัวและคอสีเหลือง หลังสีเทาอมดำ อกสีเหลือง และยางกรอกพันธุ์อินเดีย (A. grayii) หัวและคอสีเหลือง หลังสีแดงเข้ม อกสีน้ำตาลเหลือง กินปลา.
กระดูกไก่ดำ : น. ชื่อไม้พุ่ม ๒ ชนิดในสกุล Justicia วงศ์ Acanthaceae ชนิด J. gendarussa Burm.f. ใบยาวรี ออกตรงข้ามกัน ลําต้น กิ่ง ก้านใบ และเส้นกลางใบสีม่วงดํา ใช้ทํายาได้, กระดูกดําเฉียงพร้ามอญ หรือ สันพร้ามอญ ก็เรียก; และชนิด J. grossa C.B. Clarke ดอกสีขาว อมเขียว ฝักยาว เปลือกแข็งและมีขน ผลแก่แตกตามยาว.
กระทิง ๑ : น. ชื่อวัวป่าที่ใหญ่ที่สุดชนิด Bos gaurus ในวงศ์ Bovidae ขนลำตัวสีเทาหรือเทาอมดำ ยกเว้นขนบริเวณหน้าผากเป็นสีเทา ครึ่งล่างของขาทั้ง ๔ เป็นขนสีเทาอมเหลือง เนื่องจากเหงื่อที่เป็น น้ำมันที่ขับออกมา.
กระทู้ ๓ : น. ชื่อหนอนของแมลงกลุ่มหนึ่งในวงศ์ Noctuidae หรือ Phalaenidae ลําตัวอ่อนนุ่ม ผิวเป็นมัน มีขนตามลําตัวน้อย ส่วนใหญ่สีคล้ำ ทางด้านท้องสีอ่อนกว่า มักมีแถบหรือ เส้นสีต่าง ๆ เช่น สีส้มอมน้ำตาล เหลืองอมขาว พาดตามยาว ที่สันหลังและข้างลําตัว มีขาจริง ๓ คู่ ขาเทียม ๕ คู่ กินพืช โดยมักจะกัดต้นพืชให้ขาดออกจากกัน ทําให้เหลือแต่ตอโผล่ เหนือพื้นดิน มองคล้ายกระทู้หรือซอไม้ไผ่ที่ปักเป็นหลัก ชนิดที่รู้จักกันทั่วไป เช่น หนอนกระทู้ควายพระอินทร์ หรือ หนอนกระทู้คอรวง (Mythimna separata) ที่ทําลายต้นข้าว.
กระพี้นางนวล : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Dalbergia cana Grah. ex Kurz ในวงศ์ Leguminosae ใบเป็นใบประกอบ ใบย่อยรูปไข่ ปลายเรียวแหลม ดอกรูปดอกถั่ว กลีบเลี้ยงสีม่วงดำ กลีบดอก สีขาวอมเหลือง ฝักแบน มีขน มี ๒ เมล็ด, จักจั่น ก็เรียก.