Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: อีสาน , then อสาน, อีศาน, อีสาน .

Royal Institute Thai-Thai Dict : อีสาน, 245 found, display 1-50
  1. อีสาน : น. ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ. (ป. อีสาน; ส. อีศาน).
  2. อีสาน : น. พระศิวะหรือพระรุทระ.
  3. กูด ๒ : (ถิ่น-พายัพ, อีสาน, ปักษ์ใต้) ว. หงิก เช่น ผักกูด คือ ผักยอดใบหงิก.
  4. งึน : (ถิ่น-พายัพ, อีสาน; โบ) น. เงิน.
  5. กระเดิด ๑ : (ถิ่น-อีสาน) น. ปลากระดี่. (ดู กระดี่๑).
  6. กระแด้ง : (ถิ่น-อีสาน) น. เรียกชายหรือหญิงที่เป็นหมันว่า พ่อกระแด้ง แม่กระแด้ง. ว. คดไปมา. (ปาเลกัว).
  7. กระติบ : (ถิ่น-อีสาน) น. ภาชนะสานรูปกลม มีฝาครอบ สําหรับ บรรจุข้าวเหนียวนึ่ง.
  8. กระน่อง : (ถิ่น-อีสาน) น. อวัยวะส่วนหลังของลำแข้ง ตั้งแต่ขาพับลงไป ถึงส้นเท้า, กระหน่อง ขะน่อง หรือ ขาน่อง ก็เรียก.
  9. กระบม : (ถิ่น-อีสาน) น. ภาชนะชนิดหนึ่งทําด้วยไม้ขุดรูปวงกลมมีขอบ ด้ามสั้น สำหรับสงข้าวเหนียวที่นึ่งสุกใหม่ ๆ หรือคนข้าวเหนียวนึ่ง ให้ลดความร้อนก่อนนำไปใส่ในกล่องข้าว หรือใช้เป็นภาชนะรอง ถ้วยชามอย่างสำรับ, กระโบม ก็เรียก. (รูปภาพ กระบม)
  10. กระโบม ๒ : (ถิ่น-อีสาน) น. ภาชนะชนิดหนึ่ง ทำด้วยไม้ขุดรูปวงกลมมีขอบ ด้ามสั้น สำหรับสงข้าวเหนียวที่นึ่งสุกใหม่ ๆ หรือคนข้าวเหนียวนึ่ง ให้ลดความร้อนก่อนนำไปใส่ในกล่องข้าว หรือใช้เป็นภาชนะรอง ถ้วยชามอย่างสำรับ, กระบม ก็เรียก.
  11. กระปุ่ม : (ถิ่น-อีสาน) น. เครื่องสานชนิดหนึ่ง ส่วนล่างใหญ่ ส่วนบนเล็ก รูปกลม มีฝาสวมลงลึก สําหรับใส่สิ่งของ พ่อค้าหาบเร่มักใช้.
  12. กระพรวน : [-พฺรวน] น. โลหะทําเป็นรูปกลมกลวง มีลูกกลิ้งเล็ก ๆ อยู่ข้างใน เพื่อให้เกิดเสียง ใช้ผูกคอสัตว์หรือข้อเท้าเป็นต้น, พรวน ลูกพรวน หรือ ลูกกระพรวน ก็ว่า; (ถิ่น-พายัพ, อีสาน) มะหิ่ง หรือ หมากหิ่ง.
  13. กระพ้อม : น. ภาชนะสานขนาดใหญ่สำหรับบรรจุข้าวเปลือกเป็นต้น, พ้อม ก็เรียก; (ถิ่น-อีสาน) เครื่องสานชนิดหนึ่ง รูปเหมือนกระบุง แต่เล็กกว่าราวครึ่งหนึ่ง.
  14. กระพั่น : (ถิ่น-อีสาน) น. เครื่องไม้ในจําพวกเครื่องทอผ้าสําหรับม้วนผ้า.
  15. กระพา : (ถิ่น-อีสาน) น. เครื่องสานชนิดหนึ่ง สําหรับใส่สิ่งของบรรทุกไว้ ที่หลังคน มีสายรัดไขว้หน้าอก ใช้อย่างต่างใส่วัว แต่มีอันเดียว.
  16. กระย่อง : (ถิ่น-อีสาน) น. เครื่องสานชนิดหนึ่ง รูปกลมคล้ายโตก, ถ้าใหญ่ใช้เป็นสํารับ ถ้าเล็กใช้เป็นเครื่องใส่ข้าวตอก ดอกไม้บูชาตามวัด.
  17. กระลอม : (ถิ่น-อีสาน) น. เครื่องสานชนิดหนึ่ง สานด้วยตอกเป็นต้น ตาห่าง ๆ สำหรับใส่สิ่งของ, ชะลอม ก็ว่า.
  18. กระโลง : (ถิ่น-อีสาน) น. เครื่องสานด้วยใบลานชนิดหนึ่งใช้อย่างกระสอบ สําหรับใส่ข้าวเปลือกหรือข้าวสาร.
  19. กระสาบ ๒ : (ถิ่น-อีสาน) น. เถานางนูน. (ไทยเหนือว่า ผักสาบ). (พจน. ๒๔๙๓).
  20. กระหน่อง ๒ : (ถิ่น-อีสาน) น. อวัยวะส่วนหลังของลำแข้ง ตั้งแต่ขาพับลงไป ถึงส้นเท้า เช่น ตัวหนึ่งกัดเอ็นกระหน่อง. (ม. ภาคอีสาน ชูชก), กระน่อง ขะน่อง หรือ ขาน่อง ก็เรียก.
  21. กระหยัง : (ถิ่น-อีสาน) น. สมุกใส่เครื่องนุ่งห่ม. (ลัทธิ. ภาค ๑๘ ตอน ๑); ภาชนะชนิดหนึ่งคล้ายตะกร้าสําหรับใส่ของ.
  22. กล่าวโอม : (ถิ่น-อีสาน) ก. สู่ขอ.
  23. กวน ๑ : (ถิ่น-อีสาน) (ปาก) น. กวาน, ชื่อตําแหน่งขุนนางในภาคอีสาน สมัยโบราณ แต่ชาวอีสานบางถิ่นออกเสียงเป็น กวน เช่น บ้านเมืองข้อนขุนกวน ยาดไพร่.
  24. กอบด้วย : ว. มี (มักจะใช้ในคําที่กล่าวถึงลักษณะเพิ่มเติม) เช่น นาย ก เป็นผู้มีอํานาจและกอบด้วยเมตตา, ประกอบด้วย. น. ชื่อไม้เถาชนิด Chilocarpus costatus Miq. ในวงศ์ Apocynaceae พบทางปักษ์ใต้ มียางขาว, ย่านกอบนาง ก็เรียก. น. กระดาษที่ใช้สําหรับทําสําเนา เรียกว่า กระดาษก๊อบปี้. (อ. carbon paper); (ปาก) ลักษณนามเรียกสําเนาหนังสือ เช่น ก๊อบปี้หนึ่ง สําเนา ๒ ก๊อบปี้. (อ. copy). [กอบ] ก. ประกอบ. (โบ) น. ปลาย. ว. ค่อม, เตี้ย. ก. ก้ม. (ถิ่น-พายัพ) น. ต้นกะเพรา. (ดู กะเพรา). ว. ค่อม, เตี้ย, เช่น มีเจ่งตาบอดพลาย ก่อมก้อ. (โลกนิติ). น. คนป่าพวกหนึ่ง ตัวดํา ผมหยิก อยู่ในแหลมมลายู, เงาะ ก็เรียก. ดู อีก๋อย. น. นิ้วเล็กที่สุดของนิ้วทั้ง๕เรียกว่า นิ้วก้อย, ในการเล่นปั่นแปะ หรือโยนหัวโยนก้อย เรียกสมมุติด้านหนึ่งของสตางค์หรือ เหรียญกระษาปณ์ว่า ด้านก้อย, คู่กับ ด้านหัว, โดยปริยาย หมายความว่า เล็ก เช่น หัวเท่ากิ่งก้อย คือ หัวเล็กนิดเดียว, ไม่รู้จักนิ้วก้อยหัวแม่มือ หมายความว่า ไม่รู้จักเด็กไม่รู้จักผู้ใหญ่ หรือ ไม่รู้จักต่ำสูง. น. ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง คล้ายพล่า ทำด้วยกุ้งสด เรียกว่า ก้อยกุ้ง, (ถิ่น-อีสาน) ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง ทำจากเนื้อ ปลา กุ้ง ที่ดิบ ๆ คล้ายพล่า. ว. อาการที่ทําเป็นเจ้าชู้. น. ชื่อลิงไม่มีหางชนิด Gorilla gorilla ในวงศ์ Pongidae เป็นลิงที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ตัวสูงขนาดคนแต่ล่าสันและ แข็งแรงกว่ามาก มีถิ่นกําเนิดในทวีปแอฟริกา. น. กีฬาชนิดหนึ่ง ใช้ไม้ตีลูกกลมผ่านพื้นที่ขวางกั้นที่เตรียมไว้ให้มี ลักษณะต่าง ๆ กัน เช่น เป็นหลุมทราย บ่อน้ำ ให้ไปลงหลุมที่กําหนด. (อ. golf).
  25. ก้อย ๒ : น. ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง คล้ายพล่า ทำด้วยกุ้งสด เรียกว่า ก้อยกุ้ง; (ถิ่น-อีสาน) ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง ทำจากเนื้อ ปลา กุ้ง ที่ดิบ ๆ คล้ายพล่า.
  26. กะโซ้ ๒ : (ถิ่น-อีสาน) น. เครื่องวิดน้ำรูปร่างคล้ายเรือครึ่งท่อน, โชงโลง.
  27. กะดุ้ง : (ถิ่น-อีสาน) น. เครื่องมือจับสัตว์น้ำชนิดหนึ่งรูปร่างคล้ายยอยก, เรียกเป็นสามัญว่า สะดุ้ง.
  28. กะต่า : (ถิ่น-อีสาน) น. ตะกร้า, ตะกร้ามีหูหิ้ว; หูก.
  29. กะทัน : (ถิ่น-พายัพ, อีสาน) น. ต้นพุทรา. (ดู พุทรา).
  30. กะบั้ง : (ถิ่น-อีสาน) น. บ้องไม้ไผ่.
  31. กะเบียน : (ถิ่น-อีสาน) น. ถาดไม้ใช้เป็นสํารับ, กระบะ.
  32. กะปอม : (ถิ่น-อีสาน) น. กิ้งก่า. (ดู กิ้งก่า).
  33. กะโลง : (ถิ่น-อีสาน) น. ลังไม้ฉําฉา, หีบไม้; (ถิ่น-พายัพ) โคลง.
  34. กะสัง : (ถิ่น-อีสาน) น. ต้นมะสัง. (ดู มะสัง).
  35. กับแก้ ๒ : (ถิ่น-อีสาน) น. ตุ๊กแก. (ดู ตุ๊กแก๑).
  36. กางของ : (ถิ่น-อีสาน) น. ต้นปีบ. (ดู ปีบ๑).
  37. กาว ๒ : (ถิ่น-อีสาน) น. ต้นเทียนกิ่ง. (ดู เทียนกิ่ง).
  38. กินดอง : ก. กินเลี้ยงในการแต่งงาน. (ถิ่น-อีสาน) น. พิธีอย่างหนึ่งทําเมื่อผัวเมียมีบุตรด้วยกันคนหนึ่ง หรือไม่มีบุตร แต่ได้ทําพิธีแปลงออกครบ ๓ ปี.
  39. กินด่าง : (ถิ่น-อีสาน) น. พิธีอย่างหนึ่ง ทําเมื่อผัวเมีย มีบุตรด้วยกัน ๒ คน.
  40. กุด : ก. ตัด ในคําว่า กุดหัว ว่า ตัดหัว. ว. ด้วนสั้นหรือเหี้ยนเข้าไป เช่น ยอดกุด นิ้วกุด หางกุด. (ถิ่น-อีสาน) น. บึง, ลําน้ำที่ปลายด้วน.
  41. เกิบ ๑ : (ถิ่น-พายัพ, อีสาน) น. เกือก.
  42. แก่ ๓ : (ถิ่น-อีสาน) ก. ลาก เช่น แก่เกวียน.
  43. โก๋น : (ถิ่น-พายัพ, อีสาน) น. โพรงไม้, รูที่อยู่ตามลําต้นไม้. ว. เรียกผึ้งที่ทํารังในโพรงไม้ว่า ผึ้งโก๋น.
  44. ขยอง ๑ : [ขะหฺยอง] (ถิ่น-อีสาน) ก. ผยอง, รู้สึกหวาดกลัว.
  45. ข้อย : (ถิ่น-พายัพ, อีสาน) ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑. น. ข้า, บ่าว, เช่น เมื่อให้สูสองราชเป็นข้อยขาดแก่พราหมณ์. (ม. คําหลวง กุมาร).
  46. ขะน่อง, ขาน่อง : (ถิ่น-อีสาน) น. อวัยวะส่วนหลังของลำแข้ง ตั้งแต่ขาพับลงไปถึงส้นเท้า เช่น ตัว ๑ ขบขะน่อง. (ม. สำนวนอีสาน ชูชก), กระน่อง หรือกระหน่อง ก็เรียก.
  47. ขาง ๒ : (ถิ่น-อีสาน) น. รอดเรือน.
  48. ขาง ๓ : (ถิ่น-อีสาน) น. โลหะชนิดหนึ่งอย่างเหล็กกระทะ.
  49. ขาง ๔ : (ถิ่น-อีสาน) ก. อัง, ทําให้ร้อน, ทําให้สุก, เช่น เอาขี้ผึ้งไปขางไฟ ว่า เอาขี้ผึ้งไปอังไฟ.
  50. ขางดัง : (ถิ่น-อีสาน) น. ดั้งจมูก.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-245

(0.0664 sec)