อึ่ง : น. ชื่อสัตว์สี่เท้าสะเทินนํ้าสะเทินบกหลายชนิดในวงศ์ Microhylidae รูปร่างอ้วนป้อมและมักพองตัวได้ เช่น อึ่งอ่าง (Kaloula pulchra) อึ่งแว่น (Calluella guttulata).
อึ่งยาง, อึ่งอ่าง : น. ชื่อสัตว์สี่เท้าสะเทินนํ้าสะเทินบกในสกุล Kaloula วงศ์ Microhylidae สีนํ้าตาลลายขาว โตเต็มวัยยาว ประมาณ ๗ เซนติเมตร มักทําตัวพองเมื่อถูกรบกวน ร้อง เสียงดังเมื่อนํ้านองหลังฝนตก ที่พบทั่วไปมี ๒ ชนิด คือ ชนิด K. pulchra และอึ่งอ่างหลังขีด (K. mediolineata).
อึ่งใหญ่ : ดู กระดูกอึ่ง.
กระดูกอึ่ง : น. ชื่อไม้พุ่ม ๓ ชนิดในสกุล Dendrolobium และ Dicerma วงศ์ Leguminosae คือ ชนิด Dendrolobium triangulare (Retz.) Schindl. มักขึ้นในที่โล่งต่ำซึ่งชุ่มแฉะในฤดูฝน ฝักเล็กแบนคอดกิ่ว เป็นข้อ ๆ ใช้ทํายาได้, ขมิ้นนาง ขมิ้นลิง ลูกประคําผี หน้านวล เหนียวหมา หรือ อีเหนียว ก็เรียก; ชนิด D. lanceolatum (Dunn) Schindl. ขึ้นตามป่าผลัดใบที่มีต้นไผ่ สูงประมาณ ๑ เมตร ใบรูปไข่กลับ โคนใบสอบ, กระดูกเขียด แกลบหนู แกลบหูหนู แปรงหูหนู หรือ อึ่งใหญ่ ก็เรียก; และชนิด Dicerma biarticulatum (L.) DC. ชอบขึ้นตามไหล่ทางที่ตัดผ่านทุ่งนา สูงประมาณ ๑ เมตร ใบเล็กคล้ายใบมะขาม ดอกสีม่วง.
อง : น. คำนำหน้านามของบุคคลซึ่งเป็นเชื้อพระวงศ์ของกษัตริย์ญวน เช่น องเชียงสือ องเชียงชุน, คำนำหน้าสมณศักดิ์พระสงฆ์อนัมนิกาย ชั้นปลัดขวาปลัดซ้ายและพระคณานุกรม เช่น องสรภาณมธุรส องสุตบทบวร. (ญ.).
ปัญญาแค่หางอึ่ง : (สํา) ว. มีความรู้น้อย, โง่.
กระดูกเขียด : ดู กระดูกอึ่ง.
แกลบหนู, แกลบหูหนู : [แกฺลบ-] ดู กระดูกอึ่ง.
ขมิ้นนาง : ดู กระดูกอึ่ง.
ขมิ้นลิง : ดู กระดูกอึ่ง.
เบ่ง : ก. ตะเบ็ง เช่น เบ่งเสียง, พยายามขับดันสิ่งเช่นอุจจาระปัสสาวะ เป็นต้นให้ออกมา เช่น เบ่งอุจจาระเบ่งปัสสาวะ เบ่งลูก, ทําให้ พองตัวขึ้นหรือขยายตัวออก เช่น อึ่งอ่างเบ่ง เบ่งกล้าม; (ปาก) เร่ง เช่น เบ่งรถให้ขึ้นหน้า; อวดว่ามีอํานาจ, อวดทําเป็นใหญ่.
แปรงหูหนู : ดู กระดูกอึ่ง.
พอง : ก. อาการที่โป่งหรือฟูขึ้นมาเพราะมีอากาศหรือน้ำเป็นต้นอยู่ภายใน เช่น ลูกโป่งพองลม ถูกน้ำร้อนลวกหนังพอง เหยียบไฟเท้าพอง, ทำให้โป่ง ฟู หรือตั้งขึ้น เช่น อึ่งอ่างพองตัว เป่าลูกโป่งให้พอง เป่า ปี่จนแก้มพอง ลิงพองขน แมวทำขนพอง; ขยายตัวให้โตขึ้นเช่น เห็ดหูหนูเมื่อแช่น้ำย่อมพองตัว ข้าวตังเมื่อเอาไปทอดก็จะพอง.
ลูกประคำผี : ดู กระดูกอึ่ง.
สะเทินน้ำสะเทินบก : ว. ที่อยู่ได้หรือปฏิบัติการได้ทั้งในนํ้าและบนบก เช่น การรบสะเทินนํ้าสะเทินบก เรือสะเทินนํ้าสะเทินบก เครื่องบิน สะเทินนํ้าสะเทินบก, เรียกสัตว์จําพวกที่อยู่ได้ทั้งในนํ้าและบนบก เช่น กบ คางคก อึ่งอ่าง ว่า สัตว์สะเทินนํ้าสะเทินบก.
หน้านวล ๓ : ดู กระดูกอึ่ง.
เหนียวหมา : ดู กระดูกอึ่ง.
อีเหนียว : ดู กระดูกอึ่ง.
องคุละ : [คุละ] น. นิ้วมือ, นิ้วเท้า. (ป., ส.).
กระจองงอง, กระจองงอง ๆ : ว. เสียงร้องเช่นนั้นพร้อมตีฆ้องป่าวประกาศว่า กระจองงอง ๆ เจ้าข้าเอ๊ย.
ขันน้ำพานรอง : น. ขันนํ้าที่มีพานรองรับ.
ฉม่อง : [ฉะหฺม่อง] น. คนตีฆ้อง เช่น พานรนายฉม่องว่องไว คุมคนธรรพ์ไป ประจานให้ร้องโทษา. (คําพากย์).
ตระหง่อง, ตระหน่อง : [ตฺระ-] (โบ; กลอน) ก. จ้อง, คอยดู, เช่น ตาเรียมตระหง่องตั้ง ตาเรือ แม่ฮา. (ทวาทศมาส), เขียนเป็น ตรง่อง ก็มี เช่น อันว่าพระมหาสัตวก็ต้งงตาแลตรง่อง ซึ่งช้นนช่องมรรคา ที่มีผู้จะมาน้นน โสดแล. (ม. คําหลวง กุมาร), กระหง่อง หรือ กระหน่อง ก็ใช้.
เป็นกอง, เป็นก่ายเป็นกอง : ว. มาก, มากมาย, เช่น โตขึ้นเป็นกอง ซื้อมาเป็นก่ายเป็นกอง.
อีหน็องอีแหน็ง : ว. กะหน็องกระแหน็ง.
กระจองหง่อง, กระจ๋องหง่อง : ว. อาการที่นั่งยอง ๆ จ้องดู.
ค่องอ้อย : น. ชื่อการพนันด้วยการทายความสั้นยาวของท่อนอ้อย โดยเอามีดสับ คาไว้ที่ประมาณส่วนกลางลำอ้อย แล้วตั้งพิงไว้ให้ผู้เล่นทายว่าส่วนของ ท่อนอ้อยด้านบนกับด้านล่างของมีดยาวเท่ากันหรือสั้นยาวกว่ากันเท่าใด ผู้ใดทายได้ถูกต้องหรือใกล้เคียงที่สุดเป็นผู้ชนะ.
จองหง่อง : ว. อาการที่นั่งอย่างหงอยเหงา.
ด่อง ๆ, ด้อง ๆ : ว. หย่อง ๆ.
ดาบสองคม : (สํา) ว. มีทั้งคุณและโทษ, อาจดีอาจเสียก็ได้.
เทิงบอง, เทิ้งบอง : น. เสียงเถิดเทิง, กลองยาว.
ผีตองเหลือง : น. ชนชาติข่าพวกหนึ่ง, ตองเหลือง ก็เรียก.
ยาดอง : น. ยาที่ใช้เครื่องสมุนไพรห่อแช่เหล้าเป็นต้น กินบำรุงร่างกาย หรือแก้โรค.
หง่อง ๆ : ว. อาการที่เดินขย่มตัวหัวสั่นหัวคลอนไปตามลำพัง, โดยปริยายหมายถึง เดินอยู่ตามลำพัง; เสียงดังเช่นเสียงฆ้องกระแต.
หงองแหงง : [หฺงองแหฺงง] ก. ระหองระแหง, ไม่ลงรอยกัน.
หน็องแหน็ง : ว. กะหน็องกะแหน็ง.
หย็องกรอด : [หฺย็องกฺรอด] ว. ซูบผอมมีท่าทางคล้ายคนอิดโรย.
แอ่ง : น. ที่ซึ่งลาดลึกลงไปพอนํ้าขังได้.
โอ่ง : น. ภาชนะสําหรับขังนํ้า ก้นสอบเล็กน้อย ปากกว้าง มีขนาดต่าง ๆ กัน, บางทีก็เรียกว่า ตุ่ม.
องคชาต : [องคะ] น. อวัยวะสืบพันธุ์ของชาย. (ป., ส. องฺคชาต ว่า อวัยวะสืบพันธุ์ของชายหญิง).
องคมนตรี : [องคะ] น. ผู้มีตําแหน่งที่ปรึกษาของพระมหากษัตริย์.
องคมรรษ : [องคะมัด] น. โรคขัดในข้อ. (ส. องฺคมรฺษ).
องครักษ์ : [องคะ] น. ผู้ทําหน้าที่ให้ความคุ้มครองป้องกัน เช่น องครักษ์นักการเมือง.
องควิการ : [องคะวิกาน] น. ความชํารุดแห่งอวัยวะต่าง ๆ มีตาบอด แขนหัก เป็นต้น. (ป.).
องควิเกษป : [องคะวิกะเสบ] น. ท่าทาง, อาการเคลื่อนไหว. (ส. องฺควิเกฺษป; ป. องฺค + วิกฺเขป).
องควิทยา : [องคะ] น. ความรู้เรื่องลักษณะดีชั่วปรากฏตามร่างกาย. (ส.; ป. องฺควิชฺชา).
องค, องค์ : [องคะ] น. ส่วนของร่างกาย, อวัยวะ, ตัว (ราชาศัพท์ใช้สำหรับ พระมหากษัตริย์ พระบรมราชินี และพระบรมวงศ์ชั้นสูงที่ทรง ได้รับพระราชทานฉัตร ๗ ชั้น ใช้ว่า พระองค์ เช่น แต่งพระองค์); ส่วนย่อยที่เป็นองค์ประกอบ เช่น มรรคมีองค์ ๘; ในราชาศัพท์ใช้ เป็นลักษณนามเรียกอวัยวะหรือสิ่งของ หรือคำพูด เป็นต้น ของ กษัตริย์หรือเจ้านาย เช่น พระทนต์ ๑ องค์ (ฟัน ๑ ซี่) พระศรี ๑ องค์ (หมาก ๑ คํา) พระที่นั่ง ๑ องค์ พระบรมราโชวาท ๒ องค์; ลักษณนาม ใช้เรียกสิ่งที่เคารพบูชาบางอย่างในทางศาสนา เช่น พระพุทธรูป ๑ องค์ พระเจดีย์ ๒ องค์, (ปาก) ลักษณนามใช้เรียกภิกษุสามเณร นักบวชในศาสนาอื่น เช่น ภิกษุ ๑ องค์ บาทหลวง ๒ องค์. (ป., ส. องฺค).
องคาพยพ : [องคาบพะยบ, องคาพะยบ] น. ส่วนน้อยและใหญ่ แห่งร่างกาย, อวัยวะน้อยใหญ่. (ป. องฺค+ อวยว).
กระพัง ๑ : น. แอ่ง, บ่อ, หนอง, ตระพัง ตะพัง หรือ สะพัง ก็เรียก. (เทียบ ข. ตฺรพําง ว่า บ่อที่เกิดเอง).
กระยา : น. เครื่อง, สิ่งของ, เครื่องกิน, เช่น เทียนธูปแลประทีปชวาลา เครื่องโภชนกระยา สังเวยประดับทุกพรรณ. (ดุษฎีสังเวยกล่อมช้าง ของเก่า ครั้งกรุงเก่า), เขียนเป็น กรยา ก็มี เช่น พระไพรดมานโฉม นุบพิตรแลงผอง มนตรอัญสดุดิยฮอง กรยานุถกลทาบ. (ดุษฎีสังเวยกล่อมช้างของเก่า ขุนเทพกะวีแต่ง).