อุจจาร, อุจจาระ : [อุดจาระ] น. ขี้, (ปาก) อึ. (ป., ส.).
อุจจารมรรค : [อุดจาระมัก] น. ทวารหนัก. (ส.; ป. อุจฺจารมคฺค).
กรีษ : [กะหฺรีด] (แบบ) น. คูถ, อุจจาระ, ขี้. (ส.; ป. กรีส).
กรีส : [กะหฺรีด] น. อาหารเก่า, คูถ, อุจจาระ, ขี้, เช่น หนึ่งน้ำมูตรกรีส ฤๅเกียจฤๅกีด คำคนติฉิน. (สรรพสิทธิ์). (ป.; ส. กรีษ); (แบบ) มาตราวัดความยาวเท่ากับ ๑ เส้น ๑๑ วา ๑ ศอก หรือ ๑๒๕ ศอก, ความจุเท่ากับ ๔ อัมพณะ คือ ประมาณ ๔๔ ทะนาน. (ลิปิ). (ป. กรีส; ส. กรฺษ).
ขี้ : ก. กิริยาที่ถ่ายกากอาหารออกทางทวารหนัก, ถ่ายอุจจาระ, ราชาศัพท์ว่า ลงพระบังคนหนัก. น. กากอาหารที่ร่างกายไม่ต้องการแล้วขับถ่ายออก ทางทวารหนัก, อุจจาระ, สิ่งที่ร่างกายขับถ่ายออกมาเกรอะกรังอยู่ เช่น ขี้ไคล ขี้รังแค ขี้หู ขี้ตา, โดยปริยายหมายความถึงสิ่งที่ไม่ต้องการ เช่น ขี้ตะกั่ว, เศษหรือกากที่ออกมาจากสิ่งนั้น ๆ เช่น ขี้กบ ขี้เลื่อย. ว. ใช้ ประกอบหน้าคําที่แสดงความหมายในทางที่ไม่ดี เช่น ขี้เกียจ ขี้เหนียว, หรือมักเป็นเช่นนั้น เช่น ขี้หัวเราะ ขี้ขอ.
ถ่ายอุจจาระ : ก. ขี้, ถ่ายทุกข์ ก็ว่า.
มีฬห- : [มีนหะ-] น. อุจจาระ. (ป.).
วัจ, วัจจะ : [วัดจะ] น. อุจจาระ. (ป.; ส. วรฺจสฺ).
อึ : (ปาก) ก. ถ่ายอุจจาระ (มักใช้แก่เด็ก). น. ขี้, อุจจาระ.
กะแท้ : น. ชื่อแมลงพวกมวนขนาดเล็ก ตัวยาว ๘-๑๒ มิลลิเมตร รูปร่างคล้ายโล่ สีน้ำตาลแก่อมดําหรือสีเกือบดํา เมื่อจับต้องตัวจะปล่อยกลิ่นฉุนเหม็นติดมือ บางทีคล้ายกลิ่น อุจจาระของคน มีหลายชนิด ที่พบกันแพร่หลาย ได้แก่ ชนิด Geotomus pygmaeus ในวงศ์ Podopidae.
ขัดหนัก : ก. ถ่ายอุจจาระไม่ค่อยออก.
เงือก ๓ : น. ชื่อนกในวงศ์ Bucerotidae ส่วนใหญ่ลําตัวสีดํา ปากใหญ่ อยู่รวมกัน เป็นฝูงในป่าลึกเวลาบินเสียงดังมาก ขณะตกไข่ตัวเมียจะอยู่ในโพรงไม้ แล้วใช้เศษอาหารและอุจจาระปิดปากโพรงไว้ เหลือรูพอที่ตัวผู้จะหา อาหารมาป้อนให้ขณะกกไข่และเลี้ยงลูกอ่อนได้ ร้องเสียงดังมาก กิน เนื้อสัตว์และผลไม้ มีหลายชนิด เช่น เงือกกรามช้าง (Rhyticeros undulatus) เงือกหัวแรด (Buceros rhinoceros) แก๊ก (Anthracoceros albirostris).
ชักโครก : [โคฺรก] น. ที่นั่งถ่ายอุจจาระมีที่เปิดนํ้าขับล้างได้.
ถ่ายทุกข์ : ก. ขี้, ถ่ายอุจจาระ.
โถส้วม : น. สุขภัณฑ์ชนิดหนึ่งสําหรับนั่งถ่ายอุจจาระ.
ท้องเดิน : ว. อาการที่ถ่ายอุจจาระเหลวมากบ่อย ๆ.
ท้องผูก : ว. อาการที่อุจจาระแข็งถ่ายออกลําบาก.
ท้องเสีย : ว. อาการที่เกิดจากเครื่องย่อยอาหารไม่ทําหน้าที่ตาม ปรกติทําให้ถ่ายอุจจาระกะปริบกะปรอย.
บังคน : (ราชา) น. อุจจาระหรือปัสสาวะ.
บังคนหนัก : (ราชา) น. อุจจาระ, ใช้ว่า พระบังคนหนัก.
บิด ๒ : น. โรคลําไส้ใหญ่อักเสบ มีอาการปวดมวนและอุจจาระเป็น มูกเลือด.
เบ่ง : ก. ตะเบ็ง เช่น เบ่งเสียง, พยายามขับดันสิ่งเช่นอุจจาระปัสสาวะ เป็นต้นให้ออกมา เช่น เบ่งอุจจาระเบ่งปัสสาวะ เบ่งลูก, ทําให้ พองตัวขึ้นหรือขยายตัวออก เช่น อึ่งอ่างเบ่ง เบ่งกล้าม; (ปาก) เร่ง เช่น เบ่งรถให้ขึ้นหน้า; อวดว่ามีอํานาจ, อวดทําเป็นใหญ่.
ปวดถ่วง : ก. ปวดหน่วง ๆ บริเวณท้องน้อยคล้ายต้องการถ่ายอุจจาระ.
ปวดท้องทุ่ง : ก. ต้องการถ่ายอุจจาระ.
ปิดหนักปิดเบา : ก. ถ่ายอุจจาระปัสสาวะไม่ออก.
ไปทุ่ง : ก. ไปถ่ายอุจจาระ, ไปขี้, ทุ่ง ก็ว่า.
พรรดึก : [พันระ] น. อุจจาระที่เป็นก้อนแข็งกลม.
มลโค : [มอละโค] (ปาก) น. อุจจาระพอเหลว ๆ คล้ายมูลโค.
มูก ๒ : น. นํ้าเมือกที่ไหลออกจากจมูก เรียกว่า นํ้ามูก, นํ้าเมือกที่ไหลออก ทางทวารหนักพร้อมกับอุจจาระ.
มูกเลือด : น. โรคที่มีมูกและเลือดในลําไส้ติดออกมากับอุจจาระ.
มูล ๓ : [มูน] น. อุจจาระสัตว์, ขี้หรือเศษของสิ่งต่าง ๆ เช่น มูลไถ = ขี้ไถ.
มูลโค : น. อุจจาระเหลว แต่ไม่เหลวถึงเป็นนํ้า, มักพูดว่า มลโค.
ยาถ่าย : น. ยาที่กินเพื่อให้ถ่ายอุจจาระ.
ยาเหน็บ : น. ยาที่ใช้สอดเข้าไปในช่องทวารหนักเพื่อให้อุจจาระออก.
รากสาดน้อย : น. โรคติดเชื้อแบคทีเรีย Salmonella typhi มีอาการไข้สูง ปวดศีรษะ ซึมและทําให้ลําไส้อักเสบและเป็นแผล ถ้าร้ายแรง ลําไส้จะ ทะลุและมีเลือดออกมากับอุจจาระ,เรียกโรคที่เกิดจากการติดเชื้อดังกล่าว นี้ว่า ไข้รากสาดน้อย, เรียกโรคที่คล้ายกันแต่อาการรุนแรงน้อยกว่า เกิด จากเชื้อ Salmonella paratyphi ว่า ไข้รากสาดเทียม.
ลงพระบังคน : (ราชา) ก. ถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะ, ถ้าถ่ายปัสสาวะ เรียกว่า ลงพระบังคนเบา, ถ้าถ่ายอุจจาระ เรียกว่า ลงพระบังคนหนัก.
ลำไส้ใหญ่ : น. ลำไส้ส่วนที่ต่อจากลำไส้เล็กและไปสุดสิ้นที่ทวารหนัก มีหน้าที่ดูดซึมน้ำจากกากอาหารที่ย่อยและดูดซึมจากลำไส้เล็กแล้ว ซึ่งทำให้กากอาหารงวดเป็นอุจจาระ.
ลูกสวน : น. ลูกพลาสติกหรือลูกยางมีลักษณะกลม ๆ ตอนบนแหลม มีรูใส่น้ำยาหรือน้ำสบู่สำหรับใช้สวนอุจจาระ.
วัจกุฎี : น. ที่ถ่ายอุจจาระ, ส้วม, (ใช้แก่บรรพชิต), เวจกุฎี ก็เรียก. (ป. วจฺจกุฏิ).
เวจกุฎี : น. ที่ถ่ายอุจจาระ, ส้วม, (ใช้แก่บรรพชิต), วัจกุฎี ก็เรียก. (ป. วจฺจกุฏิ).
เวจ, เวจ : [เว็ด, เว็ดจะ] น. ที่ถ่ายอุจจาระ. (ป. วจฺจ).
ส่งทุกข์ : ก. ถ่ายอุจจาระ.
สรีรกิจ : น. การทํากิจเกี่ยวกับร่างกาย เช่น ถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะ; การปลงศพ.
สวน ๒ : อาการที่เคลื่อนไปตรงข้ามในเส้นทางเดียวกัน เช่น เดินสวนกัน มีรถสวนมา; เทียบสอบขนาดหรือปริมาณเครื่องตวง เช่น สวนสัด สวนทะนาน; เอาสายสวนใส่ทางช่องปัสสาวะให้เข้าไปในกระเพาะ ปัสสาวะเพื่อให้ปัสสาวะออก, เอาลูกสวนใส่ทวารหนักแล้วบีบนํ้ายา หรือนํ้าสบู่ให้เข้าไปในลําไส้ใหญ่เพื่อกระตุ้นให้ลําไส้ใหญ่บีบตัวให้ อุจจาระออก.
ส้วม ๑ : น. สถานที่ที่สร้างไว้สำหรับถ่ายอุจจาระปัสสาวะโดยเฉพาะ มักทำ เป็นห้อง.
หีบชัก : (โบ) น. หีบไม้รูปทรงสี่เหลี่ยม ภายในมีที่ตั้งโถอุจจาระ ด้านหลัง เปิดได้เพื่อชักโถออกทําความสะอาด ตอนบนเป็นที่นั่ง มีร่องเจาะตรงกับ ปากโถตอนล่าง.
เหน็บ ๒ : ก. เสียบ, สอดไว้ในที่บังคับ; กิริยาที่เอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งมีสบู่เป็นต้นสอด เข้าไปในช่องทวารหนักเพื่อให้อุจจาระออก.
อุตพิด : [อุดตะ] น. ชื่อไม้ล้มลุกมีหัวชนิด Typhonium trilobatum Schott ในวงศ์ Araceae ดอกบานเวลาเย็น กลิ่นเหม็นเหมือนอุจจาระ. (ข. อาจม์ + พิษ).